การเติบโตของเมียนมาที่ลดลงกว่าที่คาดไว้ในในปีนี้

เศรษฐกิจเมียนมามีแนวโน้มขยายตัวเพียง 4.3% ในปีงบประมาณ 2562-2563 เมื่อเทียบกับการคาดการณ์ของรัฐบาลที่ 7 ผลมาจากการระบาดของ COVID-19 การขยายตัวทางเศรษฐกิจชดเชยการเติบโตของจีดีพีที่ 6% ในช่วงหกเดือนแรกของปีงบประมาณซึ่งส่งผลให้ผลผลิตรวมมีเพียง 74.5 ล้านล้านจัตระหว่างตุลาคม 2562 ถึงมีนาคม 2563 ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 63% จากเดิมที่ 119 ล้านล้านจัตในช่วงเวลาดังกล่าว ในระหว่างการประชุมสภาผู้แทนราษฎร นาย U Set Aung รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการวางแผนกระทรวงการคลังและอุตสาหกรรมรายงานจากกองทุนของรัฐและเงินกู้ระหว่างประเทศจำนวน 2.8 ล้านล้านจัตถูกนำไปใช้ในการดำเนินการตามแผนบรรเทาเศรษฐกิจ COVID-19 ในปีงบประมาณ 2562-2563 เงินทุนดังกล่าวถูกนำไปใช้ในการให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสำหรับธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ ปรับปรุงระบบการดูแลสุขภาพ เงินสดและอาหารให้กับครัวเรือนที่ยากจนและสนับสนุนภาคเกษตรและปศุสัตว์

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/steeper-growth-decline-expected-myanmar-year-govt.html

รัฐบาลคาดว่าเงินจัตเสื่อมค่าจากอัตราแลกเปลี่ยนที่สูงขึ้นในเมียนมา

คาดเงินจัตของเมียนมาจะอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณ 2563-2564 นายหม่องหม่องวินรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังและอุตสาหกรรมกล่าวในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร (Pyithu Hluttaw) ซึ่งอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มขึ้นเนื่องจากการลดลงของอัตราดอกเบี้ยการขาดดุลงบประมาณและเงินเฟ้อที่สูงขึ้น อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะเฉลี่ยร้อยละ 7.9 ในปีงบประมาณ 2563-2564 เทียบกับ 6.7% ในปีงบประมาณ 2562-2563 วันที่ 24 มิถุนายน 2563 อัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงของธนาคารกลางคือ 1,391.4 จัตต่อดอลลาร์ อย่างไรก็ตามได้รับการปรับลดมาอยู่ที่ 1,520 จัตต่อดอลลาร์สำหรับหน่วยงานรัฐบาลและองค์กรสำหรับปีถัดไป จากผลกระทบจาก COVID-19 ดังนั้นรายได้ของรัฐบาลคาดว่าจะลดลงเนื่องจากรายได้จากภาษีที่ลดลงและรายได้จากการส่งออกที่สำคัญ เช่น น้ำมันและก๊าซ การขาดดุลทางการคลังคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 6.8 ล้านล้านจัตในปีงบประมาณที่จะมาถึงเมื่อเทียบกับ 6.7 ล้านล้านจัตในปีงบประมาณ 2562-2563 ซึ่งขาดดุลต่อ GDP จะอยู่อยู่ที่ 5.4% ของปีหน้า

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/govt-expects-kyat-depreciation-higher-exchange-rate-myanmar.html

