‘ธุรกิจแคนาดา’ เร่งศึกษาตลาดเวียดนาม ดันโอกาสสินค้าและบริการ

สำนักงานพัฒนาการส่งออกของแคนาดา (EDC) ได้ประสานงานกับสำนักงานการค้าเวียดนามในการจัดกิจกรรมสัมมนา ระหว่างวันที่ 27-29 มี.ค. มีคณะผู้แทนธุรกิจของแคนาดา 150 ราย เพื่ออัปเดตสถานการณ์เศรษฐกิจเวียดนาม และประเมินผลการดำเนินงานในห่วงโซ่อุปทานระดับโลก ทั้งนี้ เวียดนามเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของแคนาดาในกลุ่มประเทศอาเซียน มีมูลค่าการค้าทวิภาคีราว 14 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2566 นอกจากนี้ยังเป็นคู่ค้าสำคัญของแคนาดาในข้อตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) ซึ่งได้นำโอกาสให้กับสินค้าและบริการของแคนาดาในการเข้าถึงตลาดเวียดนามและอาเซียน

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/canadian-enterprises-learn-about-vietnamese-market/279723.vnp

‘การค้าเวียดนาม-ยูเค’ พุ่ง 16.6%

จากข้อมูลของกระทรวงการค้าระหว่างประเทศแห่งสหราชอาณาจักร เปิดเผยว่าการค้าระหว่างเวียดนามและสหราชอาณาจักรมีการเติบโตอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และจากข้อมูลทางสถิตืแสดงให้เห็นว่าการค้าระหว่างทั้งสองประเทศในชวงไตรมาสที่ 4 จนถึงไตรมาสแรกของปีนี้ มีมูลค่าอยู่ที่ 6.7 พันล้านปอนด์สเตอร์ลิง หรือประมาณ 8.14 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 16.6% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ทั้งนี้ ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างเวียดนามและสหราชอาณาจักรที่มีความก้าวหน้าและความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน เป็นผลมาจากความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งและความพยายามในการทำงานร่วมกัน โดยเฉพาะข้อตกลงการค้าเสรีเวียดนาม-สหราชอาณาจักร (UKVFTA) ที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 พ.ค.64 นอกจากนี้ การลงนามอย่างเป็นทางการล่าสุดของสหราชอาณาจักร คือ ข้อตกลงแบบครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) จะช่วยส่งเสริมความร่วมมือทางการค้าให้กับสมาชิกในกลุ่ม รวมถึงเวียดนาม

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1605565/viet-nam-uk-trade-surges-16-6-per-cent-in-one-year.html

‘สหราชอาณาจักร’ ยอมรับเวียดนามเป็นเศรษฐกิจระบบตลาด

สำนักงานกำกับดูแลด้านมาตรการการค้าของเวียดนาม (TRAV) ระบุว่าสหราชอาณาจักร (UK) พร้อมที่จะยอมรับว่าอุตสาหกรรมเวียดนามอยู่ในช่วงวางรากฐานของเศรษฐกิจระบบตลาด และจะไม่กำหนดกฎเกณฑ์ที่ทำให้เสียเปรียบ หากได้รับการตรวจสอบเป็นไปตามมาตรการป้องกันทางการค้า ทั้งนี้ สหราชอาณาจักรแสดงเจตจำนงที่จะเข้าร่วมเป็นสมาชิกใหม่ของความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) ส่งผลให้เวียดนามเชื่อมโยงกับตลาดต่างประเทศ จำนวน 71 ประเทศ รวมถึงคู่ค้าสำคัญที่ผ่านการลงนามข้อตกลงการค้า และเมื่อเวียดนามได้รับการยอมรับว่าเป็นเศรษฐกิจระบบตลาด ทำให้สินค้าของเวียดนามจะได้รับการปฎิบัติที่เป็นธรรมมากขึ้น และผู้ส่งออกจะสามารถเข้าถึงตลาดได้อีกจำนวนมาก

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1551526/uk-to-recognise-viet-nam-as-market-economy.html

“เวียดนาม” เผยยอดส่งออกไปยังประเทศสมาชิก CPTPP มีมูลค่า 31 พันล้านดอลลาร์

สถานการณ์การส่งออกของเวียดนามในกลุ่มประเทศสมาชิกความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) เพิ่มขึ้นอย่างมาก แม้ว่าเผชิญกับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก โดยจากตัวเลขการส่งออกของเวียดนามไปยังสมาชิก CPTPP ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ ขยายตัว 21.43% เมื่อเทียบปีต่อปี ด้วยมูลค่า 31.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (14.48% ของการส่งออกรวม) ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ระบุว่านับตั้งแต่ CPTPP มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ เวียดนามมีมูลค่าการส่งออกไปยังตลาดดังกล่าวพุ่งสูงขึ้น โดยเฉพาะตลาดญี่ปุ่นที่เป็นตลาดส่งออกรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม มีมูลค่า 13.44 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 13.39%YoY รองลงมาแคนาดาและมาเลเซีย เป็นต้น

