สำรวจแหล่งข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 4 จ. ภาคเหนือ เจาะสถานการณ์นำเข้าจากเมียนมาผ่านด่านแม่สอดไทย

เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จังหวัดตาก น่าน พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ เป็นแหล่งผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทางภาคเหนือ โดยข้อมูลพยากรณ์ ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2563 พบว่า เนื้อที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2562/63 รวม 4 จังหวัด มีจำนวน 2.319 ล้านไร่ ลดลงจากปี 2561/62 ที่จำนวน 2.419 ล้านไร่ (ลดลงร้อยละ 4) ผลผลิต 1.509 ล้านตัน ลดลงจากปี 2561/62 ที่จำนวน 1.743 ล้านตัน (ลดลงร้อยละ 13) เนื่องจากประสบปัญหาภัยแล้ง ฝนทิ้งช่วง อีกทั้งยังประสบปัญหาหนอนกระทู้ระบาด ภายใต้กรอบความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) กำหนดให้มีการนำเข้าโพดเลี้ยงสัตว์จากประเทศเพื่อนบ้านในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงสิงหาคมของทุกปี ในอัตราภาษีนำเข้า 0% และโดยในช่วงวันที่ 1 ถึง 23 กุมภาพันธ์ 2563 พบว่า มีการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากแหล่งผลิตที่สำคัญของเมียนมา ได้แก่รัฐฉาน อิระวดี ซึ่งมีแนวชายแดนติดต่อกับจีน จำนวนมากถึง 279,000 ตัน โดยนำเข้าทางด่านพรมแดนแม่สอดจังหวัดตาก เนื่องจาก มีการระบาดของโรคอหิวาต์อาฟริกาในสุกร ทำให้จีนมีนโยบายไม่รับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากเมียนมา ส่งผลให้ราคาข้าวโพดในประเทศมีแนวโน้มลดลงโดยราคาเฉลี่ยในเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์อยู่ที่กิโลกรัมละ 7.77 บาทลดลงจาก 8.65 บาท (ร้อยละ 10) ในช่วงเดียวกันของปี 2562 ทั้งนี้ จากการสอบถามเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดตาก น่าน พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ เกษตรกรมีความพึงพอใจที่รัฐบาลให้การช่วยเหลือ แต่เกษตรกรในบางพื้นที่ยังไม่เข้าใจหลักเกณฑ์ที่จะได้รับการช่วยเหลือ ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ควรประชาสัมพันธ์รายละเอียดโครงการให้เกษตรกรทราบ และแนะนำให้ไปขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับกรมส่งเสริมการเกษตรภายหลังจากที่ได้ทำการเพาะปลูกไปแล้ว 15 – 60 วัน เพื่อรับสิทธิในการช่วยเหลือต่อไป

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/prg/3104872

กรมการค้าต่างประเทศ เดินสายประชาสัมพันธ์ข้าวไทย

อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมฯ ได้เข้าร่วมงานงานแสดงสินค้า Gulfood 2020 ณ เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ระหว่างวันที่ 16 – 20 ก.พ. 63 ที่ผ่านมา เพื่อประชาสัมพันธ์สร้างภาพลักษณ์ข้าวไทยรวมทั้งสร้างความรับรู้เกี่ยวกับมาตรฐานข้าวไทยและศักยภาพของผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย โดยได้นำตัวอย่างข้าวคุณภาพดีของไทย ชนิดต่างๆ เช่น ข้าวหอมมะลิไทย ข้าวขาว ข้าวนึ่ง และข้าวเหนียว ไปจัดแสดงร่วมกับการจัดบอร์ดประชาสัมพันธ์สร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับมาตรฐานข้าวไทยนอกจากนี้ยังได้นำเสนอข้าวที่มีคุณลักษณะพิเศษของไทยและข้าวเพื่อสุขภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง อาทิ ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ข้าวหอมนิล ข้าวกล้องแดง ข้าว กข 43 และข้าว กข 79 ให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการใหม่ๆ ของผู้บริโภคในปัจจุบันที่ให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้น ตลอดจนการจัดให้ชิมตัวอย่างข้าวไทยชนิดต่างๆ เพื่อให้ผู้เข้าชมงานได้สัมผัสรสชาติของข้าวไทยที่มีความหลากหลายและเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้ซื้อ ผู้นำเข้า ผู้กระจายสินค้า และผู้สนใจทั่วไป ได้มีการสอบถามรายละเอียดต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องคุณลักษณะและมาตรฐาน รวมถึงเรื่องราคาข้าวรวมทั้งยังได้นำผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรนวัตกรรมเข้าร่วมจัดแสดงและประชาสัมพันธ์ด้วย โดยผู้นำเข้าทั้งจากตะวันออกกลางและจากทั่วโลกกว่า 100 ราย อาทิ อินเดีย ฟิลิปปินส์ บาห์เรน จอร์แดน ออสเตรเลีย และแอฟริกาใต้  ได้ให้ความสนใจสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยทั้งที่เป็นอาหารและไม่ใช่อาหาร  ซึ่งสินค้าที่ได้รับความสนใจสูงสุด ได้แก่ กระเทียมดำ โยเกิร์ตจากมะพร้าว น้ำนมข้าวยาคู ผลิตภัณฑ์แต่งกลิ่นเทียมจากส่วนผสมธรรมชาติ และอาหารสำหรับทารก