ADB เสนอเงินสนับสนุนให้กัมพูชา 1.5 พันล้านดอลลาร์ สำหรับการพัฒนาประเทศ

ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) กำลังเสนอที่จะให้เงินทุนใหม่จำนวน 1.5211 พันล้านดอลลาร์สำหรับการดำเนินงานและแผนธุรกิจของประเทศกัมพูชา (COBP) 2021-2023 โดย COBP ที่เสนอมีโครงการพัฒนาทั้งหมด 21 โครงการ ในระยะเวลา 3 ปี ซึ่งรวมถึงการให้สินเชื่อตามสัญญา 1,257.7 ล้านดอลลาร์, เงินทุน 70.4 ล้านดอลลาร์ และเงินอุดหนุนโครงการ 193.0 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของกัมพูชาหลังการระบาดของ COVID-19 ตามรายงานของธนาคารโลกในปี 2020 ปัจจุบันกัมพูชามีเงินกู้ยืมจาก ADB ประมาณ 1.4 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งจะเพิ่มขึ้นเป็น 2.6 พันล้านดอลลาร์ในอีก 3 ปีข้างหน้า โดยเงื่อนไขการกู้ยืมเงินเป็นสัญญาสัมปทานที่มีระยะเวลา 24 ปี รวมระยะเวลาผ่อนผัน 8 ปี โดยมีการคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 1 ต่อปี ซึ่งเงินทุนสนุบสนุนจะนำเข้าสู่สามส่วนสำคัญของความช่วยเหลือ ประการแรกคือการตอบสนองด้านสุขภาพภายในประเทศ ส่วนที่สองการช่วยเหลือทางสังคมผ่านโปรแกรม ID Poor และส่วนที่สามความช่วยเหลือทางด้านการเงินของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (MSME) ผ่านการปล่อยสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยต่ำและเข้าถึงได้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50744668/exclusive-adb-may-offer-more-than-1-5b-in-new-funding/

เศรษฐกิจภาพรวมของกัมพูชาซบเซาในช่วงครึ่งปีแรก

ธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) กล่าวว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชาซบเซาในช่วงครึ่งแรกของปี 2020 เนื่องจากผลกระทบของการระบาด COVID-19 โดยคาดการณ์ว่า GDP ของประเทศจะหดตัวมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.9 ในปีนี้ ซึ่งผู้ว่าการ NBC กล่าวว่าเสาหลักของเศรษฐกิจกัมพูชา ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยว หรือภาคการผลิตภายในประเทศได้รับผลกระทบอยู่บ้างบางส่วน อย่างไรก็ตามภาคเกษตรกลับเติบโตเล็กน้อยใน ขณะที่ภาคการเงินก็ยังคงดำเนินธุรกิจอยู่ในทิศทางที่มีกำไร ซึ่งในรายงานครึ่งปีแรกของปี 2020 ที่เผยแพร่โดย NBC กล่าวว่าภาคการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบมากที่สุด โดยภาคการผลิตหดตัวร้อยละ 11 เมื่อเทียบปีต่อปีเนื่องจากการหยุดชะงักของอุปทานด้านวัตถุดิบขั้นพื้นฐานที่เข้มงวดขึ้น อุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการส่งออกลดลงร้อยละ 12.5 ​​และเสื้อผ้าสำเร็จรูปลดลงร้อยละ 10 แต่การผลิตสำหรับตลาดในประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.2 ซึ่งเป็นผลมาจากการบริโภคในประเทศที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผลผลิตภาคการเกษตรเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 21.7 เมื่อเทียบเป็นรายปีเนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกที่ขยายตัวและภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ลดลง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50744787/cambodias-economy-stagnant-in-first-half/

เวียดนามเผยยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ดิ่งลงไตรมาสสองของปี 2563

สมาคมผู้ผลิตรถจักรยานยนต์เวียดนาม (VAMM) เปิดเผยตัวเลขยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ อยู่ที่ราว 518,000 คัน ลดลงร้อยละ 31 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และร้อยละ 30.77 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยฮอนด้ายังคงครองส่วนแบ่งการตลาดมากที่สุดร้อยละ 80 ถึงแม้ว่าในไตรมาสที่สองจะลดลงร้อยละ 32 จากปีที่แล้ว ทั้งนี้ ผู้ผลิตชั้นนำในอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ของประเทศ มียอดจำหน่ายเพียง 61,700 คัน ในเดือนเม.ย. ลดลงร้อยละ 61 เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว  นอกจากนี้ ตลาดรถจักรยานยนต์ในประเทศเข้าสู่จุดอิ่มตัวเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา และผลกระทบจากการระบาดของไวรัส COVID-19 ส่งผลกระทบให้ธุรกิจและผู้ผลิตประสบปัญหามากมาย อีกทั้ง ผู้บริโภคหันมาใช้รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าและรถยนต์เพิ่มขึ้น ซึ่งผู้เชี่ยวชาญมองว่าตลาดรถจักรยานยนต์เข้าสู่ยุคอิ่มตัวและแบ่งสัดส่วนการตลาดให้กับยานยนต์ประเภทอื่นๆ เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าหรือระบบขนส่งสาธารณะ

