เกษตรฯชงอาเซียนเพิ่มปริมาณสำรอง‘ข้าวฉุกเฉิน’ รองรับภัยพิบัติ-โรคระบาด

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กล่าวว่า ได้รับมอบหมายจากนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นผู้แทนประชุมคณะมนตรีองค์กรสำรองข้าวฉุกเฉินของอาเซียนบวกสาม (ASEAN Plus Three Emergency Rice Reserve (APTERR) Council) หรือคณะมนตรีแอปเทอร์ ครั้งที่ 8 โดยที่ประชุมทบทวนปริมาณข้าวสำรองให้เหมาะสมกับความต้องการการบริโภคในภาวะวิกฤติ ทั้งนี้ไทยเสนอให้คณะมนตรีแอปเทอร์พิจารณาเพิ่มปริมาณข้าวสำรองในประเทศสมาชิกอาเซียนบวกสามในรูปสัญญา (Earmarked Stock) ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ภัยพิบัติ รวมทั้งโรคระบาดในคน พืช และสัตว์ที่ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น เช่น การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โรคอหิวาต์อัฟริกาในสุกร (African Swine Fever) เป็นต้นนอกจากนี้ยังมีภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้แก่ ภัยแล้ง พายุไต้ฝุ่น ตลอดจนปริมาณความต้องการบริโภคตามจำนวนประชากรในภูมิภาคที่เพิ่มขึ้นด้วยปัจจุบันมีปริมาณข้าวสำรองรวมของภูมิภาคในการซื้อขายข้าวเพียง 7.87 แสนตัน

ที่มา : https://www.naewna.com/local/474256

ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง – ล้านช้าง ครั้งที่ ๕

นายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเดินทางเยือนเวียงจันทน์ สปป. ลาว ระหว่างวันที่ ๑๙ – ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ เพื่อเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง – ล้านช้าง ครั้งที่ ๕ และการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-จีน สมัยพิเศษ ว่าด้วยโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง – ล้านช้าง ครั้งที่ ๕ ซึ่งจะมีรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศสมาชิกทั้ง ๖ ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา เวียดนาม ไทย และจีน เข้าร่วม จะทบทวนการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ ๕ ปี แม่โขง – ล้านช้าง ค.ศ. ๒๐๑๘-๒๐๒๒ ในช่วง ๑ ปีที่ผ่านมา (Progress Report) รับฟังแนวทางการดำเนินนโยบายต่อกรอบความร่วมมือดังกล่าวจากรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศสมาชิก รวมทั้งเตรียมการจัดการประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือแม่โขง – ล้านช้าง ครั้งที่ ๓ ซึ่งจะจัดเวียงจันทน์ สปป. ลาว ระหว่างวันที่ ๒๕ – ๒๖ มีนาคม ๒๕๖๓ ในโอกาสนี้ ที่ประชุมจะพิจารณารับรองเอกสารผลลัพธ์ ๑ ฉบับ ได้แก่ แถลงการณ์ต่อสื่อมวลชนของการประชุมรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง – ล้านช้าง ครั้งที่ ๕ (Joint Press Communique of the 5th MLC Foreign Ministers’ Meeting)

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/mfa/3096618

ราคาสินค้าเกษตรลดลง จากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

การระงับค้าขายอาหารทะเลและสินค้าเกษตรในด่านชายแดนทางตอนเหนือของประเทศจีน เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวราโควิด-19 ส่งผลเกิดความไม่สมดุลระหว่างความต้องการซื้อและผลผลิตที่ต้องการขาย สำหรับภาคการประมงยังคงเผชิญกับอุปสรรคหลายด้านด้วยกัน เป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของไวรัส ทั้งนี้ จากข้อมูลของสมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเลเวียดนาม (VASEP) เปิดเผยว่ายอดส่งออกสินค้าประมงไปยังจีน ในเดือน ม.ค.อยู่ที่ 51.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 45 โดยมูลค่าส่งออกที่ลดลงนั้น ส่วนหนึ่งอยู่ในช่วงวันปีใหม่ของเวียดนาม นอกจากนี้ การแพร่ระบาดของไวรัสส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น ธุรกิจขนส่ง การท่องเที่ยวและค้าปลีก เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ ทางสมาคมฯแนะนำธุรกิจให้ติดตามข้อมูลข่าวสารจากคู่ค้าชาวจีนและเสนอให้กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท และหน่วยงานรัฐฯที่เกี่ยวข้อง ควรใช้นโยบายในการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ ได้แก่ การลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และขยายกำหนดเวลาการชำระเงิน

