ผู้ค้าแตงโมเมียนมาประเมินความต้องการในฤดูการส่งออก

สมาคมผู้ปลูก ผู้ผลิต และผู้ส่งออกแตงโมเมลอนเมียนมา เผยกลยุทธ์ที่จะผลิตเพื่อการส่งออกและคาดการณ์ว่าจะสูญเสียรายได้ในปีที่จะมาถึงนี้  จากผลของ COVID-19 ผู้ส่งออกแตงโมมีผลขาดทุนเป็นจำนวนมากจากการสูญเสียและความต้องการที่ลดลงในเขตชายแดนเมียนมา- จีนในปีนี้ โดยปกติฤดูกาลส่งออกแตงโมจะเริ่มในเดือนกันยายนและอย่างเร็วในระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงพฤษภาคม มีการคาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในอดีตที่ผ่านมามีการส่งออกแตงโมมากกว่า 800,000 ตันและตอนนี้เหลือเพียง 500,000 ตันเท่านั้น ผลไม้ส่วนใหญ่ส่งออกไปยังจีนที่เขตชายแดน ก่อนการระบาดของ COVID-19 แตงโมและแตงกวาคือการส่งออกผลไม้หลักและรายได้เพิ่มขึ้นทุกปีเนื่องจากความต้องการที่เพิ่มขึ้น ในปีนี้การส่งออกลดลงถูกชดเชยด้วยอุปสงค์กล้วยที่เพิ่มขึ้นในช่วงต้นปีตามรายงานของกระทรวงพาณิชย์ รายได้จากการส่งออกผลไม้ของเมียนมาสูงถึง 370 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณปัจจุบันซึ่งมีแม้จะมีการระบาดของ COVID-19 หากไม่มีการระบาดเมียนมาจะมีรายได้จากการส่งออกผลไม้เพิ่มขึ้นในปีนี้หากมีการจัดเก็บรักษาที่เหมาะสมของชายแดนเมียนมา – จีน

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-traders-gauge-demand-melons-upcoming-export-season.html

กัมพูชาอาจได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมการผลิตเสื้อผ้า

กัมพูชาเป็นหนึ่งในประเทศผู้ผลิตเครื่องนุ่งห่มเผื่อการส่งออกในปริมาณมาก ซึ่งอาจได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการเปลี่ยนแปลงในด้านอุตสาหกรรมการผลิตเสื้อผ้าภายในประเทศเผื่อการส่งออก โดยจากรายงานล่าสุดของฟิทช์โซลูชั่นส์ กล่าวว่ากัมพูชา เวียดนามและเมียนมา เป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศในเอเชียที่ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม จากการเป็นซัพพลายเออร์ที่ทำการส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศทั่วโลก โดยกัมพูชาคิดเป็นร้อยละ 1.4 ของตลาดในปี 2019 ภาคการผลิตเครื่องนุ่งห่มเติบโตขึ้นต่อปีที่ร้อยละ 13 ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เนื่องจากส่วนใหญ่มาจากต้นทุนแรงงานที่ค่อนข้างต่ำและนโยบายการลงทุนที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุน ซึ่งการส่งออกเครื่องแต่งกายของเวียดนามเพิ่มขึ้นร้อยละ 30 ในปีที่แล้ว เพิ่มส่วนแบ่งทั่วโลกสู่ร้อยละ 8.7 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 6.8 ในปี 2018

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50746403/cambodia-may-gain-from-shifts-in-apparel-manufacturing-says-fitch-solutions/

บริษัทจากเวียดนามลงทุนในกัมพูชาประมาณ 2.7 พันล้านดอลลาร์

ผู้ประกอบการเวียดนามลงทุนประมาณ 2.7 พันล้านดอลลาร์ ในกัมพูชา ซึ่งเป็นอันดับสามรองจากลาว โดยได้รับเงินลงทุนมากที่สุดจากผู้ประกอบการเวียดนามที่มีทุนจดทะเบียนเกือบ 5 พันล้านดอลลาร์ จาก 208 โครงการ ตามด้วยรัสเซียได้รับเงินลงทุนประมาณ 2.8 พันล้านดอลลาร์ ตามด้วยกัมพูชาและเวเนซุเอลาประมาณ 1.8 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งเมื่อปีที่แล้วนักธุรกิจเวียดนามมีการลงทุนราว 21 พันล้านดอลลาร์ในโครงการต่างประเทศมากกว่า 1,300 โครงการ โดยมีกำไรจากการโอนกลับมายังประเทศเวียดนามถึง 3 พันล้านดอลลาร์ ตามรายงานของกระทรวงวางแผนและการลงทุนของเวียดนาม ซึ่งในโครงการดังกล่าวมีโครงการที่สำคัญหลายโครงการ เช่นโครงการเครือข่ายโทรคมนาคมของ Viettel ในกัมพูชามูลค่า 22.1 ล้านดอลลาร์ โดย Metfone ของ Viettel มีส่วนแบ่งการตลาดประมาณร้อยละ 50 ครอบคลุมเครือข่ายกว่าร้อยละ 99 และมีผู้ใช้บริการมากกว่า 10 ล้านรายซึ่งอยู่ใน 3 อันดับแรกของบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านโทรคมนาคมในกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50746400/vietnamese-enterprises-invest-approximately-2-7-billion-in-cambodia/