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/77601/motorbike-sales-plunge-in-q2.html

“เวียดนาม-ไทย” มุ่งมั่นกระชับความร่วมมือทางการค้า

สำนักงานส่งเสริมการค้าไทยที่นครโฮจิมินห์ เป็นเจ้าภาพในงานส่งเสริมการแลกเปลี่ยนการค้า ณ วันที่ 14 กรกฎาคม เพื่อหาช่องทางแก่ผู้ประกอบการท้องถิ่นในการเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายห่วงโซ่อุปทานระดับภูมิภาคและโอกาสสำคัญในการยกระดับความร่วมมือระหว่างไทยกับเวียดนาม ทั้งนี้ คุณสภาพร สุขมาก ผู้อำนวยการสำนักงานการค้าในต่างประเทศที่นครโฮจิมินห์ กล่าวว่าสำนักงานฯ ได้จัดงานส่งเสริมการแลกเปลี่ยนการค้าผ่านทางออนไลน์และโดยตรง เพื่อให้การสนับสนุนแก่บริษัทต่างๆ ในขณะที่ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) ยังคงมุ่งสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ สภาพแวดล้อมในการทำธุรกิจระหว่างไทยกับเวียดนาม อีกทั้ง คุณศรัณยา สกลธนารักษ์ ประธานสมาคมนักธุรกิจไทยในเวียดนาม กล่าวว่าในฐานะสมาชิกของอาเซียน ไทยและเวียดนามควรส่งเสริมความหลากหลายทางเศรษฐกิจในหลายด้านด้วยกัน เพื่อที่จะดึงดูดนักลงทุนต่างชาติเพิ่มขึ้นและสร้างซัพพลายเชนทั่วภูมิภาค เนื่องจากทั้งสองประเทศมีความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ที่จะกลายเป็นประตูสำคัญสู่อาเซียน รวมถึงปัจจัยต่างๆ ได้แก่ ยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขัน การลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์และการเคลื่อนย้ายสินค้าอย่างเสรี เป็นต้น

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vietnam-thailand-strive-to-intensify-trade-exchange-activities-416087.vov

พื้นที่นอกกริดเมียนมามีโอกาสได้ใช้พลังงานแสงอาทิตย์

ประชาชนในเขตชนบทของเมียนมากว่า 450,000 คน คาดหวังจะได้ใช้ไฟฟ้าตามข้อตกลงระหว่างรัฐบาลและธนาคารโลก โดยทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะระดมทุนร่วมกัน 3.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อสร้างพลังงานแสงอาทิตย์ในพื้นที่รอบนอก การผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการปรับปรุงวิถีชีวิตและมาตรฐานการครองชีพของคนในชนบท ในปัจจุบันประชากรกว่าครึ่งไม่สามารถเข้าถึงกริดแห่งชาติและมากกว่าสองในสามของครัวเรือนในพื้นที่ชนบทที่ประชากรส่วนใหญ่ต้องอาศัยเทียน น้ำมันก๊าด แบตเตอรี่และเครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซล เงินทุนดังกล่าวมาจากบริษัทต่างๆ ไปยังผู้ค้าปลีกสู่ผู้บริโภคและจะช่วยในการผลิตจัดจำหน่ายและจำหน่ายสินค้าในชนบทที่มีคุณภาพ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/grid-areas-myanmar-enjoy-solar-power.html