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/vietnams-exports-to-cptpp-members-amount-to-us31-billion/

 

“เวียดนาม-เม็กซิโก” ส่งเสริมความร่วมมือเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน

นายโด๋ถางไห่ (Do Thang Hai) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมเวียดนาม นำคณะผู้แทนผู้ประกอบการชาวเวียดนาม 23 ราย เข้าร่วมการประชุมฟอรั่มธุรกิจไทย-เวียดนาม เมื่อวันที่ 4 ก.ค. วัตถุประสงค์เพื่อดำเนินความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้าทวิภาคี นาง Luz Maria de la Mora ปลัดกระทรวงเศรษฐกิจเม็กซิโก กล่าวว่าในมุมมองของเม็กซิโกถือว่าตลาดเวียดนามเป็นตลาดเชิงกลยุทธ์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและหวังว่าทั้งสองประเทศจะประสานงานกันอย่างใกล้ชิด ตลอดจนใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมข้อตกลง CPTPP ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ ตามตัวเลขสถิติของกรมศุลกากรเวียดนาม ชี้ว่าในปี 2564 การค้าของทั้งสองประเทศ อยู่ที่ 5.06 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 37.5% เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยเวียดนามสนใจที่จะลงทุนในเม็กซิโก อาทิ อุตสาหกรรมพลังงาน โทรคมนาคม การเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและอุตสาหกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่มได้สูง เป็นต้น

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-mexico-promote-economic-trade-investment-cooperation/232181.vnp

ข้อตกลงการค้าเสรี โมเมนตัมเศรษฐกิจ ‘เวียดนาม’ ปี 65

ความตกลงการค้าเสรี (FTA) ทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี อาทิความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. คาดว่าจะกลายมาเป็นแรงผลักดันใหม่ในการขยายตัวทางเศรษฐกิจเวียดนามในปี 2565 อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญมองว่าองค์กรต่างๆ จำเป็นต้องปรับปรุงความสามารถทางการแข่งขันและคิดค้นสิ่งใหม่ๆ เพื่อเป็นที่ต้องการของตลาดระหว่างประเทศและใช้โอกาสอย่างเต็มที่ในบริบทใหม่ ซึ่งจะทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างก้าวกระโดด ทั้งนี้ ความตกลงการค้าเสรีที่เวียดนามลงนามนั้น ถือเป็นประตูเปิดสำหรับการค้าในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเป็นการเชื่อมโยงกับห่วงโซ่คุณค่าระดับโลกและเครือข่ายการผลิต ทั้งข้อตกลงการค้าเสรี CPTPP, EVFTA และ UKVFTA เป็นต้น

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/ftas-momentum-for-vietnams-economy-in-2022/221551.vnp

CPTPP vs RCEP เมื่อจีนสนใจเข้าเป็นสมาชิก

โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย (KResearch)

การประชุม ครม. เมื่อ 12 ตุลาคม 2564 ได้หารือเรื่องความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Comprehensive and Progressive Agreement for Trans-Pacific Partnership: CPTPP) ซึ่งการพิจารณาเข้าร่วมความตกลงดังกล่าวกลับมาเป็นประเด็นอีกครั้งเมื่อจีนหันมาสนใจสมัครสมาชิก เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ตามมาด้วยไต้หวัน รวมถึงสหราชอาณาจักรที่สมัครเป็นสมาชิกเมื่อต้นปี โดยท่าทีของนานาชาติโดยเฉพาะจีนยิ่งทำให้ประเทศที่มีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้าอย่างใกล้ชิดกับจีนหวนกลับมาพิจารณา CPTPP อย่างจริงจังอีกครั้ง

 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้วิเคราะห์เปรียบเทียบใน 2 กรณี กรณีที่ 1 ปัจจุบันไทยและจีนต่างเป็นสมาชิกในความตกลงพันธมิตรทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคหรือ RCEP (Regional Comprehensive Economic Partnership) ที่กำลังรอการเปิดเสรีอย่างเป็นทางการ กรณีที่ 2 หาก CPTPP รับอังกฤษ ไต้หวัน จีนรวมถึงไทยเข้าเป็นสมาชิกใหม่ ซึ่งการที่ไทยอยู่ในกลุ่มย่อมไม่พลาดโอกาสการเข้าถึงตลาดสำคัญได้ทัดเทียมคู่แข่งในอาเซียน ทั้งยังกลายเป็น FTA ที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดมีสัดส่วนถึง 1 ใน 3 ของ GDP โลก แซงหน้า RCEP โดยภายใต้สมมติฐานว่าไทยและจีนร่วมเป็นสมาชิกในทั้ง 2 กรอบความตกลงมีข้อสังเกตความแตกต่าง ดังนี้

