9 เดือน เมียนมาส่งออกไปญี่ปุ่น แตะ 694 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย มูลค่าการส่งออกไปญี่ปุ่นในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา (ต.ค.63 – มิ.ย.64) ของปีงบประมาณ 63-64 แตะระดับ 694.964 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  เมียนมาได้ดุลการค้า 271.7 964 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยมูลค่าการค้าระหว่างประเทศอยู่ที่ 966.66 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณปัจจุบัน ดังนั้นญี่ปุ่นจึงถูกจัดเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่อันดันสามของเมียนมาร์ สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์ทางทะเล ข้าว งาดำ ถั่วเขียว ยางและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ด้านการนำเข้าจะเป็นเครื่องจักรและอุปกรณ์เ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ปุ๋ย เคมีภัณฑ์ ยา รถยนต์ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ข้อมูลของคณะกรรมการการลงทุนและการบริหารบริษัท (DICA) พบว่า ปีงบประมาณนี้ มีบริษัทสามแห่งจากญี่ปุ่นได้รับการอนุมัติให้ลงทุน 518 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในเมียนมา ซึ่งญี่ปุ่นมีสัดส่วนการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมากกว่า 34.7% ในเขตเศรษฐกิจพิเศษติลาวา อีกทั้งองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่นหรือ JICA ได้เสนอเงินกู้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ หรือ ODA (Official Development Assistance) เพื่อพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของเมียนมา

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/exports-to-japan-top-694-mln-in-nine-months/#article-title

ราคาข้าวเมียนมา พุ่ง 2,800 จัตต่อถุง สูงสุดภายใน 1 เดือน

ราคาข้าวได้เพิ่มขึ้นจาก 800 จัตเป็น 2,800 จัตต่อถุงภายในหนึ่งเดือน เมื่อวันที่ 1 ส.ค.64 ราคาข้าวเคลื่อนไหวอยู่ในช่วง 27,500-42,100 จัตต่อถุงขึ้นอยู่กับคุณภาพและพันธุ์ข้าว ในขณะที่ราคาเพิ่มขึ้นเป็น 29,100—44,900 จัตต่อถุง ในวันที่ 31ส.ค.64 ราคาเริ่มขยับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน นอกจากนี้ ราคาข้าวในปี 63 จะเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูฝน ดังนั้นคาดว่าราคาน่าจะเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูมรสุมของปีนี้เช่นกัน นอกจากนี้ มาตรการควบคุณการแพร่ระบาดของ COVID-19 และภัยธรรมชาติส่งผลกระทบต่อราคา คาดว่าจะยังคงยืนราคาไปอีกสักระยะหนึ่ง

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/rice-price-rises-by-k2800-per-bag-in-maximum-within-one-month/

วิเคราะห์ก้าวแรกของการพัฒนา CBDC ในภูมิภาค CLMVT

โดย ดร.ปพน เกียรติสกุลเดชา ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์

ในปัจจุบัน การคิดค้นเทคโนโลยีกระจายศูนย์ข้อมูล (Distributed Ledger Technology: DLT) ที่มีความรวดเร็ว ปลอดภัย และสามารถสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ใช้งานในด้านการชำระเงิน ได้นำไปสู่การพัฒนาสกุลเงินคริปโตเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) อย่างแพร่หลายในภาคเอกชนทั่วโลก เช่นเดียวกับภาคเอกชน ธนาคารกลางต่าง ๆ ทั่วโลกก็ได้เร่งริเริ่มที่จะนำนวัตกรรมเหล่านี้มาใช้ในระบบสถาบันการเงินในประเทศจนเกิดการพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (Central Bank Digital Currency: CBDC)

จุดมุ่งหมายของการพัฒนา CBDC โลกที่ผ่านมาเป็นอย่างไร และคาดว่าจะส่งกระทบอย่างไรต่อระบบเศรษฐกิจ?