สปป.ลาวกับการแก้ไขผลกระทบของ COVID-19 นอกเหนือจากภาคสุขภาพ

องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (UN FAO) และโครงการอาหารโลก (WFP) บ่งชี้ถึงการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศการว่างงานและความยากจนที่เพิ่มขึ้นและความต้องการสินค้าเกษตรลดลงอย่างมาก นำไปสู่ความไม่มั่นคงด้านอาหารมากขึ้นและการขาดสารอาหารโดยเฉพาะในพื้นที่ชนบท อีกทั้งในช่วงหลายปีที่ผ่านมาการเกิดภัยแล้ง น้ำท่วม การระบาดของโรคและภัยธรรมชาติอื่น ๆ ที่ทำลายล้างพื้นที่ต่างๆของสปป. ลาว ในเดือนพ.ค.มีการประเมิน FAO เพื่อพิจารณาผลกระทบเหล่านี้ในแขวงหลวงพระบาง สะหวันนะเขต เวียงจันทน์ พบว่าการระบาดของ COVID-19 และมาตรการกักกันทำให้คนสปป.ลาวอย่างน้อย 550,000 คนต้องตกงาน เกิดความไม่มั่นคงด้านอาหารในชุมชน นอกจากนี้การสูญเสียกำลังซื้อทำให้ยอดขายเนื้อสัตว์ลดลง 30% และผักลดลง 40% แม้ว่าความต้องการสินค้าเกษตรจะลดลง แต่ราคาเนื้อสัตว์และข้าวสูงขึ้น ในขณะที่ราคาผักลดลง และในช่วงระยะเวลาและการแพร่กระจายของ COVID-19 ได้ขจัดโอกาสในระยะสั้นและระยะยาวสำหรับอุตสาหกรรมการ นอกจากนี้การปิดพรมแดนระหว่างประเทศส่งผลให้การส่งออกในระดับภูมิภาคและการเข้าถึงปัจจัยการผลิตและผลผลิตทางการเกษตร

ที่มา : http://kpl.gov.la/En/Detail.aspx?id=53365

แขวงไชยบุรีส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชนในการขยายการชลประทาน

เจ้าแขวงไชยบุรีได้ลงนามอนุมัติให้บุคคลและบริษัทเอกชนในการสร้างและดำเนินโครงการชลประทานเชิงพาณิชย์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการส่งเสริมการผลิตของเกษตรกร การใช้น้ำเพื่อการเกษตรในแขวงไชยบุรี ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเกษตรกรกลายเป็นผู้ผลิตผลการเกษตรรายใหญ่ ซึ่งปัจจุบันปลูกข้าวและผักเพื่อส่งออกไปยังประเทศไทยและจีน หน่วยงานฯ สนับสนุนการลงทุนภาคเอกชนในการก่อสร้างและขยายการชลประทานควบคู่ไปกับเงินทุนสาธารณะซึ่งขณะนี้มีอยู่จำกัด ทั้งนี้เฉพาะบริษัทเอกชนที่มุ่งมั่นที่จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมน้ำตามข้อบังคับของแขวงเท่านั้นที่จะได้รับอนุญาตให้ลงทุนและดำเนินโครงการชลประทานเชิงพาณิชย์ ตามมาตราที่ 12 กำหนดค่าธรรมเนียมน้ำที่เกษตรกรต้องจ่ายให้กับผู้ประกอบการพาณิชย์เอกชนที่ไม่มีอำนาจกำหนดอัตราโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ นอกจากการส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชนในเครือข่ายการชลประทานไชยบุรี ได้จัดตั้งกองทุนเพื่อการก่อสร้างและขยายการชลประทานในแขวง เงินสำหรับกองทุนเพื่อการพัฒนาระบบชลประทานจะมาจากค่าน้ำประปาเงินช่วยเหลือจากบุคคลผู้บริจาคภาคเอกชนและดอกเบี้ยจากเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Xayaboury139.php