จีดีพีเมียนมาโต 6% ในปีหน้า

ประชุมร่วมรัฐสภา ( Pyidaungsu Hluttaw) เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา U Set Aung รองรัฐมนตรีกระทรวงวางแผนและการคลังคาดเศรษฐกิจจะขยายตัว 6% ในปีงบประมาณ 2563-2564  ตามร่างพระราชบัญญัติการวางแผนแห่งชาติ จีดีพีของประเทศคาดจะสูงถึง 125.8 ล้านล้านจัตและรายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อปีคาดว่าจะมากกว่า 2.2 ล้านจัต เมื่อเทียบปีงบประมาณ 2562-2563 อยู่ที่ 2 ล้านจัตใน และปี 2561-2562 อยู่ที่ 1.9 ล้านจัต โดยภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการถือเป็นรายได้หลักของจีดีพี ซึ่งคาดว่าจะเติบโตที่ 2.6%, 6.5% และ 7.4% ตามลำดับ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-gdp-grow-6-next-year.html

ธนาคารโลกและพันธมิตรมอบเงิน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แก่สปป.ลาวในการควบคุม COVID-19

กระทรวงสาธารณสุขธนาคารโลกและสถานเอกอัครราชทูตออสเตรเลีย เยอรมนีและญี่ปุ่นมอบเงินช่วยเหลือจำนวน 1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ผ่านศูนย์อำนวยการฉุกเฉินโรคระบาด (PEF) เพื่อสนับสนุนการตอบสนองของลาวต่อ COVID-19 ดร. Bounkong Syhavong รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขกล่าวว่า “รัฐบาลสปป.ลาวกำลังใช้มาตรการที่จำเป็นทั้งหมดเพื่อจัดการกับการระบาดของ COVID-19 การสนับสนุนจากพันธมิตรจะช่วยให้สปป.ลาวผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปได้อย่างดี” เงินช่วยเหลือจะถูกส่งตรงไปยังองค์การยูนิเซฟและองค์การอนามัยโลก (WHO) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ได้รับการรับรองจาก PEF โดยเงินทุนร้อยละ 80 จากกองทุนเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ซึ่งจะดำเนินการจัดหาเงินทุนและการส่งมอบวัคซีนเพื่อให้แน่ใจว่าบริการด้านสุขภาพที่จำเป็นจะดำเนินต่อไป อีกร้อยละ 20 จะไปที่องค์การอนามัยโลกโดยตรงเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของบุคลากรด้านสุขภาพของสปป.ลาวในการตอบสนอง COVID-19

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Worldbank135.php

กัมพูชาเก็บภาษีได้ 1.6 พันล้านดอลลาร์ในช่วงครึ่งแรกของปี 2020

กรมจัดเก็บภาษีทั่วไป (GDT) เก็บรายได้จากภาษีคิดเป็นจำนวน 6,820.48 พันล้านเรียล (ประมาณ 1,684 ล้านดอลลาร์) ในช่วงแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยรายได้ซึ่งแบ่งโดย GDT ที่สรุปได้นั้นเท่ากับร้อยละ 59 ของเป้าหมายในปี 2020 ตามรายงานข่าวประชาสัมพันธ์ที่ออกหลังการประชุม ซึ่งการเพิ่มขึ้นของรายได้จากภาษีที่มาจากสองแหล่งหลักคือภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้ โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 และร้อยละ 23 เป็น 1,385.06 พันล้านเรียล (336 ล้านดอลลาร์) และ 2,710.18 พันล้านเรียล (657 ล้านเหรียญสหรัฐ) ตามลำดับ ด้วยการเติบโตของรายได้จากภาษี ผู้อำนวยการของ GDT กล่าวว่าจะดำเนินการต่อไปอย่างเคร่งครัดและมีประสิทธิภาพ ตามนโยบายการปฏิรูปในเชิงลึกของรัฐบาลผ่านมาตรการที่สำคัญรวมถึงการเสริมสร้างและการจัดการการปฏิรูปภาษี ของการจัดเก็บภาษีและอื่นๆร่วมด้วย โดยรัฐบาลตั้งเป้าหมายที่จะรวบรวมรายได้จากภาษี 11,543 ล้าน Riel (2,885 ล้านดอลลาร์) ในปีนี้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50744480/cambodia-collected-1-6-billion-in-tax-revenue/