นักการทูตนานาชาติชื่นชม “ทางรถไฟจีน-ลาว” เอื้อประโยชน์แก่อาเซียน

สำนักข่าวซินหัวรายงานจากเทศบาลนครฉงชิ่ง ประเทศจีน เมื่อวันที่ 27 มี.ค. ว่ารายงานระบุว่า บรรดาคณะผู้แทนทางการทูตต่างชาติประจำประเทศจีนล้วนมีความประทับใจ กับความสำเร็จหลากหลายด้านของเทศบาลนครฉงชิ่ง ทั้งในด้านการผลิต การคมนาคมขนส่ง โลจิสติกส์ และอีกมากมาย อนึ่ง เทศบาลนครฉงชิ่งได้รับการขนานนามเป็น “เมืองภูเขา” เนื่องจากถือเป็นประตูสู่ทิศตะวันตกของการเดินรถไฟจีน-ยุโรป และยังเป็นประตูสู่ทิศใต้ ซึ่งเชื่อมโยงกับกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเมืองแห่งนี้ได้เชื่อมโยงตนเองเข้ากับกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน ผ่าน “ทางรถไฟจีน-ลาว” ซึ่งก่อสร้างเสร็จสิ้น และเปิดใช้งานตั้งแต่วันที่ 3 ธ.ค. 2564

ที่มา : https://www.dailynews.co.th/news/2146323/

‘รถไฟจีน-ลาว’ ทำรายได้จากการขนส่งสินค้า เพียง 1 ปี ทะลุ 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

บริษัทรัฐวิสาหกิจ Yunnan International Railway Service ระบุว่าการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยรถไฟจีน-ลาว มีมูลค่าเกินกว่า 10 พันล้านหยวน (1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพียงแค่ 1 ปี หลังจากเปิดให้บริการเดินขบวนรถไฟ ในขณะที่ปริมาณขนส่งสินค้าข้ามพรมแดนของบริษัท เพิ่มขึ้นจากเดิมต่ำกว่า 30,000 ตันต่อเดือน ขยับมาอยู่ที่ 200,000 ตันต่อเดือน ทั้งนี้ ตามภูมิภาคทั่วประเทศ มีสินค้ากว่า 1,200 รายการที่ใช้บริการเส้นทางรถไฟจีน-ลาว และขนส่งไปยัง 10 ประเทศที่อยู่ภายใต้โครงการ “Belt and Road Initiative (BRI)” ได้แก่ สปป.ลาว ไทย เมียนมาและเวียดนาม นอกจากนี้ สถาบันการวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์ของมณฑลยูนาน ชี้ให้เห็นว่าการเปิดเส้นทางรถไฟแห่งนี้ไม่เพียงแต่จะส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจตลอดเส้นทางเท่านั้น แต่ยังช่วยกระตุ้นการก่อสร้างระเบียงเศรษฐกิจจีน-ลาว และประชาคมแห่งอนาคตร่วมกันระหว่างทั้งสองประเทศ

ที่มา : http://www.chinadaily.com.cn/a/202212/01/WS6387fd3aa31057c47eba2087.html

‘รถไฟจีน-ลาว’ กระตุ้นการท่องเที่ยวในสปป.ลาว

รถไฟจีน-ลาว มีส่วนสำคัญในการยกระดับภาคการท่องเที่ยวในลาว ทั้งด้านการขนส่งผู้โดยสารและสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกทางการเดินทาง นับตั้งแต่เปิดให้บริการตั้งแต่เดือนธันวาคม ปี 2564 ทั้งนี้ เมื่อสอบถามประชาชน พบว่าคุณกิ่งแก้ว ด้วงพันลำ คุณแม่วัย 32 ปี จากแขวงหลวงพระบาง บอกกับสำนักข่าวซินหัวว่าการเดินทางไปและกลับจากบ้านเกิดของเธอพร้อมลูกน้อยแรกเกิดนั้นสะดวกขึ้นมากตั้งแต่เริ่มเปิดใช้การรถไฟ และยังช่วยลดเวลาการเดินทางระหว่างเวียงจันทน์และหลวงพระบางจาก 8-9 ชั่วโมง เหลือเพียง 2 ชั่วโมง ทั้งนี้ รถไฟจีน-ลาว อยู่ภายใต้โครงการ “ข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (BRI)” ของรัฐบาลจีน และถือเป็นยุทธศาสตร์ของลาวที่จะเปลี่ยนจากประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ไปสู่ประเทศศูนย์กลางการคมนาคมทางบก

