ลิ้นจี่เวียดนามที่ส่งออกไปยังญี่ปุ่น “ขายหมด”

ผู้อำนวยการสำนักงานเกษตรและพัฒนาชนบทในจังหวัดบั๊กซาง กล่าวว่าลิ้นจี่สดที่ส่งออกไปยังญี่ปุ่นนั้น คาดว่าจะขายได้ดี ซึ่งในวันที่ 21 มิ.ย. ทางจังหวัดดังกล่าว ส่งออกลิ้นจี่สดไปยังญี่ปุ่นผ่านการขนส่งทางอากาศ ด้วยปริมาณ 3 ตัน และเมื่อวันที่ 20 มิ.ย. ได้ส่งออกลิ้นจี่สดเพิ่มอีก 6 ตัน ผ่านทางทะเล ส่งผลให้ปริมาณขายลิ้นจี่ในญี่ปุ่น อยู่ที่ราว 10 ตัน โดยจะเริ่มวางขายในสัปดาห์หน้า ทั้งนี้ “ราคาลิ้นจี่ที่ขายในตลาดต่างประเทศ ปรับตัวสูงถึง 40,000 ด่งต่อกิโลกรัม ซึ่งตัวเลขดังกล่าวสูงกว่าเมื่อเทียบกับราคาในประเทศ อย่างไรก็ตาม หากได้การวางแผนที่ดี จะสามารถส่งออกไปยังญี่ปุ่นหลายร้อยตัน”

ที่มา : http://en.dangcongsan.vn/economics/vietnamese-lychee-sold-out-in-japan-555343.html

เวียดนามเผยราคาส่งออกข้าวต่ำสุด ในรอบ 2 เดือน

อุปทานข้าวในประเทศอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้ราคาส่งออกข้าวหัก (Broken Rice) ของเวียดนามปรับตัวลดลงอยู่ที่ 450 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ณ วันที่ 19 มิ.ย. ถือเป็นระดับต่ำที่สุดในรอบ 2 เดือนที่ผ่านมา สำนักข่าวเวียดนาม ระบุว่าผลผลิตข้าวในประเทศเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สาเหตุมาจากอยู่ในช่วงเก็บเกี่ยวข้าวฤดูร้อน-ใบไม้ร่วง ปริมาณส่งออกข้าวดังกล่าวอยู่ที่ประมาณ 2.3-2.5 ล้านตัน หลังการบริโภคภายในประเทศเพียงพอแล้ว ในขณะเดียวกัน ราคาส่งออกข้าวในวันที่ 4 มิ.ย. พบว่าราคาปรับตัวสูงสุด 475 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน เป็นผลมาจากอยู่ในช่วงฝนตกหนักกระทบต่อการเก็บเกี่ยว ทั้งนี้ กรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าในช่วง 5 เดือนแรกปีนี้ ทั้งปริมาณและมูลค่าส่งออกข้าว ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม ฟิลิปปินส์นำเข้าข้าวจากเวียดนามมากที่สุด ด้วยปริมาณรวม 1.3 ล้านตัน (+22.4%YoY) คิดเป็นมูลค่า 598.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (+41.4%YoY) รองลงมาจีน ตามลำดับ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/rice-export-price-lowest-in-two-months/177308.vnp

ADB คาดเศรษฐกิจเมียนมาขยายตัว 1.8% ในปีนี้

เศรษฐกิจเมียนมาคาดจะเติบโตเพียง 1.8% ในปี 2563 จากข้อมูลคาดการณ์ล่าสุดของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน เบื้องต้นในเดือนเมษายน ADB คาดว่าการเติบโตของ GDP จะอยู่ที่ 4.2% จากการขยายตัวที่ 6.8% ในปี 2562 ผลจากการระบาดของ COVID-19 ซึ่งรัฐบาลควรดำเนินมาตรการเชิงนโยบายเพื่อลดผลกระทบเชิงลบของ COVID-19 และรับรองว่าจะไม่มีการแพร่ระบาดระลอกใหม่ แต่เมียนมายังเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่มีอัตราการเติบโตของจีดีพีที่เป็นบวกในภูมิภาคในปีนี้หลังการคาดการณ์การเติบโตของจีดีพีของเวียดนามที่ 4.1% และคาดว่าจะฟื้นตัวในปี 2564 จะขยายตัวที่ 6% ADB คาดการณ์เศรษฐกิจปี 2564 จะโต 6.2 % แต่ยังต่ำกว่าแนวโน้มก่อนเกิดวิกฤต COVID-19

