ส่งออกสินค้าเกษตรมาแรง พุ่ง 3.88 พันล้านดอลลาร์

แปดเดือนครึ่งของปีงบประมาณ 2563-2564 การส่งออกสินค้าเกษตรพุ่งสูง 3.88 พันล้านดอลลาร์ เพิ่ม  923.9 ล้านดอลลาร์จากช่วงเดียวหันของปีก่อนที่ส่งออกสินค้าเกษตรมีมูลค่า 2.95 พันล้านดอลลาร์ สวนทางกับการส่งออกสินค้าอื่นๆ ที่มีแนวโน้มลดลง ท่ามมาตรการคุมเข้มวิกฤติโควิด-19 ที่เข้มงวดในพื้นที่ชายแดนและค่าขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ที่เพิ่มขึ้น อุตสาหกรรมการเกษตรมีแววรุ่งที่สุด โดยคิดเป็นร้อยละ 37 ของการส่งออกโดยรวม สินค้าส่งออกที่สำคัญในภาคเกษตร ได้แก่ ข้าวและข้าวหัก ถั่วและข้าวโพด ผลไม้และผัก งา ใบชาแห้ง น้ำตาล และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรอื่นๆ ตลาดนำเข้าหลักจะเป็นจีน สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บังคลาเทศ อินเดีย อินโดนีเซีย และศรีลังกา ซึ่งการส่งออกแบบ G to G ยังช่วยสร้างแข็งแกร่งให้กับตลาด ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์ยังผลักดันและช่วยเกษตรกรจัดการปัญหาที่ยากจะควบคุม เช่น ต้นทุนการผลิตที่สูง การจัดหาเมล็ดพันธุ์ ต้นทุนการเพาะปลูกที่สูง และสภาพอากาศที่ไม่แน่นอน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/agro-exports-surge-to-3-88-bln-as-of-18-june/#article-title

CLMV รับแรงหนุนที่แตกต่าง หลังเศรษฐกิจโลกฟื้น

โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับเพิ่มตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจโลกปี 2564 เป็น 6.0% จากเดิมที่ 5.5% สะท้อนมุมมองเชิงบวกต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกอย่างแข็งแกร่งหลังวิกฤตโควิด นำโดยเศรษฐกิจขนาดใหญ่อย่างสหรัฐฯ และจีน ซึ่งคาดว่าจะส่งผลบวกต่อกลุ่มประเทศ CLMV ในระดับที่แตกต่างกันตามความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การส่งออก รายได้ส่งกลับของแรงงานในต่างประเทศ การลงทุนโดยตรง (FDI) และการท่องเที่ยว

เวียดนามเป็นประเทศที่ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก  จากสัดส่วนการส่งออกที่สูงถึง 104% ของ GDP   โดยมีการผลิตและส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในสัดส่วนสูง นอกเหนือจากอานิสงส์จากรายได้นำส่งกลับของแรงงาน ซึ่งมีสัดส่วนถึง 5.8% ของ GDP

ขณะที่กัมพูชาอาจเป็นอีกประเทศที่ได้รับแรงหนุนจากการฟื้นตัวของตลาดส่งออกหลักอย่างสหรัฐฯ จีน และยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน เนื่องจากสัดส่วนของการลงทุนโดยตรงสูงถึง 60%​ โดยส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและอสังหาริมทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง

ในส่วนของประเทศสปป.ลาว อาจเป็นประเทศใน CLMV ที่โครงสร้างการส่งออกได้รับอานิสงส์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกน้อยที่สุด เนื่องจากการส่งออกมีสัดส่วนไม่มากเมื่อเทียบกับขนาดของเศรษฐกิจ    โดยในด้านการลงทุนตรงจากต่างประเทศ น่าจะได้รับอานิสงส์น้อยกว่ากัมพูชา เนื่องจากสัดส่วนการลงทุนตรงมีเพียง 22% 

ขณะที่เมียนมา ปัจจัยการเมืองภายในประเทศน่าจะลดทอนผลบวกจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก   ในขณะที่สัดส่วนการลงทุนตรงโดยรวมอยู่ที่ 13% ต่ำสุดในกลุ่ม CLMV

ในส่วนของภาคการท่องเที่ยว  เนื่องจากประเทศใน CLMV ส่วนใหญ่พึ่งพานักท่องเที่ยวจากจีนและนักท่องเที่ยวในภูมิภาค ซึ่งมีการฉีดวัคซีนล่าช้ากว่าประเทศในตะวันตก ทำให้โอกาสที่จะบรรลุการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ในปี 2564 มีไม่มาก ส่งผลให้การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวน่าจะจำกัดเฉพาะนักท่องเที่ยวจากตะวันตก ซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 10% ของจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งหมดใน CLMV

ที่มา : https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/CLMV-FB-28-06-21.aspx

