กนอ.จ่อคลอดแผนนิคมอุตสาหกรรมสกัด ‘โควิด-19’

กนอ.เตรียมออกมาตรการเฝ้าระวังโควิด-19 ในนิคมอุตสาหกรรมทั่วประเทศ เล็งปรับเป้าขายที่ดินปีนี้รับพิษเศรษฐกิจทรุดด้านเอเชียคลีนฯเชื่อไทยสร้างความมั่นใจคุมไวรัสได้ โดยผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่าจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาในหลายประเทศ กนอ.เตรียมจะออกประกาศให้นิคมอุตสาหกรรมทั่วประเทศมีมาตรการและบังคับใช้มาตรการอย่างเข้มงวดในการตรวจและคัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรค โควิด – 19 ตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุขเพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดและลดความเสี่ยงของผู้ที่ทำงานในโรงงานและนิคมอุตสาหกรรม จากเดิมที่ตั้งเป้าหมายการจำหน่ายพื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรมที่อยู่ในความดูแลของ กนอ.ประมาณ 3,000 ไร่ต่อปี โดยปีนี้เศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากหลายด้าน ซึ่งนอกจากเรื่องการแพร่ระบาดของไวรัสแล้วจะต้องประเมินถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อสถานการณ์เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจในประเทศ รวมถึงอัตราแลกเปลี่ยนที่มีแนวโน้มอ่อนค่าลงก็เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของนักลงทุนด้วย โดยเชื่อว่าหากยังสามารถควบคุมการระบาดในประเทศได้ในระดับนี้จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนที่มีแผนที่จะขยายการลงทุนในกลุ่มประเทศ CLMV เข้ามาลงทุนในประเทศไทยเพิ่มขึ้นเพื่อเป็นโอกาสรองรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในอนาคต

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/868079

DITP ผลักดันผู้ประกอบการไทยขายสินค้าสู่ตลาดโลก ผ่านร้าน TOPTHAI

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์จับมือพันธมิตรออนไลน์ชั้นนำ ได้แก่ Kha-leang (ตลาด CLMV), Tmall Global Partner (ตลาดจีน), BigBasket (ตลาดอินเดีย) และ Amazon (ตลาดอเมริกา) จัดกิจกรรม “Cross-Border e-Commerce Solutions & Business Matching” ณ กรุงเทพฯ เพื่อต่อยอดการส่งเสริมผู้ประกอบการให้สามารถขายสินค้าสู่ตลาดต่างประเทศ ผ่านร้าน TOPTHAI บนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ มีวัตถุประสงค์เพื่อขยายโอกาสให้ผู้ประกอบการสามารถขยายธุรกิจระหว่างประเทศผ่านช่องทางออนไลน์ได้ ซึ่งปีนี้จัดขึ้นเป็นปีที่ 3 จึงมีความพิเศษคือจะเป็นการต่อยอดเพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการที่มีศักยภาพที่เข้าร่วมโครงการสามารถขึ้นขายสินค้าบนร้าน TOPTHAI ในแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในตลาดเป้าหมาย อาทิ Kha-leang (ตลาด CLMV), Tmall Global Partner (ตลาดจีน), BigBasket (ตลาดอินเดีย) และ Amazon (ตลาดอเมริกา)

