โควิด-19 กระทบเศรษฐกิจ CLMV เติบโตต่ำสุดในรอบ 2 ทศวรรษ ประเทศยิ่งพึ่งพารายได้จากต่างประเทศมาก ยิ่งกระทบหนัก (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 3100)

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์เรื่อง COVID-19 กระทบเศรษฐกิจ CLMV เติบโตต่ำสุดในรอบ 2 ทศวรรษ ประเทศยิ่งพึ่งพารายได้จากต่างประเทศมาก ยิ่งกระทบหนัก โดยระบุว่า การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบเชิงลบต่อเศรษฐกิจ CLMV ผ่านทางการพึ่งพารายได้จากต่างประเทศในธุรกิจท่องเที่ยว และภาคการส่งออก โดยประเทศที่พึ่งพารายได้จากต่างประเทศมาก ยิ่งได้รับผลกระทบในเชิงลบมาก      

  • กัมพูชา เป็นประเทศที่ได้รับรับผลกระทบมากที่สุด เนื่องจากพึ่งพารายได้จากต่างประเทศทั้งในธุรกิจท่องเที่ยวและภาคการส่งออก โดยคาดว่าธุรกิจท่องเที่ยวจะหดตัวประมาณ 60% ในปีนี้ ส่วนภาคการส่งออกนั้น กัมพูชายังพึ่งพาการส่งออกไปยังตลาด EU และสหรัฐฯ มากที่สุด ซึ่งในปัจจุบัน ประเทศสหรัฐฯ และประเทศในกลุ่ม EU คือประเทศที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 มากที่สุดในเวลานี้ จึงคาดว่ามูลค่าส่งออกจะหดตัวถึง 10% ในปีนี้ ส่งผลให้เศรษฐกิจกัมพูชาโดยรวมจะหดตัวกว่า 0.9% ในปี 2563
  • เวียดนาม เวียดนามได้รับผลกระทบปานกลาง เนื่องจากพึ่งพารายได้จากต่างประเทศในภาคการส่งออกเท่านั้น และยังโชคดีที่ เวียดนามมีประเทศคู่ค้าหลักที่หลากหลายทำให้การกระจายความเสี่ยงในการส่งออกค่อนข้างดี ประกอบกับสินค้าส่งออกหลักของเวียดนาม คือ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะได้รับอานิสงค์จากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่จำเป็นต้องเปลี่ยนไปด้วยการทำงานที่บ้าน (Work From Home) จึงทำให้อุปสงค์ของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ แผงวงจรไฟฟ้า เพิ่มขึ้น และทำให้ภาพรวมการส่งออกของเวียดนามหดตัวไม่มากนัก คาดว่ามูลค่าการส่งออกของเวียดนามจะหดตัวประมาณ 5% ในปีนี้ ประกอบรัฐบาลมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจในรูปแบบเงินให้เปล่า และการลดภาษี คาดว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามจะยังคงเติบโตได้ในระดับ 3.6% ในปีนี้