ที่มา : http://en.people.cn/n3/2022/1129/c90000-10177510.html

‘รถไฟจีน-ลาว’ โอกาสไทยได้นักท่องเที่ยวหลั่งไหลเข้าประเทศ

สมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (ATTA) อ้างตามรายงานจาก “Thaiger” เปิดเผยว่าหากทางการจีนอนุญาตให้เดินทางขาออกได้ ชาวจีนจำนวนอย่างน้อย 3 ล้านคนจะเดินทางผ่านทางรถไฟจีน-ลาว ขณะที่นายกสมาคมโรงแรมและร้านอาหารลาว กล่าวกับสำนักข่าวเวียงจันทน์ไทมส์ว่าภาคธุรกิจการท่องเที่ยวได้เตรียมความพร้อมในการต้อนรับนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางมายังสปป.ลาวและประเทศอาเซียน ซึ่งจะเปิดให้บริการรถไฟจีน-ลาว ตลอดจนเร่งปรับปรุงการบริการโรงแรมและร้านอาหาร เพื่อรองรับกับจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ นายอดิษฐ์ ชัยรัตนานนท์ เลขาธิการสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว กล่าวว่าไทยต้องคว้าโอกาสจากการที่สปป.ลาวเปิดรับนักท่องเที่ยว เนื่องจากสปป.ลาวอาจไม่สามารถรองรับกับนักท่องเที่ยวจำนวนมากได้ โดยเฉพาะสิ่งอำนวยความสะดวกและที่พัก นอกจากนี้ ทางรถไฟจีน-ลาว เป็นส่วนหนึ่งของโครงการทางรถไฟคุนหมิง-สิงคโปร์ด้วย (ไทย สปป.ลาวและมาเลเซีย)

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten2022_Thailand214.php

ไทยเล็งดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวจีนผ่านรถไฟจีน-ลาว ปีหน้า

สมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (ATTA) คาดการณ์ว่าจะมีนักท่องเที่ยวชาวจีนเข้าประเทศประมาณ 3 ล้านคนที่เดินทางผ่านทางรถไฟสายเวียงจันทร์-บ่อเต็น รวมระยะทาง 423 กม. ในขณะที่ ดร.อดิษฐ์ ชัยรัตนานนท์ เลขาธิการสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว กล่าวว่าสปป.ลาวอาจไม่มีขีดความสามารถที่จะรองรับนักท่องเที่ยวจำนวนมากได้ ทั้งด้านสิ่งอำนวยความสะดวกหรือบริการที่พัก โดยคาดการณ์ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวข้างต้นจะสูงถึง 4-5 ล้านคนในปีหน้า และส่วนใหญ่จะเดินทางผ่านทางรถไฟลาว-จีนที่เชื่อมระหว่างคุนหมิง-เวียงจันทร์ หากทางการจีนจะเปิดให้กลับมาเดินทางอีกครั้ง นอกจากนี้ สปป.ลาว มีนักท่องเที่ยวจำนวนมากกว่า 1 ล้านคนในช่วงต้นปีจนถึงเดือน ก.ย. เป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติ 644,756 คน รัฐบาลคาดว่าจะดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติอย่างน้อย 9 แสนคนในปี 2565 และทำรายได้กว่า 218 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://laotiantimes.com/2022/11/01/thailand-eyes-for-tourists-from-china-via-laos-china-railway-next-year/

