มูลค่าส่งออกข้าวหักมากกว่า 48 ล้านเหรียญสหรัฐ ในสองเดือน

ข้อมูลของสหพันธ์ข้าวแห่งเมียนมา (MRF) ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. –  29 พ.ย.ในปีงบประมาณ 62 – 63 เมียนมามีรายรับ 48.413 ล้านเหรียญสหรัฐ จากการส่งออกข้าวหักจำนวน 0.1866 ล้านตันไปยัง 38 ประเทศ มีรายได้มากกว่า 17 ล้านเหรียญสหรัฐจากการส่งออกข้าวหัก 64,900 ตัน ไปยังอินโดนีเซีย นอกจากนี้ยังส่งออกไป 27,500 ตันมูลค่ากว่า 7 ล้านเหรียญสหรัฐไปยังเบลเยียม จำนวน 5,000 ตันมูลค่ามากกว่า 1 ล้านเหรียญสหรัฐไปยังมาลี และประมาณ 5,000 ตัน มูลค่ากว่า 1 ล้านเหรียญสหรัฐมายังไทย การส่งออกไปยังตลาดอียูและแอฟริกาผ่านทางเรือ และไปจีนผ่านชายแดนมูเซ ในปี 61-62 มีรายรับ 709.693 ล้านเหรียญสหรัฐจากการส่งออกข้าวสารและข้าวหัก 2.355 ล้านตัน ส่วนปี 60-61 การส่งออกข้าวและข้าวหักทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์เกือบ 3.6 ล้านตันในรอบ 50 ปี

ที่มา:https://elevenmyanmar.com/news/broken-rice-export-fetches-over-48-m-in-two-months

ILO ชูงานวิจัยความยั่งยืนของตลาดภาคเกษตรในเมียนมา

องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) และพันธมิตรอย่าง Myanmar Women’s Coffee Alliance (MWCA) ร่วมวิจัยเกี่ยวกับความรับผิดชอบในการทำงานและความยั่งยืนของตลาดในภาคเกษตรกรรมของเมียนมา โดยพิจารณาว่าธุรกิจการเกษตรดำเนินการตามมาตรฐานความรับผิดชอบหรือไม่ การวิจัยจะแล้วเสร็จในเดือนธันวาคม 63 โดยให้ความสำคัญกับปลูกพืชและการผลิตอาหารทะเล ตั้งแต่เมียนมาส่งออกวัตถุดิบความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นปัจจัยสำคัญในห่วงโซ่การผลิต ผู้ซื้อจากต่างประเทศจะพิจารณามากกว่าแบรนด์สินค้าแต่ยังรวมถึงความรับผิดชอบของสินค้านั้นด้วย

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/ilo-lead-research-market-sustainability-agriculture.html

สปป.ลาว ร่วมมือ UNDP แก้ปัญหาซากระเบิด (UXO) เพื่อการพัฒนาประเทศ

กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมโดยความร่วมมือกับโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) กำลังดำเนินารเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของประเทศเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) 18  กล่าวคือชีวิตปลอดภัยจากอาวุธหรือระเบิดที่ตกค้างและยังไม่ระเบิด (UXO) ซึ่งรัฐบาลและ UNDP ได้ทำงานร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาภายใต้โครงการนี้จากปี 60 ถึงปี 64 เพราะ UXO ยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนา และทั้งสองพันธมิตรหารือเพื่อเพิ่มความร่วมมือในปี 63 เพื่อให้มั่นใจว่าอัตราการเสียชีวิตและบาดเจ็บจาก UXO ลดลง จากการเก็บกู้จะช่วยให้มั่นใจได้ว่าชุมชนจะสามารถทำฟาร์มสัตว์ในพื้นที่ปลอดภัยซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาอย่างยั่งยืนและลดความยากจนของประเทศ โดย UNDP จะให้การสนับสนุนเชิงกลยุทธ์แบบเต็มเวลาและการผลิตให้กับ UXO ในรูปแบบที่ปรึกษา แผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 ซึ่งจะทำการร่างขึ้นในปีหน้าและจะต้องสอดคล้องกับ SDG18 และวาระ 2030