  •  เมียนมา  เป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 ค่อนข้างน้อย เพราะมีรายได้จากภาคการส่งออกและธุรกิจท่องเที่ยวค่อนข้างน้อย อย่างไรก็ตาม ภาคการส่งออกของเมียนมาก็ได้รับผลกระทบค่อนข้างหนัก เนื่องจากสินค้าส่งออกหลักของเมียนมา คือ ก๊าซธรรมชาติ ซึ่งได้รับผลกระทบหนักจากราคาเชื้อเพลิงในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับ สินค้าส่งออกสำคัญอันดับสองของเมียนมา คือ เสื้อผ้าและสิ่งทอ ก็ได้รับผลกระทบหนักทั้งจากการปิดโรงงานในจีน และจากอุปสงค์สินค้าที่ลดลงในตลาด EU จึงคาดว่ามูลค่าการส่งออกของเมียนมาจะหดตัวถึง 10% ในปีนี้ อย่างไรก็ตาม EU ได้จัดตั้งกองทุนเงินช่วยเหลือฉุกเฉิน (Quick Assistance Fund) มูลค่า 500 ล้านยูโร เพื่อช่วยเหลืออุตสาหกรรมสิ่งทอในเมียนมาที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ซึ่งจะช่วยอุดหนุนการจ้างงานและการบริโภคของครัวเรือน ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่ากองทุนเงินช่วยเหลือฉุกเฉินของ EU ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 1% ของ GDP จะช่วยพยุงรายได้ของประชาชน และทำให้การบริโภคในครัวเรือนยังเติบโตได้ในระดับใกล้เคียงกับช่วงก่อนวิกฤตโควิด-19 นอกจากนี้ การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ของเมียนมาก็ยังคงเป็นไปตามกำหนดการเดิม จึงคาดว่าในภาพรวมเศรษฐกิจเมียนมาจะยังเติบโตได้ในระดับ 4.3% ในปี 2563
  • สปป.ลาว ก็เป็นอีกประเทศที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 ค่อนข้างน้อย เนื่องจากไม่ได้พึ่งพารายได้จากธุรกิจท่องเที่ยว หรือภาคการส่งออกมากนัก อย่างไรก็ตาม ธุรกิจท่องเที่ยวของลาวพึ่งพานักท่องเที่ยวไทยมากที่สุด ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 หนักที่สุดในอาเซียนในปีนี้ จึงคาดว่าธุรกิจท่องเที่ยวของลาวน่าจะได้รับผลกระทบหนักตามไปด้วย ส่วนภาคการส่งออกของสปป.ลาวคาดว่ามูลค่าการส่งออกจะหดตัวประมาณ 5% ในปีนี้ ยังโชคดีที่ ภาคการส่งออกของสปป.ลาวส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมเหมืองแร่และการผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งไม่ได้ทำให้เกิดการจ้างงานกับผู้คนจำนวนมาก ส่วนธุรกิจท่องเที่ยวก็เพิ่งเริ่มพัฒนาและยังมีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับ GDP จึงทำให้รายได้ของประชากรส่วนใหญ่ไม่ได้รับผลกระทบมากนัก และทำให้การบริโภคในครัวเรือนยังเติบโตได้ใกล้เคียงกับช่วงก่อนเกิดวิกฤตโควิด-19 นอกจากนี้ การลงทุนในโครงการรถไฟความเร็วสูงซึ่งมีมูลค่ากว่า 7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ยังคงดำเนินไปตามกำหนดการเดิม จึงทำให้เม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 มากนัก เมื่อดูภาพรวมแล้ว คาดว่าเศรษฐกิจสปป.ลาวจะยังเติบโตได้ในระดับ 3.9% ในปี 2563