          ที่มา: https://mgronline.com

ยอดขายรถจักรยานยนต์เวียดนามสูงเป็นอันดับ 2 ในภูมิภาคอาเซียน

ถึงแม้ว่ายอดขายรถจักรยานยนต์เวียดนามติดอยู่ในอันดับที่ 2 ในภูมิภาคอาเซียน เมื่อปีที่แล้ว แต่ความต้องการในประเทศกลับลดลงเมื่อเทียบกับการเติบโตของภูมิภาคใกล้เคียงกัน โดยข้อมูลจากบริษัทวิจัยการตลาด เปิดเผยว่าเวียดนามมียอดขายอยู่ที่ 3.27 ล้านคัน เป็นรองอินโดนีเซียที่มียอดขายเพียง 6.53 ล้านคัน สำหรับยอดขายในประเทศนั้น ลดลงร้อยละ 3.7 ในปี 2561 ขณะที่ ยอดขายในภูมิภาคอาเซียนขยายตัวร้อยละ 3.1 เนื่องจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นในอินโดนีเซียและมาเลเซีย  เมื่อจำแนกเป็นยี่ห้อรถจักรยานยนต์ พบว่าฮอนด้าทำสถิติยอดขายสูงสุดอยู่ที่ 2.57 ล้านคัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 และยังคงครองผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุด ทั้งนี้ เวียดนามติดอยู่ในอันดับที่ 4 ที่มีการบริโภครถจักรยานยนต์ ตามมาด้วยอินเดีย จีนและอินโดนีเซีย ตามลำดับ เป็นต้น นอกจากนี้ จากข้อมูลของสมาคมผู้ผลิตรถจักรยานยนต์เวียดนาม ระบุว่าตลาดรถจักรยานยนต์เวียดนามยังคงเติบโต ถึงแม้คาดว่าในครั้งก่อน ตลาดจะอยู่ในช่วงอิ่มตัว ด้วยข้อจำกัดด้านโครงสร้างพื้นฐานและภาษีที่สูง แต่พบว่ายังมีความความต้องการสินค้าประเภทนี้อยู่และข้อจำกัดของรถยนต์ ด้วยเหตุนี้ ทางสมาคมฯมองว่าตลาดจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงในอนาคตข้างหน้า ซึ่งยอดขายชะลอตัวอยู่ที่ราว 3 – 3.5 ล้านคันต่อปี

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vietnams-motorbike-sales-second-highest-in-asean-410556.vov

ไทยตอบโต้การทุ่มตลาดสินค้าเหล็กจากเวียดนาม

หน่วยงานกำกับดูแลมาตรการค้าของเวียดนาม (TRAV) ภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม เปิดเผยว่าประเทศไทยเรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดสินค้าเหล็กของเวียดนาม ในอัตราร้อยละ 6.79 -51.61 ของราคาสินค้ารวมค่าประกันภัยและค่าระวาง (CIF) สำหรับการนำเข้าสินค้าเหล็กจากเวียดนาม ซึ่งทางสำนักงานการค้าเวียดนามในไทยได้แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับสรุปการพิจารณาการทุ่มตลาดสินค้าเหล็กและท่อเหล็กกล้าที่มีแหล่งกำเนิดจากเวียดนาม (HS Code 169) เนื่องจากปกป้องภาคการผลิตอุตสาหกรรมของไทย อย่างไรก็ตาม ข้อตกลงเรื่องการทุ่มตลาด ดำเนินเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดที่ถูกนำมาใช้เป็นเวลาสูงสุดไม่เกิน 5 ปี และสมาชิกสามารถดำเนินการตรวขสอบได้ทุกๆปี ดังนั้น หน่วยงานกำกับดูแลมาตรการค้าของเวียดนามให้คำแนะนำผู้ประกอบการส่งออกชาวเวียดนามในการทบทวนหลักฐาน เพื่อให้แน่ใจว่าถูกต้องและได้รับผลประโยชน์

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/thailand-imposes-antidumping-duty-on-vietnamese-steel-products-410542.vov

แตงโมเมียนมาอ่วม หลังเจอพิษโคโรน่า เสียหายถึง 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สมาคมผู้ผลิตและส่งออกแตงโมและเมล่อนของเมียนมาชี้ตัวเลขการสูญเสียการส่งออกในปีนี้เกือบ 50 ล้านเหรียญสหรัฐ (71,400 ล้านจัต) นอกจากการสูญเสียจากการส่งออกแล้วการเลิกส่งออกยังทำให้สถานการณ์เลวร้ายลง ในช่วงเวลาปกติรถบรรทุกประมาณ 500 ถึง 600 คันต่อวันข้ามชายแดนไปยังจีน แต่ตอนนี้มีเพียง 30 ถึง 40 ต่อวันเท่านั้นซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม ซึ่งผู้ปลูกบางรายกำลังส่งออกโดยการคาดเดาว่าจะดีขึ้น การระบาดของโรค coronavirus เมื่อเร็ว ๆ นี้ผลกระทบต่อการค้าระหว่างจีนและเมียนมาตามแนวชายแดนโดยเฉพาะอย่างยิ่งแตงโมที่ได้รับผลกระทบอย่างหนัก อย่างไรก็ตามจำนวนผู้ซื้อแตงโมจากจีนเพิ่มขึ้นจาก 50 เป็นมากกว่า 200 ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมาซึ่งบ่งชี้ว่าอาจกลับมาเป็นปกติ จากการคาดการณ์การส่งออกปีนี้ 800,000 ตัน แต่มียอดขายเพียง 300,000 ตันเท่านั้น การปิดชายแดนเพียงสองสัปดาห์ส่งผลให้การส่งออกลดลง 66.45 ล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับแตงโม 748,472 ตันในปีงบประมาณ 61-62 การส่งออกไปจีนสร้างรายได้ 77.46 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากผลไม้ทั้งหมด 804,024 ตันในปีงบประมาณ 60-61

