การส่งออกประมงของเมียนมามีมูลค่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐใน 2 เดือน

สถิติของกระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผยว่า การส่งออกประมงของเมียนมาเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 102.97 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงสองเดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณปัจจุบันปี 2567-2568 ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน โดยตัวเลขดังกล่าวสะท้อนถึงการเพิ่มขึ้น 33.545 ล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับสถิติที่บันทึกไว้ในช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณ 2023-2024 ซึ่งมีมูลค่าอยู่ที่ 69.425 ล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ดี เมียนมาส่งสินค้าประมง เช่น ปลา ปู และกุ้ง ไปยังประเทศเพื่อนบ้าน (จีนและไทย) ผ่านด่านชายแดน Muse, Myawady, Kawthoung, Myeik, Sittway และ Maungtaw นอกจากนี้ยังจัดส่งไปยังประเทศญี่ปุ่น ประเทศในยุโรป จีน ไทย และประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคผ่านช่องทางเดินเรือ ซึ่งสหพันธ์ประมงเมียนมาระบุว่า ปลามากกว่า 20 สายพันธุ์ รวมถึงฮิลซา โรฮู ปลาดุก และปลากะพงขาว ถูกส่งไปยังตลาดต่างประเทศ โดยส่งออกไปยังกว่า 40 ประเทศ และผู้นำเข้าประมงชั้นนำของเมียนมาคือไทย รองลงมาคือจีน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmars-fisheries-exports-bag-us100m-in-2-months/#article-title

การส่งออกประมงของเมียนมามีมูลค่า 55 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในเดือนที่ผ่านมา

สถิติของกระทรวงพาณิชย์เผยว่าการส่งออกประมงของเมียนมา เพิ่มขึ้นเป็นกว่า 54.98 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ วันที่ 3 พฤษภาคม ในปีงบประมาณปัจจุบัน พ.ศ. 2567-2568 ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน โดยตัวเลขดังกล่าวสะท้อนถึงการเพิ่มขึ้น 25.5 ล้านดอลลาร์ เทียบกับ 29.46 ล้านดอลลาร์ที่บันทึกไว้ในช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณ 2023-2024 อย่างไรก็ดี ปัจจุบันการส่งออกสินค้าประมงเกิดขึ้นเป็นประจำ แต่ปริมาณการส่งออกสินค้าประมงยังต่ำกว่าที่บันทึกไว้ในช่วงก่อนการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทั้งนี้ เมียนมาส่งออกสินค้าประมง เช่น ปลา ปู และกุ้ง ไปยังประเทศเพื่อนบ้าน (จีนและไทย) ผ่านด่านชายแดน Muse, Myawady, Kawthoung, Myeik, Sittway และ Maungtaw นอกจากนี้ยังจัดส่งไปยังประเทศญี่ปุ่น ประเทศในยุโรป จีน ไทย และประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคผ่านช่องทางเดินเรือ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmars-fishery-exports-hit-us55m-in-one-month/#article-title

การส่งออกสินค้าประมงทะลุ 675 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ วันที่ 15 มีนาคม

อู ยุนท์ วิน ผู้อำนวยการกรมประมง (เนปิดอ) กล่าวว่า เมียนมาส่งออกผลิตภัณฑ์ประมงมากกว่า 300 ชนิด ซึ่งมีมูลค่า 675.958 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไปยัง 45 ประเทศ ณ วันที่ 15 มีนาคม ในปีงบประมาณปัจจุบัน พ.ศ. 2566-2567 ซึ่งตัวเลขดังกล่าวมีมูลค่าลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ทั้งนี้ สินค้าประมงจะถูกจัดส่งไปยังคู่ค้าต่างประเทศผ่านช่องทางการค้าทางทะเล และทางชายแดน โดยการส่งออกทางทะเลเพิ่มขึ้นร้อยละ 35 หากเทียบกับปีงบประมาณก่อนหน้า อย่างไรก็ดี การส่งออกกุ้งในช่วงที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นอย่างมาก และกุ้งเลี้ยงจากตะนาวศรีเป็นสินค้าซื้อขายที่มีมูลค่ามากที่สุด นอกจากนี้ ยังมีปลามากกว่า 20 ชนิด รวมถึงฮิลซา ปลากะพง ปลาโรหู ปลาดุกแม่น้ำ และปลาบาร์บัส โดยที่คู่ค้าหลักที่เมียนมาส่งออกไป ได้แก่ ญี่ปุ่น ประเทศในตะวันออกกลาง ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป มาเลเซีย จีนไทเป และออสเตรเลีย นอกจากนี้ สหพันธ์ประมงเมียนมาและกรมประมงกำลังทำงานอย่างใกล้ชิดเพื่อสนับสนุนการส่งออกประมงในฐานะความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ในขณะที่การส่งออกอาหารทะเลไปยังประเทศต่างๆ เช่น จีน มีการตรวจสอบที่เข้มงวดยิ่งขึ้น ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดในห่วงโซ่อุปทานกำลังพยายามปฏิบัติตามนโยบายอย่างเคร่งครัดเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด และไม่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกประมง

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/fishery-exports-cross-us675-mln-as-of-15-march/#article-title

เมียนมาส่งออกผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำมูลค่ากว่า 624 ล้านเหรียญสหรัฐในปีงบประมาณ 2566-2567

ตามรายงานของ U Nyunt Win ผู้อำนวยการกรมประมง (เนปิดอว์) ระหว่างเดือนเมษายน 2566 ถึงกุมภาพันธ์ 2567 ของปีการเงิน 2566-2567 เมียนมาส่งออกผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำมากกว่า 300 รายการไปยัง 45 ประเทศ สร้างรายได้กว่า 624.473 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีการส่งออกเป็นประจำไปยังประเทศญี่ปุ่น ประเทศในตะวันออกกลาง ประเทศในสหภาพยุโรป มาเลเซีย จีนไทเป และออสเตรเลีย อย่างไรก็ดี การส่งออกผลิตภัณฑ์ทางทะเลรวมจำนวน 435,000 ตัน มีช่องทางการส่งออกผ่านการขนส่งทางอากาศ และผ่านชายแดนเป็นหลัก ทั้งนี้ เนื่องจากการระงับเส้นทางการค้าชายแดนบางเส้นทางด้วยเหตุผลหลายประการ รายได้ในปีนี้จึงลดลง 52 ล้านเหรียญสหรัฐ หากเทียบกับยอดรวมของปีที่แล้วซึ่งอยู่ที่ 676.528 ล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ กรมและผู้ส่งออกกำลังร่วมมือกันเพื่อตอบสนองความต้องการของแต่ละประเทศที่ซื้อผลิตภัณฑ์ทางทะเลจากเมียนมา เพื่อให้มั่นใจว่ามีการส่งออกอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องสอดคล้องกับความต้องการของตลาด ตัวอย่างเช่น จีนมีเกณฑ์การนำเข้าผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำที่เข้มงวด โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับสถานะปลอดเชื้อ COVID-19

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-exports-aquatic-products-worth-over-us624m-in-2023-24-financial-year/

‘เวียดนาม’ มุ่งยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันของการส่งออกสินค้าเกษตรไปยังตลาดสหรัฐฯ

จากข้อมูลของสำนักงานการค้าต่างประเทศ กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า และตัวเลขสถิติของคณะกรรมาธิการการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา พบว่าในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2566 สหรัฐฯ มีการนำเข้ายางพารา 1.43 ล้านตัน อย่างไรก็ดีเวียดนามส่งออกไปยังสหรัฐฯได้เพียง 20,370 ตัน มูลค่า 28.99 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อยู่ในอันดับที่ 13 ในกลุ่มซัพพลายเออร์ยางพาราในตลาดสหรัฐฯ และคิดเป็นสัดส่วนราว 1.42% ของปริมาณการนำเข้ายางทั้งหมดของสหรัฐฯ โดยคู่แข่งรายใหญ่ ได้แก่ อินโดนีเซียและไทยที่มีส่วนแบ่งการตลาดในสหรัฐฯ มากที่สุด