แม้ว่าวิกฤตโควิด-19 จะทำให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทLกลุ่ม CLMV อยู่ในระดับต่ำที่สุดในรอบ 2 ทศวรรษ แต่เศรษฐกิจ CLMV ก็ยังสามารถเติบโตได้ในระดับ 3.4% ในปีนี้ นอกจากนี้ เศรษฐกิจ CLMV ดยรวมยังมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างรวดเร็วใน 1-2 ปีข้างหน้า โดยอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจจะอยู่ที่ระดับ 6.4% ในปี 2564และ 6.5% ในปี 2565

ที่มา : https://kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/economy/Pages/z3100.aspx

วิเคราะห์ศักยภาพการแข่งขันการส่งออกไทยในสปป.ลาว

วิเคราะห์ศักยภาพการแข่งขันการส่งออกไทยในเมียนมา

สาเหตุที่ผู้หญิงผลักดันการเติบโตของภาคไอทีเมียนมา

พบว่าในบรรดานักพัฒนาซอฟต์แวร์ 10 คนที่สำนักงานในย่างกุ้งของบริษัทซอฟแวร์อย่าง Axon Active เก้าคนเป็นผู้หญิง ซึ่งเป็นสิ่งที่เหนือความคาดหมายของบริษัทที่จะจัดตั้งสาขาในต่างประเทศ .ในเมียนมา 70% ของบัณฑิต 3,000 คนจาก 25 มหาวิทยาลัยด้านคอมพิวเตอร์ของเมียนมาเป็นผู้หญิง ความเท่าเทียมกันทางเพศนี้ในบริบทระหว่างประเทศ เกือบทุกแห่งในโลกผู้หญิงเป็นชนกลุ่มน้อยในสาขาเทคโนโลยี ยกตัวอย่างการเลือกสมัครงานของผู้ชายในอเมริกาสามในสี่เป็นงานเทคโนโลยีทั้งหมด Axon Active ในเมียนมาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีเป็นที่ต้องการของผู้หญิงเพราะมีทักษะการสื่อสารที่ดี แม้ผู้ชายจะดีกว่าในด้านทักษะ เช่น การเขียนโปรแกรม แต่ผู้หญิงมีความเข้มแข็งเมื่อพูดถึงทักษะในการสื่อสารระหว่างนักพัฒนาโปรแกรมและลูกค้า เปิดเสรีโทรคมนาคมของเมียนมาทำให้เกิดกระแสความนิยมอินเทอร์เน็ต ราคา ความเร็วและความพร้อมของทั้งมือถือได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การที่แรงงานค่อนข้างถูกทำให้ผู้จบระดับมหาวิทยาลัยด้านไอทีคาดหวังรายได้ประมาณ 200 เหรียญสหรัฐ และเมื่อผ่านไป 2 – 3 ปี จะมีรายได้อยู่ระหว่าง 1,000 – 2,000 เหรียญสหรัฐเลยทีเดียว เป็นผลให้ภาคไอทีดึงดูดบริษัทต่าง ๆ มากกว่า 50 บริษัท เข้ามาลงทุนในเมียนตั้งแต่ปี 57 ส่วนใหญ่มาจากญี่ปุ่นหรือสิงคโปร์ซึ่งค่าแรงสูงและการเข้าเมืองที่เข้มงวดทำให้เน้นแรงงานจากภายนอกมากกว่าในท้องถิ่น ซึ่ง Axon มองว่าการแข่งขันในเมียนมาจะยังไม่มากเท่ากับในเวียดนาม อาจถือได้ว่าอุตสาหกรรมไอทีได้ก้าวข้ามเรื่องเพศไปแล้ว แต่ใช่ว่าจะเป็นด้านบวกเสมอไป เพราะบางมหาวิทยาลัยมีนักศึกษาหญิงถึง 90% ของสาขาคอมพิวเตอร์เพราะบางสาขาวิชาที่จำกัดไว้ให้กับเพศชายอย่างแพทย์และวิศวกรรมที่เป็นอุปสรรคสำหรับเพศหญิง บางครั้งเลือกเรียนคอมพิวเตอร์โดยไม่รู้ว่าต้องการทำงานในภาคไอทีหรือไม่ แต่ปัญหาสำคัญของเมียนมาอีกอย่างคือ เนื้อหาในหลักสูตรการศึกษาที่เน้นทางทฤษฎีมากกว่าปฏิบัติจึงขาดทักษะในการปฏิบัติงาน ซึ่ง Axon กำลังร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในการหาทางออกให้กับเนื้อหาหลักสูตร ปัจจุบันเมียนมาเริ่มให้ความสำคัญกับการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติมากขึ้นเมื่อรวมกับทักษะภาษาอังกฤษที่ค่อนข้างดี แรงงานมีราคาถูก อุตสาหกรรมไอทีจึงมีอนาคตค่อนข้างสดใส

ที่มา: https://frontiermyanmar.net/en/why-women-are-driving-myanmars-it-sector-growth