ที่มา :https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/870189?utm_source=category&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=economic

ตลาด ‘อีคอมเมิร์ซเวียดนาม’ แตะระดับมากกว่า 17 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2566

จากข้อมูลของ GlobalData คาดการณ์ว่ามูลค่าของตลาดอีคอมเมิร์ซเวียดนามอยู่ที่ 17.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2566 และปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2562 ราว 9.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดย GlobalData เป็นบริษัทวิเคราะห์และจัดหาข้อมูล ระบุว่าอัตราการเติบโตของตลาดอีคอมเมิร์ซเวียดนามจะเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 16.3 และมองว่าตลาดอีคอมเมิร์ซเวียดนามเพิ่มขึ้นมาเป็น 2 เท่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาจากการใช้จ่ายออนไลน์ ด้วยมูลค่าของตลาดดังกล่าวเพิ่มขึ้นจาก 3.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2558 จนมาถึงในปี 2562 อยู่ที่ 9.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ ผลสำรวจของบริษัท GlobalData แสดงให้เห็นว่าการชำระผ่านเงินสดยังคงเป็นช่องทางการชำระเงินที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 35.6 ของการทำธุรกรรมบนอีคอมเมิรซ์ และ MoMo เป็นช่องทางการชำระเงินที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในเวียดนาม รองลงมา Paypal นอกจากนี้ บริษัทระดับโลกได้ส่งเสริมการลงทุนไปยังกลุ่มบริษัทอีคอมเมิร์ซเวียดนาม ได้แก่ TiKi ได้รับเงินทุน 5.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากบริษัท VNG Corporation และอีก 44 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากนักลงทุนชาวจีน (JD.com)

ที่มา : https://en.nhandan.com.vn/business/item/8479702-vietnam%E2%80%99s-e-commerce-market-to-surpass-us$17-billion-in-2023.html

เวียดนามนำเข้าเนื้อสุกรพุ่งสูงขึ้น ช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์

เวียดนามนำเข้าเนื้อสุกรมากกว่า 13,800 ตัน ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2563 เพิ่มขึ้นร้อยละ 150 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งแคนาดาเป็นผู้นำเข้าเนื้อสุกรรายใหญ่ที่สุดจากเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 33.06 ของการนำเข้าจากต่างประเทศรวม ตามมาด้วยเยอรมัน (25.4%), บราซิล (16.10%), โปรแลนด์ (15.81%) และสหรัฐฯ (7.78%) ขณะเดียวกัน เวียดนามนำเข้าเนื้อวัวมากกว่า 12,450 ตัน และเนื้อกระบืออยู่ที่ 12,930 ตัน หากจำแนกรายสินค้า พบว่าเนื้อกระบือส่วนใหญ่มาจากอินเดีย และเนื้อวัวส่วนใหญ่มาจากสหรัฐฯ ออสเตรเลียและแคนาดา ทั้งนี้ จากข้อมูลของกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท (MARD) ระบุว่าตั้งแต่ต้นปีนี้จนถึงเดือนมีนาคม 2562 ปริมาณเนื้อสุกร 24 ล้านตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 77 ของเนื้อสุกรรวม ก่อนที่จะเผชิญกับไข้หวัดหมูแอฟริกา (AFS) ในขณะเดียวกัน จำนวนสุกรในประเทศคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจนถึงเดือนเมษายน เพื่อที่มั่นใจว่าอุปทานเนื้อสุกรจะเพียงพอในการรองรับอุปสงค์ในประเทศ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/pork-imports-surge-in-january-february/169917.vnp