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาสินค้าประมง แสดงให้เห็นว่าในช่วง 10 เดือนของปีที่แล้ว เวียดนามส่งออกสินค้าประมงไปยังสหรัฐฯ อยู่ในระดับมาก และอยู่ในอันดับที่ 2 ของผู้ส่งออกรายใหญ่ โดยเฉพาะกุ้ง ปลาสวายและปลาทูน่า

นอกจากนี้ นาย Do Ngoc Hung ที่ปรึกษาด้านการพาณิชย์ของเวียดนาม แนะนำให้ผู้ประกอบการคัดสรรวัตถุดิบที่มีคุณภาพสูงและมีมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-strives-to-increase-competitiveness-for-agricultural-exports-to-us/278092.vnp

การส่งออกประมงของเมียนมาร์มีมูลค่า 448 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากกว่า 290,000 ตัน

อู ยุนท์ วิน ผู้อำนวยการกรมประมงในกรุงเนปิดอว์ กล่าวว่า เมียนมาร์มีการส่งออกประมงมากกว่า 290,000 ตัน มูลค่า 448 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไปยังต่างประเทศมากกว่า 40 ประเทศในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณปัจจุบัน พ.ศ. 2566-2567 ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ทั้งนี้ สินค้าประมงดังกล่าวถูกส่งไปยังญี่ปุ่น ประเทศต่างๆ จากตะวันออกกลาง ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป มาเลเซีย จีนไทเป และออสเตรเลีย ซึ่งสหพันธ์ประมงเมียนมาร์และกรมประมงทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อสนับสนุนการส่งออกประมง อย่างไรก็ดี เมียนมาร์ให้ความสำคัญกับกระบวนการประมงตามหลักปฏิบัติที่ดีในการผลิต เพื่อให้มั่นใจในความปลอดภัยของอาหารทะเล และปฏิบัติตามกฎและระเบียบการนำเข้าของประเทศที่เกี่ยวข้อง ซึ่งนอกเหนือจากการส่งออกทางทะเลแล้ว เมียนมาร์ยังส่งการประมงไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น จีนและไทย ผ่านจุดชายแดนเมียวดี มูเซ เกาะสอง ซิตเวย์ มะริด และหม่องตอ นอกจากนี้ กรมและผู้ส่งออก ได้ร่วมมือกันในการปฏิบัติตามข้อกำหนดของแต่ละประเทศที่นำเข้าประมงของเมียนมาร์ และพยายามร่วมกันไม่ลดปริมาณการส่งออก รวมทั้งปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เข้มงวดมากขึ้นสำหรับการส่งออกอาหารทะเลที่กำหนดโดยประเทศต่างๆ เช่น จีน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmars-fisheries-exports-bag-us448-mln-from-over-290000-tonnes-in-apr-nov/

Q4 ปี 65 ค้าชายแดนเมียนมา-บังคลาเทศ ทะลุ! 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

จากข้อมูลของหอการค้ารัฐยะไข่ ของเมียนมา เผย ไตรมาสที่ 4 (ตุลาคม-ธันวาคม) ปี 2565 มูลค่าการส่งออกของเมียนมาผ่านชายแดนเมียนมา-บังกลาเทศ อยู่ที่ 5.58 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ประกอบด้วยชายแดนซิตเวย์และหม่องดอ ซึ่งเป็นการส่งออกสินค้าประมงเป็นหลัก เช่น ปลายี่สกเทศ ปลาตะลุมพุกฮิลซา และปลากะตัก ส่วนสินค้าเกษตร และสินค้าอุปโภคบริโภค มีการส่งออกบ้างเล็กน้อย นอกจากนี้ ตั้งแต่เดือนมกราคม 2566 เมียนมาได้ส่งออก ข้าวพันธุ์ Emata จำนวน 2,500 ตัน ไปยังบังกลาเทศผ่านท่าเรือซิตเวย์ อีกด้วย

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-ships-5-mln-worth-of-exports-in-q4-2022/#article-title