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-economy-expand-18-year-adb.html

รายได้จากการส่งออกผลไม้ยังคงที่จากความต้องการกล้วยที่มีอย่างต่อเนื่อง

จากข้อมูลของสมาคมผู้ผลิตผลไม้ดอกไม้และผักของเมียนมา รายได้จากการส่งออกผลไม้ของเมียนมาในปีงบประมาณปัจจุบันมีมูลค่าสูงถึง 370 ล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งเทียบเท่ากับรายได้ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณก่อนหน้าแม้จะมีการระบาด COVID-19 เนื่องจากความต้องการกล้วยคุณภาพดีที่เพิ่มขึ้นซึ่งสามารถชดเชยการส่งออกผลไม้อื่น ๆ เช่นแตงโมและแตงกวา ในความเป็นจริงหากไม่มมีการระบาดของ COVID-19 เมียนมาอาจมีรายได้จากการส่งออกผลไม้เพิ่มขึ้น ผลไม้ส่วนใหญ่ส่งออกไปยังชายแดนจีน ก่อนที่ COVID-19 จะระบาด แตงโมและแตงกวาเป็นเป็นผักและผลไม้หลักในการส่งออกเพราะมีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในช่วงสองสามเดือนแรกของปีเมียนมาส่งออกกล้วยที่ปลูกในท้องถิ่นแถบชายแดนจำนวน 75,000 ตันที่มีรายรับ 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับ 70,000 ตันส่งออกทั้งปีที่แล้วจำนวน 290 ล้านดอลลาร์ รายรับจากการซื้อขายรวม ณ ชายแดนปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 2.3 พันล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-fruit-export-revenues-stable-due-strong-banana-demand.html

ผลงานสถาบันฯ และช่องทางการติดต่อ

ผลงานสถาบันฯ : https://bit.ly/2Bjh6FJ

ช่องทางการติดต่อ

Website : https://aiti.thaichamber.org/

Facebook : https://www.facebook.com/aitibytcc

Youtube : https://www.youtube.com/channel/UCDTf-5H90CwQRGJiKnG7FDw

Instragram : https://www.instagram.com/aiti.thaichamber/

AppStore :https://apps.apple.com/us/app/id1477160288

Google play : https://play.google.com/store/apps/details?id=org.aiti.aitiapp

AiTi Chatbot : https://line.me/R/ti/p/%40042mreas

สปป.ลาว เล็งเห็นรายได้จากกาแฟเพิ่มมากขึ้น

จำนวนสวนกาแฟภายใต้ the Lao Coffee Association ได้ลดลงประมาณ 5-10 เปอร์เซ็นต์ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้เนื่องจากผู้ปลูกเปลี่ยนไปปลูกมันสำปะหลังเพื่อรายได้ที่ดีขึ้น จากการที่ราคากาแฟสปป.ลาวลดลงและเผชิญกับความท้าทายที่เกิดจากแมลงศัตรูกาแฟ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาทำให้เกษตรกรบางส่วนเปลี่ยนจากกาแฟไปปลูกพืชเชิงพาณิชย์อื่น แต่มูลค่าของกาแฟส่งออกจากสปป.ลาวเพิ่มขึ้นเนื่องจากราคาเมล็ดกาแฟในท้องถิ่นดีขึ้น ในช่วง 5 เดือนแรกของปีที่แล้วสปป.ลาวส่งออกกาแฟเกือบ 12,000 ตันมูลค่าประมาณ 24.9 ล้านดอลลาร์ ปีนี้เพิ่มขึ้นเกือบ 20,000 ตันมูลค่า 37 ล้านดอลลาร์ ในกรณีของกาแฟ Arabica โดยเฉพาะเมล็ดแดง บริษัทในสปป.ลาวซื้อจากเกษตรกรราคาสูงสุดคือ 3,200 kip ($ 0.35) และราคาต่ำสุดคือ 2,800 kip ในเดือนธันวาคมปีที่แล้ว ในเวลาเดียวกันราคาสูงสุดและต่ำสุดของเมล็ดกาแฟขาวคือ 16,500 kip และ 15,000 kip  ในขณะที่ราคาของ Robusta อยู่ที่ 12,500 kip และ 11,000 kip เนื่องจากการระบาดของโรค Covid-19 ผู้ผลิตกาแฟลาวส่วนใหญ่ต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนคนงานและการสั่งซื้อผู้นำเข้าบางรายได้สั่งระงับและยกเลิกจนกว่าสถานการณ์จะกลับมาเป็นปกติ กาแฟเป็นหนึ่งในรายได้สูงสุดของสินค้าเกษตรส่งออกจากสปป.ลาว คุณภาพของผลิตภัณฑ์กาแฟสปป.ลาวปรับตัวดีขึ้นเนื่องจากความร่วมมือและการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม อย่างไรก็ตามเกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงผลิตพืชโดยใช้เทคนิคท้องถิ่นซึ่งส่งผลให้ผลผลิตลดลง