ค้าชายแดนเมียนมาเกินดุล 7.4 พันล้านดอลลาร์ในปีงบฯ 63-64

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย ณ วันที่ 16 มิถุนายน  64 การค้าชายแดนงเมียนมาและประเทศเพื่อนบ้านอย่างจีน ไทย อินเดีย และบังกลาเทศ มีมูลค่าถึง 7.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณ 63-64 แบ่งเป็นการส่งออก 4.8 พันล้านดอลลาร์ ในขณะที่การนำเข้า 2.6 พันล้านดอลลาร์ การค้าชายแดนของปีงบประมาณนี้ลดลงมากกว่า 806 ล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณที่แล้ว 62-63 ซึ่งมีมูลค่า 8.24 พันล้านดอลลาร์ โดยด่านมูเซมีมูลค่าการค้าสูงสุด 3.76 พันล้านดอลลาร์ รองลงมาคือเมียวดีด้วย 1.23 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 63 ถึง 18 มิถุนายน 64 ของปีนี้ การค้าระหว่างประเทศมีมูลค่ารวมกว่า 7.43 พันล้านดอลลาร์ในขณะที่การค้าทางทะเลมีมูลค่า 14.05 พันล้านดอลลาร์ เมียนมาส่งออกสินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ผลิตภัณฑ์ทางทะเล แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์จากป่า สินค้าการผลิต และอื่นๆ เป็นหลัก  ส่วนการนำเข้าจะเป็นสินค้าทุน สินค้าขั้นกลาง และสินค้าอุปโภคบริโภค

ที่มา: https://cdn.myanmarseo.com/file/client-cdn/2021/06/27_june-21_-gnml.pdf

เพียง 3 สัปดาห์ ราคาส่งออกงาเมียนมา พุ่ง 20,000 จัต

ผู้นำเข้าชาวจีนล้วนจับตาราคางาดำที่เพิ่งเก็บเกี่ยวใหม่ (พันธุ์ซาโมน) เนื่องจากมีคุณภาพสูง และมีความต้องการสูงราคาพุ่งถึง 160,000 จัตต่อกระสอบ (45 viss ต่อกระสอบ) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญถึง 20,000 ต่อกระสอบในสามสัปดาห์ที่ตลาดค้าส่งมัณฑะเลย์ ขณะที่ในช่วงต้นเดือนมิถุนายน มีราคาเพียง 130,000-143,000 จัตต่อกระสอบ โดยปกติประมาณร้อยละ 80  เมียนมาส่งออกงาไปยังตลาดต่างประเทศ จีนเป็นผู้ซื้อรายใหญ่รองลงมาเป็นญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ใต้หวัน สหราชอาณาจักร เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ กรีซ และกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป โดยเขตมะกเวเป็นผู้ผลิตเมล็ดงารายใหญ่และยังมีบางส่วนในเขตมัณฑะเลย์และเขตซะไกง์ ในช่วงครึ่งปีงบประมาณ 2563-2564 (ตุลาคม-มีนาคม) การส่งออกเมล็ดงาทำเงินได้ 284.47 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากข้อมูลการส่งออกงาของ Central Statistical Organisation มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ปีงบประมาณ 2561-2562 มีการส่งออกมูลค่า 212.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และปีงบประมาณ 2562-2563  มีมูลค่า 240 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/sesame-prices-up-by-k20000-in-three-weeks/

ราคาน้ำมันปาล์มในประเทศดิ่งลง จากราคาที่ลดลง

สมาคมผู้ค้าน้ำมันพืชเมียนมา เผย ราคาน้ำมันปาล์มในประเทศลดลงเล็กน้อยตามการนำเข้าที่ลดลง น้ำมันปาล์มลดลงเหลือ 995 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันในตลาดต่างประเทศ เป็นผลให้ราคาค้าส่งในประเทศอยู่ระหว่าง 2,800-2,900 จัตต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กก.) ผลจากประเทศผู้ผลิตนำมันปาล์มอย่างมาเลเซียและอินโดนีเซียมีผลผลิตออกมาค่อนข้างมาก จึงมีแนวโน้มที่เมียนมาจะนำเข้าลดลงจนถึงเดือนตุลาคม อีกทั้งสมาคมฯ ได้ประกาศนำเข้าน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนเพื่อความพอเพียงในประเทศ จำหน่ายในราคาที่เป็นธรรม และมั่นใจได้ว่าจะไม่มีน้ำมันพืชขาดแคลน อึกทั้งยังเฝ้าติดตามราคานำม้ำมันปาล์มอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันปริมาณใช้น้ำมันบริโภคในประเทศอยู่ที่ประมาณ 1 ล้านตันต่อปี เป็นการผลิตน้ำมันประกอบอาหารมีประมาณ 400,000 ตัน ดังนั้นเพื่อตอบสนองความพอเพียงในประเทศ จึงนำเข้าน้ำมันปรุงอาหารประมาณ 700,000 ตันต่อปี

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/domestic-palm-oil-slips-alongside-drop-in-import-price/

ราคาถั่วดำในประเทศพุ่งถึง 1.1 พันล้าน จัตต่อตัน

รายงานของหอการค้าและอุตสาหกรรมเขตย่างกุ้ง (Bayintnaung Commodity Depot) เผยราคาถั่วดำในประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 1,110,000 จัตต่อตัน แม้ราคาในวันที่ 1 พฤษภาคม 64 จะอยู่ที่ 888,500 จัตต่อตัน แต่พุ่งไปถึง 1,110,000 K จัตตันในวันที่ 17 มิถุนายน 64 ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 221,500 จัตต่อตัน ตั้งแต่ปี 60 อินเดียได้กำหนดโควตานำเข้าถั่ว ซึ่งรวมถึงถั่วดำและถั่วแระ ภายใต้นโยบายการค้าต่างประเทศ ปี 58-63 ขณะที่สวนปลูกถั่วดำให้ผลผลิตประมาณ 400,000 ตันต่อปี ด้านถั่วแระมีผลผลิตประมาณ 50,000 ตันต่อปี ส่วนใหญ่ส่งออกไปยังอินเดีย

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/domestic-black-bean-price-rises-to-k-1-1-bln-per-tonne/