การพัฒนา CBDC โดยธนาคารกลางต่าง ๆ ปัจจุบันนั้น สามารถแบ่งตามการใช้งานได้เป็น 2 ระดับ ได้แก่

1.ระดับธุรกรรมระหว่างสถาบันการเงิน (Wholesale CBDC) : การสร้างเครือข่ายการโอนทรัพย์สินระหว่างสถาบันการเงินทั้งในและระหว่างประเทศ

2.ระดับธุรกรรมรายย่อย (Retail CBDC) : การใช้สกุลเงินดิจิทัลแทนเงินสดในการทำธุรกรรมระหว่างประชาชนและธุรกิจรายย่อย

ในภาพรวม ทั้ง Wholesale CBDC และ Retail CBDC ได้ถูกพัฒนาขึ้นมา โดยมีเป้าหมายส่งเสริมการทำธุรกรรมทางการเงินให้รวดเร็วและปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นประโยชน์หลักที่ได้จากการนำ DLT (โดยเฉพาะในรูปแบบบล็อกเชน) มาใช้โดยธนาคารกลาง ที่จะทำให้สามารถลดต้นทุนในการประมวลผลธุรกรรมทางการเงินลงได้อย่างมีนัย รวมทั้งยังสามารถตรวจสอบตัวตนของคู่สัญญาธุรกรรมต่าง ๆ ได้อย่างรัดกุมมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ CBDC ทั้งสองประเภท หากถูกพัฒนาร่วมกันโดยกลุ่มประเทศในภูมิภาค ยังจะมีแนวโน้มนำไปสู่การเชื่อมโยงแพลตฟอร์ม และสนับสนุนให้ธุรกรรมระหว่างประเทศ (Cross-border Transactions) เป็นไปได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้นและด้วยต้นทุนที่ต่ำลงอีกด้วยเช่นกัน

แต่ทว่าหากมองลึกลงไปกว่าประสิทธิภาพของระบบสถาบันการเงินที่เพิ่มขึ้นนั้น การพัฒนาในระดับ Retail CBDC จะสามารถสร้างประโยชน์เพิ่มเติมได้ในอีกหลายด้าน โดยจะเป็นก้าวสำคัญต่อการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ ได้แก่

1. การเข้าถึงสถาบันการเงิน (Financial Inclusion) จะเพิ่มมากขึ้น ตามระบบ Retail CBDC ที่จะสามารถเข้าใช้งานได้ง่ายและรวดเร็วเพียงผ่านโทรศัพท์มือถือโดยไม่จำเป็นต้องผูกติดกับบัญชีธนาคาร ซึ่งข้อดีในจุดนี้ โดยเฉพาะสำหรับในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา จะช่วยให้กลุ่มประชาชนที่ไม่สามารถเข้าถึงสถาบันการเงินได้มาก่อนนั้น มีโอกาสหันมาเลือกใช้ Retail CBDC ที่สะดวกกว่าการถือเงินสดเพิ่มมากขึ้น

2. ช่องทางการดำเนินนโยบายทางการคลัง (Fiscal Policy) ของภาครัฐที่จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นหลังมีการใช้ CBDC แทนเงินสดอย่างแพร่หลาย ตัวอย่างเช่น ภาครัฐสามารถออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่าน CBDC โดยประชากรสามารถนำเงินช่วยเหลือในรูปแบบดิจิทัลออกมาจับจ่ายใช้สอยได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องผ่านขั้นตอนการเปิดบัญชีธนาคารหรือเบิกจ่ายกับหน่วยงานของรัฐ นอกจากนี้ ภาครัฐยังสามารถเข้าถึงข้อมูลการจับจ่ายใช้สอยของประชากรในแต่ละกลุ่มสังคมเศรษฐกิจ (socioeconomic group) ซึ่งอาจต้องการความช่วยเหลือที่แตกต่างกัน การมี Retail CBDC platform จะช่วยให้ภาครัฐสามารถเลือกกลุ่มเป้าหมายและตั้งเงื่อนไขของมาตรการช่วยเหลือได้อย่างตรงจุดมากยิ่งขึ้น

3. การเพิ่มประสิทธิภาพของธนาคารกลางในการดำเนินนโยบายทางการเงิน (Monetary Policy) โดยการใช้ Retail CBDC แทนเงินสดนั้น จะช่วยให้ธนาคารกลางสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลปริมาณและการไหลเวียนของเงินในระบบได้อย่างแม่นยำมากขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการวางแผนนโยบายการเงินที่เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ยังมี CBDC อีกประเภทที่มีการจ่ายอัตราดอกเบี้ยในการถือครอง ซึ่งอาจเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ธนาคารกลางใช้ส่งผ่านผลของอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้โดยตรง

สถานะการพัฒนา CBDC โลกเป็นอย่างไรและภูมิภาค CLMVT อยู่ตรงจุดไหน?