งานสร้างภาพยนตร์ในเมียนมา

การชมภาพยนตร์ของเมียนมาในยุคก่อนๆ เจริญกว่าไทย ด้วยค่าเงินแข็งกว่าไทย ตึกรามบ้านช่องก็เจริญกว่าไทย ดังนั้นการได้ไปชมภาพยนตร์ที่นั่นจะนำหน้ากว่าไทยไปก่อนหนึ่งก้าว ภาพยนตร์ชาติต่างๆ จะเป็นใหม่กว่าที่ประเทศไทยมาก พอมีการปิดประเทศ วงการภาพยนตร์ก็เริ่มถดถอยลง ไม่ค่อยจะมีภาพยนตร์ดีๆออกมาให้ชมกัน ส่วนมากมักจะเป็นแนวเดิมๆ พอเข้าสู่โหมดการเปลี่ยนแปลง วิถีของภาพยนตร์ก็เริ่มเปลี่ยนไป แม้ต่างประเทศภาพยนตร์จะถูกกระแสการเปลี่ยนแปลงจาก IT Disruption ไปเรียบร้อยแล้ว แต่ที่เมียนมาการดูภาพยนตร์วัยรุ่นยังเข้าแถวรอชมกันอยู่ แสดงว่าความนิยมยังมีอยู่พอสมควร ดังนั้นจึงคาดว่าตลาดของภาพยนต์ยังไม่ถูก Disrupt ไปเสียทั้งหมด และคนไทยเองก็มีผู้กำกับรุ่นใหม่เข้าไปสร้างหนังดีๆ ออกสู่ตลาด ยกตัวอย่างเช่น คุณนนทวัฒน์ นำเบญจพล ที่สร้างภาพยนต์เรื่องดินไร้แดน (Soil without Land) ,Manta Ray , Michael’s , ผู้กำกับหนุ่มไฟแรงท่านนี้ได้สร้างภาพยนต์ได้น่าสนใจมากๆ คือไม่จำเป็นที่จะใช้ดาราแสดงนำที่สวย หล่อ มีชื่อเสียงเลย แต่สามารถดึงดูดให้ชมจนอินไปด้วยกับเนื้อหาจริงๆ เป็นที่น่าสนับสนุนผลงานของคนไทยเป็นอย่างมาก

ที่มา: https://www.posttoday.com/aec/trade/607835

การลงทุนการศึกษาในเมียนมา

เมื่อหลายวันก่อนสถาบันที่ปรึกษาอัจฉริยะด้านการค้าและการลงทุน (AITI) ของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้ส่งผู้ประกอบการที่ต้องการจะไปลงทุนในเมียนมา มาขอคำปรึกษาจากทั้งหมด 3 ราย หนึ่งในนั้นเป็นผู้ประกอบการที่อายุยังน้อยทำธุรกิจเกี่ยวกับโรงเรียนกวดวิชาที่มีการสอนด้านภาษา ด้านดนตรี ด้านวิชาการและสันทนาการเข้ามาปรึกษาขายแฟรนไชส์การศึกษาที่เมียนมา มีความเป็นไปได้หรือไม่ ซึ่งอยากให้เขาทำการบ้านให้มากกว่านี้ แล้วค่อยมาปรึกษากันใหม่ เมียนมามีความเสี่ยงมากเพราะการศึกษาของเมียนมาต่างจากที่อื่น เมียนมาเรียนในระบบ 6-2-2 ไม่เหมือนไทยที่เรียนระบบ 6-3-3 การสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่จะไม่ใช้วิธีการสอบเอนทรานส์ ที่นั่นใช้วิธีวัดผลสอบ โดยเอาคะแนนการสอบปลายปีของปี 10 มายื่นเรื่องขอเรียนต่อในมหาวิทยาลัยได้เลย ข้อสอบจากส่วนกลางจะส่งตรงไปที่เขตจังหวัดเลย ข้อดีคือไม่ซ้ำซ้อน และไม่ต้องสิ้นเปลืองทรัพยากรมากแต่ต้องซื่อสัตย์ การเรียนการสอนของที่เมียนมาคุณภาพจึงเข้มข้นมากๆ ตำราเรียนคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ที่นี่ใช้ตำราเรียนเป็นภาษาอังกฤษ เด็กจึงมีคุณภาพ จบแค่ปี 8 ก็สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ จบจากที่นี่สามารถสอบเข้าเรียนที่สิงคโปร์ ออสเตรเลีย อังกฤษ สหรัฐอเมริกาได้เลย ถ้ามีฐานะดีมักจะคาดหวังที่สี่ประเทศดังกล่าวเป็นอันดับต้นๆ ส่วนที่มีฐานะรองลงมาหรือคนในรัฐฉานที่เป็นไทยใหญ่ ก็ต้องมาที่ประเทศไทยเพราะถูกดีและสามารถพูดไทยได้ อันดับแรกเลยคือต้องทำการสำรวจตลาดก่อน ด้วยการเดินตามโรงเรียนเอกชนต่างๆ และโรงเรียนอินเตอร์อาจจะซึ่งอาจไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายก็เป็นได้ เพราะถ้าสามารถเรียนโรงเรียนอินเตอร์ เป้าหมายไปไกลแล้ว การศึกษาของเราน่าจะสู้สิงคโปร์ลำบาก จากนั้นค่อยมาวางแผนว่าวิสัยทัศน์ว่าจะเดินไปอย่างไร น่าจะเป็นทางออกที่เสี่ยงน้อยกว่า