ที่มา : https://www.phnompenhpost.com/business/laos-sees-more-revenue-coffee?

สหรัฐอเมริกามอบเงินเพิ่มเติมให้กับสปป.ลาวในการป้องกัน Covid-19

สหรัฐอเมริกาสนับสนุนเงินเพิ่มเติมอีก 2.5 ล้านเหรียญสหรัฐผ่านทาง US Agency เพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (USAID) เพื่อสนับสนุนการตอบสนองของ Covid-19 ในสปป.ลาว ดร. ปีเตอร์เฮย์มอนด์เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยกล่าวว่า “การระดมทุนเพิ่มเติมจากสหรัฐอเมริกาเป็นการยืนยันความมุ่งมั่นของเราภายใต้ความร่วมมือที่ครอบคลุมระหว่างสหรัฐฯ – ลาว ความช่วยเหลือด้วยการระดมทุนล่าสุดนี้ USAID จะให้การสนับสนุนห้องปฏิบัติการสปป.ลาวโดยช่วยให้พวกเขาวินิจฉัยและตรวจพบผู้ป่วย Covid-19 และช่วยในการเฝ้าระวัง Covid-19 เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อต่อไปยังผู้อื่น” ก่อนหน้านี้ในเดือนกุมภาพันธ์ USAID ได้จัดหาเครื่องมือทางการแพทย์วงเงินกว่า 92 ล้านเหรียญสหรัฐนฯ การสนับสนุนของ USAID นอกจากจะควบคุมความเสี่ยงของ COVID-19 แล้วยังมีประโยชน์แต่การระบบสาธารณสุขในอนาคตของสปป.ลาวที่อาจเผชิญกับการระบาดเชื้อไวรัสอื่นๆ นอกเหนือจาก COVID-19 ได้

ที่มา :  http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_US119.php

กัมพูชาวางแผนจัดการหลังการแพร่ระบาดของ Covid-19

นักวิชาการและเจ้าหน้าที่อาวุโสของรัฐกล่าวว่าการฟื้นฟูเศรษฐกิจของกัมพูชาในยุคหลัง COVID-19 กัมพูชาควรมุ่งเน้นไปที่ฐานการผลิต พัฒนาทรัพยากรมนุษย์และเทคโนโลยี โดยกระจายสาขาหลักเพื่อสนับสนุนภาคอื่นๆ จากการวิจัยพื้นฐานรวมถึงการปรับเปลี่ยนภาคการเกษตรให้ทันสมัยต่อโลก ณ ปัจจุบัน ซึ่งการเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชาในปัจจุบันขึ้นอยู่กับการส่งออกเสื้อผ้าและรองเท้า การท่องเที่ยว การก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงการเกษตร โดยในปัจจุบันการส่งออกเสื้อผ้า รองเท้าและการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการระบาดของ Covid-19 ผ่านการพูดคุยอภิปรายหัวข้อช่วงหลังโคโรนาไวรัส ซึ่งจัดทำโดยราชบัณฑิตยสถานแห่งกัมพูชา (RAC) เพื่อตอบสนองต่อวิสัยทัศน์ของรัฐบาลและเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจหลัง COVID-19 ระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องทั้งหมดจะต้องเตรียมการศึกษาวิจัยและจะต้องให้ความสนใจกับฐานการผลิตภายในประเทศ โดยเศรษฐกิจกัมพูชาอาจหดตัวมาอยู่ที่ร้อยละ 1.9 ในปีนี้เนื่องจากการระบาดใหญ่ของ COVID-19 ตามที่นายกรัฐมนตรีฮุนเซนได้กล่าวถึงในการวางแผนงบประมาณสำหรับปี 2564-2566 ขณะที่กัมพูชาได้กล่าวถึงอุปสงค์ที่แข็งแกร่งจากคู่ค้า โดยเศรษฐกิจของกัมพูชาอาจจะกลับมาอยู่ที่เติบโตร้อยละ 3.5 ในปี 2564 เนื่องจากการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปของเศรษฐกิจโลกและอุปสงค์จากต่างประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50736572/how-to-survive-post-covid-19/