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-watermelon-losses-reach-50m.html

ราคาไก่ลดฮวบ ส่งผลต่อพ่อแม่พันธุ์ในท้องถิ่น

การเข้ามาของ บริษัท ต่างประเทศในอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์ปีกในประเทศทำให้เกิดความไม่สมดุลระหว่างการผลิตและการบริโภคซึ่งส่งผลให้ราคาลดลงต่ำกว่าต้นทุนการผลิต ตอนนี้เป็นความกังวลสำหรับฟาร์มขนาดเล็กและขนาดกลางใน สถานการณ์นี้อาจทำให้เกิดความท้าทายครั้งใหญ่สำหรับผู้เพาะพันธุ์ในท้องถิ่น และไม่ควรได้รับอนุญาตให้บริษัทต่างชาติทำการเพาะพันธุ์ไก่ ราคาไก่ที่ต่ำไม่ใช่เพราะการนำเข้า แต่เป็นเพราะอุปทานส่วนเกิน ซึ่งบริษัทต่างชาติขนาดใหญ่เริ่มทำฟาร์มเลี้ยงไก่เช่นกัน เมื่ออุปทานเพิ่มขึ้นราคาก็จะลดลง เป็นการดีที่สุดสำหรับการควบคุมราคาคือให้คนท้องถิ่นในการทำฟาร์มเลี้ยงไก่เอง ต้นทุนการผลิตสำหรับหนึ่ง viss (ประมาณ 1.63 กิโลกรัม) อยู่ที่ 2,800 จัต แต่เนื่องจากปัญหา coronavirus ส่งผลให้ราคาของไก่เนื้อลดลงถึง 2,000 จัต และ 2,300 จัต มีบริษั ต่างประเทศ 10 บริษัท ที่ทำการเพาะพันธุ์ไก่ประมาณ 3 ล้านตัว ในเขตมัณฑะเลย์ เช่น ปวยบเวและเมียงยาน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/chicken-prices-causing-difficulties-local-breeders.html

ดุลการค้าสปป.ลาวขาดดุลลดลง

มูลค่าการนำเข้าสินค้าของลาวลดลงเล็กน้อยจาก 5.8 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2018 เป็น 5.7 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 62 โดยสินค้านำเข้าห้าอันดับแรก ได้แก่ อุปกรณ์ก่อสร้างน้ำมันเชื้อเพลิง แก๊สที่ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ชิ้นส่วนยานยนต์และอาหาร มีมูลค่าลดลงในขนาดที่สินค้าส่งออกสำคัญมีการเพิ่มขึ้นทำให้ดุลการค้าขาดดุลลดลงต่อในตลอด 3 ปี ที่ผ่านจากการส่งเสริมการส่งออกและการผลิตเพื่อบริโภคในประเทศ เมื่อมีการขาดดุลน้อยลงก็เปรียบได้ว่าสปป.ลาวมีทุนสำรองมากขึ้นเป็นตัวบ่งชี้เสถียรภาพของภาคต่างประเทศที่ดี นอกจากการเพิ่มการส่งออกและผลผลิตจะทำให้สปป.ลาวแก่ปัญหาเรื่องการขาดอาหารและยังทำให้เศรษฐกิจเติบโตต่อเนื่องไปได้อีกด้วย

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/value-imports-dips-trade-deficit-plummets-laos-114627

รายได้ของลาวจากการขายข้าวไปยังประเทศจีนเพิ่มขึ้น

ข้าวที่ส่งออกไปยังจีนสร้างรายได้แก่สสป.ลาวในปี 62 มากถึง 14.54 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 7.25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจากการลงนามการค้า ACFTA ทำให้เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการสปป.ลาวส่งออกสินค้าไปยังประเทศจีนได้มากขึ้นโดยข้อตกลงนี้จะลดหรือยกเว้นภาษีแก่สินค้าที่สปป.ลาวส่งไปยังจีนและนโยบายการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศทำให้การค้าจีนกับสปป.ลาวขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยจีนถือเป็นตลาดส่งออกข้าวที่ใหญ่ที่สุดของสปป.ลาว ในแต่ละปีสปป.ลาวมีโควตาส่งออกข้าวให้แก่จีนถึง 50,000 ตันและมีแนวโน้มที่จะส่งออกได้มากกว่าเดิมจากการเติบโตของเศรษฐกิจจีนทั้งในแง่ของจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น รายได้ต่อหัวที่สูงขึ้น กำลังซื้อคนในประเทศเพิ่มขึ้นปัจจัยต่างๆเหล่านี้จะช่วยส่งเสริมให้มีการนำเข้าข้าวจากสปป.ลาวมากขึ้นและส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจของทั้ง 2 ประเทศ 

