ความกังวลทวีความรุนแรงขึ้นภายหลังกรณีผู้ติดเชื้อโควิดที่แพร่ระบาดในพื้นที่ทั่วประเทศ

กลุ่มผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ที่บันทึกไว้ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมาได้จุดชนวนให้เกิดความกลัวที่เพิ่มขึ้น จำนวนผู้ติดเชื้อในพื้นที่เพิ่มขึ้นในหมู่ชุมชนในเวียงจันทน์และต่างจังหวัด ทำให้ทางการต้องเสริมมาตรการควบคุมเพื่อป้องกันไม่ให้ไวรัสแพร่กระจาย ปัจจุบันสปป.ลาวมีผู้ป่วยโควิด-19 สะสมแล้ว 15,015 ราย หลังจากได้รับการยืนยันผู้ป่วยรายใหม่ 199 รายเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา สถานการณ์วิด-19 สปป.ลาวอาจไม่ได้รุนแรงเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านแต่ระบบสาธารณสุขของสปป.ลาวค่อนข้างมีความอ่อนแอ ทำให้ยอดจำนวนติดเชื้อดังกล่าวมีความเสี่ยงที่จะรับมือไม่ไหวในระยะยาว ทั้งนี้ประชาชนสปป.มากกว่า 2.4 ล้านคนได้รับวัคซีนโควิด-19 เข็มแรก คิดเป็นร้อยละ 33.3 ของประชากร ขณะที่เกือบ 1.8 ล้านคนได้รับวัคซีน 2 โด๊ส คิดเป็นร้อยละ 24.4 ถือเป็นตัวเลขที่น่าพอใจสำหรับรัฐบาลสปป.ลาว แต่ถึงอย่างไรเห็นได้ชัดว่าการแร่งฉีดวัคซีนเพื่อให้ครอบคลุมที่สุดจะเป็นเป้าหมายหลักของรัฐบาลและจะทำให้สปป.ลาวรอดพ้นจากวิกฤตครั้งนี้ ถึงกระนั้นในระยะแรกมาตรการที่เข้มงวดเป็นสิ่งสำคัญในการควบคุมไม่ให้เกิดการระบาดอย่างแพร่กระจายและรุนแรง รัฐบาลควรเข้มงวดกับมาตรการและในขณะเดียวกันแผนการเยียวยาช่วยเหลือประชาชนและภาคธุรกิจก็ควรมีอย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Concerns_171.php

เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ จับมือ สปป.ลาว-สหรัฐฯ อย่างรอบด้านให้ผลพัฒนาที่ดีมากขึ้น

สปป.ลาวและสหรัฐฯ ได้บันทึกความร่วมมือที่ได้ผลดียิ่งขึ้น หลังจากที่ทั้งสองฝ่ายยกระดับความสัมพันธ์ทวิภาคีขึ้นสู่ระดับใหม่ ความช่วยเหลือจากสหรัฐฯ ในการกวาดล้าง UXO อยู่ที่ 2-3 ล้านดอลลาร์ต่อปี ภายใต้กรอบความร่วมมือจะทำให้รัฐบาลสปป.ลาวบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนครั้งที่ 18 เพื่อเคลียร์ UXO อย่างสมบูรณ์ภายในปี 2573 ทั้งนี้หน่วยงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐอเมริกา (USAID) ยังได้ขยายขอบเขตความร่วมมือกับสปป.ลาวตั้งแต่มีด้านสุขภาพ โภชนาการ การศึกษา ความพยายามในการป้องกันการค้ามนุษย์และการค้าสัตว์ป่า การปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ การส่งเสริมเศรษฐกิจ และการเข้าถึงความช่วยเหลือทางกฎหมายในเชิงเศรษฐกิจ แม้ว่าการค้าสองทางระหว่างลาวและสหรัฐฯ จะน้อยกว่าการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคมากนัก แต่เอกอัครราชทูตตั้งข้อสังเกตว่าการค้าสองทางระหว่างลาวและสหรัฐฯ มีมูลค่าอย่างน้อย 130 ล้านดอลลาร์ในปี 2563 เพิ่มขึ้นเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา มูลค่าการค้าแบบสองทางอยู่ที่ประมาณ 70 ล้านดอลลาร์ในปี 2553 “คาดว่า (การค้า) จะเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต” เอกอัครราชทูตเฮย์มอนด์กล่าว

