เวียดนามเผยผู้ผลิตปูนซีเมนต์เร่งปรับตัวตามสถานการณ์

ภาคอุตสาหกรรมซีเมนต์เวียดนามเผชิญกับภาวะอุปทานส่วนเกิน “Over Supply” และธุรกิจจำเป็นอาศัยกลยุทธ์ยืดหยุ่น เพื่อที่จะก้าวข้ามปัญหาอุปสรรคจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยเฉพาะโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่ขาดแคลนเงินทุน ทั้งนี้ จากตัวเลขทางสถิติของกระทรวงก่อสร้าง ชี้ให้เห็นว่าเวียดนามมีกำลังการผลิตซีเมนต์มากกว่า 100 ล้านตันในปีนี้ ขณะที่ การบริโภคในประเทศคาดว่าจะอยู่ที่ 67 ล้านตัน ส่วนการส่งออกลดลงอย่างหนักในช่วง 5 เดือนแรกปีนี้ ร้อยละ 13 เมื่อเทียบกับปีก่อน นอกจากนี้ กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมของฟิลิปปินส์ (DTI) ระบุว่าได้ดำเนินมาตรการปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศ ตั้งแต่ปี 2562-2564 จากการที่นำเข้าซีเมนต์จากเวียดนาม ส่งผลกระทบอย่างมากต่ออุตสาหกรรมนี้ เพราะว่าเป็น 1 ในกลุ่มลูกค้ารายใหญ่ที่สุดของประเทศ หากนับตั้งแต่เริ่มเก็บภาษีในช้วงต้นปี 2562 ยอดส่งออกไปยังฟิลิปปินส์ลดลงร้อยละ 23 ในแง่ปริมาณ และร้อยละ 17.4 ในแง่มูลค่า คิดเป็นมูลค่าเพียง 257 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม โอกาสสำหรับอุตสาหกรรมก่อสร้างและวัสดุก่อสร้างในปีนี้ มีแนวโน้มไปในทิศทางที่เป็นลบ แต่ธุรกิจส่วนใหญ่มองว่าถึงเวลาที่จะปรับโครงสร้างธุรกิจ เพื่อความโปร่งใสและเป็นมืออาชีพมากขึ้น

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/738283/cement-producers-urged-to-be-flexible.html

เวียดนามคุมสินเชื่อ โต 2.13% ช่วง 6 เดือน

ธนาคารกลางเวียดนาม (SBV) เปิดเผยว่าการขยายตัวสินเชื่อ ณ วันที่ 16 มิ.ย. คาดจะอยู่ที่ร้อยละ 2.13 เมื่อเทียบกับสิ้นปีที่แล้ว ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี 2562 ที่ร้อยละ 5.7 รองผู้อำนวยการธนาคารกลาง คาดว่าการเติบโตของสินเชื่อจะอยู่ในระดับต่ำ เป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในขณะที่ เมื่อวันที่ 29 พ.ค. อัตราการเติบโตของปริมาณเงินความหมายกว้าง (M2) ประกอบด้วยเงินสดที่อยู่ในระบบและเงินฝากทั้งหมด จะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ทั้งนี้ สินเชื่อทางการเกษตรเติบโตร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบสิ้นปีที่แล้ว ตามมาด้วยมาภาคส่งออก (4.94%), ภาคเทคโนโลยี (2.92%) อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง (2.27%) และธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (-0.7%) เป็นต้น นอกจากนี้ ด้านสินเชื่อคงค้างในระบบ พบว่ามีมูลค่าอยู่ที่ 12.87 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงครึ่งปีแรก เหตุจากผลกระทบโควิด-19 อย่างไรก็ตาม ระบบธนาคารยังให้การสนับสนุนลูกค้า โดยเฉพาะการปรับโครงสร้างหนี้และการพักชำระหนี้ชั่วคราว

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/mekong-delta-leads-in-provincial-competitive-index/174954.vnp