ชาวประมงรัฐยะไข่ มุ่งเลี้ยงหอยนางรม-ปลาเก๋าดอกแดง สร้างรายได้งาม

กรมประมงของรัฐยะไข่ เผย ชาวประมงเริ่มเพาะเลี้ยงหอยนางรมและปลาเก๋าดอกแดง เพื่อส่งขายไปยังย่างกุ้งและเมืองอื่นๆ โดยราคาหน้าฟาร์มจะอยู่ระหว่าง 1,500 ถึง 2,000 จัต ส่วนที่ส่งไปยังโรงแรมและร้านอาหาร ราคาจะขายได้มากกว่า 5,000 จัต ขึ้นอยู่กับการแปรรูป ซึ่งหอยนางรมและปลาเก๋าดอกแดงส่วนใหญ่แล้วจะถูกเพาะเลี้ยงบริเวณป่าชายเลนของรัฐยะไข่ เขตตะนาวศรี และย่างกุ้ง โดยการเลี้ยงปลาเก๋าดอกแดงใช้เวลาประมาณ 6 เดือนจึงสามารถส่งขายได้ ราคาจะอยู่ระหว่าง 15,000-30,000 จัต ทั้งนี้ หอยนางรมและปลาเก๋าดอกแดงส่วนใหญ่มีการเพาะเลี้ยงในเมืองตั่งตแว, กวะ, มานออง, ย่าน-บแย และ เจาะตอ ของรัฐยะไข่

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/rakhine-state-produces-oysters-orange-spotted-groupers-on-commercial-scale/#article-title

H1 กำปอตกัมพูชา สร้างผลผลิตสินค้าประมงแตะ 12,000 ตัน

ครึ่งปีแรกชาวประมงจังหวัดกำปอตสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตสินค้าทางการประมงปริมาณกว่า 12,000 ตัน ด้าน Sar Surin อธิบดีกรมประมง กรมวิชาการเกษตร ป่าไม้ และประมงจังหวัดกำปอต กล่าวเสริมว่า มาจากปลาน้ำจืด 2,300 ตัน และจากปลาน้ำเค็ม 9,803 ตัน โดยจังหวัดกำปอตมีลักษณะทางภูมิศาตร์ติดกับทะเลและแม่น้ำ รวมถึงยังมีโรงเพาะสัตว์น้ำอีกกว่า 15 แห่ง ซึ่งสามารถผลิตปลาได้ถึง 5 ล้านตัว และยังมีสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำประเภทอื่นๆอีกหลายแห่ง ในขณะที่อธิบดี กล่าวเสริมอีกว่าปัจจุบันทางการกัมพูชาได้เร่งอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลอย่างใกล้ชิด และได้ปลูกป่าชายเลนไปแล้ว 29,700 ต้น ใน 8 ชุมชนประมงในจังหวัด เพื่อเป็นการรักษาระบบนิเวศภายในพื้นที่

ที่มา: https://www.khmertimeskh.com/501114704/kampot-clocks-in-more-than-12000-tonnes-of-seafood-yield-in-h1/

กระแสน้ำกระทบราคาสินค้าประมงเมียนมาผันผวน

ราคาสินค้าประมงในพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงมักมีความผันผวน เช่น ราคาค่อนข้างถูกในช่วงน้ำหลากหรือน้ำท่วม และจะเพิ่มขึ้นในช่วงน้ำลง ซึ่งเป็นช่วงที่กุ้งและปลาจับมีให้จับค่อนข้างน้อย สินค้าประมงที่จับได้จะถูกส่งไปศูนย์ค้าส่งในย่างกุ้ง ซึ่งในช่วงน้ำท่วม ราคากุ้งหนึ่งตัวจะอยู่ประมาณ 5,000-6,000 จัต ในขณะที่ช่วงที่น้ำขึ้นน้ำลงราคาจะอยู่ประมาณ 9,000-10,000 จัต ทั้งนี้ราคาสินค้าประมงที่ลดลงทำให้ราคาไก่ในตลาดลดลงด้วย เนื่องจากราคาสินค้าประมงขึ้นอยู่กับน้ำขึ้นน้ำลง ทำให้ประชาชนต้องซื้อกักตุนไว้บริโภค

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/fishery-product-prices-fluctuate-based-on-flood-tide-and-neap-tide/#article-title