ผลสำรวจล่าสุดโดย Bank of International Settlement พบว่า 86% ของธนาคารทั่วโลกกำลังดำเนินงานวิจัยเทคโนโลยี CBDC โดย 60% อยู่ในขั้นทดสอบระบบ ขณะที่เพียง 14% ได้เริ่มมีการทดลองใช้จริงในกลุ่มประชากรตัวอย่าง แม้ว่ากลุ่มประเทศที่มีการทดลองใช้ CBDC จริงแล้วประกอบด้วยกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลักในโลก เช่น จีน ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และ สหภาพยุโรป แต่เป็นที่น่าจับตามองอย่างยิ่งว่าภูมิภาค CLMVT อยู่ในจุดที่ล้ำหน้ากว่าหลายชาติอื่นในโลกด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะไทยและกัมพูชา ซึ่งถูกจัดอันดับโดย PwC ว่าอยู่ในอันดับต้น ๆ ของโลกในด้านการพัฒนา Wholesale CBDC และ Retail CBDC ตามลำดับ

สำหรับไทยนั้น โครงการอินทนนท์ซึ่งเป็น Wholesale CBDC ได้ถูกพัฒนาโดยธนาคารแห่งประเทศไทยตั้งแต่ปี 2561 จนถึงในปี 2563 ได้พัฒนาไปถึงจุดที่มีการทดสอบการทำธุรกรรมข้ามพรมแดนโดยเชื่อมต่อกับ Project LionRock ของฮ่องกงได้สำเร็จ นอกจากนี้ ล่าสุดในปีนี้ ทาง ธปท. ยังได้เริ่มทำการศึกษาวิจัยต่อยอดไปสู่การทำ Retail CBDC แล้วเช่นกัน โดยมีเป้าหมายเบื้องต้นว่าจะมีการทดสอบใช้จริงในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2565

แนวโน้มการพัฒนา Retail CBDC สำหรับประเทศ LMVT (สปป.ลาว, เมียนมา, เวียดนาม และไทย) จะเป็นอย่างไร? บทเรียนล่าสุดที่ได้จากกัมพูชาคือ ประเทศกำลังพัฒนาที่มีการเข้าถึงสถาบันการเงินในระดับต่ำ แต่มีโครงสร้างประชากรที่พร้อมตอบรับเทคโนโลยีใหม่ นับได้ว่าเป็นจุดตั้งต้นที่สำคัญต่อการพัฒนาเงินดิจิทัลให้เข้ามาทดแทนเงินสดและดึงประชากรส่วนมากเข้าสู่ระบบสถาบันการเงินมากขึ้น สำหรับปัจจัยเหล่านี้ทั้ง สปป.ลาว เมียนมา และ เวียดนาม ล้วนมีประชากรน้อยกว่า 30% ที่เข้าถึงบัญชีธนาคาร ในขณะที่ประชากรส่วนใหญ่ยังมีอายุน้อย (ค่ามัธยฐานต่ำกว่า 30 ปี) แต่มีการเข้าถึงบริการโทรศัพท์มือถือในระดับที่สูง (เฉลี่ยมากกว่า 1 เบอร์โทรศัพท์ต่อคน) ด้วยปัจจัยแวดล้อมด้านประชากรที่คล้ายคลึงกับกัมพูชา ทำให้คาดได้ว่าการพัฒนา  Retail CBDC จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับประเทศเหล่านี้เช่นกัน และมีศักยภาพที่จะตามทันกัมพูชามาได้ในเวลาไม่ช้า

