กัมพูชาลดการพึ่งพาการนำเข้าปูนซีเมนต์จากต่างประเทศ

รายงานจากกระทรวงเหมืองแร่และพลังงานระบุว่าโรงงาน 4 แห่งในกัมพูชาผลิตซีเมนต์ได้ 7.89 ล้านตันในปี 2562 ทำให้ประเทศสามารถลดปริมาณการนำเข้าที่ป้อนให้แก่ภาคการก่อสร้างที่กำลังเฟื่องฟู โดยธนาคารแห่งชาติกัมพูชารายงานภาพรวมเศรษฐกิจมหภาคและการธนาคารประจำปี 2562 และ 2563 ระบุว่าในปี 2562 มีการนำเข้าปูนซีเมนต์มูลค่ามากกว่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้นจาก 90 ล้านสหรัฐในปี 2561 ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเหมืองแร่และพลังงานกล่าวว่าในเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้วการเติบโตของภาคการก่อสร้างส่งผลให้ความต้องการวัสดุก่อสร้างรวมถึงปูนซีเมนต์ซึ่งกัมพูชาต้องนำเข้ามารองรับความต้องการใน อย่างไรก็ตามเนื่องจากภาคการก่อสร้างที่เติบโตอย่างรวดเร็วทำให้ปูนซีเมนต์ที่ผลิตในประเทศไม่สามารถตอบสนองความต้องการได้อย่างเต็มที่จึงจำเป็นต้องทำการนำเข้าจากต่างประเทศ โดยจำนวนโครงการก่อสร้างทั้งหมดมีจำนวน 4,446 แห่งในปี 2562 เพิ่มขึ้น 55% จากปี 2561 จากการลงทุนมูลค่า 9.3 พันล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้น 78% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งนายกรัฐมนตรีฮุนเซนกล่าวกับซีเมนต์ที่ผลิตในประเทศกว่า 8 ล้านตันกัมพูชาจะช่วยประหยัดต้นทุนการนำเข้าได้ประมาณ 500 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50690282/cambodia-reduces-reliance-on-imported-cement

เกษตรกรผู้ปลูกยางพาราในกัมพูชาต้องรับกับสภาวะราคายางตกต่ำ

เกษตรกรผู้ปลูกยางพาราภายในประเทศกัมพูชาได้แสดงความกังวลเป็นอย่างมากต่อภาคการเพาะปลูกยางพาราในปัจจุบันในขณะที่บริษัทยักษ์ใหญ่ในตลาดพยายามดิ้นรนเพื่อให้อยู่รอดหลังจากราคายางตกต่ำที่สุดในรอบ 10 ปี โดยรองประธานของ An Mady Group บริษัทผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์ยางอธิบายถึงปัญหาในด้านราคายางของกัมพูชาที่ราคาตกต่ำ รวมถึงยังส่งผลกระทบต่อตลาดยางในมาเลเซียและไทยซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ผลิตยางรายใหญ่ของโลก โดยเน้นย้ำว่าสงครามการค้าเสรีระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกาเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์อยู่ในระดับต่ำ ซึ่งในปัจจุบันบริษัทต้องจ่ายภาษีส่งออก 50 เหรียญสหรัฐต่อตัน โดยเมื่อเร็วๆนี้ได้ออกข้อเสนอให้รัฐบาลพิจารณาลดอัตราภาษีปัจจุบัน ในปี 2562 กัมพูชาส่งออกยางเกือบ 300,000 ตันเพิ่มขึ้น 30% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สร้างรายได้เกือบ 400 ล้านเหรียญสหรัฐด้วยราคาเฉลี่ยที่ 1,336 เหรียญต่อตัน ซึ่งหากผู้ประกอบการต้องการกำไรจากการเพาะปลูกจำเป็นต้องขายที่ประมาณ 1,500 เหรียญสหรัฐต่อตัน ถึงจะเกินต้นทุนด้านการผลิต

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50690273/local-rubber-farmers-suffer-from-a-decade-of-low-prices

