เมียนมาส่งออกแร่มากกว่า 1.4 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 62

สิ้นปีงบประมาณ 61 – 62 เมื่อกันยายนที่ผ่านมา เมียนมามีมูลค่าส่งออกแร่ 1.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 700 ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สินค้าส่งออกหลักที่ส่งไปยังต่างประเทศ ได้แก่ ผลผลิตจากฟาร์ม ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์ทางทะเล ผลิตภัณฑ์จากป่า ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปทางอุตสาหกรรม และอื่น ๆ แม้มีการจัดนิทรรศการหยกแต่ยอดส่งออกลดลง ด้วยการกำกับของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดย Myanma mid-year gem emporium ได้จัดขึ้นที่เนปิดอร์ ตั้งแต่วันที่ 16-25 กันยายน ที่ผ่านมา

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/mineral-export-volume-reaches-more-than-us-1-4-billion-till-2019-end

การลงทุนจากต่างประเทศในเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา สูงกว่า 1.86 พันล้านเหรียญสหรัฐตลอดปี 62

ปริมาณการลงทุนจาก 19 ประเทศในเขตเศรษฐกิจเศรษฐกิจพิเศษติละวามีมูลค่ามากกว่า 1.86 พันล้านเหรียญสหรัฐจนถึงกันยายน ปี 62 มีธุรกิจที่ลงทุนทั้งหมด 113 ธุรกิจจาก 19 ประเทศที่เข้ามาลงทุน เมื่อแบ่งเป็นรายประเทศพบว่าญี่ปุ่นอยู่ประมาณ 674.488 ล้านเหรียญสหรัฐคิดเป็น 36.21% และจำนวนธุรกิจ 37 แห่ง สิงคโปร์อยู่ที่ 650 ล้านเหรียญสหรัฐคิด คิดเป็น 34% จากจำนวนธุรกิจการลงทุน 27 แห่ง ส่วนไทยมีการลงทุน 170 ล้านเหรียญสหรัฐคิดเป็น 9% และเกาหลีใต้ 96 ล้านเหรียญสหรัฐคิดเป็น 5% ส่วนการลงทุนของมาเลเซีย, ไต้หวัน, ออสเตรเลีย, ปานามา, จีน, บรูไน, เวียดนาม, ฝรั่งเศส, สวิตเซอร์แลนด์ และเนเธอร์แลนด์ยังคงต่ำกว่าร้อยละหนึ่ง

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/foreign-investment-volume-in-thilawa-sez-reaches-more-than-us-186-billion-till-2019-september

ผู้นำธุรกิจสปป.ลาวเริ่มดำเนินโครงการการจัดการของญี่ปุ่น

สถาบันการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ลาว – ​​ญี่ปุ่น เริ่มโครงการ“ keiei-juku” ฝึกอบรมครั้งที่ 3 เพื่อช่วยพัฒนาทักษะของนักธุรกิจสปป.ลาวในการบริหารและการจัดการ โครงการฝึกอบรม keiei-juku ที่ญี่ปุ่นพัฒนาขึ้นเป็นโครงการพัฒนาทักษะการจัดการเฉพาะสำหรับผู้บริหารระดับสูงขององค์กร มีผู้บริหารเข้าร่วม 18 คน โดยเป็นโปรแกรมระยะยาว 6 เดือนประกอบด้วยวิชาบริหารธุรกิจที่สำคัญ ได้แก่ กลยุทธ์การบริหารธุรกิจ กลยุทธ์การจัดการทางการเงิน กลยุทธ์การตลาด การวางแผนพัฒนาธุรกิจ การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ และการประชุมเชิงปฏิบัติการสรุปความสำเร็จแต่ละวิชาจะได้รับการสอนเป็นเวลา 1 เดือน ผู้เข้าร่วมจะต้องเข้าร่วมการบรรยายและการฝึกอบรมเป็นเวลา 1 สัปดาห์ ในช่วงที่เหลือผู้เข้าร่วมจะได้ทำงานที่ได้รับมอบหมายซึ่งใช้บทเรียนที่ได้รับในชั้นเรียนเพื่อการวิเคราะห์และวางแผนธุรกิจที่แท้จริง หลังจากเสร็จสิ้นโปรแกรมผู้เข้าร่วมจะได้ทำการวิเคราะห์อย่างละเอียดและพัฒนาแผนการปรับปรุงที่ครอบคลุมสำหรับบริษัทของพวกเขา หลังจากจบหลักสูตรผู้ฝึกอบรมจะเดินทางไปทัศนศึกษาที่ญี่ปุ่นเป็นเวลา 2 สัปดาห์เพื่อดูว่าระบบดังกล่าวประสบความสำเร็จได้