บริษัทญี่ปุ่น 15 ราย ย้ายสายการผลิตจากจีนไปยังเวียดนาม

“เวียดนามคาดว่าจะดึงดูดการลงทุนจากบริษัทญี่ปุ่น 15 แห่งที่ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่น เพื่อย้ายฐานการผลิตออกจากจีนและทำให้ห่วงโซ่อุปทานเกิดความหลากหลาย” กระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (METI) เปิดเผยรายชื่อบริษัท 87 แห่งที่ได้รับเงินทุน 70 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อดำเนินโครงการ ตามรายงานของสำนักข่าว Nikkei Asian Review ทั้งนี้ มีบริษัท 30 แห่งที่ย้ายฐานการผลิตไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว รวมทั้งเวียดนามและสปป.ลาว ขณะที่ อีก 57 แห่งมึจุดหมายอยู่ที่ญี่ปุ่น โดยเป้าหมายของการย้ายสายการผลิตดังกล่าว เพื่อที่จะลดการพึ่งพาการผลิตของญี่ปุ่นในจีน ซึ่งบริษัทส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอุปกรณ์ทางการแพทย์ นอกจากนี้ เวียดนามยังเป็นจุดมุ่งหมายของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) หลังจากเวียดนามควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) และไม่พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ในระดับชุมชนนานกว่า 3 เดือน

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/15-japanese-firms-to-move-china-production-lines-to-vietnam-416280.vov

AIIB อนุมัติเงินกู้จำนวน 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐแก่แบงก์พาณิชย์เวียดนาม

ธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย (Asian Infrastructure Investment Bank: AIIB) เปิดเผยว่าเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทางคณะกรรมการของธนาคารได้อนุมัติเงินกู้จำนวน 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐให้แก่ธนาคารพาณิชย์ Vietnam Prosperity Joint Stock Commercial Bank (VPBank) ของเวียดนาม เพื่อช่วยเหลือธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งการดำเนินการดังกล่าว เป็นการปล่อยกู้ร่วมกับบรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (IFC) เพื่อช่วยให้ธนาคารขยายการให้สินเชื่อแก่ภาคเอกชน รวมถึงวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ทั้งนี้ คุณ D.J. Pandian รองประธานกรรมการฝ่ายปฏิบัติการลงทุนของ AIIB กล่าวว่าวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมถือเป็นแกนหลักสำคัญของเศรษฐกิจและการอัดฉัดสภาพคล่องเข้าสู่ตลาด จะช่วยกระตุ้นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของเวียดนามโดยรวม นอจากนี้ เมื่อเดือนก.ค. ที่ผ่านมา ธนาคารได้อนุมัติโครงการทั้งหมดจำนวน 16 โครงการที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัส ซึ่งมีมูลค่ามากกว่า 5.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อที่จะช่วยเหลือสมาชิกธุรกิจ 12 รายที่ประสบกับช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/769808/aiib-approves-100-million-loan-to-vpbank.html

ศูนย์อัญมณีในมัณฑะเลย์ปิดทำการ

ศูนย์ซื้อขายพลอยในมัณฑะเลย์จะปิดทำการจนถึงสิ้นเดือนแม้ว่าจำนวนผู้ติดเชื่อ COVID-19 ยังคงต่ำในภูมิภาค เลขาธิการคณะกรรมการบริหารศูนย์การค้าอัญมณี กล่าวว่าแม้ความพยายามของฝ่ายบริหารในการปฏิบัติตามกฎระเบียบ COVID-19 ของรัฐบาลแต่ก็ยังถูกสั่งให้ปิดไปจนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2563 ศูนย์อัญมณีแห่งนี้ดึงดูดผู้คนหลายพันคนต่อวันรวมถึงผู้ซื้อจากจีน รัฐบาลระดับภูมิภาคได้ปลดล็อคจำกัดของมาตรการ COVID-19 โดยอนญาติทำให้เดินทาง โรงแรมสามารถกลับมาเปิดใหม่และเริ่มการผลิตได้หากปฏิบัติตามระเบียบ

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/gemstone-centre-mandalay-stay-closed.html

อาเซียนถกแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด จ่อลงนามความตกลงยอมรับร่วมด้านยานยนต์ ส.ค.นี้