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_US_Ambassador_169.php

สปป.ลาว สาธารณรัฐเกาหลี ให้คำมั่นกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างกัน

สปป.ลาวและสาธารณรัฐเกาหลีมุ่งมั่นที่จะกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ มีการไปเยือนระหว่างกันอย่างต่อเนื่องโดยคณะผู้แทนระดับสูงจากทั้งสองประเทศ แม้ว่าจะมีการระบาดของโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง ข้อตกลงดังกล่าวมีขึ้นระหว่างการประชุมทวิภาคีในกรุงเวียงจันทน์เมื่อวันเสาร์ ระหว่างรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศลาว Saleumxay Kommasith และ Chung Eui-yong รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศเกาหลี ในระหว่างการเจรจารัฐมนตรีต่างประเทศเกาหลีกล่าวว่า “รัฐบาลเกาหลีมีความกระตือรือร้นที่จะส่งเสริมความร่วมมือทางการค้าและการลงทุนกับประเทศในอาเซียนรวมถึงสปป.ลาวผ่านการดำเนินการตามนโยบายภายใต้การร่วมมือพหุภาคี” ข้อตกลงดังกล่าวยังเกี่ยวข้องกับความร่วมมือด้าน ICT อุตสาหกรรมและการพาณิชย์ การเกษตรและการพัฒนาเศรษฐกิจ และทรัพย์สินทางปัญญา เกาหลีถือเป็นเป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่อันดับ 5 ของสปป.ลาว ด้วยเงินลงทุนสะสมกว่า 790 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และดำเนินการ 299 โครงการ การกระชับความร่วมมือดังกล่าวจะช่วยยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Laos_ROK_168.php

AIPA นำมติเสริมสร้างการสร้างประชาคมอาเซียน

มีการใช้ในการประชุมสมัชชารัฐสภาอาเซียน (AIPA) ครั้งที่ 42 ได้นำมติ 28 ข้อมาหารือซึ่งมติดังกล่าวเชื่อมโยงกับการสร้างขีดความสามารถของผู้ประกอบการสตรี ความมั่นคงทางไซเบอร์ ความมั่นคงของมนุษย์ การทูตแบบรัฐสภา การส่งเสริม SMEs และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังเกิดโรคระบาด การประชุมดังกล่าวใช้หัวข้อ “Forging Parliamentary Cooperation in Digital Inclusion to ASEAN Community 2025” ด้านสปป.ลาวประธานาธิบดีลาว ทองลุน สีสุลิด แห่งลาวในการประชุมครั้งนี้ยืนยันอีกครั้งว่าลาวสนับสนุนกรอบความร่วมมืออาเซียนในการยับยั้งการแพร่กระจายของโควิด-19 และฟื้นฟูเศรษฐกิจของภูมิภาค นอกจากนี้ เขายังเรียกร้องให้ประเทศสมาชิกดำเนินการตามแผนแม่บทดิจิทัลของอาเซียน 2025 ต่อไป เพื่อปรับปรุงการสร้างประชาคมอาเซียนให้ทันสมัย ​​และลดความแตกต่างด้านการพัฒนาในประเทศสมาชิกอาเซียน

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_AIPA166.php

EIC CLMV Outlook Q3/2021

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC)

การระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ในภูมิภาคตั้งแต่ไตรมาส 2 ของปี 2021 สร้างแรงกดดันต่อแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจ CLMV แม้ว่าการส่งออกที่ยังขยายตัวได้สูงอาจจะช่วยลดความรุนแรงของผลกระทบได้บางส่วน