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/lao-business-leaders-embark-japanese-management-programme-106396

BCEL ร่วมมือ Swift Pass เปิดใช้งานการชำระเงินผ่าน WeChat Pay และ AliPay

BCEL ร่วมมือกับ Swift Pass เพื่อเปิดใช้งานการชำระเงินผ่าน WeChat Pay และ AliPay เพื่อให้ร้านค้าสปป.ลาวและธุรกิจอื่น ๆ ดึงดูดลูกค้าชาวจีนมากขึ้น  ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ดิจิทัลของธนาคารในรูปแบบใหม่ นี่เป็นครั้งแรกที่ร้านค้าในสปป.ลาวสามารถรับการชำระเงินผ่าน WeChat Pay โดยใช้รหัส QR กับ WeChat Pay และ AliPay ในรหัส QR เดียวกัน นี่เป็นอีกขั้นตอนหนึ่งของ BCEL ที่จะแนะนำระบบการชำระเงินใหม่โดยใช้ QR Code ผ่านความร่วมมือกับ Swift Pass และ NTT DATA โดยจะช่วยให้ลูกค้าของ BCEL ชำระค่าสินค้าและบริการแบบดิจิทัล นอกจากนี้ยังให้ความปลอดภัยเพิ่มเติมสำหรับผู้ซื้อและผู้ขายโดยเฉพาะสำหรับนักเดินทางชาวจีน มีผู้ใช้อย่างน้อย 900 ล้านหมายเลขทั่วโลก ส่วนใหญ่เป็นชาวจีนที่ใช้แอพยอดนิยมนี้ 

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/bcel-swift-pass-partner-payments-through-wechat-pay-and-alipay-106312

โครงการสร้าง “อุทยานวัฒนธรรมกัมพูชา-จีน” ในเสียมราฐ

สภาเพื่อการพัฒนาประเทศกัมพูชาซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่ดูแลการลงทุนเมื่อสัปดาห์ที่แล้วได้อนุมัติโครงการท่องเที่ยวขนาดใหญ่ในเสียมเรียบ ที่ชื่อว่า “อุทยานวัฒนธรรมกัมพูชา-จีน” โดยโครงการนี้จะได้รับการพัฒนาโดย บริษัท Angkor International Culture Investment & Development (Cambodia) Co., Ltd. ด้วยทุนกว่า 27.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งโครงการจะได้รับการพัฒนาในชุมชน Sla Kram ในเสียมราฐซึ่งเป็นที่ตั้งของอุทยานโบราณคดีอังกอร์ โดยจำนวนตั๋วที่ขายที่อุทยานโบราณคดีอังกอร์ซึ่งเป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยวที่สำคัญที่สุดของกัมพูชานั้นลดลง 8% จากเดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน ซึ่งมีนักท่องเที่ยวต่างชาติซื้อบัตรผ่านอยู่ที่ 1.2 ล้านคน โดยประเทศจีนยังคงเป็นประเทศที่ติดอันดับยอดนิยมของนักท่องเที่ยวในเสียมราฐตามด้วยเกาหลีและสหรัฐฯ ซึ่งกว่า 540,000 คนเป็นนักท่องเที่ยวที่มาจากจีน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50651322/siem-reap-to-welcome-27mln-cambodia-china-cultural-park/

กัมพูชาส่งเสริมการค้าทวิภาคีกับเวียดนามโดยการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน

รัฐบาลกัมพูชามีความพยายามที่จะปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของประเทศรวมถึงการแก้ไขและดำเนินการตามแผนเพื่อผลักดันโครงการทางด่วน พนมเปญ-เบเวต ซึ่งคาดว่าจะเป็นการกระตุ้นธุรกิจการลงทุนและการค้ากับเวียดนาม โดยนายกรัฐมนตรีของกัมพูชาสั่งให้สถาบันที่เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดในกัมพูชาทบทวนการศึกษาความเป็นไปได้และกำหนดแผนเพื่ออำนวยความสะดวกด้านธุรกิจและการขนส่งที่ชายแดนกับเวียดนาม ซึ่งเชื่อว่าจะมีการขนส่งที่เพิ่มขึ้นจากเวียดนามไปยังกัมพูชาโดยตรง โดยการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการดำเนินการโดยหน่วยงานความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งประเทศญี่ปุ่น (JICA) ซึ่งจะมีมูลค่าของโครงการอยู่ที่ 3.8 พันล้านเหรียญ โดยมีความยาวอยู่ที่ 160 กิโลเมตรที่เชื่อมต่อพนมเปญและบาเวต ซึ่งการค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและเวียดนามมีมูลค่าสูงถึง 4.7 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2561 ซึ่งเพิ่มขึ้น 24% เมื่อเทียบกับปี 2560 และเติบโตอย่างรวดเร็วที่ระดับ 2.72 พันล้านเหรียญสหรัฐในช่วงหกเดือนแรกของปี 2562 และคาดว่าจะสูงถึง 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50651252/cambodia-boosts-bilateral-trade-with-vietnam-by-improving-infrastructure/

อุตสาหกรรมสิ่งทอเวียดนามได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน

จากรายงานของกระทรวงการลงทุนและวางแผนเวียดนาม เปิดเผยว่าอุตสาหกรรมสิ่งทอเวียดนามประสบภาวะเดือดร้อนอย่างหนักจากสงครามการค้า ทั้งจากการส่งออกและการผลิตที่ลดลง เนื่องมาจากความรุนแรงของสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น และผู้ซื้อ/ผู้นำเข้าแสดงความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์สงครามการค้า ทำให้ยอดคำสั่งซื้อลดลงอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกัน บริษัทผู้ผลิตสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม (VINATEXT) ได้รับผลกระทบอย่างมากจากสงครามการค้า โดยอุตสาหกรรมเส้นด้ายทั่วโลกนั้น มีแนวโน้มลดลง เป็นผลมาจากสงครามการค้า และการแข่งขันจากคู่แข่งที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ได้แก่ อินเดีย ปากีสถาน ไทย และเวียดนาม นอกจากนี้ จากตัวเลขสถิติการค้าระหว่างประเทศของสำนักงานศุลกากร ระบุว่าในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ มูลค่าการส่งออกสิ่งทอของเวียดนามอยู่ที่ 29.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/textile-industry-hit-by-ongoing-trade-war/162084.vnp

เวียดนามเผยภาคเกษตรกรรมขยายตัวเพิ่มขึ้น 2.02% ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 62

จากคำแถลงการณ์ของรัฐมนตรีกระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม (MARD) ณ กรุงฮานอย วันที่ 14 ตุลาคมที่ผ่านมา เปิดเผยว่าภาคเกษตรกรรมขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.02 ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2562 แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากโรคไข้หวัดหมูแอฟริกา โดยยอดการส่งออกแตะระดับ 30.02 พันล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ ดุลการค้าเกินดุลอยู่ที่ 6.86 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะเดียวกัน ผลผลิตเนื้อหมูลดลงร้อยละ 8 เนื่องมาจากผลกระทบของโรคดังกล่าวเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ผลผลิตของสินค้าทางการเกษตรอื่นๆต่างเพิ่มขึ้น ได้แก่ เนื้อวัว เนื้อควาย เนื้อสัตว์ปีก ไข่ และนม เป็นต้น นอกจากนี้ ภาคการประมงได้ตระหนักถึงข้อเสนอแนะจากสหภาพยุโรป ในการพัฒนาเพาะพันธุ์สัตว์น้ำอย่างยั่งยืน ซึ่งทางกระทรวงฯ ได้ส่งทีมงานไปยังแหล่งท้องถิ่น เพื่อทำการตรวจสอบผู้ประกอบการที่ทำผิดกฎหมาย และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศมากขึ้น