ที่มา: http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Laos273.php

จำปาศักดิ์มองการเปลี่ยนแปลงปากเซให้กลายเป็นเมืองอัจฉริยะศูนย์กลางการขนส่ง

แขวงจำปาศักดิ์และTai Hoe Holdings จะร่วมมือกันในการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาเพื่อจัดตั้งเมืองอัจฉริยะเชิงนิเวศในปากเซทางใต้สปป.ลาวหลังจากบรรลุข้อตกลงในสัปดาห์นี้ภายใต้ข้อตกลงบริษัท Tai Hoe จะขอสัมปทานที่ดินเพื่อพัฒนาแขวงจำปาศักดิ์ เป็นเมืองที่ชาญฉลาดและเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ตามนโยบายที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของรัฐบาลเพื่อปรับปรุงชุมชนให้ทันสมัยและเสริมความเป็นอยู่ของท้องถิ่น นอกจากนี้ Tai Hoe จะรับผิดชอบการศึกษาความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจและทางเทคนิคในการสร้างเมืองและให้ความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติเกี่ยวกับตลาดเครื่องเพชรพลอยการเกษตรและการแปรรูปอาหารโรงแรมและจะพัฒนาแพลตฟอร์มธุรกิจที่ยั่งยืน (เมืองอัจฉริยะ) ซึ่งนักลงทุนและชุมชนท้องถิ่นสามารถหาโอกาสทางเศรษฐกิจที่ทำกำไรร่วมกันในสปป.ลาวใต้ได้รวมถึงเป็นโอกาศของนักลงทุนในการเข้าไปลงทุนในแขวงดังกล่าวอีกด้วย  

ที่มา:http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Champassak273.php

SEAC ชวนเช็คสุขภาพเศรษฐกิจเมียนมา เดินหน้าพัฒนาศักยภาพธุรกิจอาเซียน ในงาน Scaling Your

เมียนมาเป็นหนึ่งในประเทศในอาเซียนที่มีสถิติการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ตั้งแต่ปี 2557–2561 สูงถึง 7.2% และคาดการณ์ว่าในปีนี้ จะเติบโตขึ้นอีก 6.6% ปัจจัยมาจากองค์ประกอบหลายส่วน ทั้งการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในทิศทางที่ดีขึ้น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเขตเศรษฐกิจพิเศษ และกฎหมายการลงทุนของชาวต่างประเทศ ทั้งหมดนี้ ส่งผลให้ดัชนีความน่าเชื่อถือและสภาพเศรษฐกิจมวลรวมของประเทศดีขึ้น แต่ยังคงเผชิญกับปัฐหาอีกมากมาย ทั้งนี้ กรรมการผู้จัดการ SEAC (Southeast Asia Center) ระบุว่า SEAC ต้องการเข้าไปพัฒนาศักยภาพของคนและองค์กร โดยทางองค์กรได้มีโอกาสเข้าไปดำเนินธุรกิจในเมียนมา ทำให้เข้าใจภาพรวมของธุรกิจ ซึ่งการปรับขยาย (Scale) คือกุญแจสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างแท้จริง ประกอบการปรับวิธีและรูปแบบการทำงานให้ใช้ทรัพยากรที่น้อย โดยมี 3 ส่วนสำคัญ คือ กรอบความคิด (Mindset) การทดลองและลงมือทำตามวิถี (Design Thinking) และการพัฒนาทักษะที่จำเป็น สำหรับอาเซียนถือเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถ หากเลือกกลยุทธ์ทางธุรกิจได้ถูกต้องและทันต่อเหตุการณ์สำคัญ ทาง SEAC พร้อมจะช่วยเติมศักยภาพให้กับคนและองค์กรในภูมิภาคนี้