ที่มา :https://vietnamnews.vn/economy/602415/farm-produce-prices-slump-as-covid-19-hits-exports.html

ยอดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างชาติของเวียดนามขยายตัว หลังจากการแพร่ระบาดไวรัส

ในฐานะจีนเป็นประเทศศูนย์กลางการลงทุนจากต่างชาติ แต่จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาอย่างหนัก ปัจจัยนี้ถือว่าเป็นโอกาสแก่ประเทศอื่นๆที่จะพยายามเร่งดึงดูดเม็ดเงินทุนจากต่างชาติ โดยเฉพาะ นำไปสู่การหันไปลงทุนตลาดอื่น ซึ่งทางบริษัทสหรัฐฯรายใหญ่แห่งหนึ่งได้วางแผนโครงการ มูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในภูมิภาคเอเชีย และคาดว่าไม่จีนก็เวียดนามที่เป็นฐานการลงทุน ทั้งนี้ สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) ระบุว่าเวียดนามอยู่ในตำแหน่งที่ดีในการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติเพิ่มขึ้น รวมถึงต่างชาติย้ายฐานการผลิตในจีน จากผลกระทบของสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน และการลงนามข้อตกลงการค้าเสรีของเวียดนาม ได้แก่ CPTPP และ EU-Vietnam FTA เป็นต้น ซึ่งหากควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสได้ในไตรมาสแรก เวียดนามจะดึงดูดเงินทุนจากต่างชาติในปีนี้ อยู่ที่ 38.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ ถ้าการแพร่ระบาดสิ้นสุดในไตรมาสสอง เวียดนามจะดึงดูด FDI ได้เพียง 38.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้วยโอกาสนี้ เวียดนามควรปรับนโยบายเพื่อดึงดูดนักลงทุนที่ลดกำลังการผลิตในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านและหันมาลงทุนในเวียดนาม รวมถึงส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติที่มีแผนลงทุนเชิงรุก อย่างไรก็ตาม ในระยะยาวนั้น เวียดนามจำเป็นต้องปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการลงทุนและการทำธุรกิจอย่างต่อเนื่อง เพื่อดึงดูดนักลงทุนต่างชาติที่มีคุณภาพ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/602424/fdi-in-viet-nam-expected-to-surge-after-the-epidemic.html

การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศรวม 2.693 พันล้านเหรียญสหรัฐ

 คณะกรรมการการลงทุนแห่งเมียนมา (MIC) ได้อนุญาตให้มีการลงทุนจากต่างประเทศ 111 รายคิดเป็นมูลค่า 1.973 พันล้านดอลลาร์ FDI ทั้งหมดรวมถึงการขยายการลงทุนมูลค่า 616.956 ล้านดอลลาร์สหรัฐมีจำนวน 2.693 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คาดว่าจะมีการไหลเข้าจากฮ่องกง สิงคโปร์ และไทยมากขึ้นในช่วงปีงบประมาณนี้ ธุรกิจการผลิตคิดเป็น80%  ในเขตเศรษฐกิจพิเศษติวาล่า ขณะที่การค้าขายคิดเป็น 9% และการขนส่ง 5% ปัจจุบันมี 50 ประเทศที่ลงทุนใน 12 เขตเศรษฐกิจ ภาคน้ำมันและก๊าซคิดเป็น 27% ภาคการผลิตไฟฟ้ามากกว่า 26% ภาคการผลิตมากกว่า 14% ภาคการขนส่งกว่า 13% ภาคอสังหาริมทรัพย์ 7% ภาคโรงแรมและการท่องเที่ยว 3% และภาคเหมืองแร่ 3%

