ตลาดแตงโมและแตงกวาหวานแถบชายแดนเมียนมา-จีน เริ่มกลับมาคึกคัก

ผู้ค้าชายแดน ในเขตการค้า 105 ไมล์ของด่านมูเซ เผย ตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม 2565 ที่ได้มีการผ่อนคลายการล็อกดาวน์แถบชายแดนมูเซของเมียนมา-จีน การค้าแตงโมและแตงกวาหวานฟื้นตัวกลับมาคึกคักอีกครั้ง ประกอบกับผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดเพราะเป็นช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิต โดยราคาของแตงโมอยู่ที่ลูกละ 1.8 หยวน และแตงกวาหวานมีราคาอยู่ที่ 3 ถึง 4 หยวน ในผ่านมา การส่งออกเมล่อนและแตงกวาถูกจำกัดเนื่องจากการการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในจีน ซึ่งในปีงบประมาณ 2651-2562 เมียนมาส่งออกแตงโมมากถึง 800,000 ตัน และแตงกวาหวาน 0.15 ล้านตัน ต่อมาในปีงบประมาณ 2562-2563 มีการส่งออกแตงโมมากถึง 600,000 ตันและแตงกวาหวาน 0.14 ล้านตัน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/watermelon-and-sweet-cucumber-markets-rebound-at-myanmar-china-border/

‘เวียดนาม’ นำเข้าเนื้อสุกร 190 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ช่วง 10 เดือนแรก

ตามข้อมูลของกรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าเวียดนามใช้เงินกว่า 190 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อนำเข้าเนื้อสุกรประมาณ 89,000 ตัน ในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ ตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าปริมาณและมูลค่าการนำเข้าเนื้อสุกรของเวียดนาม หดตัว 34.4% และ 39.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (YoY) ตามลำดับ ทั้งนี้ ในเดือนตุลาคมเพียงเดือนเดียว เวียดนามมีการนำเข้าเนื้อสุกรประมาณ 12,000 คัน หดตัว 5.6%YoY คิดเป็นมูลค่า 26.02 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัว 22.4%YoY นอกจากนี้ หน่วยงานการค้าต่างประเทศ กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ระบุว่าปริมาณการส่งออกเนื้อสุกร มีสัดส่วนน้อยเมื่อเทียบกับผลผลิตเนื้อสุกรทั้งหมดของประเทศ เนื่องมาจากข้อจำกัดการแปรรูป การควบคุมและป้องกันโรคในสุกร

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-spends-nearly-190-million-usd-on-importing-pork-in-ten-months/245120.vnp

เดือน เม.ย.-ต.ค 65 เมียนมาส่งออกข้าวทะลุ 1.4 ล้านตัน

สหพันธ์ข้าวแห่งเมียนมา (MRF) เผย 8 เดือนที่ผ่านมา (เดือนเมษายน-เดือนตุลาคม 2565) ของปีงบประมาณ 2565-2566 เมียนมาส่งออกข้าวไปแล้วมากกว่ามากกว่า 1.4 ล้านตัน โดยมากจากบริษัทผู้ส่งออกมากกว่า 42 แห่ง ซึ่งเป็นการส่งออกทางทะเล 1.09 ล้านตัน และผ่านทางชายแดน 315,677 ตัน ซึ่งตลาดส่งออกข้าวและปลายข้าวที่สำคัญได้แก่ ประเทศในแอฟริกา และประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป นอกจากนี้ยังส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านอบ่าง จีน และไทย โดยจีนยังคงเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา โดยนำเข้าข้าว 224,000 ตัน และปลายข้าว 237,000 ตัน ซึ่งราคาข้าวคุณภาพดีจะอยู่ที่ 60,000-90,000 จัตต่อกระสอบ และข้าวคุณภาพต่ำจะอยู่ที่ 35,500-45,000 จัตต่อถุงกระสอบ โดยราคาข้าวของเมียนมาค่อนข้างต่ำกว่าอัตราของไทยและเวียดนาม ด้าน MRF ตั้งเป้าส่งออกข้าวให้ได้ 2 ล้านตันในปีนี้ ที่ทั้งนี้ในช่วงงบประมาณย่อยที่ผ่านมา (เดือนตุลาคม 2564 – เดือนมีนาคม 2565) เมียนมาส่งออกข้าวและปลายข้าวมากกว่า 1.4 ล้านตัน ในขณะที่ ในปีงบประมาณ 2563-2564 เมียนมาส่งออกข้าว 2 ล้านตัน นำรายได้เข้าประเทศกว่า 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-conveys-over-1-4-mln-tonnes-of-rice-to-external-markets-in-apr-oct/#article-title