  • มิติของการเข้าถึงตลาด: RCEP เป็นกรอบการค้าที่ใกล้ตัวไทยมากที่สุดและไทยมี FTA กับแต่ละประเทศสมาชิกมานาน การรวมตัวที่เกิดขึ้นจึงไม่ทำให้ภาพการแข่งขันของสินค้าไทยต่างไปจากที่เป็นอยู่ ขณะที่ CPTPP จะทำให้ไทยมี FTA กับตลาดใหม่มากกว่า RCEP ได้แก่ เม็กซิโก แคนาดา อังกฤษและไต้หวัน ซึ่งเป็นโอกาสทองของไทยในการส่งออกผลิตภัณฑ์ยาง ผลไม้ อาหารทะเลไปยังแคนาดา ส่งออกยานยนต์ โทรศัพท์ HDDs ไปเม็กซิโก ส่งออกไก่แปรรูปและรถจักรยานยนต์ไปอังฤษ รวมถึงการส่งออกเครื่องปรับอากาศและชิ้นส่วนยานยนต์ไปไต้หวัน
  • มิติของการผลิต: CPTPP และ RCEP ล้วนเป็น FTA แบบพหุภาคีที่มีจุดเด่นเหมือนกันตรงที่การเป็นกลุ่มเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่รวมหลายประเทศให้เป็นหนึ่งเดียว อานิสงส์ให้นักลงทุนสามารถเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตได้อย่างคล่องตัว ต่างกันตรงที่ RCEP เป็นการกระชับฐานการผลิตและตลาดในฝั่งเอเชียได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด แต่ CPTPP กลับมีความน่าสนใจมากกว่าด้วยการรวมแหล่งผลิตจากหลายพื้นที่ทั้งภูมิภาคอเมริกา ยุโรปและเอเชียจึงนับเป็นจุดขายสำคัญที่ยังไม่มี FTA ฉบับใดในโลกมีเอกลักษณ์เช่นนี้
  • มิติด้านกฎระเบียบ: RCEP กำหนดกฎเกณฑ์การเปิดตลาดการค้าและการลงทุนเป็นหลักเท่านั้น แต่ CPTPP เป็นการรวมตัวในเชิงลึกมากกว่า FTA ทั่วไปครอบคลุมการเปิดเสรีด้านอื่นๆ อาทิ มาตรฐานแรงงาน มาตรฐานสิ่งแวดล้อม การไหลของข้อมูลอย่างเสรีและการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ จึงปฏิเสธไม่ได้ว่า CPTPP เป็นความท้าทายในการยกระดับกฎระเบียบของแต่ประเทศสมาชิกที่ยากจะหลีกเลี่ยงผลกระทบที่ตามมาเพื่อให้ปฏิบัติได้ตามกรอบเวลาที่ได้ตกลงกันไว้

โดยสรุป หากทั้งไทยและจีนอยู่ในความตกลง CPTPP ภาคอุตสาหกรรมการผลิต การส่งออกของไทยที่พึ่งพาเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาตินับว่าได้อานิสงส์ค่อนข้างชัดเจนจากการเข้าถึงตลาดใหม่สามารถแข่งขันได้ทัดเทียมกับคู่แข่งของไทย ทั้งยังคว้าโอกาสได้มีส่วนร่วมในห่วงโซ่การผลิตขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพในการรวบปัจจัยการผลิตจากหลายพื้นของโลก ต่างจาก RCEP ที่ไทยได้ประโยชน์จำกัดเฉพาะภูมิภาคเอเชียเป็นหลัก อย่างไรก็ดี CPTPP ก็มีประเด็นอ่อนไหวที่ภาครัฐต้องชั่งน้ำหนัก โดยเฉพาะเงื่อนไขที่ไม่ได้ระบุไว้ใน RCEP ในเรื่องข้อปฏิบัติทางทรัพย์สินทางปัญญาที่อิงกับหลักเกณฑ์สากลไม่ว่าจะเป็นความเข้มงวดในการปรับใช้สิทธิบัตรยา และการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ที่จะส่งผลต่อประชาชนและเกษตรกรในวงกว้าง แม้ไทยต้องดำเนินการปรับตัวในเรื่องนี้อยู่แล้วแต่ก็นับเป็นเรื่องท้าทายสำหรับไทยที่จะต้องปรับตัวภายใต้กรอบเวลาที่ตกลงไว้กับ CPTPP ซึ่งโจทย์สำคัญของทางการไทยคงอยู่ที่การสร้างความเข้าใจที่ชัดเจนและถูกต้องรวมถึงแผนงานบรรเทาผลกระทบจึงจะช่วยผ่อนคลายแรงตึงเครียดลงได้

