ค้าเวียดนามปี 73 มีสัดส่วน 15% ของ GDP

ตามแผนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการค้าในประเทศภายในปี 64-73 มีเป้าหมายที่จะเพิ่มสัดส่วนการค้าในประเทศมาอยู่ 15-15.5% อีก 10 ปีข้างหน้า ภายใต้แผนดังกล่าวนั้น การค้าในประเทศจะเติบโตเฉลี่ย 9-9.5% ต่อปี และรายได้ทั้งมาจากการค้าปลีกและจากการบริการผู้บริโภค 13-13.5% โดยแผนดังกล่าวจะมุ่งไปที่การสร้างแบรนด์สินค้าเวียดนาม ตลอดจนปกป้องผลประโยชน์ของผู้บริโภค ธุรกิจและเศรษฐกิจของประเทศ อีกทั้ง ส่วนราชการยังได้กำหนดให้มีการส่งเสริมการลงทุนและปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางการลงทุน เพื่อปรับให้เข้ากับหลักการการค้าใหม่ รวมถึงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานให้มีความทันสมัยและยั่งยืน โดยเฉพาะพื้นที่ชนบท

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/domestic-trade-to-make-up-15-of-gdp-by-2030-876968.vov

“เอดีบี” ปรับลดการเติบโตทางเศรษฐกิจเวียดนามปี 64 โต 5.8%

ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) คาดว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของกลุ่มประกำลังพัฒนาในเอเชียอยู่ที่ 7.2% ในปีนี้ เทียบกับที่คาดการณ์ไว้ที่ 7.3% เมื่อเดือนเมษายน และจากการประเมินของ ADB การส่งออกทั่วโลกที่เริ่มฟื้นตัว ทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ อยู่ที่ 5.6% จาก 1.8% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว แม้ว่าจะเผชิญกับการระบาดโควิด-19 ระลอกใหม่ที่เริ่มต้นเมื่อปลายเดือนเมษายน โดยเฉพาะการฉีดวัคซีนที่ค่อนข้างช้า รวมถึงการบังคับใช้มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมในพื้นที่เศรษฐกิจ ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการค้าและกิจกรรมทางเศรษฐกิจปีนี้ อย่างไรก็ดี ธนาคารพัฒนาเอเชียได้ปรับตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามปีนี้ เหลือ 5.8% จากก่อนหน้าที่คาดการณ์ไว้ที่ 6.7% เมื่อเดือนเมษายน

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/adb-lowers-vietnamese-growth-forecast-for-2021-to-58-875361.vov

กัมพูชาส่งออกมูลค่ารวมเกือบ 6 พันล้านดอลลาร์ ในช่วง 5 เดือนแรกของปี

กัมพูชาส่งออกสินค้ามูลค่ารวมเกือบ 6 พันล้านดอลลาร์ คิดเป็นกว่าร้อยละ 20.8 ของ GDP ขยายตัวร้อยละ 1.6 ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2021 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องจากการส่งออกจักรยานและสินค้าอื่นๆ เพิ่มขึ้น ส่วนการนำเข้าสินค้า (ไม่รวมทองคำ) มีมูลค่ารวมถึง 8,664 ล้านดอลลาร์ เทียบเท่ากับร้อยละ 30.2 ของ GDP ขยายตัวร้อยละ 17 จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องจากการนำเข้าวัสดุสิ่งทอ วัสดุก่อสร้าง เชื้อเพลิง และสินค้าอื่นๆ เพิ่มขึ้น รายงานโดยกระทรวงเศรษฐกิจและการคลัง ซึ่งกล่าวเสริมถึงเศรษฐกิจของกัมพูชาที่ยังคงได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 โดยคาดว่าเศรษฐกิจโดยรวมจะกลับมาขยายตัวในช่วงสิ้นปี 2021 เนื่องจากการฟื้นตัวของสถานการณ์เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญกัมพูชา รวมถึงความต้องการของสินค้าเกษตรที่เพิ่มขึ้นเป็นต้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50890953/cambodia-earns-6-billion-from-exports-in-five-months/

GDP เวียดนามไตรมาส 2 โต 6.61% อานิสงค์การส่งออกเติบโต

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) ระบุว่าในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ขยายตัว 6.61% ซึ่งขยายตัวมากกว่าไตรมาสแรกที่ 4.65% แสดงให้เห็นว่ากิจกรรมการค้าโลกกลับมาฟื้นตัว ตลอดจนภาคอุตสาหกรรมฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง ถึงแม้จะเผชิญกับการระบาดของโควิด-19 เศรษฐกิจมหภาคในประเทศยังคงรักษาระดับเสถียรภาพได้ ในขณะที่ การผลิตและการค้ายังคงเติบโตได้ดี ทั้งนี้ การส่งออกของเวียดนามในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้น 28.4% เมื่อเทียบกับปีก่อน ด้วยมูลค่า 157.63 พันล้านเหรียญสหรัฐ อย่างไรก็ตาม การระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ที่มา : https://tienphongnews.com/vietnam-q2-gdp-growth-quickens-to-6-61-y-y-on-robust-exports-181429.html