เมียนมาเตรียมจัดการกับผลกระทบทางเศรษฐกิจจาก COVID-19

เศรษฐกิจเมียนมาคาดว่าจะลดลงอีกในปีนี้เนื่องจากการระบาด COVID-19 นางอองซานซูจีที่ปรึกษาของรัฐกล่าวระหว่างการประชุมกับรัฐมนตรีคลังที่สำคัญในวันที่ 16 มิถุนายน 63 ความเสียหายส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในไตรมาสที่สามและสี่ของปีนี้ ดังนั้นรัฐบาลต้องการให้ประชาชนได้เตรียมความพร้อมด้านการเงินเพื่อรับมือกับวิกฤติที่จะเกิดขึ้น ในช่วงสามเดือนที่ผ่านมาเมียนมาได้กู้ยืมเงินดอกเบี้ยต่ำจากพันธมิตรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศและผู้ให้กู้มูลค่า 1.25 พันล้านดอลลร์สหรัฐเพื่อจัดการกับความเสียหายทางเศรษฐกิจที่เกิดจาก COVID-19 ประกอบไปด้วยกองทุนรวม 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) 270 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากญี่ปุ่น 250 ล้านดอลลาร์ดอลลาร์สหรัฐจากธนาคารโลก และ 30 ล้านดอลลาร์ดอลลาร์สหรัฐจากธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) รัฐบาลได้จัดทำแผนบรรเทาเศรษฐกิจ COVID-19 (CERP) ซึ่ง SMEs กว่า 2,000 แห่งได้รับเงินกู้ยืมดอกเบี้ยต่ำจากกองทุน 100 พันล้านจัต โดยมีการจัดสรรเงินทุนเพิ่มเติมจำนวนมากถึง 500,000 ล้านจัตเพื่อช่วย SMEs และธุรกิจการท่องเที่ยวและการผลิตอื่น ๆ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-prepared-manage-further-economic-fallout-dassk.html

สปป.ลาวเตรียมทำแผนระบบการจัดการขยะอย่างยั่งยืน

ผู้เชี่ยวชาญจากสำนักงานการจัดการและบริการนครหลวงเวียงจันทน์ (VCOMS) สำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งเกาหลี (KOICA) และสถาบัน Global Green Growth (GGGI) ประชุมกันเมื่อวันศุกร์เพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับกลยุทธ์การจัดการขยะมูลฝอยและแผนปฏิบัติการที่ยั่งยืนสำหรับเวียงจันทน์ในปี 2563-2573 การประชุมเชิงปฏิบัติการยังสื่อสารถึงเป้าหมายสำคัญที่จะบรรลุในปี 2030 คือการสร้างขีดความสามารถในการบำบัดน้ำเสียและขยะเพื่อสิ่งแวดล้อม ด้วยการระดมทุนจากกองทุนคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ผลลัพธ์เชิงกลยุทธ์จะเพิ่มโอกาสในการเสียทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยใช้การแยกแหล่งที่มาและกลไกการขนส่งที่มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้จะช่วยเพิ่มอัตราการคืนสภาพวัสดุให้สูงสุดโดยการเพิ่มขีดความสามารถในการบำบัดของเสียโดยใช้สิ่งอำนวยความสะดวกเชิงกลและทางชีวภาพ (MBT) ในอนาคตหากแผนการพัฒนาเกิดประสิทธิภาพสูงสุดเวียงจันทน์จะได้รับการยอมรับว่าเป็นเมืองที่มีระบบการจัดการขยะได้มาตราฐานสากลรวมถึงสิ่งแวดล้อมที่จะดีขึ้นตามมาด้วย

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Vientiane115.php

สำนักงานประกันสังคมเสนอการช่วยเหลือทางการเงินแก่พนักงานในช่วงการระบาดใหญ่ของ Covid-19 ในสปป.ลาว

นายจ้างสามารถลงทะเบียนกับสำนักงานประกันสังคมลาว (LSS) เพื่อขอความช่วยเหลือทางการเงินสำหรับพนักงานที่ว่างงานชั่วคราวหรือผู้ที่สูญเสียวันทำงานอันเนื่องมาจากมาตรการ social distancing ในช่วงการระบาดของ COVID-19 สถานที่ทำงานหลายแห่งนำนโยบายการหมุนเวียนพนักงานเพื่อลดจำนวนคนในสำนักงานและโรงงานซึ่งหมายความว่าพนักงานทำงาน 1 วันและหยุดงาน 1 วัน ตาม LSS นายจ้างจะต้องส่งเอกสารที่จำเป็นสำหรับการสนับสนุนทางการเงิน รวบรวมรายชื่อพนักงานที่เอาประกัน พร้อมรายละเอียดที่ได้รับการยืนยันโดยสมาคมที่เกี่ยวข้องและหน่วยงานของรัฐเพื่อตรวจสอบว่าลูกจ้างตกงานหรือสูญเสียการทำงานเต็มวัน การสนับสนุนทางการเงินสำหรับพนักงานครอบคลุมการขาดงานชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 1-18 พ.ค. หากผู้ประกอบการเช่นโรงแรม ร้านอาหาร บริษัททัวร์และโรงงานหยุดทำงานชั่วคราวอีกครั้งสามารถนำไปใช้กับ LSS ได้อีกครั้ง แต่ห้ามส่งพนักงานที่มีประกันน้อยกว่าหนึ่งปี LSS กล่าวว่าจะให้การสนับสนุนทางการเงิน 60 เปอร์เซ็นต์ของเงินเดือนพนักงานของผู้เอาประกันภัย นอกจากนี้เงินช่วยเหลือจะจ่ายให้กับพนักงานที่ออกจากงานชั่วคราวเนื่องจาก COVID-19 แต่ไม่ใช่สำหรับคที่ลาออก และจะตรวจสอบรายละเอียดการเรียกร้องของพนักงานแต่ละคน หากสอดคล้องกับข้อมูลของสำนักงาน เงินจะถูกโอนไปยังบัญชีธนาคารของพนักงานโดยตรง