ข้อจำกัดด้านสุขอนามัย กระทบการส่งออกมะม่วงกัมพูชาไปยังเกาหลีใต้

มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Sanitary and Phytosanitary Measures: SPS) ที่เข้มงวดได้ก่อให้เกิดความท้าทายสำหรับภาคการส่งออกมะม่วงสดของกัมพูชาไปยังตลาดเกาหลีใต้ หลังจากที่ทั้งสองฝ่ายบรรลุข้อตกลงในการส่งออกมะม่วงสดในปี 2015 ด้าน Hean Vanhan รัฐมนตรีต่างประเทศกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง กล่าวว่า แม้รัฐบาลเกาหลีใต้จะไฟเขียวให้ส่งออกมะม่วงสดของกัมพูชาไปยังเกาหลีใต้ แต่กัมพูชาก็ยังไม่บรรลุเป้าหมายเนื่องจากปัญหาทางเทคนิคในการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นเวลาเกือบ 10 ปีแล้วที่กัมพูชาเริ่มเจรจาเพื่อส่งออกมะม่วงไปยังเกาหลีใต้ แต่ยังไม่เป็นผลเนื่องจากขาดเครื่องมือหรือขั้นตอนตามข้อกำหนด เช่น กระบวนการทางความร้อนด้วยน้ำ (HWT) และกระบวนการทำความร้อนด้วยไอน้ำ (VHT) เพื่อเป็นการขจัดสิ่งเจือปนในผลไม้ ตามรายงานของกระทรวงเกษตร รายงานว่าการส่งออกมะม่วงของกัมพูชาอยู่ที่ประมาณ 138,000 ตันในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ ลดลงร้อยละ 31 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งส่วนใหญ่ส่งออกไปยังเวียดนาม ไทย จีน และบางประเทศในสหภาพยุโรป

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501197614/hygiene-requirements-hit-fresh-mango-export-to-south-korea/

นายกฯ ปลื้ม 10 เดือนส่งออกข้าวโต มั่นใจถึงเป้า 7.5 ล้านตัน สั่งคุมคุณภาพข้าวไทย

นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ยินดีที่ได้ทราบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่า การส่งออกข้าวไทยช่วง 10 เดือนของปี ตั้งแต่ ม.ค.- ต.ค. 2565 มีปริมาณเพิ่มขึ้น 33% และมูลค่าเพิ่มขึ้น 32.4 % เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปี 2564 ในขณะที่การส่งออกเดือน ต.ค. เมื่อเทียบกับเดือนก.ย. ที่ผ่านมา มีปริมาณและมูลค่าส่งออก เพิ่มขึ้น 24.7% และ 20.5% ตามลำดับ ซึ่งมีการส่งออกข้าวขาวมากกว่า 4 แสนตัน คิดเป็นสัดส่วนเพิ่มขึ้น 44% ส่วนใหญ่ส่งไป อิรัก จีน ญี่ปุ่น แองโกล่า โมซัมบิก แคเมอรูน และส่งออกข้าวนึ่งเพิ่มขึ้น 21% ไปตลาดหลักในแอฟริกา เช่น เบนิน แอฟริกาใต้ บังคลาเทศ เยเมน แคเมอรูน ไนเจอร์ นายอนุชา กล่าวว่า แนวโน้มสถานการณ์การส่งออกข้าวไทย ที่ปรับเพิ่มเป้าหมายการส่งออกปี 2565 จากเดิมกำหนดไว้ 7 ล้านตัน เป็น 7.5 ล้านตัน โดยสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย คาดว่าในเดือน พ.ย.นี้ การส่งออกข้าวจะอยู่ที่ระดับประมาณ 7.5-8 แสนตัน เนื่องจากผู้ส่งออกยังมีสัญญาที่ค้างส่งมอบจากเดือนก่อน ประกอบกับตลาดที่สำคัญยังคงมีความต้องการนำเข้าข้าว เพื่อใช้ในช่วงเทศกาลคริสต์มาส ปีใหม่ และตรุษจีนในช่วงปลายเดือนมกราคม 2566