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เตรียมร่วมประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียน หรือ SEOM ครั้งที่ 3/51 ผ่านระบบทางไกล หารือแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด-19 และมาตรการที่ออกมาใหม่ช่วงการแพร่ระบาด เตรียมพร้อมความตกลงยอมรับร่วม APMRA ให้รัฐมนตรีเศรษฐกิจลงนามในเดือนสิงหาคม 2563 พร้อมถก 11 คู่เจรจา หาแนวทางจัดทำ FTA กับประเทศใหม่ๆ  และเพื่อเตรียมการสำหรับการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ 52 ในเดือนสิงหาคม และการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 37 ในเดือนพฤศจิกายน 2563 การประชุม ครั้งนี้ จะหารือประเด็นผลกระทบทางเศรษฐกิจตลอดจนแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจภายหลังโควิด-19 รวมถึงมาตรการที่แต่ละประเทศออกมาในช่วงการแพร่ระบาดใหญ่ รวมทั้งหารือเรื่องการดำเนินงานของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และการเตรียมพร้อมเพื่อลงนามความตกลงยอมรับร่วมผลการตรวจสอบและรับรองผลิตภัณฑ์ยานยนต์ของอาเซียน (APMRA) ซึ่งเป็นประเด็นที่ไทยให้ความสำคัญ โดยรัฐมนตรีเศรษฐกิจจะลงนามความตกลงร่วมกันในเดือนสิงหาคมนี้ นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่อาวุโสของอาเซียนจะพบกับ 11 คู่เจรจา ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฮ่องกง สหรัฐฯ แคนาดา อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ รัสเซีย และสหภาพยุโรป รวม 12 การประชุม โดยจะหารือประเด็นสำคัญ เช่น การเปิดเสรีเพิ่มเติมภายใต้ความตกลงที่มีอยู่เดิมกับจีน ความเป็นไปได้ในการเจรจาทำความตกลง FTA ใหม่ๆ กับแคนาดาและสหภาพเศรษฐกิจยูเรเซีย ที่มีรัสเซียเป็นหัวเรือใหญ่ รวมถึงความคืบหน้าความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างอาเซียน-สหรัฐฯ ความคืบหน้าการจัดทำขอบเขตการเจรจา FTA กับสหภาพยุโรป และการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านเศรษฐกิจกับญี่ปุ่น เป็นต้น ทั้งนี้ อาเซียนเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของไทย โดยในปี 2562 การค้าระหว่างไทยกับอาเซียน มีมูลค่าการค้ารวม 107,928 ล้านเหรียญสหรัฐ ไทยเกินดุล 17,880 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นการส่งออกไปอาเซียน มูลค่า 62,904 ล้านเหรียญสหรัฐ และนำเข้าจากอาเซียน มูลค่า 45,024 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2563 (ม.ค. – พ.ค.) มีมูลค่าการค้ารวม 41,218 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยไทยส่งออกไปอาเซียนมูลค่า 24,697 ล้านเหรียญสหรัฐ และนำเข้าจากอาเซียนมูลค่า 16,522 ล้านเหรียญสหรัฐ ตลาดส่งออกและแหล่งนำเข้าสำคัญของไทยในอาเซียน ได้แก่ มาเลเซีย เวียดนาม สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์

ที่มา: https://www.prachachat.net/economy/news-493979

การท่องเที่ยวภายในประเทศกัมพูชาเริ่มฟื้นตัวในช่วงเดือนกรกฎาคม

นักท่องเที่ยวภายในประเทศทั้งหมดที่ได้เยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ทั่วประเทศกัมพูชาอยู่ที่ 313,300 คน ในช่วงสองสัปดาห์แรกของเดือนกรกฎาคม 2563 โดยตัวเลขดังกล่าวถูกเปิดเผยโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวทองคอน ซึ่งเสริมว่าแนวโน้มบ่งชี้ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวภายในประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.67 เมื่อเทียบกับสองสัปดาห์สุดท้ายของเดือนมิถุนายน โดยคิดเป็นจำนวนนักท่องเที่ยวภายในประเทศ 5,491 คน ลดลงร้อยละ 30.89 และนักท่องเที่ยวต่างชาติ 307,809 คนเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.54 แสดงให้เห็นมุมมองแนวโน้มจำนวนนักท่องเที่ยวในประเทศจะเพิ่มขึ้นอีกครั้งในเดือนสิงหาคมเนื่องจากผู้คนจะมีวันหยุดยาว (เพื่อชดเชยวันหยุดปีใหม่กัมพูชาของพวกเขา) ตามด้วยเทศกาลวันหยุดประชุมแบนในเดือนกันยายน ในขณะที่สถานการณ์ COVID-19 ภายในประเทศก็เริ่มที่จะดีขึ้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50746062/domestic-tourism-takes-off-with-a-bang-over-310000-tourists-travel-in-first-two-weeks-of-july/