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Social115.php

กัมพูชาคาดหวังสำหรับการเริ่มต้นใหม่ของภาคการท่องเที่ยวภายในประเทศ

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในกัมพูชาอาจจะฟื้นตัวได้ในปี 2025 จากการระบาดของ COVID-19 ที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว รวมถึงอุตสาหกรรมอื่นๆ ภายในประเทศ โดยหากทุกประเทศทั่วโลกสามารถควบคุมการระบาดของ Covid-19 ได้ร้อยละ 70 ในปลายปีนี้การเติบโตของภาคการท่องเที่ยวในกัมพูชาคาดว่าจะฟื้นตัวประมาณร้อยละ 30 ในปี 2021 และ 2022 กล่าวโดยประธานสมาคมการท่องเที่ยวแห่งเอเชียแปซิฟิกประเทศกัมพูชาบทที่ (PATACC) ซึ่งตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเมษายน 2020 กัมพูชาได้ให้การต้อนรับชาวต่างชาติเพียงประมาณ 1.16 ล้านคน ตามตัวเลขจากกระทรวงการท่องเที่ยว อย่างไรก็ตามมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางมาเยือนกัมพูชา 4,841 คน ในเดือนเมษายน คิดเป็นการลดลงถึงร้อยละ 99.1 เมื่อเทียบเป็นรายปี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50734635/hopes-for-early-tourism-resumption-dashed/

กัมพูชาคาดกลุ่มอุตสาหกรรมนอกเหนือกลุ่มเครื่องนุ่งห่มยังคงแข็งแกร่งในปีหน้า

อุตสาหกรรมนอกเหนือกลุ่มเครื่องนุ่งห่มในกัมพูชาคาดว่าจะยังคงแข็งแกร่งในปีหน้า โดยได้รับการสนับสนุนจากภาคเกษตรและบริการตามแผนยุทธศาสตร์งบประมาณของรัฐบาลในปี 2564-2566 ท่ามกลางการระบาดของ Covid-19 รัฐบาลวางแผนที่จะลดงบประมาณของรัฐในปี 2021 เป็นประมาณ 4 พันล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็นการลดลงร้อยละ 50 จากปีนี้ ตามแผนงบประมาณรัฐบาลคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของประเทศจะหดตัวมาอยูที่ระดับร้อยละ 1.9 ในปี 2020 แต่จะดีดตัวขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 3.5 ในปี 2021 ที่คาดว่าจะหนุนโดยภาคเกษตรที่เติบโตร้อย 1.6 และภาคบริการที่เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมคาดว่าจะเติบโต ร้อยละ 4.1 ผ่านการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มที่ไม่ใช่เสื้อผ้า รวมถึงการเติบโตจะมาจากการทำข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) กับหลายประเทศ เช่น จีน, เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น โดยเฉพาะการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร, วัสดุก่อสร้าง, การประกอบชิ้นส่วนและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50734782/non-garment-sectors-predicted-to-remain-healthy-next-year/