ที่มา : https://www.khaosod.co.th/politics/news_7404068

กัมพูชาส่งออกสินค้าเกษตร 10 เดือนแรก พุ่ง 3 พันล้านดอลลาร์

กัมพูชาส่งออกสินค้าเกษตรปริมาณกว่า 7.62 ล้านตัน ในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ สร้างรายได้เข้าประเทศกว่า 3.07 พันล้านดอลลาร์ ตามรายงานของกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง (MAFF) โดยผลิตภัณฑ์หลักที่กัมพูชาส่งออก ได้แก่ ข้าว กล้วย มะม่วง มันสำปะหลัง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ข้าวโพด น้ำมันปาล์ม พริกไทย และยาสูบ เป็นต้น ซึ่งจีนถือเป็นหนึ่งในผู้นำเข้ารายใหญ่ของกัมพูชา ภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) และข้อตกลงการค้าเสรีกัมพูชา-จีน (CCFTA) โดยเริ่มมีผลบังคับใช้ไปเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ซึ่งภาคเกษตรกรรมถือเป็นหนึ่งใน 4 เสาหลักที่สนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชา โดยมีสัดส่วนกว่าร้อยละ 24.4 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในปี 2021

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501187892/cambodia-earns-3-billion-from-agricultural-products-exports-in-first-10-months/

สินค้าเกษตร สปป.ลาว จ่อเข้าตลาดเซี่ยงไฮ้ภายใต้ข้อตกลง CIIE

คาดว่าผักและผลไม้ของ สปป.ลาว จะเริ่มส่งออกและจัดจำหน่ายไปยังตลาดในเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ภายใต้ข้อตกลงใหม่ที่ได้ลงนามในงาน China International Import Expo (CIIE) ครั้งที่ 5 โดยกรมส่งเสริมการค้าของกระทรวงอุตสาหกรรมและการพาณิชย์ของ สปป.ลาว ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจกับรัฐบาลเขตหยางผู่ ตามรายงานของ SHINE สำนักข่าวเซี่ยงไฮ้ ซึ่ง MoU ดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างจีนและ สปป.ลาว โดยเน้นไปที่การสนับสนุนผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่มีคุณภาพ เพื่อเข้าสู่ตลาดท้องถิ่นและตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งสินค้าเกษตรหลักของ สปป.ลาว ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากของคนเซี่ยงไฮ้ ได้แก่ ข้าวโพดหวาน มันสำปะหลังแห้ง และเสาวรส โดยในปีที่แล้วมูลค่าการค้าระหว่าง สปป.ลาว-จีน คิดเป็นมูลค่ากว่า 4.35 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามรายงานของคณะกรรมการความร่วมมือ สปป.ลาว-จีน คิดเป็นมูลค่านำเข้าจากจีนอยู่ที่ 1.67 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9 ในขณะที่มูลค่าการส่งออกของ สปป.ลาว เพิ่มขึ้นเป็น 2.68 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 28.2

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten2022_Laofarm219.php

‘เวียดนาม’ ส่งออกกาแฟพุ่ง ทำสถิตินิวไฮ

กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม (MARD) เปิดเผยว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ มูลค่าการส่งออกกาแฟของเวียดนามอยู่ที่ราว 3.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 37.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ราคาส่งออกกาแฟเวียดนามเฉลี่ยที่ 2,280 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้นประมาณ 22% และจากข้อมูลข้างต้นแสดงให้เห็นว่าตลาดสหภาพยุโรป (EU) ยังคงเป็นตลาดที่มีการบริโภคกาแฟของเวียดนามมากที่สุด ด้วยส่วนแบ่งการตลาด 39% ทั้งนี้ จากข้อมูลของสถาบันนโยบายและยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาเกษตรกรรมและชนบท (IPSARD) ชี้ว่าการส่งออกกาแฟของเวียดนามในตลาดยุโรป อาทิเช่น เบลเยียม สเปน เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศสและโปรตุเกส เพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ถึงแม้ว่าเงินเฟ้อจะพุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบ 20 ปี แต่การส่งออกกาแฟไปยังประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปยังคงเติบโตได้ดี ซึ่งในมุมมองของผู้เชี่ยวชาญมองว่าการส่งออกกาแฟของเวียดนามในปีนี้ มีแนวโน้มสูงถึง 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1372810/vietnamese-coffee-exports-set-a-new-record.html