ที่มา :

/1 https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/economy/Pages/CPTPP-z3282.aspx

/2 https://www.moneyandbanking.co.th/article/news/kresearch-cptpp-rcep-01112021

‘เวียดนาม’ เผยยอดการเติบโตทางการค้าเป็นบวกจากการเข้าร่วม CPTPP

กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (MOIT) เปิดเผยว่าเวียดนามได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) ทำให้ยอดการค้าทวิภาคีระหว่างเวียดนามกับประเทศสมาชิก CPTPP เพิ่มขึ้น 23.36% เป็นมูลค่า 52 พันล้านเหรียญสหรัฐในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ ทั้งนี้ เดือน ก.ค. เพียงเดือนเดียว ยอดการส่งออกเติบโตอย่างแข็งแกร่ง เมื่อพิจารณารายสินค้าพบว่าสินค้าหลักที่มีการเติบโตได้ดี ได้แก่ เครื่องจักรและส่วนประกอช อะไหล่ โทรศัพท์และชิ้นส่วน อย่างไรก็ตาม สินค้าส่งออกหลักที่มีการเติบโตลดลง ได้แก่ สิ่งทอและเสื้อผ้า คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ รองเท้า นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาภาพรวมในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามเกินดุลการค้ากับตลาด CPTPP อยู่ที่ 86.28 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 75.94% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnam-enjoys-positive-trade-growth-with-cptpp-markets-892032.vov

 

“เวียดนาม-ญี่ปุ่น” จับมือร่วมส่งเสริมการดำเนินงาน ภายใต้ข้อตกลง CPTPP

เวียดนามและญี่ปุ่นได้ตกลงที่จะส่งเสริมความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด เพื่อดำเนินการตามความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) ซึ่งได้บรรลุฉันทานมติมาจากการเจราทางโทรศัพท์ระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการฟื้นฟูเศรษฐกิจของญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคมที่ผ่านมา อีกทั้ง เวียดนามยอมรับที่จะสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่นักลงทุนชาวญี่ปุ่นที่ต้องการลงทุนในเวียดนาม และการเคลื่อนไหวดังกล่าวนั้น ช่วยให้เวียดนามกลายเป็นจุดเชื่อมโยงที่สำคัญในห่วงโซ่อุปทานของธุรกิจญี่ปุ่น โดยเฉพาะสาขาผลิตยานยนต์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ทางการแพทย์ เสื้อผ้าและสิ่งทอ สิ่งเหล่านี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อความสัมพันธ์แบบทวิภาคีทั้งทางเศรษฐกิจและการค้า

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-japan-to-work-closely-for-effective-implementation-of-cptpp/202091.vnp

‘ผู้เชี่ยวชาญ’ ชี้ ความตกลงการค้าเสรีของเวียดนาม ผลักดันการส่งออกและนำเข้า

ผู้เชี่ยวชาญ เผยไตรมาสแรก ยอดการส่งออกและนำเข้าของเวียดนาม เพิ่มขึ้น 24% เมื่อเทียบเป็นรายปี ได้รับแรงหนุนมาจากข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) หากแบ่งออกเป็นการส่งออก เพิ่มขึ้น 22% และการนำเข้า 26.3% ทำให้เวียดนามเกินดุลการค้าราว 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งตัวเลขดังกล่าว ชี้ให้เห็นว่าประเทศกลับมาฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งทั้งด้านการผลิตและการค้าในประเทศ ถึงแม้จะเผชิญโควิด-19 ระบาด ทั้งนี้ รองศาสตราจารย์ ดร. Pham Tat Thang อดีตเจ้าหน้าที่กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า กล่าวว่าหลังจากข้อตกลงการค้าเสรีเวียดนาม-สหภาพยุโรป (EVFTA) ที่มีผลบังคับใช้เมื่อเดือนสิงหาคม 2563 ยอดการส่งออกไปยังกลุ่มประเทศ เพิ่มขึ้น 18% ในเดือนมกราคมจนถึงมีนาคม ปีนี้ ในขณะที่การส่งออกไปยังประเทศสมาชิกในข้อตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก (CPTPP) เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงเวลาเดียวกัน

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/expert-vietnams-ftas-driving-up-exportsimports/201562.vnp