สศก. แจงสถานการณ์ส่งออกสินค้าเกษตรไทยในอาเซียน เผยไตรมาสแรกยังเติบโตดี

นางสาวทัศนีย์ เมืองแก้ว รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงการติดตามสถานการณ์การค้าสินค้าเกษตรและยางพาราธรรมชาติ (พิกัด 4001) ของไทยกับภูมิภาคอาเซียน ในช่วง 3 เดือนแรก (มกราคม-มีนาคม) ของปี 2563 พบว่า ไทยมีมูลค่าการค้าสินค้าเกษตรรวม 113,566 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.10 จากปี 2562 ในช่วงเวลาเดียวกัน โดยมีมูลค่าส่งออกเป็น 75,415 ล้านบาท ประกอบด้วย กลุ่มสินค้าเกษตรส่งออกที่สำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ น้ำตาลและผลิตภัณฑ์จากน้ำตาล เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ของปรุงแต่งเบ็ดเตล็ดที่บริโภคได้ ของปรุงแต่งจากธัญพืช แป้งและนม สำหรับการนำเข้ามีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยมีมูลค่าการนำเข้า 38,151 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2562 ร้อยละ 41.43 โดยกลุ่มสินค้าเกษตรนำเข้าที่สำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ พืชผักที่บริโภคได้โดยเฉพาะมันสำปะหลังและถั่วเขียว ปลาและสัตว์น้ำ ของปรุงแต่งเบ็ดเตล็ดที่บริโภคได้ ข้าวและธัญพืช และของปรุงแต่งจากธัญพืช แป้งและนม ทั้งนี้เนื่องจากอยู่ในช่วงเวลาการอนุญาตให้มีการนำเข้าโดยไม่จำกัดปริมาณภายใต้กรอบความตกลงเขตการค้าเสรuอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA) ตามประกาศของกระทรวงพาณิชย์ ประกอบกับผลผลิตในประเทศมีปริมาณน้อยลง ทั้งจากปัญหาภัยแล้งรวมถึงโรคระบาดในข้าวโพด ทำให้ผลผลิตที่ได้มีไม่เพียงพอ ต่อความต้องการใช้ จึงมีการนำเข้ามาเป็นจำนวนมาก เพื่อแปรรูปเป็นอาหารสัตว์และจำหน่ายต่อไป

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/prg/3134064

ส่งออกสิ่งทอเครื่องนุ่งห่มและไลฟ์สไตล์ไทย 4 เดือนแรกปี’63 ร่วง 10%

นายสมเด็จ สุสมบูรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัว การแข่งขันทางการค้าที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ตลอดจนการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการค้าและการส่งออกของหลายประเทศรวมถึงประเทศไทย ทั้งนี้ อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม (สะสม) ช่วง 4 เดือน (ม.ค.-เม.ย. 2563) พบว่า การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 2,032.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปี 2562 มูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มลดลง 10.7% โดยแยกเป็นการส่งออกกลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 1,280.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 13.4% และ การส่งออกกลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 752.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 5.8% ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ จึงมีแนวคิดในการพลิกฟื้นการค้าและการส่งออกของประเทศโดยการเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการเพื่อรองรับธุรกิจตามวิถีใหม่ (New normal) สำหรับภาคธุรกิจภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) โดยนำร่องพัฒนา 30 ผลิตภัณฑ์ นำไปทดสอบตลาดคาดว่าจะทำให้ผู้ประกอบการมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 10% หรือมูลค่าไม่ต่ำกว่า 50 ล้านบาท

ที่มา : https://www.khaosod.co.th/economics/news_4326769

เวียดนามเผยราคาเนื้อหมูดิ่งลง หลังจากนำเข้าจำนวนมาก

ราคาเนื้อหมูในประเทศประสบปัญหาดิ่งลงฮวบในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา หลังจากกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท (MARD) อนุญาตให้บริษัทสามารถนำเข้าสุกรมีชีวิตจากไทย ด้วยเหตุนี้ ราคาสุกรมีชีวิตในจังหวัดทางตอนเหนือชองประเทศปรับตัวลดลง ระหว่าง 88,000-93,000 ด่งต่อกิโลกรัม เมื่อวันที่ 15 มิ.ย. ขณะที่ ภาคกลางมีราคาผันผวนอยู่ที่ 84,000-91,000 ด่งต่อกิโลกรัม ซึ่งคาดว่าราคาจะยังคงลดลงต่อไปอีกในสัปดาห์หน้า เมื่อมีการนำเข้าสุกรจากไทยจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ประเด็นดังกล่าว ทำให้ผู้คนในท้องถิ่นมีความกังวลถึงการนำเข้าสุกรมีชีวิต เนื่องจากมีความเสี่ยงอีกครั้งของการแพร่ะระบาดโรคไข้หวัดสุกร ทั้งนี้ รองผู้อำนวยการสำนักเกษตรและพัฒนาชนบท กล่าวว่ามีธุรกิจจำนวนหนึ่งได้ลงทะเบียนเพื่อสามารถนำเข้าสุกรมีชีวิต ซึ่งหนึ่งในกลุ่มดังกล่าว มีปริมาณการนำเข้าสุกรสูงถึง 100,000-200,000 ตัว นอกจากนี้ ราคาขายสุกรมีชีวิตยังไม่เปิดเผยอย่างเป็นทางการ แต่คาดว่าราคาจะอยู่ที่ราว 50,000 ด่งต่อกิโลกรัม

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/domestic-pork-prices-fall-as-pigs-imported-in-large-volume-414963.vov