ดันไทยตั้งสถาบันฯไมซ์อาเซียน

ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเส็บ เปิดเผยในงาน MICE Standards Day 2020 ว่าอีกภารกิจสำคัญของทีเส็บนอกเหนือจากการดึงดูดงานประชุมสัมมนานานาชาติมาจัดในไทยแล้ว คือการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมไมซ์ เพื่อยกระดับศักยภาพของอุตสาหกรรมไมซ์ไทยให้แข่งขันได้ในระดับสากล โดยวางเป้าหมายให้ไทย เป็นศูนย์กลางการศึกษาไมซ์แห่งอาเซียน เป็นศูนย์กลางธุรกิจไมซ์ในภูมิภาคเอเชียด้วยมาตรฐานสากล และเป็นผู้นำของการจัดงานอย่างยั่งยืนในภูมิภาคเอเชีย ดังนั้น ทีเส็บ จึงตั้งเป้าหมายให้ไทย จัดตั้ง “ASEAN MICE Institute” เพื่อเป็นหน่วยงาน ที่มีหน้าที่กำหนดรับรองมาตรฐานต่างๆ รวมถึง ออกแบบหลักสูตรพัฒนาผู้ประกอบการ ไมซ์ทั้งระดับบุคคล และองค์กรให้มีศักยภาพที่แข่งขันได้ในระดับนานาชาติ โดยทั้งนี้ในปัจจุบัน ทีเส็บพัฒนามาตรฐานต่างๆ โดยมีผู้ประกอบการที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสถานที่จัดงานประเทศไทย หรือ Thailand MICE Venue Standard (TMVS) รวมทั้งสิ้น 453 แห่ง และผู้เชี่ยวชาญด้านไมซ์มืออาชีพ (MICE Professionals) จำนวน 941 ท่าน MICE Coach กว่า 900 ท่าน และชมรม เยาวชนไมซ์ (Student Chapter) จำนวน 17 มหาวิทยาลัย 241 ท่าน

ที่มา : นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 13 ก.พ. 2563

โอกาสในการส่งออกสินค้าอุปโภคบริโภคเวียดนามเข้าสู่ตลาดสหรัฐฯ : สัมมนา

งามสัมมนาเรื่องการส่งเสริมในการส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐฯ ที่จะจัดขึ้นในวันอังคาร นครโฮจิมินห์, ผู้อำนวยการบริษัท Vietway เปิดเผยว่าบริษัทฯดำเนินการขายสินค้าเวียดนามในสหรัฐฯ ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ซึ่งในหลายๆประเทศทั่วโลก รวมถึงเวียดนามเห็นว่าตลาดสหรัฐฯเป็นตลาดส่งออกหลัก ทั้งนี้ สถานการณ์การส่งออกสินค้าเวียดนามในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จะเน้นส่งออกสินค้าสมาร์ทโฟน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องนุ่งห่ม รองเท้าและเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งล้วนแต่เป็นบริษัทต่างชาติ ในขณะเดียวกัน สินค้าอุตสาหกรรมที่เจ้าของเป็นบริษัทเวียดนามได้เผชิญกับอุปสรรคจากการส่งออกในตลาดโลก ทั้งนี้ สหรัฐฯ ถือว่ามีความเข็มงวดต่อการนำเข้าสินค้า แต่ก็มีความต้องการนำเข้าสินค้าที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นสินค้าไฮเทคไปจนถึงสินค้าอุปโภคบริโภคที่ราคาถูก ซึ่งเป็นจุดแข็งของสินค้าเวียดนาม นอกจากนี้ จากตัวเลขสถิติการค้า พบว่าในสิ้นเดือนม.ค. 2563 มูลค่าส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอยู่ที่ 4.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 7.6 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ขณะที่ มูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/592126/opportunities-to-boost-consumer-goods-exports-to-the-us-market-seminar.html