สถานีรับ-ส่งสินค้ารถไฟจีน-ลาว เปิดให้บริการส่งสินค้าเข้าไทย

เมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2565 ที่ผ่านมา  การขนส่งสินค้าของการรถไฟจีน-ลาว ถูกเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการปลายทางไปยังท่าเรือแหลมฉบังของไทย ซึ่งการขนส่งสินค้าของสถานีเวียงจันทน์ใต้ของรถไฟจีน-ลาว คาดว่าเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของการขนส่งสินค้าระหว่างจีนและประเทศในกลุ่มอาเซียน โดยสปป.ลาวให้ความสำคัญกับโครงการ Belt and Road Initiative (BRI) เสมอ เพราะสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ในการเปลี่ยนจากประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลให้เป็นศูนย์กลางทางบกของภูมิภาค ซึ่งจะส่งผลให้อุตสาหกรรมต่างๆ เติบโต เช่น การค้าและการลงทุน โดย Laos-China Railway Co., Ltd. (LCRC) ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนในเวียงจันทน์ ได้ให้ข้อมูลว่า รถไฟจีน-ลาว สามารถไปทางเหนือไปถึงเฉิงตู ฉงชิ่ง หวู่ฮั่น ซีอาน และศูนย์กระจายสินค้าอื่นๆ ของจีน พร้อมทั้งเชื่อมต่อกับทางรถไฟจีน-ยุโรป เครือข่ายทางด่วนและทางใต้เข้าถึงเมืองท่าต่างๆ เช่น ท่าเรือแหลมฉบังของไทยและสิงคโปร์ ทั้งนี้จนถึงวันที่ 30 มิ.ย.2565 การรถไฟจีน-ลาว มีผู้โดยสารใช้บริการแล้ว 3.36 ล้านคน โดยแบ่งเป็นผู้โดยสารชาวสปป.ลาว ประมาณ 480,000 คน, การขนส่งสินค้า 4.69 ล้านตัน และสินค้าข้ามชายแดนจีน-ลาว 0.77 ล้านตัน

ที่มา: https://english.news.cn/20220702/ead3dc1c0b664fdfa2fa2bde9beadc52/c.html

ไทยเตรียมส่งออกทุเรียนล็อตใหม่ ผ่านรถไฟจีน-ลาว

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยความคืบหน้าการส่งออกผลไม้ไทยไปจีน โดยล่าสุด เจ้าหน้าที่ด่านโม่ฮานของจีน ได้เปิดนำเข้าทุเรียนไทยแล้วตั้งแต่วันที่ 15 เมษายนที่ผ่านมา หลังจากระงับการนำเข้าทุเรียนไทย 3 วัน ระหว่างวันที่ 12-14 เมษายน จากเหตุพบการปนเปื้อนโควิดในรถบรรทุกคอนเทนเนอร์ และช่วงกลางสัปดาห์นี้ไทยจะมีการส่งออกทุเรียนอีกล็อตหนึ่ง โดยใช้เส้นทางรถไฟจีน-ลาว ด้วยการขนส่งระบบผสมราง-รถ ซึ่งจะต้องคุมเข้มมาตรการขจัดทุเรียนอ่อนและป้องกันการปนเปื้อนโควิด-19 อย่างต่อเนื่อ ให้มีมาตรฐานตามข้อกำหนด

ที่มา : https://news.ch7.com/detail/563786

‘อลงกรณ์’ชูชุมพรฮับผลไม้ใต้ มั่นใจรถไฟจีน-ลาวช่วยส่งออกปีนี้

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษา รมว.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่ากระทรวงเกษตร มีนโยบายสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจของ จ.ชุมพร เพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) ปี 2565 กว่า 1 แสนล้านบาท โดยมีภาคเกษตรเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญ ซึ่งพืชเศรษฐกิจหลักทำรายได้ เช่น ทุเรียน ปาล์มน้ำมัน ยางพารา มะพร้าวและกาแฟโรบัสต้า รวมทั้งเศรษฐกิจภาคบริการด้านการท่องเที่ยว จึงได้วางนโยบายการพัฒนาอย่างน้อย 3 ด้าน ดังนี้ 1.นโยบายพัฒนาชุมพรเป็นมหานครผลไม้ภาคใต้ ซึ่งชุมพรเป็นจังหวัดที่ผลิตทุเรียนได้มากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของประเทศ โดยเฉพาะการเปิดเส้นทางขนส่งผลไม้ทางรถไฟสาย จีน-ลาว จะเพิ่มการส่งออกผลไม้ได้มากขึ้นในปีนี้ จึงเร่งยกระดับการพัฒนาชุมพรเป็นฮับผลไม้ภาคใต้ 2.นโยบายพัฒนาชุมพรเป็นฮับกาแฟโรบัสต้าของประเทศ โดยสร้างแบรนด์สร้างมูลค่ากาแฟโรบัสต้าที่ชุมพร 3.นโยบายพัฒนาชุมพรเป็นประตูท่องเที่ยวเกตเวย์ทะเลใต้