SSCA ส่งมอบแผนแม่บทสำหรับการก่อสร้างสนามบินแห่งใหม่ในเสียมเรียบ

สำนักเลขาธิการการบินพลเรือนกัมพูชา (SSCA) ได้เสนอแผนแม่บทสำหรับสนามบินนานาชาติเสียมราฐอังกอร์แห่งใหม่ โดยแผนการดังกล่าวถูกส่งมอบให้กับประธานคณะกรรมการสนามบินนานาชาติเสียมราฐอังกอร์ (AIAI) ซึ่งกล่าวว่าองค์กรได้เริ่มก่อสร้างสนามบินนานาชาติเสียมเรียบแห่งใหม่แล้วตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคมปีนี้และจะมีกำหนดจะสร้างสนามบินให้เสร็จภายในวันที่ 14 มีนาคม 2566 ในส่วนของกระบวนการก่อสร้างนั้น บริษัท ได้ให้ความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับทีมเทคนิคของสำนักเลขาธิการการบินพลเรือนโดยเน้นไปที่อุปกรณ์ทางเทคนิคและการออกแบบสนามบิน โดยโฆษกของ SSCA กล่าวว่าแผนแม่บทต้องได้รับการยอมรับจากหน่วยงานการบินก่อน จากนั้นคณะรัฐมนตรีจะตรวจสอบและอนุมัติให้เสร็จสิ้น ในปัจจุบันขณะนี้การพัฒนาสนามบินนานาชาติเสียมราฐใหม่นั้นเสร็จสมบูรณ์ประมาณร้อยละ 25 ซึ่งรวมถึงการเตรียมที่ดินสำหรับอาคารผู้โดยสารและฐานรากของรันเวย์ โดยแผนแม่บทจะช่วยให้บริษัทและรัฐบาลทราบถึงกระบวนการสร้างทั้งในระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว ซึ่งสนามบินแห่งใหม่จะมีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศกัมพูชาตั้งอยู่ห่าง 51 กม. ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองเสียมเรียบและ 40 กม. จากอุทยานโบราณคดีอังกอร์ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 700 เฮกตาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50736589/ssca-hands-over-masterplan-for-new-siem-reap-airport/

รัฐบาลวางแผนจ่ายเงินกระตุ้นสำหรับครัวเรือน 5.4 ล้านคน

รัฐบาลจะอัดฉีดเงิน 20,000 จัตให้กับแต่ละครัวเรือน 5.4 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศเพื่อการกระตุ้นการใช้จ่ายเงินตอบที่ชะลอตัวทางจากการระบาดของ COVID-19 คาดว่าจะแล้วเสร็จในหนึ่งหรือสองสัปดาห์ แรงงานเมียนมาหลายหมื่นคนกลายเป็นผู้ตกงานเมื่อโรงงานปิดเนื่องจากการขาดแคลนวัตถุดิบและคำสั่งยกเลิกเนื่องจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจที่เกิดการระบาดของ COVID-19 นอกจากนี้เกษตรกรท้องถิ่นหลายแสนคนไม่สามารถส่งออกผลผลิตได้เนื่องจากการปิดพรมแดนและชะลอตัวในตลาดท้องถิ่น ก่อนหน้านี้รัฐบาลขอความช่วยเหลือจากผู้ให้บริการการชำระเงินดิจิตอลกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ที่เข้าถึงยาก โดยระบบการชำระเงินผ่านมือถือจะถูกลองใช้ครั้งแรกในเมือง Pobbathiri ใน Nay Pyi Taw เมือง Meikhtila ใน Mandalay และเมือง Kalaw ในรัฐฉาน ปัจจุบันมีผู้ป่วย COVID-19 จำนวน 287 ราย ผู้เสียชีวิต 6 ราย และรักษาหายแล้ว 196 ราย

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/govt-plans-stimulus-payments-54m-households.html