เมียนมาอนุญาติทำเหมืองแร่ 1,250 บล็อก

รัฐบาลได้อนุญาตให้ขุดบล็อกเพื่อทำเหมืองแร่ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็กจำนวน 1,250 แห่งในภูมิภาคและรัฐต่างๆ จนถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ตามรายงานของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จากจำนวนทั้งหมด 112 บล็อกในรัฐคะฉิ่น, 18 ในรัฐกะยา,  46 บล็อกในรัฐกะเหรี่ยง, 4 บล็อกในรัฐชิน, 230 บล็อกในเขตสกาย, 86 บล็อกในเขตตะนาวศรี, 3 บล็อกในเนปยีดอ, 7 บล็อกในเขตพะโคะ, 53 บล็อกในเขตมะกเว, 333 บล็อกในเขตมัณฑะเลย์, 24 บล็อกในรัฐมน, 1 บล็อกในรัฐยะไข่, 143บล็อก ในรัฐฉาน(ใต้), 95 บล็อกในรัฐฉาน (เหนือ), 92 บล็อกในรัฐฉาน (ตะวันออก) และ 3 บล็อกในภูมิภาคอิรวดี ในสามเดือนของปีงบประมาณ 2562-2563 มีการสกัดโลหะ 151.84 ตันจากบล็อกเหมืองแร่ดีบุกและทังสเตนในรัฐและภูมิภาค โดยเขตตะนาวศรีผลิตได้จำนวนมากที่สุด

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/1250-mining-blocks-approved-in-regions-states-till-february

เริ่มแล้วสำหรับ EIA ท่าเรือน้ำลึกเจาะพยู

CITIC Group กลุ่มทุนใหญ่จากจีนเริ่มการประมูลการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ต่อกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสำหรับการเป็นที่ปรึกษาสำหรับโครงการท่าเรือในใจกลางยะไข่ หลังจากผ่านการคัดกรองข้อเสนอที่ได้รับจาก CITIC Group ในเดือนกันยายน 2562 โครงการเจาะพยู หมายถึง เขตเศรษฐกิจพิเศษซึ่งมีท่าเรือน้ำลึก สวนอุตสาหกรรม และโครงการอื่น ๆ โครงการขนาดใหญ่ซึ่งนำโดย CITIC และประกอบด้วย บริษัทจีนอีกสี่แห่งและกลุ่มเครือเจริญโภคภัณฑ์ของไทย เจาะพยูเป็นที่ตั้งของท่อส่งน้ำมันคู่ที่ผลิตและส่งออกน้ำมันไปยังประเทศจีน การมีท่าเรือในใจกลางยะไข่เป็นสิ่งสำคัญทางภูมิศาสตร์สำหรับประเทศจีนในการลดการพึ่งพาช่องแคบมะละกาผ่านระเบียงเศรษฐกิจจีน – เมียนมาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/eia-process-kyaukphyu-port-start.html

ความกลัวการระบาดของ Covid-19 ทำให้การเช่ารถลดลง

ธุรกิจจำนวนมากที่ทำงานด้านการท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวข้องในสปป.ลาว กังวลหลังจากการระบาดของ coronavirus (Covid-19) การระบาดของโรคได้ก่อให้เกิดการยกเลิกการจองโรงแรม ร้านอาหาร ซึ่งกำลังขาดทุนและบริการรถเช่ากำลังสูญเสียลูกค้า โดยการจองรถเช่าลดลงอย่างมาก เนื่องจากลูกค้ายกเลิกการเดินทางไปสปป.ลาวและประเทศเพื่อนบ้าน บริษัท R W Car Rental & Cleaning Service จำกัด ในกรุงเวียงจันทน์นั้นแทบจะไม่ได้ทำธุรกิจกับลูกค้าหลายรายที่ยกเลิกการจองรถ มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญและโดยตรงกับธุรกิจรถเช่าเพราะบริการประเภทนี้พึ่งพาการจองของลูกค้าเป็นอย่างมาก หลายบริษัทให้บริการที่คล้ายกันเนื่องจากจำนวนลูกค้าลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ในขณะเดียวกันบริษัท the Phouphieng Bolaven Travel จำกัด ในแขวงจำปาศักดิ์กำลังเผชิญสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกันและได้เห็นลูกค้าลดลงอย่างมาก การท่องเที่ยวหลายแห่งในสปป.ลาวก็ประสบกับการลดจำนวนผู้เยี่ยมชม นอกจากนี้รัฐบาลได้ยกเลิกกิจกรรมระดับชาติที่สำคัญหลายประการ เที่ยวบินถูกระงับชั่วคราวหรือยกเลิก แม้ว่าจะไม่มีการยืนยัน Covid-19 ในสปป.ลาว แต่เทศกาลและกิจกรรมอื่น ๆ ได้ถูกยกเลิกหรือเลื่อนออกไปตามมาตรการป้องกันไว้ก่อน

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/fear-covid-19-outbreak-causes-cuts-car-rentals-115470