ที่มา: https://www.posttoday.com/aec/trade/607276

การกระตุ้นเศรษฐกิจของเมียนมา

การใช้นโยบายลดความร้อนแรงในตลาดอสังหารัมทรัพย์ ในช่วงปี 58 เพราะในช่วงดังกล่าวการเก็งกำไรทำให้ราคาของอสังหาริมทรัพย์ ราคากระโดดไปสูงมาก ทำให้การลงทุนในภาคการผลิตก็หยุดชงักลง ดังนั้นจึงออกมาตรการกฎหมายเงินขาว-เงินดำ คือให้จ่ายภาษีซื้อ-ขายอสังหาริทรัพย์ด้วยอัตรา 30% ทำให้เกิดการชะงักทันที เกิดปัญหาในตลาดอสังหาฯ ในย่างกุ้งเพราะเมื่อไม่มีการซื้อขาย ทำให้กระแสเงิน M1 M2 M3 ขาดไปจากตลาดจนเกิดปัญหาเงินฝืด การลงทุนภาคการผลิตลดลง จับจ่ายใช้สอยของประชาชนฝืดเคืองลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงมีกฎหมายใหม่ออกมา โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ต.ค. 62 นี้ คือลดภาษีซื้อ-ขายสินค้าทุกชนิดรวมถึงอสังหาริมทรัพย์ ในอัตราก้าวหน้าทั้งหมด กล่าวคือ การซื้อขาย ตั้งแต่ 1 ล้านถึง 100 ล้าน ให้เสียภาษี 3% 101 ล้านถึง 300 ล้าน ให้เสียภาษี 5% 301 ล้านถึง 1,000 ล้าน ให้เสียภาษี 10% 1001 ล้านถึง 3,000 ล้าน ให้เสียภาษี 15% 3001 ล้านขึ้นไป ให้เสียภาษี 30% สิ่งที่ตามมา คือ ภาษีน้อยลงไปทันที ราคาสินค้าถูกลง สิ่งที่จะตามมาคือกลับเข้าสู่ภาคเงินออม Saving Money เงินเหล่านี้มีบางส่วนจะเข้าไปกระตุ้นเศรษฐกิจในรูปของการบริโภค เมียนมาเพียงลดอัตราดอกเบี้ยลง คนก็จะไม่นิยมฝากเงิน เพราะได้ไม่มากเท่าการนำเงินไปลงทุนในภาคการผลิตซึ่งจะส่งผลไปยังภาคการผลิตทันที ถ้าจะเปรียบเทียบกับประเทศอื่นแล้ว รัฐบาลมีอิสระในการจัดการแก้ปัญหา เพียงแต่ปัญหาของเมียนมาเริ่มมีมานานเกือบ 70 ปีมาแล้ว