เมียนมา ผลักดันบริษัทมากกว่า 600 แห่ง ยื่นจดทะเบียนกับ GACC เพื่อส่งออกสินค้าเกษตรไปจีน

บริษัทและวิสาหกิจในเมียนมามากกว่า 600 แห่ง รวมถึงบริษัทส่งที่ออกข้าว ข้าวหัก ข้าวโพด และกล้วย กำลังพยายามยื่นนจดทะเบียนกับกรมศุลกากรแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (GACC) เพื่อส่งออกสินค้ามากกว่า 1,600 รายการ โดยหน่วยงานของภาครัฐต่างๆ เช่น กรมวิชาการเกษตร กรมปศุสัตว์และสัตวแพทย์ กรมประมง และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กำลังยื่นมือเข้าช่วยเหลือบริษัท วิสาหกิจ องค์กร และนิติบุคคล ที่กำลังขึ้นทะเบียนกับ GACC สำหรับสินค้าเกษตร เช่น ข้าว ข้าวหัก ข้าวโพด และกล้วย ซึ่งสินค้าเกษตรของเมียนมาที่มีข้อตกลงระหว่างรัฐบาลกับรัฐบาล (G2G) นั้นมีส่วนแบ่งการตลาดที่เติบโตค่อนข้างแข็งแกร่ง ทั้งนี้บริษัทหรือวิสาหกิจที่จะทำการส่งออกสินค้าที่เกี่ยวกับ น้ำมันเพื่อการบริโภค เมล็ดพืชน้ำมัน ขนมยัดไส้ รังนกและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ธัญพืชและมอลต์ ผักสดและแห้ง ถั่วแห้ง พันธุ์พืช ถั่วและเมล็ดพืช ผลไม้แห้ง กาแฟที่ยังไม่ได้คั่วและเมล็ดโกโก้ อาหารเพื่อสุขภาพ ผลิตภัณฑ์จากผึ้ง ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ รวมถึงผลิตภัณฑ์จากฟาร์ม ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ และอาหารสัตว์ จำเป็นต้องยื่นขอใบอนุญาตจาก GACC เพื่อวางขายสินค้าในตลาดจีน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/over-600-local-companies-eye-registering-with-gacc-to-export-agri-products/#article-title

กัมพูชาหวังเปิดตลาดจีนด้วยมะพร้าวหอมพันธุ์ไทย

กัมพูชาเริ่มการเจรจากับจีนเพื่อส่งเสริมการส่งออกสินค้าเกษตร 7 รายการ โดยหนึ่งในนั้นมีมะพร้าวหอมรวมอยู่ด้วย ในขณะที่กัมพูชาได้เร่งสนับสนุนการปรับปรุงพันธุ์เพื่อส่งเสริมการส่งออกมะพร้าวในอนาคตไปยังประเทศจีน ซึ่งในบรรดาพันธุ์ต่างๆ มะพร้าวหอมของไทยค่อนข้างเป็นที่นิยมในตลาดและปัจจุบันมีการเพาะปลูกกันอย่างแพร่หลายในกัมพูชา ส่งผลทำให้ทางการกัมพูชาคาดว่าจะใช้มะพร้าวหอมพันธุ์ไทยเป็นสินค้าเกษตรชนิดแรกๆ ในการเปิดตลาดจีน โดยลักษณะของมะพร้าวหอมไทยจะมีขนาดเล็กกว่ามะพร้าวทั่วไป และยังมีรสชาติที่เข้มข้น รสชาติหวานปานกลางและมักจะมีราคาแพงกว่ามะพร้าวทั่วไป แต่อย่างไรก็ตามผลผลิตมะพร้าวของกัมพูชาในแต่ละปีมีเป็นจำนวนมาก รวมถึงยังมีความหลากหลายในส่วนของชนิดพันธุ์ ส่งผลทำให้ราคาโดยภาพรวมจึงยังคงอยู่ในระดับต่ำ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501181326/cambodia-hopes-to-open-the-chinese-market-with-the-thai-fragrant-coconut-2/