เวียดนามส่งออกอาหารทะเลเดือน ม.ค. ลดลง

จากข้อมูลของสมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเลเวียดนาม (VASEP) เปิดเผยว่าในเดือนมกราคม เวียดนามส่งออกอาหารทะเลลดลงร้อยละ 12.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา ด้วยมูลค่ารวม 644 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นผลจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า ซึ่งการแพร่ระบาดหนักในจีนทำให้ฉุดการส่งออกอาหารทะเลเวียดนามไปยังตลาดจีนอย่างมาก ทั้งนี้ ผู้ประกอบการส่งออกปลาสวาย ทูน่าและกุ้งเผชิญกับการระงับการชำระเงินจากการส่งออก เพราะธนาคารจีนไม่เปิดทำการจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า และคาดว่าธนาคารจะเปิดทำการในวันที่ 16 ก.พ. ยิ่งไปกว่านั้น บริษัทขนส่งรายใหญ่ไม่ต้องการที่จะจัดส่งสินค้าไปยังจีน อย่างไรก็ตาม ทางสมาคมฯ มองว่าการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกอาหารทะเลมากนัก เพราะว่าความต้องการนำเข้าอาหารทะเลของจีนจะเพิ่มขึ้นในช่วงเดือนมี.ค. และเม.ย. ในทางตรงกันข้าม สมาคมฯมองเห็นโอกาสสำหรับธุรกิจท้องถิ่นในการเพิ่มผลผลิตสินค้าแช่เย็นและบรรจุกระป๋องอาหารทะเลในช่วงเวลานี้และหลังจากการแพร่ระบาดไวรัส ทำให้ให้ลูกค้าชื่นชอบอาหารแปรรูปมากขึ้น รวมไปถึงใช้โอกาสนี้ในการส่งออกไปยังตลาดสำคัญเพิ่มขึ้น อาทิ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้และยุโรป

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/592130/seafood-export-value-down-in-january.html

Grab ตั้งเป้า 4 ปี ทำรายได้ 100 ล้านดอลลลาร์สหรัฐในเมียนมา

ช่วง 4 ปีที่ผ่านมาบริษัท Grab-sharing ได้ลงทุนมากกว่า 100 ล้านดอลลลาร์สหรัฐ (143.5 พันล้านจัต) เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับตลาดรถแท็กซี่ในท้องถิ่น ซึ่ง Grab จะลงทุนอย่างต่อเนื่องเพื่อปรับปรุงคุณภาพการให้บริการ Grab เปิดตัวบริการในเมียนมาในปี 60 และได้เปิดตัว Grab Call Service, Premium Rentals (Beat) และ Grab Food Grab for Business เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในปี 62 และจุดหมายปลายทางยอดนิยมคือ เมียนมาพลาซ่า, ห้าง Junction City และสนามบินย่างกุ้ง GrabFood จะเปิดตัวให้บริการสำหรับร้านอาหารในท้องถิ่นและพันธมิตรการขนส่งที่มัณฑะเลย์ในปีนี้ Grab For Good จะเปิดตัวในพม่าในไม่ช้า ในปี 61 Grab ได้เปิดตัว Grab Thone Bane (สามล้อ) และ Taxi TaxiPlus ในเมืองพุกามและมัณฑะเลย์ ปัจจุบันมีผู้ใช้บริการมากกว่า 166 ล้านคนใน 339 เมือง ในเมียนมา, เวียดนาม, ฟิลิปปินส์, ไทย, กัมพูชา, มาเลเซีย, สิงคโปร์และอินโดนีเซีย ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถดาวน์โหลดแอพ Grab ไว้บนโทรศัพท์มือถือได้ทันที

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/grab-says-it-pumped-100m-myanmar-four-years.html

ผู้ประกอบการเนื้อหมูขายราคาหมูเกินราคาที่กำหนด

ผู้ขายเนื้อหมูหลายรายในเมืองหลวงกำลังขายเนื้อหมูให้กับผู้บริโภคโดยไม่มีป้ายราคาเพื่อหวังจะขายราคาที่เกินกว่ารัฐบาลตั้งไว้ ซึ่งหน่วยงานที่ดูแลเรื่องนี้ได้ประกาศเมื่อวันที่ 30 มกราคมว่าหมูเกรด A ในตลาดควรจำหน่ายปลีกที่ 40,000 kip ต่อกิโลกรัมและ 38,000 kip ต่อกิโลกรัมสำหรับเกรด B แต่ด้วยผลผลิตหมูที่ขาดแคลนหนักจากเชื้อไวรัสสุกรจึงส่งผลให้ราคาของหมูสูงขึ้นต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 2-3เดือนที่ผ่านมา ปัญหาดังกล่าวต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพราะเนื้อหทมูถือเป็นเนื้อสัตว์ที่ คนสปป.ลาวนิยมบริโภคมากที่สุด ดังนั้นหากราคาเนื้อหมูปรับตัวสูงก็จะส่งผลต่อการบริโภคของประชาชนและในระยะยาวอาจทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อเนื่องจากสินค้าหรืออาหารที่มีการนำหมูไปประกอบวัตถุดิบจะต้องมีการปรับราคาสูงตามราคาหมูที่ปรับขึ้นจึงเป็นปัญหาที่รัฐบาลควรแก้ไขและตรวจสอบผู้ที่ขายราคาเกินจริงอย่างจริงจัง  