ที่มา: https://www.posttoday.com/aec/trade/603433

จังหวะของการลงทุน

ในระยะเวลาปีสองปีต่อจากนี้ไป คือช่วงเวลาเหมาะต่อการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งหากผ่านพ้นไปอีก 4 – 5 ปี คงมีโอกาสเป็นไปได้ยาก เพราะวันนี้สภาวะของอสังหาริมทรัพย์อยู่ในช่วงขาลงสุดๆ เนื่องจากนโยบายของรัฐบาลที่นำออกมาใช้ลดความร้อนแรงของราคาอสังหาริมทรัพย์ เพื่อต้องการกระตุ้นการลงทุน ด้วยการออกนโยบายเงินขาว-เงินดำ แต่ก็ยังไม่สัมฤทธิ์ผลมากนัก คือการออกนโยบายเก็บภาษีซื้อ-ขายที่ดินแบบบ้าระห่ำ ทำให้ไม่มีคนซื้อ ราคาตกไปเกือบ 20% ต่อมาเมื่อวันที่ 1 ต.ค.ผ่านมา รัฐออกกฎหมายซื้อ-ขายที่ดินแบบอัตราก้าวหน้ามาใช้ ทำให้การซื้อการอสังหาริมทรัพย์ได้รับอานิสงค์ และการที่ค่าเงินจัตอ่อนลงถึง 80% ทำให้น่าลงทุน เพราะถูกลงเกือบ 80% เช่น ราคาที่ดิน และอาคารโกดังปีที่แล้ว อยู่ที่อยู่เอเคอร์ละ 600 ล้านจัต เป็นเงินบาทประมาณ 13.95 ล้านบาท ในขณะที่วันนี้ราคาตกอยู่ที่ 550 ล้านจัต ราคาประมาณ 11 ล้านบาท หรือลดลง 21.14% เรียกว่าตลาดเป็นของผู้ซื้อจริงๆ เนื่องจากเมียนมาเป็นประเทศที่อ่อนไหวต่อเปลี่ยนแปลงกฎหมายง่าย เมื่อมีความต้องการที่จะแก้กฎหมายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ หรือลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจ แค่นำเรื่องเสนอเข้าสภามีผลบังคับใช้ทันที ดังนั้นถ้ากฎหมายมีประโยชน์หรือมีความจำเป็น รับรองมีการประกาศใช้แน่นอน ถ้าหากเมียนมาเสนอให้เราแล้ว ต้องรีบยื่นเรื่องขอใบอนุญาต MIC (Myanmar Investment Committee) ทันที ซึ่งการที่จะถอนใบอนุญาตหรือยกเลิกการส่งเสริม มีทางเดียวคือทำผิดกฎหมายร้ายแรง นี่คือ “จังหวะของการลงทุน” อย่างแท้จริง

ที่มา: https://www.posttoday.com/aec/trade/606619

อนาคตของมหานครย่างกุ้ง

มหานครย่างกุ้งในอนาคตกำลังจะพัฒนาด้วยโครงการ 80 เมกกะโปรเจ็ค ผู้ประกอบการไทยที่ SMEs จะได้ประโยชน์จากโครงการเหล่านี้แน่นอน เพราะสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน ด้วยเหตุผลทางภูมิศาสตร์ เรามีความสะดวกที่จะส่งสินค้าเข้าไปได้หลากหลายกว่าประเทศอื่นๆ ยกเว้นจีนที่เขามีชายแดนติดกับเมียนมายาวเช่นเดียวกับเรา แต่ไทยได้เปรียบเพราะใกล้เมืองหลวงเก่าเมืองย่างกุ้งกว่าจีน โครงการหนึ่งที่มีผลต่อการพัฒนามหานครย่างกุ้งอย่างมาก คือ โครงการสร้างถนนวงแหวนรอบนอกรอบที่หนึ่งและรอบที่สอง ทางด่วนที่ก่อสร้างนี้จะเป็นทางยกระดับสองชั้น ที่มีทั้งถนนหกเลน และมีทางรถไฟอยู่ด้วย ข้างล่างจะเป็นทางถนนธรรมดา ซึ่งธุรกิจต่อเนื่องทั้งต้นน้ำปลายน้ำล้วนได้ประโยชน์ทั้งสิ้น เริ่มจากการที่สถาปนิกที่ใช้ออกแบบต่างๆ ซึ่งเมียนมานิยมจ้างสถาปนิกจากประเทศสิงคโปร์ ขณะที่ค่าจ้างของสถาปนิกไทยถูกกว่าสิงคโปร์มากกว่าครึ่งแต่คุณภาพไม่ต่างกัน ต่อมาวิศวกรอาชีพนี้ก็เช่นเดียวกัน และผู้ประกอบการที่ค้าขายอุปกรณ์ก่อสร้างต่างๆ โอกาสของ SMEs ก็มีเช่นกัน อย่างผู้รับเหมาก่อสร้างที่สามารถรับช่วงงานต่อจากผู้เล่นรายใหญ่ ผู้ตกแต่งภายในที่จะมีมากขึ้นในการพัฒนาประเทศคราวนี้ ดังนั้นยังมีความต้องการอีกมากมายและยังต้องใช้เวลาอีกยาวนาน เมียนมาคือตลาดแห่งสุดท้ายของประเทศ CLMV ที่กำลังเปิดอยู่ ดังนั้นไทยควรรีบความโอกาสนี้ไว้ก่อนที่การแข่งขันจะเริ่มดุเดือดขึ้น

ที่มา: https://www.posttoday.com/aec/trade/604710