ที่มา : https://www.scbeic.com/th/detail/product/7775

Economist ชี้ ย่างกุ้งรั้งท้ายอันดับที่ 60 เมืองที่ปลอดภัยที่สุดในโลก ของปี 2021

ย่างกุ้งติดอันดับหนึ่งใน 60 เมืองที่ต่ำที่สุดในดัชนีเมืองปลอดภัยปี 2564 ในการจัดอันดับของ Economist Intelligence Unit .ในปีนี้ โดยอิงจากสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน โดยเมืองซิดนีย์หนึ่งในเมืองที่มีความปลอดภัยทางดิจิทัลมากที่สุดในโลก ส่วนย่างกุ้งอยู่ในลำดับที่ 60 ด้านความมั่นคงของสุขภาพ ย่างกุ้งอยู่ในอันดับที่ 58 ส่วนเมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นอยูในลำดับที่ 1 ในด้านโครงสร้างพื้นฐาน ย่างกุ้งอยู่ในอันดับที่ 58 ส่วนสิงคโปร์ โคเปนเฮเกน โตรอนโต และ โตเกียว อยู่ในอันดับต้นๆ ในแง่ของความปลอดภัยส่วนบุคคล ย่างกุ้งอยู่ในอันดับที่ 58 ขณะที่โคเปนเฮเกนเป็นหนึ่งในเมืองที่ปลอดภัยที่สุดในโลก ย่างกุ้งอยู่ในอันดับที่ 54 ในด้านความมั่นคงด้านสิ่งแวดล้อม ส่วนอันดับหนึ่งคือเมืองเวลลิงตัน โดยภาพรวมแล้ว ย่างกุ้งอยู่ในอันดับที่ 60 ด้วยคะแนนรวม 39.5 คะแนน

ที่มา : https://news-eleven.com/article/214875

สิงคโปร์กลายเป็นประเทศนำเข้าหลักอันดับสองของเมียนมา

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย สิงคโปร์กลายเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่อันดับสองของเมียนมา โดยมีมูลค่าประมาณ 2.14 พันล้านดอลลาร์ ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.63 ถึง 30 มิ.ย.64 ของปีงบประมาณปัจจุบัน มูลค่าการค้าระหว่างสองประเทศสูงถึง 2.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นการส่งออกมีมูลค่า 166.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนการนำเข้ามีมูลค่าถึง 2.14 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้เมียนมาขาดดุลการค้า 1.97 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงเก้าเดือนที่ผ่านมา (ต.ค.63 – มิ.ย.64) สิงคโปร์จึงกลายเป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับสองในภูมิภาครองจากไทย โดยเมียนมาส่งออกสินค้าเกษตร รองเท้า สิ่งทอและเสื้อผ้า แร่ธาตุ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ส่วนการนำเข้าจะเป็นพลาสติก น้ำมันเชื้อเพลิง สินค้าทุน สินค้าขั้นกลาง สินค้าอุปโภคบริโภค โลหะ และเคมีภัณฑ์

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/singapore-placed-myanmars-second-largest-importer/#article-title

ส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป CMP ลดฮวบ 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบฯ 63-64

จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์เมียนมา การส่งออกของภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในกลุ่มการตัด การผลิต และบรรจุ (CMP : Cut Make Pack) ดิ่งลงระดับต่ำสุดที่ 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ช่วงระหว่างวันที่ 1 ต.ค.63 ถึง 30 มิ.ย.64 ในปีงบประมาณ 63-64 การส่งออกลดลงมากกว่า 20% ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องจากความต้องการที่ลดลงของตลาดสหภาพยุโรป โดยการส่งออกลดลงกว่า 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปีงบประมาณ 62—63 ขณะที่อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม CMP กลายเป็นอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มดีแม้มีสิทธิพิเศษทางการค้าจากประเทศตะวันตกและเป็นส่วนสำคัญของจีดีพีประเทศ แต่เกิดการหยุดชะงักในภาคการขนส่งและอุปทาน และผลกระทบอย่างรุนแรงจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทั้งนี้เมียนมาส่งออกเสื้อผ้า CMP ไปยังตลาดหลัก เช่น ในญี่ปุ่น สหภาพยุโรป สาธารณรัฐเกาหลีใต้ จีน และสหรัฐอเมริกา

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/cmp-garment-exports-plummet-to-us2-5-bln-in-current-fy/