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/total-fdi-hits-2693-billion-usd

เมียนมาส่งออกปลาคาร์พไปบังคลาเทศเพิ่มขึ้น

มียนมาส่งออกปลาคาร์ปไปยังบังคลาเทศผ่านศูนย์กลางการค้าชายแดนมองดอเพิ่มขึ้นในช่วงเดือนมกราคมและกลายเป็นสินค้าส่งออกมากเป็นอันดับสอง เมียนมาส่งออก 180 ตันในเดือนธันวาคม 62 และ 224 ตันของ ในเดือนมกราคม 63 ปริมาณการส่งออกคาร์ปไปยังบังคลาเทศอยู่ที่ 319 ตันในเดือนตุลาคม 62 และ 224 ตันในเดือนพฤศจิกายน 62 สินค้าที่ส่งออกมากที่สุดคือ หัวหอมตามด้วยปลาคาร์ป ปลาคาร์พถูกลำเลียงจากย่างกุ้งไปยังรัฐยะไข่ด้วยรถบรรทุกเก็บความเย็นเพื่อส่งออกจากศูนย์การค้าชายแดนซิตเว และมองดอ ในเดือนมกราคมเมียนมาส่งออกสินค้ามีมูลค่า 1.537 ล้านดอลลาร์สหรัฐไปยังบังคลาเทศผ่านศูนย์การค้าชายแดนมองดอ

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/carp-export-to-bangladesh-increases

โครงการ CLEAN พัฒนาผลผลิตเกษตรส่งออกยุโรป

CLEAN หรือโครงการสร้างความเชื่อมโยงสำหรับเครือข่ายเกษตรโดยความร่วมมือกับกรมวิชาการเกษตรโดยช่วยเกษตรกรในการผลิตและพัฒนาห่วงโซ่อุปทานอย่างมีประสิทธิภาพ โครงการ CLEAN ได้รับทุนสนับสนุนจากกระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกาและดำเนินการในสปป.ลาวโดย Winrock Internationalมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มผลผลิตและขยายการค้าในโครงการเกษตรที่ใช้ประโยชน์จากข้อได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบของสปป.ลาวในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) ไปยังตลาดโลกซึ่งมีประชากรชนชั้นกลางจำนวนมากที่เต็มใจจ่ายในราคาที่สูงสำหรับพืชสวนคุณภาพสูง โครงการดังกล่าวให้ความสำคัญกับการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำโดยการเน้นปลูกพืชแบบเกษตรอินทรีย์โดยมีนักวิชาเข้ามาช่วยเกษตกร และยังได้รับการส่งเสริมโดยได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชนเช่น Shopping D และ Living Fresh ในการจัดการกระบวนการจัดเก็บคลังสินค้าตามมาตรฐานของสหภาพยุโรปอีกด้วย โครงการดังกล่าวจะช่วยเพิ่มผลผลิตในประเทศและยังสร้างรายได้แก่ประเทศด้านการส่งออกไปยังตลาดโลกอีกด้วย

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/clean-project-helps-farmers-explore-export-potential-114152

สปป.ลาวนำระบบ Single National Window (LNSW) จัดการกับการค้าชายแดน

ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคมยานพาหนะนำเข้าและส่งออกทั้งหมดจะต้องบันทึกไว้ภายใต้ระบบ Single National Window (LNSW) ของสปป.ลาวที่จุดตรวจสะพานมิตรภาพลาว – ​​ไทยเพื่อส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องผ่านระบบ One-Stop Tax รวมถึงระบบการชำระเงินออนไลน์ การดำเนินการของระบบทั้ง 2 เป็นหนึ่งในแผนกลยุทธ์เพื่อทำให้ภาคศุลกากรทันสมัยเพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนนอกจากนี้ระบบดังกล่าวจะเข้ามาช่วยทำให้ขั้นตอนต่างๆในการทำเอกสารให้เร็วขึ้นจากที่เคยต้องใช้เจ้าหน้าที่จนเกิดความล่าช้าในการทำการค้าทั้งนี้ระบบจะทำให้การค้าเกิดประสิทธิภาพสูงสุดรวมถึงการจัดเก็บภาษีของภาครัฐก็เก็บได้อย่างมีประสิทธิภาพและตรวจสอบได้ง่าย ถือเป็นรากฐานที่ดีของการนำเทคโนโลยีมาขับเคลื่อนประเทศ  