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/laos%E2%80%99-earnings-rice-sales-china-rise-114545

ญี่ปุ่นให้คำมั่นสัญญาต่อกัมพูชาในการช่วยพัฒนาภาคการเกษตร

รัฐบาลญี่ปุ่นบริจาคเงินจำนวน 890,471 เหรียญสหรัฐ สำหรับการพัฒนาระบบชลประทาน การดูแลสุขภาพเยาวชนและการเสริมสร้างศักยภาพเยาวชนในกัมพูชา โดยจะมีการจัดสรรงบประมาณจำนวน 85,019 เหรียญสหรัฐ สำหรับโครงการแรกซึ่งจะเน้นการพัฒนาระบบชลประทานเพื่อส่งเสริมการเกษตรในเขตพระวิหาร ซึ่งเงินดังกล่าวจะมอบให้กับองค์กรภาครัฐคือสมาคมปราสาทพระวิหารแห่งประเทศญี่ปุ่นเพื่อสนับสนุนการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำและแหล่งน้ำในหมู่บ้านเชิงนิเวศของจังหวัด โดยตัวแทนของสมาคม Noritada Morita กล่าวว่าเกษตรกรในพื้นที่จะได้รับประโยชน์จากโครงการเพราะเชื่อว่าจะเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรโดยเฉพาะในฤดูแล้ง ร่วมปรับปรุงเทคโนโลยีการเกษตรและปรับปรุงการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการพัฒนาภูมิภาคอย่างยั่งยืน ซึ่งโครงการที่สองจะได้รับเงินสนับสนุนจำนวน 452,427 เหรียญสหรัฐ เพื่อปรับปรุงการเข้าถึงบริการสุขภาพแบบครบวงจร น้ำสะอาด สุขาภิบาลและบริการด้านโภชนาการในพระวิหาร ส่วนโครงการที่สามจะเน้นการพัฒนาเยาวชนในจังหวัดไพลิน เงินจำนวนสนับสนุน 353,025 เหรียญสหรัฐจะนำไปบริจาคให้องค์กรพัฒนาเอกชน Kokkyo naki Kodomotachi เพื่อสนับสนุนเยาวชนและจัดให้พวกเขามีทักษะชีวิตและความสามารถ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50695195/japan-pledges-nearly-900000-to-improve-kingdoms-agriculture

กระทรวงฯกล่าวถึงค่าใช้จ่ายในการนำเข้าวัตถุดิบผลิตการ์เม้นท์

เพื่ออำนวยความสะดวกและสนับสนุนภาคการตัดเย็บเสื้อผ้าในปัจจุบันที่ประสบปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบและเพื่อลดต้นทุนโลจิสติกส์การขนส่ง โดยกระทรวงเศรษฐกิจและการเงินจึงเร่งออกจดหมายถึงกรมศุลกากรและสรรพสามิตเพื่อหาวิธีช่วยเหลือผู้นำเข้าและผู้ส่งออก ซึ่งถามถึงกรมศุลกากรและสรรพสามิตว่าให้ช่วยเพิ่ม “กรีนเลน” สำหรับการนำเข้าวัตถุดิบในการผลิตเสื้อผ้าที่จำเป็นในกระบวนการผลิต โดยช่องทางกรีนเลนจะอำนวยความสะดวกในกระบวนการอย่างรวดเร็วสำหรับวัตถุดิบที่นำเข้าสำหรับผลิตเสื้อผ้า โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสั่งให้กรมศุลกากรและสรรพสามิตช่วยอำนวยความสะดวกขั้นตอนและปล่อยสินค้าโดยเร็วที่สุด ซึ่งกล่าวว่าเจ้าหน้าที่ศุลกากรและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดควรร่วมมือกับสมาคมผู้ผลิตเสื้อผ้าในประเทศกัมพูชา (GMAC) เพื่อหารือกับผู้ส่งสินค้าร่วมกันหาทางออก

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50695224/ministry-sends-letter-outlining-less-red-tape-and-import-costs-for-raw-garments