ด้านอุปสงค์ภายในประเทศ การระบาดของ COVID-19 ใน CLMV ตั้งแต่เดือนเมษายน ส่งผลให้ภาครัฐต้องยกระดับความเข้มงวดของมาตรการควบคุมโรค ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจปรับลดลงและสร้างแรงกดดันเพิ่มเติมต่ออุปสงค์ในประเทศที่เปราะบางอยู่เดิมก่อนแล้ว โดยการควบคุมการระบาดระลอกปัจจุบัน นับเป็นความท้าทายครั้งใหญ่ของภูมิภาค โดยเฉพาะเวียดนามที่สามารถควบคุมการระบาดในรอบก่อนหน้าได้ดี แต่ในครั้งนี้ การระบาดของเวียดนามกลับอยู่ในระดับสูง ทำให้รัฐบาลเวียดนามต้องประกาศมาตรการ lockdown เข้มงวด เช่นเดียวกับเมียนมาที่มียอดผู้ติดเชื้อสูง แต่บุคลากรทางการแพทย์กลับไม่เพียงพอจากความไม่สงบทางการเมือง ส่วนจำนวนผู้ติดเชื้อในกัมพูชาและสปป.ลาว ก็มีสูงกว่ารอบก่อนหน้า แต่ยังมีจำนวนต่ำกว่าอีกสองประเทศข้างต้น

สำหรับอุปสงค์ภายนอก ภาคการส่งออกของเศรษฐกิจ CLMV ยังคงส่งสัญญาณการฟื้นตัวแข็งแกร่งท่ามกลางการระบาดของ COVID-19 โดยได้อานิสงส์จากการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจประเทศพัฒนาแล้ว การส่งออกจึงเป็นปัจจัยสนับสนุนการเติบโตของภูมิภาค โดยการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของเวียดนามขยายตัวได้สูงอย่างต่อเนื่องและเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลักของภูมิภาค อย่างไรก็ตาม การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานจากการระบาดของ COVID-19 ในวงกว้างที่อาจทำให้มีการปิดโรงงานเพิ่มขึ้น ยังคงเป็นความเสี่ยงสำคัญ และอาจกลายเป็นปัจจัยฉุดภาคการส่งออกได้ตั้งแต่ไตรมาส 3 ของปี 2021 เป็นต้นไป

ทั้งนี้ปัจจัยหลักที่มีผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ CLMV ในระยะต่อไป ได้แก่

1) มาตรการควบคุมการระบาดที่มีประสิทธิภาพและทันท่วงที รวมถึงความคืบหน้าในการฉีดวัคซีน ซึ่งจะทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจพลิกฟื้นกลับมาได้

2) ขนาดและประสิทธิภาพของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งภาคการคลังและการเงินที่จะช่วยลดผลกระทบต่อการครัวเรือนและภาคธุรกิจ

3) ปัจจัยความเสี่ยงรายประเทศ ได้แก่ ความไม่สงบทางการเมืองของเมียนมา และความสามารถในการชำระหนี้สาธารณะของสปป. ลาว

กัมพูชา

+ภาคการส่งออกฟื้นตัวจากเศรษฐกิจโลกที่ขยายตัวได้แข็งแกร่งและความสำเร็จในการกระจายการส่งออกไปยังหลายสินค้ามากขึ้น (export diversification)

+มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทางการคลังและการฉีดวัคซีนที่ดำเนินการได้ย่างรวดเร็วและสนับสนุนการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ

มาตรการ lockdown ที่เพิ่มความเข็มงวดขึ้นเพื่อรับมือกับการระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์เดลต้าจะสร้างแรงกดดันต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวที่ยังซบเซาจะเป็นปัจจัยฉุดการเติบโตของเศรษฐกิจ

สปป.ลาว

+การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานโครงการขนาดใหญ่และการเปิดตัวใช้รถไฟจีน-สปป.ลาว ในเดือนธันวาคม