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/lao-vehicle-imports-exports-be-processed-using-single-customs-window-114153

อันดับด้านฐานะศูนย์กลางการขนส่งของกัมพูชายังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลง

การได้รับการจัดอันดับของกัมพูชาดีขึ้นเล็กน้อยในฝั่งของดัชนีระดับโลกของตลาดโลจิสติกส์ที่เกิดขึ้นใหม่ในปีนี้เพิ่มขึ้นหนึ่งอันดับเมื่อเทียบกับการสำรวจเดียวกันในปีที่แล้วจากลำดับ 42 เป็น 41 จาก 50 ประเทศที่รวมอยู่ในการจัดลำดับ โดยการสำรวจจัดทำโดย Agility ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทโลจิสติกส์ชั้นนำของโลก เคยดำเนินการสำรวจครั้งแรกในปี 2551 และได้เผยแพร่ผลการวิจัยในทุกๆปี โดยการศึกษานี้เกี่ยวข้องกับประเทศที่ถูกพิจารณาว่าเป็นตลาดโลจิสติกส์ ในปีนี้กัมพูชาได้คะแนน 4.36 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน) ซึ่งอยู่ในอันดับเดียวกับยูกันดา โดยกัมพูชามีโอกาสในการขนส่งระหว่างประเทศดีที่สุด (4.46) ในขณะที่คะแนนต่ำสุดอยู่ที่ (4.19) ในบรรดา 50 ประเทศในการสำรวจกัมพูชาอยู่ในอันดับที่ 49 ในด้านโอกาสในการขนส่งภายในประเทศอันดับที่ 33 ด้านโอกาสด้านการขนส่งระหว่างประเทศและอันดับที่ 36 ในด้านพื้นฐานธุรกิจ ซึ่งมีการจัดอันดับตามปัจจัยสามประการ โอกาสในการขนส่งภายในประเทศ, โอกาสในการขนส่งระหว่างประเทศและปัจจัยพื้นฐานทางธุรกิจ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50692512/cambodias-ranking-as-a-logistics-hub-remains-stable

รัฐบาลกัมพูชาตั้งเป้าจัดเก็บภาษีให้ได้ 2.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ

กรมสรรพากร (GDT) ประกาศว่ามีเป้าหมายที่จะรวบรวมรายได้จากภาษี 2,886 ล้านเหรียญสหรัฐในปีนี้โดยในเดือนมกราคมมีการเก็บภาษีไปแล้วประมาณ 239 ล้านเหรียญสหรัฐซึ่งคิดเป็น 8.3% ของเป้าหมายประจำปีและเพิ่มขึ้น 14.75% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งผู้อำนวยการ GDT กล่าวว่าเพื่อให้มั่นใจว่าเป็นไปตามเป้าหมายในปี 2563 กรมฯจะดำเนินการอย่างเข้มงวดและดำเนินการตามการปฏิรูปนโยบายของรัฐบาล โดยการจัดเก็บภาษีที่ดีขึ้นเกิดมาจากการปฏิรูประบบการจัดเก็บภาษีใหม่ร่วมด้วย ท่ามกลางมาตรการที่ดำเนินการในปีนี้คือการหลีกเลี่ยงภาษีสำหรับผลิตภัณฑ์เฉพาะ รวมถึงวัสดุก่อสร้าง ปูนซีเมนต์และน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งรัฐบาลมีรายได้ประมาณ 500 ล้านเหรียญสหรัฐต่อเดือนจากรายได้ที่มาจากภาษีและไม่ใช่ภาษีโดยระบุว่าประเทศสามารถประหยัดได้ 100 ถึง 200 ล้านเหรียญสหรัฐต่อเดือนจากการจัดเก็บภาษี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50692368/stricter-tax-collection-puts-2-9-billion-target-in-sight