Covid-19 ส่งผลต่อยอดขายของภาคธุรกิจในสปป.ลาว

ผู้ค้าปลีกในเวียงจันทน์กำลังได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัส COVID-19 ซึ่งทำให้ยอดขายลดลงและยังส่งผลให้มีการเลื่อนงานแสดงสินค้าและนิทรรศการออกไปหลายงาน แม้ว่าห้างสรรพสินค้ากำลังดำเนินการเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด แต่ก็ไม่ได้ช่วยเพิ่มจำนวนผู้มาเที่ยวห้าง โดยในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมายอดขายของผู้ประกอบการลดลงร้อยละ 70 ในช่วงเดียวกันเมื่อปีที่แล้ว ทำให้ต้องมีการปรับรูปแบบช่องทางการชายไปเน้นทางการขายออนไลน์มากขึ้น ในปีนี้ภาคธุรกิจต้องรับมือกับสถานการณ์ที่อาจมีผลต่อธุรกิจ ทั้งการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 และการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจทั่วโลกล้วนมีผลต่อจำนวนนักท่องเที่ยวและการจับจ่ายใช้สอยของคนในสปป.ลาว ภาครัฐควรมีนโยบายในการเข้ามาช่วยสนับสนุนธุรกิจในขณะนี้ทั้งนี้ในส่วนธุรกิจเองก็ควรมีการรับมือและปรับตัวให้สามารถผ่านพ้นช่วงนี้ไปได้  

ที่มา  : http://annx.asianews.network/content/covid-19-vendors-unable-sell-wares-make-profit-115471

ข้อตกลงสร้างเขื่อนในกัมพูชามูลค่าโครงการ 800,000 เหรียญสหรัฐในการบำบัดน้ำ

บริษัทผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ Sinohydro Kamchay ของจีนวางแผนที่จะเริ่มก่อสร้างฝายน้ำล้นมูลค่า 800,000 เหรียญสหรัฐในจังหวัดกำปอต ซึ่งการประกาศดังกล่าวได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MoU) ระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรมและหัตถกรรมกับบริษัทไฟฟ้าพลังน้ำ Sinohydro Kamchay โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและหัตถกรรมกล่าวว่าการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ที่ครอบคลุมเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของมิตรภาพที่แข็งแกร่งระหว่างกัมพูชาและจีน ซึ่งโครงการจะสามารถกักเก็บน้ำได้ 1,770 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปีจากเขื่อนใน Preak Kampong Bai และจะไหลผ่านเขื่อนพลังน้ำใน Kamchay และจะถูกนำไปผ่านกระบวนการบำบัดที่โรงงานบำบัดน้ำที่กัมปอตโดยให้น้ำที่ผ่านการบำบัด 22 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี โดยเขื่อนแห่งใหม่จะมีส่วนช่วยในการพัฒนาแหล่งน้ำสะอาดในกัมพูชาโดยเฉพาะในจังหวัดกำปอด

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50700257/800k-dam-deal-inked-to-provide-clean-water

รัฐบาลกัมพูชาจัดตั้งกองทุนมูลค่า 2 พันล้านเหรียญสหรัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

รัฐบาลกัมพูชาประกาศเตรียมกองทุนสำรองฉุกเฉิน 800-2,000 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อช่วยเหลือการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจของกัมพูชาหลังจากการระบาดของ COVID-19 โดยในสถานการณ์แรกได้รับงบประมาณอยู่ที่ 800 ล้านเหรียญสหรัฐ หากการระบาดดำเนินการต่อเป็นระยะเวลาหกเดือน สำหรับสถานการณ์ที่สองหากการระบาดยังคงอยู่นานกว่าหนึ่งปีจะใช้เงินจากกองทุนช่วยเหลือ 2,000 เหรียญสหรัฐ ซึ่งรัฐบาลยังคงพยายามอย่างต่อเนื่องในการเปลี่ยนแปลงการชะลอตัวที่เกิดขึ้นในภาคส่วนต่างๆของประเทศอันเป็นผลมาจากไวรัส โดยกองทุนช่วยเหลือจะได้รับการอำนวยความสะดวกจาก รัฐบาล องค์กรระหว่างประเทศ รวมถึงธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) และ IMF ประกาศว่าพวกเขาพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือทางการเงิน ซึ่ง ADB กล่าวว่า COVID-19 จะมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อเศรษฐกิจกับประเทศกำลังพัฒนาในเอเชีย โดยในกรณีที่เลวร้ายที่สุดสำหรับกัมพูชา ABD ประมาณการว่ารายได้จากการท่องเที่ยวจะลดลงถึง 856.5 ล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 3.5%  ของ GDP

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50700267/government-pledges-2billion-fund-for-economy