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/prg/3078088

เวียดนามเผยยอดส่งออกเม็ดมะม่วงหิมพานต์ไปยังจีนพุ่งสูงขึ้น

เวียดนามส่งออกเม็ดมะม่วงหิมพานต์ไปยังจีนเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ถึงแม้ว่าสินค้าเกษตรหลายรายการของเวียดนามจะขนส่งไปยังตลาดใกล้เคียง ปัจจุบันเวียดนามเผชิญกับความท้าทายในการส่งออกสินค้าไปยังจีน เนื่องมาจากการเข็มงวดของคุณภาพสินค้าและการค้าข้ามพรมแดน อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลของกรมศุลกากรเวียดนาม ระบุว่าปริมาณส่งออกเม็ดม่วงหิมพานต์ไปยังจีนเพิ่มสูงขึ้นกว่า 58,100 ตัน คิดเป็นมูลค่า 447.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ ที่มีการเพิ่มขึ้นทั้งในด้านปริมาณและมูลค่า ทั้งนี้ สหรัฐอเมริกา จีน และเนเธอร์แลนด์ เป็นผู้นำเข้าเม็ดมะม่วงหิมพานต์รายใหญ่ของเวียดนาม ซึ่งจีนยังคงเป็นผู้นำเข้าสินค้าเกษตรรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 26.9 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด รองลงมาสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป อาเซียน และญี่ปุ่น

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/cashew-nut-exports-to-china-rise-sharply-407644.vov

อุตสาหกรรมนมโคเวียดนาม มีอัตราการเติบโต 10% ต่อปี

ตามข้อมูลของสมาคมนมโคเวียดนาม คาดว่าอุตสาหกรรมนมเวียดนามจะมีอัตราการเติบโตร้อยละ 9-10 ในปีหน้า และปริมาณการบริโภคนมของคนเวียดนามต่อหัวจะเพิ่มขึ้นเป็น 28 ลิตร ภายในปี 2563 โดยการขยายตัวของอุตสาหกรรมดังกล่าวนั้น เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของรายได้และการพัฒนาระบบโซ่อุปทานที่ทันสมัย และการเพิ่มขึ้นของประชากรในวัยหนุ่มสาวและชนชั้นกลางในเขตพื้นที่เมือง อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์นมที่บริโภคส่วนใหญ่จะอยู่ในลักษณะนมเหลว นมผง โยเกิร์ต และนมข้นหวาน เป็นต้น ขณะที่ การบริโภคผลิตภัณฑ์อื่นๆ ได้แก่ ชีส และเนยไขมันต่ำ เป็นต้น ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์หลัก 2 กลุ่มของตลาดนมภายในประเทศ คือ นมเหลวและนมผง ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 3 ใน 4 ของมูลค่าตลาดทั้งหมด ด้วยการผลิตนมโคสด 1.5 ล้านลิตร และปริมาณการผลิตนมผง 138,000 ตัน นอกจากนี้ อุตสาหกรรมนมในประเทศมีการขยายตัวได้ดี ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยธุรกิจได้มีการปรับปรุงเครื่องมือการผลิตและสิ่งอำนวยความสะดวก รวมไปถึงการนำเทคโนโลยีมาพัฒนาคุณภาพการผลิตนมและผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนม

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vietnamese-dairy-industry-to-gain-annual-growth-rate-of-10-per-cent-407656.vov

โครงการอาหารโลก (WFP) ส่งมอบอุปกรณ์เทคโนโลยีส่งเสริมการศึกษาและโภชนาการ

โครงการอาหารโลก (WFP) ได้จัดหาอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เพื่อสนับสนุนโครงการอาหารของโรงเรียนเพื่อให้มั่นใจในความยั่งยืนและเสริมสร้างด้านอาหารในในโรงเรียนท้องถิ่นโดยพิธีส่งมอบอุปกรณ์ได้จัดขึ้นที่เวียงจันทน์ โครงการอาหารโลกได้ดำเนินโครงการโดยร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการและการกีฬาให้ส่งเสริมอาหารที่ดีแก่เด็กก่อนวัยเรียนและประถมศึกษาเพื่อส่งเสริมโภชนาการในชนบทนอกจากนี้ยังมีการเรียนรู้สนับสนุนการเข้าถึงการศึกษาและส่งเสริมสุขภาพในพื้นที่ห่างไกล โดย WFP ได้มอบโครงการในโรงเรียนกว่า 500 แห่งเกิดความยั่งยืนและพื้นฐานด้านการศึกษาที่มั่นคงเป้าหมายในอนาคตของ WFP คือส่งมอบโครงการทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนกว่า 900 แห่งในปี 2564ในอนาคตสปป.ลาวจะมีความมั่นคงทางด้านโภชนาการมากขึ้นและระบบการศึกษาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นเป็นรากฐานที่ดีในการเติบโตด้านเศรษฐกิจ