ที่มา : https://www.naewna.com/local/632576

คว้าโอกาสให้การค้าไทย จากรถไฟจีน-ลาว

โดย ศุทธาภา นพวิญญูวงศ์ สิรีธร จารุธัญลักษณ์ และอภิชญาณ์ จึงตระกูล

สำนักเศรษฐกิจภูมิภาค ฝ่ายนโยบายโครงสร้างเศรษฐกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ออกบทความ “คว้าโอกาสให้การค้าไทย จากรถไฟจีน-ลาว” โดยให้มองว่า รถไฟจีน-ลาวที่ได้เปิดให้บริการไปเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2564 จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยใน 4 ด้าน ได้แก่ การค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และการขนส่ง1 ทั้งนี้ การค้าจะเป็นด้านแรกที่ได้รับโอกาสและผลกระทบ จากการทะลักของสินค้าขาเข้าได้ทันที

นอกจากนี้ เส้นทางรถไฟจีน-ลาวจะทำให้การขนส่งสินค้าข้ามแดนไทย-จีนผ่านภาคอีสานทางบกมีบทบาทสำคัญมากขึ้น จากเดิมการขนสินค้าผ่านทางถนนก็มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นต่อเนื่องอยู่แล้ว จากประมาณร้อยละ 8 ในปี 2560 เป็นร้อยละ 12 ในปี 25642 และหากมีเส้นทางรถไฟเข้ามาจะทำให้การขนส่งสินค้าเร็วกว่าทางถนนมากยิ่งขึ้น นับว่าเป็นทางเลือกที่ช่วยกระจายความเสี่ยงด้านการขนส่งได้

ดังนั้น เส้นทางรถไฟนับว่าเป็นการเปิดประตูการขนส่งเส้นทางใหม่ ซึ่งจะก่อให้เกิดโอกาสของการค้าข้ามแดนระหว่าง 3 ประเทศ ได้แก่ ไทย-ลาว-จีน มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะกับมณฑลยูนนาน บทความนี้นำเสนอการวิเคราะห์ผลกระทบของการเปิดเส้นทางการขนส่งใหม่เส้นนี้ต่อภาคการค้าของไทยกับจีน รวมถึงโอกาสของผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะ SMEs ในการแข่งขันบนเส้นทางที่ท้าทายนี้

โอกาสและความท้าทาย : เบื้องต้นไทยจะเผชิญกับความท้าทายของสินค้านำเข้าจากจีน แต่ในทางกลับกันไทยก็มีโอกาสในการขายสินค้าได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการขยายตลาดมายังมณฑลยูนนาน ซึ่งเป็นปลายทางรถไฟ จากเดิมที่สินค้าไทยส่วนใหญ่จะนิยมขนส่งไปทางจีนตะวันออกผ่านเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงทางถนน รวมถึงมณฑลกวางตุ้งและอื่น ๆ ทางเรือ

ด้านการนำเข้า : ไทยยังคงเผชิญความท้าทายจากสินค้านำเข้าของจีนที่จะมีมากกว่าสินค้าส่งออกจากไทย ซึ่งสินค้าจากจีนจะเข้ามาไทยผ่านทางรางเพิ่มขึ้น จากที่ไม่เคยขนส่งผ่านทางรางมาก่อน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มวัตถุดิบต่าง ๆ และกลุ่มสินค้าอีคอมเมิร์ซ

อย่างไรก็ดี ไทยสามารถคว้าโอกาสจากการเข้ามาของสินค้ากลุ่มนี้ได้ เนื่องจากการขนส่งผ่านทางรางทำให้ต้นทุนทั้งระยะเวลาและค่าขนส่งถูกลง ดังนี้ กลุ่มวัตถุดิบต่าง ๆ และกลุ่มผลผลิตทางการเกษตร และกลุ่มสินค้าอีคอมเมิร์ซ