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/536915/agriculture-sector-expands-by-202-in-nine-months.html#ksgoB5ZZRiwTDJwf.97

เส้นทางบินใหม่เชื่อมชายแดนยูนนาน – เมียนมา

ปลายเดือนตุลาคมนี้เที่ยวบินตรงใหม่เชื่อมโยงเมืองข้อนเมืองชายแดนทางตะวันตกเฉียงใต้ของมณฑลยูนนานของจีนกับย่างกุ้งซึ่งเป็นเมืองหลวงของเมียนมา โดยจะเริ่มวันที่ 27 ตุลาคม กับเที่ยวบิน DR5039 / DR5040 ดำเนินการโดยสายการบิน Ruili Airlines กับเครื่องบินโบอิ้ง 737NG ทุกวันจันทร์ พุธ ศุกร์ และอาทิตย์ เที่ยวบินออกจากเมืองซ้อน เวลา 9:25 น. (เวลาท้องถิ่น) และกลับจากย่างกุ้งเวลา 10:30 น. (เวลาท้องถิ่น) เส้นทางนี้คาดว่าจะอำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และการท่องเที่ยวระหว่างสองประเทศ Ruili Airlines ให้บริการเส้นทางบินภายในประเทศ 61 เส้นทางและเส้นทางระหว่างประเทศ 10 เส้นทาง โดยให้บริการเที่ยวบิน 108 เที่ยวบินต่อวันครอบคลุม 39 เมืองในจีน เวียดนาม กัมพูชา ไทย และเมียนมา

ที่มา : http://www.xinhuanet.com/english/asiapacific/2019-10/15/c_138473455.htm

ค้าชายแดนเมียนมามูลค่าเกือบ 40 ล้านเหรียญสหรัฐในปีงบประมาณ 61-62

การค้าชายแดนของผู้ค้าชายแดนประเภทบุคคล (ITCs) มีมูลค่ารวมกว่า 59 พันล้านจัต (39.3 ล้านเหรียญสหรัฐ) ในปีงบประมาณ 61-62 ซึ่งสิ้นสุดไปเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ในช่วงเวลาดังกล่าวผู้ค้าชายแดนประเภทบุคคล (ITCs) 163 แห่งได้รับอนุญาตจากกระทรวงและมีมูลค่ากว่า 9.38 พันล้านจัต (6.25 ล้านเหรียญสหรัฐ) ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 49.6 พันล้านจัต (33.1 ล้านเหรียญสหรัฐ) ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 61 ถึงวันที่ 30 กันยายน 62 ประตูชายแดนเมียวดีมีการจดทะเบียนการค้าสูงสุดด้วยเงินทุน 32,000 จัต (21.3 ล้านเหรียญสหรัฐ) ตั้งแต่ปีงบประมาณ 55-56 กระทรวงได้ออกใบอนุญาตผู้ค้าชายแดนประเภทบุคคลไปแล้ว 1,687 มีมูลค่าการค้ารวมกว่า 169.2 พันล้านจัต (112.8 ล้านเหรียญสหรัฐ) โดยทำการค้าชายแดนกับจีน ไทย บังคลาเทศ และอินเดีย ส่วนใหญ่ส่งออกสินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์สัตว์ การประมง แร่ธาตุ และผลิตภัณฑ์จากป่าไปยังต่างประเทศ ในขณะที่สินค้าทุนสินค้าขั้นกลางและสินค้าอุปโภคบริโภคจะเป็นการนำเข้าซะส่วนใหญ่

ที่มา : http://www.xinhuanet.com/english/2019-10/15/c_138473812.htm