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Tech.php

ความสำเร็จโครงการเยี่ยมชมสปป.ลาว จีน

ในปี 62 ที่ผ่านมาสปป.ลาวและจีนได้ร่วมมือในโครงการการเยี่ยมชมสปป.ลาว-​​จีน ทั้งสองประเทศได้มีการเยี่ยมชมระหว่างกันตามความปรารถนาของผู้นำทั้ง 2 ประเทศเพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม การท่องเที่ยวและความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศโดยในปีที่ผ่านมีการส่งเสริมในการเอาวัฒนธรรมของทั้ง 2 ประเทศไปเผยแพร่ในสปป.ลาว-จีน เช่นจัดกิจกรรมในวันสำคัญของจีนในนครหลวงเวียงจันทน์ เทศกาลไหว้พระจันทร์ ในสวนของประเทศจีนก็มีการนำวัฒนธรรมสปป.ลาวไปเผยแพร่เช่นกัน ผลประโยชน์จากความร่วมมือดังกล่าว ทำให้ในแขวงต่างๆของสปป.ลาวมีการจับจ่ายใช้สอยและการลงทุนเพิ่มขึ้นของร้านค้าจากยอดนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมชมทั้งจีนและสปป.ลาว โดยยอดนักท่องเที่ยวชาวจีนในช่วง 9 เดือนมีผู้คนไปเที่ยวประเทศลาวมากกว่า 3.4 ล้านคนเพิ่มขึ้น 11% จากปีที่แล้วซึ่งรัฐบาลตั้งเป้าดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวจีนให้ได้ 1 ล้านคนในปีนี้ซึ่งก็น่าจะเป็นไปได้ตามเป้าจากการส่งเสริมของทั้ง 2 ประเทศ

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Authorities.php

การเรียกร้องให้มีการลดอัตราดอกเบี้ยให้กับเกษตรกร

ตัวแทนจากสมาพันธ์ข้าวแห่งกัมพูชา (CRF) ได้เรียกร้องให้สถาบันการเงินทบทวนอัตราดอกเบี้ยเพื่อการเกษตรเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ประสิทธิภาพการผลิตและหนุนการเติบโตของภาคเกษตร โดยการประชุมดังกล่าวจัดขึ้นในการประชุมเศรษฐกิจมหภาค NBC ประจำปีครั้งที่ 6 ด้านการเกษตรมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอย่างรวดเร็วและสภาพแวดล้อมการค้าโลกที่ไม่แน่นอนซึ่งจัดโดยธนาคารแห่งชาติกัมพูชา โดยปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยสำหรับเกษตรกรอยู่ในระดับสูง คือ 12%-18% ต่อปี ซึ่งรองประธาน CRF กล่าวว่าสำหรับภาคการค้าและการค้าปลีกเพียง 6.5%-8.5% โดยสิ่งนี้ทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำกว่าประเทศอื่นซึ่งภาคเกษตรกรรมมีสัดส่วนประมาณ 30% ของ GDP ของประเทศคิดเป็นมูลค่า 6-8 พันล้านเหรียญสหรัฐ แต่อย่างไรก็ตามพอร์ตสินเชื่อจากภาคการเงินไปสู่ภาคเกษตรกรรมมีเพียง 10% ของพอร์ตสินเชื่อรวม โดยปัญหาดังกล่าวไม่เพียงส่งผลกระทบต่อองค์กรขนาดใหญ่และขนาดกลางเท่านั้น แต่ยังรวมถึงเกษตรกรรายย่อยและชุมชนขนาดใหญ่ ซึ่งการเติบโตของภาคการเงินจะช่วยสนับสนุนการเติบโตของภาคเกษตร

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50670590/call-for-lower-interest-rates-for-farmers/