ด้านการส่งออก : ไทยมีโอกาสในการส่งออกสินค้าไปจีนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการขยายตลาดไปยังมณฑลยูนนาน รวมทั้งมณฑลใกล้เคียง โดยระยะแรกคาดว่าสินค้าส่งออก จะเป็นสินค้าเดิมที่เคยส่งออกไปมณฑลยูนนาน หรือสินค้าที่มีการขนส่งทางถนนอยู่เดิม

 

โดยสรุปแล้ว การเปิดให้บริการรถไฟจีน-ลาว ส่งผลกระทบต่อภาคการค้าของไทย ทั้งการนำเข้าและส่งออกสินค้า เช่น วัถตุดิบ ผลผลิตทางการเกษตร และกลุ่มสินค้าอีคอมเมิร์ซ อย่างไรก็ตาม การขนส่งสินค้าในช่วงแรกยังไม่สามารถดำเนินการได้สะดวก เนื่องจากยังมีการปิดพรมแดนทั้ง สปป. ลาว และจีน จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 รวมทั้งปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่

1.โครงสร้างพื้นฐานใน สปป. ลาว อาทิ Vientiane Logistics Park (VLP) ซึ่งเป็นศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าใน สปป. ลาว และด่านรถไฟโม่ฮานในจีนที่ยังดำเนินการได้ไม่สมบูรณ์

2.มาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีของจีน เช่น ความเข้มงวดด้านการนำเข้าสินค้าของจีน เพื่อป้องกันการปนเปื้อนเชื้อโคโรน่าไวรัส โดยเฉพาะอาหารสดและผลไม้ และ

3.มาตรการกีดกันทางการค้าด้านภาษีศุลกากร อาทิ ระเบียบพิธีการด้านการขนส่งทั้งใน สปป.ลาว และจีน อย่างไรก็ดี ข้อตกลง RCEP ที่จะมีผลบังคับใช้เมื่อ วันที่ 1 ม.ค. 2565 จะมีส่วนช่วยบรรเทาข้อจำกัดด้านภาษีศุลกากรได้บ้าง และควรมีการหารือเรื่องการขนส่งร่วมกันระหว่าง สปป. ลาว และจีนเพิ่มเติม เพื่อให้การขนส่งไปจีนมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น

อ่านต่อ : https://thaipublica.org/2022/01/bot-regional-letter-china-lao-train/

รถไฟจีน-ลาว เปิดดำเนินการได้ 1 เดือน เป็นที่เรียบร้อย

การรถไฟจีน-สปป.ลาว ซึ่งเปิดให้สัญจรไปเมื่อเดือนที่แล้ว รองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 670,000 คนและสินค้า 170,000 ตัน ทางด้านจีนในแต่ละวันมีจำนวนผู้โดยสารต่อวันได้เพิ่มขึ้นจากประมาณ 19,000 เป็นประมาณ 33,000 มีผู้โดยสารทั้งหมด 620,000 เดินทางในส่วนของจีนในเส้นทางเดียว รถไฟจีน-ลาวได้ให้บริการรถไฟบรรทุกสินค้า 380 ขบวน รวมถึงรถไฟขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ 70 ขบวน ซึ่งขนส่งสินค้าประมาณ 50,000 ตัน สินค้าที่ขนส่งทางรางรถไฟ ได้แก่ ยาง ปุ๋ย และของใช้ในชีวิตประจำวัน อิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์จากเซลล์แสงอาทิตย์ ผลิตภัณฑ์ด้านการสื่อสาร รถยนต์ สิ่งทอ ผัก และดอกไม้ รถไฟจีน-ลาวเชื่อมต่อคุนหมิงในมณฑลยูนนานทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนกับเวียงจันทน์เมืองหลวงของลาว เป็นรถไฟต่างประเทศแห่งแรกที่ทั้งสองประเทศร่วมกันสร้างและดำเนินการ โดยทางรถไฟมีระยะทาง 1,035 กม. ซึ่งเป็นโครงการสำคัญของความร่วมมือหนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง คุณภาพสูง รวมถึงยุทธศาสตร์ชาติสปป.ลาวที่จะนำพาตัวเองไปสู่ศูนย์กลางการขนส่งอาเซียนและปรับเปลี่ยนตัวเองจากประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลสู่การเชื่อมต่อการขนส่งระดับภูมิภาค
ที่มา : http://en.people.cn/n3/2022/0104/c90000-9940332.html