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/pork-vendors-flout-price-ceiling-bring-home-bacon-113703

คาดว่าเศรษฐกิจสปป.ลาวจะเติบโตที่ร้อยละ 6.3 ในปี 2020

ศูนย์วิจัยนโยบายเศรษฐกิจมหภาคและการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจภายใต้สถาบันวิจัยเศรษฐกิจแห่งชาติ คาดการณ์เศรษฐกิจสปป.ลาวจะขยายตัวร้อยละ6.3-6.4 ในปีนี้โดยปัจจัยขับเคลื่อนการเติบโตที่สำคัญหลายประการ ทั้งการผลิตกระแสไฟฟ้าโดยโรงไฟฟ้าพลังน้ำ Xayaboury ซึ่งเริ่มดำเนินการในเดือนธันวาคม การพัฒนาของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและเกษตรกรรมรวมถึงภาคการท่องเที่ยวมีอัตราการเติบโต 14% ในปี 2562 โดยมีผู้มาเที่ยวลาวประมาณ 4.7 ล้านคน โดยปี 63 ต้องดูสถานการณ์ของไวรัสโคโรน่าว่ามีท่าทีจะส่งผลต่อการท่องเที่ยวสปป.ลาวหรือไม่   

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Macroeconomic.php

กัมพูชาส่งออกมะม่วงมากกว่า 5.8 หมื่นตันในปี 2562

กัมพูชาส่งออกมะม่วงมากกว่า 58,000 ตัน ไปยังตลาดต่างประเทศในปี 2562 ซึ่งรายงานโดยรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศและโฆษกของกระทรวงพาณิชย์เมื่อเร็วๆนี้ โดยตลาดสำหรับการส่งออกมะม่วงในปี 2562 ยังคงดำเนินต่อไป ในกลุ่มคู่ค้าสำคัญ เช่นสหราชอาณาจักร นิวซีแลนด์ สาธารณรัฐเช็ก เบลเยียม ออสเตรเลียเป็นต้น ที่เป็นตลาดศักยภาพในสินค้ามะม่วงของกัมพูชา ซึ่งถูกส่งออกทั้งโดยตรงและผ่านประเทศเพื่อนบ้านทั้งในรูปแบบมะม่วงสดและแยมมะม่วง โดยกระทรวงพาณิชย์กำลังพิจารณาที่จะขยายตลาดต่างประเทศสำหรับมะม่วงของกัมพูชาเพื่อเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์เพื่อการส่งออก

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50690166/over-58000-tonnes-of-cambodian-mangoes-exported-in-2019

กัมพูชาจ่ายไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจากความต้องการภายในประเทศ

เนื่องจากความต้องการใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้นและกิจกรรมด้านการพัฒนาเพิ่มขึ้นจนทำให้แหล่งจ่ายหรือสถานีจ่ายไฟในกัมพูชาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตามรายงานของกระทรวงเหมืองแร่และพลังงาน โดยรายงานระบุว่าสถานีจ่ายไฟสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าจาก 2,635 เมกะวัตต์ ในปี 2018 เป็น 3,382 เมกะวัตต์ ในปี 2562 เพิ่มขึ้น 28% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งพลังงานถูกสร้างขึ้นจากแหล่งต่างๆ ที่รวมอยู่ทั้งเขื่อน โรงไฟฟ้าถ่านหิน โรงไฟฟ้าดีเซลและแผงเซลล์แสงอาทิตย์ โดยในปี 2562 แหล่งพลังงานหลักของกัมพูชาคือเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ 7 แห่ง ซึ่งผลิตพลังงานได้รวม 1,328 เมกะวัตต์ คิดเป็น 33.5% ของแหล่งพลังงานทั้งหมดภายในประเทศ ส่วนแหล่งพลังงานจากอื่นๆรวม 675 เมกะวัตต์ มาจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน 627 เมกะวัตต์ จากโรงไฟฟ้าดีเซลและจากพลังงานทดแทนอีก 123 เมกะวัตต์ โดยกัมพูชานำเข้าพลัง 626 เมกะวัตต์ จากเพื่อนบ้าน เช่นประเทศไทย เวียดนามและสปป.ลาวในปี 2562 เพิ่มขึ้น 41% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50690046/cambodias-power-supply-up-nearly-30-percent-as-demand-increases