+การส่งออกที่ขยายตัวสูงจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายนอกและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับเพิ่มสูงขึ้น

การยกระดับมาตรการ lockdown และการปิดพรมแดนอย่างเข็มงวดจะกระทบต่อกิจกรรมเศรษฐกิจ

เสถียรภาพการคลังที่น่ากังวล จากภาระหนี้สาธารณะในรูปเงินตราต่างประเทศที่อยู่ในระดับสูง ประกอบกับภาวะเงินกีบอ่อนค่า และทุนสำรองระหว่างประเทศที่อยู่ในระดับต่ำ

เมียนมา

การระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 ทำให้เมียนมาประกาศใช้มาตรการ lockdown ทั่วประเทศ ขณะที่ขีดความสามารถ lockdown ทั่วประเทศ ขณะที่ขีดความสามารถของระบบสาธารณสุขมีจำกัด

การปราบปรามของรัฐบาลทหารและขบวนการอารยะขัดขืน โดยมวลชนจะส่งผลลบต่ออุปสงค์ภายในประเทศ

การหยุดชะงักของระบบโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะพื้นฐาน ได้แก่ การขนส่ง ระบบอินเทอร์เน็ต และการให้บริการของธนาคาร

ประชาชนขาดความเชื่อมั่นในรัฐบาล ซึ่งอาจลดประสิทธิภาพของมาตรการต่างๆ รวมถึงแผนการฉีดวัคซีนและความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติที่ลดลง

เวียดนาม

+ การส่งออกสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูงที่ขยายตัวได้ดีตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกจะเป็นปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อเนื่อง

+ FDI ที่ลงทุนในเวียดนามยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นตามแนวโน้มศักยภาพเศรษฐกิจในระยะยาว ได้แก่ ความสามารถในการเข้าถึงตลาดใหม่ๆ ผ่านข้อตกลงการค้า และจำนวนแรงงานที่มีมาก รวมถึงฐานผู้บริโภคขนาดใหญ่ในประเทศ

เวียดนามเผชิญความยากลำบากในการควบคุมการระบาดของ COVID-19 รอบที่ 4 ตั้งแต่เดือนเมษายน และส่งผลรุนแรงต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศ

ความเสี่ยงการหยุดชะงักของอุปทานเนื่องจากปิดโรงงานที่ขยายระยะเวลาออกไปยังประเด็นที่ต้องจับตามอง

ที่มา : https://www.scbeic.com/th/detail/product/7761

เงินเฟ้อพุ่งสูงสุดรอบ 11 เดือน

อัตราเงินเฟ้อในเดือนกรกฎาคม ขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 4.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนสำนักงานสถิติลาวระบุว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) อยู่ที่ 118.51 จุดในเดือนก.ค. ซึ่งบ่งชี้ว่าอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 4.7% โดยมีปัจจัยในเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่ผันผวนถือเป็นหนึ่งในตัวขับเคลื่อนหลักของอัตราเงินเฟ้อในสปป.ลาว ความต้องการเงินตราต่างประเทศ โดยเฉพาะเงินบาทและดอลลาร์สหรัฐฯ จากความต้องการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคจำนวนมาก ค่าเงินกีบยังคงอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องในเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม แม้จะมีมาตรการของรัฐบาลในการจัดการกับประเด็นนี้ อัตรากการเพิ่มขึ้นในแต่ละหมวดที่เพิ่มขึ้นเป็นดังนี้ ค่าอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้น 4.44 % หมวดการสื่อสารและการขนส่งเพิ่มขึ้น 0.92% ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น 25.44 เปอร์เซ็นต์ หมวดร้านอาหารและโรงแรมเพิ่มขึ้น 2.19% ค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น 0.6% หมวดเสื้อผ้าและรองเท้าเพิ่มขึ้น 1.15% ค่าใช้จ่ายของใช้ในครัวเรือนเพิ่มขึ้น 0.44%

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Inflation_165.php