เวียดนามโชว์ ‘GDP ไตรมาส 2’ โต 6.6% ขยายตัวเด่นสุดในอาเซียน แม้เผชิญหน้ากับโควิดกลายพันธุ์

เศรษฐกิจเวียดนามไตรมาส 2/64 เติบโต 6.61% ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโควิด โดยรับแรงหนุนจากภาคการส่งออกที่ขยายตัว 28.4% สำนักงานสถิติแห่งชาติระบุ ส่งออกไปสหรัฐฯ ประเทศเดียวเติบโตถึง 42.6% แต่ภาพรวมทั้งปียังถูกท้าทายการการแพร่ระบาดของโควิดที่กลายพันธุ์ Nikkei Asia รายงานว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ GDP ของเวียดนามในไตรมาส 2 ปีนี้ ขายตัว 6.61% เทียบกับไตรมาสเดียวกันปีที่แล้ว ซึ่งสะท้อนภาพว่าเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศเริ่มฟื้นตัวแล้ว  ส่วนในครึ่งปีแรกเศรษฐกิจเวียดนามขยายตัว 5.64% เพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนที่เศรษฐกิจขยายตัวเพียง 1.82% และแม้ว่าอัตราการขยายตัวจะต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ 7% ของ VNDIRECT Securities แต่ก็ยังยืนยันได้ว่าศักยภาพทางการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามนั้นแข็งแกร่ง

ที่มา : https://thestandard.co/vietnam-show-gdp-on-second-quarter-grew-6-6-percents/

GDP เวียดนามโต 5.64% ในไตรมาสแรก

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) ประกาศว่าเวียดนามมีอัตราการ​เติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ ขยายตัว 5.64% เมื่อเทียบเป็นรายปี และยังสูงกว่าระดับ 1.82% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันชองปีที่แล้ว แต่ต่ำกว่า 7.05% และ 6.77% ในปี 2562 และ 2563 ทั้งนี้ ภาคอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูปเป็นปัจจัยหนุนของการเติบโตเศรษฐกิจของประเทศ ด้วยอัตราการเติบโต 11.42% อย่างไรก็ดี การเติบโตของ GDP ได้สะท้อนให้เห็นถึงการควบคุมการระบาดไวรัสของรัฐบาล ตลอดจนความร่วมมือทั้งระบบการเมือง ภาคธุรกิจ ประชาชนและบุคลากรแนวหน้าในการต่อสู้กับการระบาดของโควิด-19

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnams-gdp-up-564-percent-in-h1-gso/203791.vnp

เวียดนามเผยครึ่งแรกของปี GDP ขยายตัว 5.8%

กระทรวงวางแผนและการลงทุน (MPI) เปิดเผยว่าผลิตภัณฑ์รวมในประเทศ (GDP) ของเวียดนาม คาดว่าจะขยายตัว 5.8% ในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 ซึ่งต่ำกว่าที่ตั้งเป้าไว้ก่อนหน้านี้ อีกทั้ง สำนักงาน MPI คาดการณ์ว่าภาคเกษตร ป่าไม้และประมง ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 6 เดือนแรก แต่คงเผชิญกับปัญหาทางด้านการบริโภค และคาดว่าจะเติบโตประมาณ 3% ในครึ่งแรก ในขณะเดียวกัน ภาคอุตสาหกรรมและการก่อสร้าง คาดว่าจะเติบโต 7.85% ต่ำกว่าที่ตั้งเป้าไว้ที่ 0.71% สาเหตุจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ถึงแม้ว่าจะพยายามฟื้นฟูมาหลายครั้งแล้วก็ตาม ส่วนภาคบริการ คาดว่าจะเติบโตราว 5% นอกจากนี้ สำนักงาน คาดว่าการบริโภคจะยังคงดีดตัวกลับมา ยอดค้าปลีกสินค้าและบริการโดยรวม คาดว่าจะเติบโตราว 7.1% อย่างไรก็ตาม ภาคบริการ (การท่องเที่ยว การคมนาคมและการขนส่ง) จะยังคงประสบปัญหา เนื่องจากได้รับผลกระทบอย่างหนักจากโควิด-19

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/first-half-gdp-growth-for-vietnam-projected-at-58-865765.vov

องค์กรระหว่างประเทศ มีมุมมองในเชิงบวกต่อเศรษฐกิจเวียดนาม

ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด คาดการณ์การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เวียดนามในเชิงบวก ด้วยอัตราการขยายตัว 6.7% ปีนี้ และ 7.3% ในปี 2565 อีกทั้ง ตามรายงานของธนาคารเอชเอสบีซี (HSBC) คาดว่าเศรษฐกิจเวียดนามจะขยายตัว 6.5% ในปี 2564 ในขณะที่ บริษัทฟิทช์ Fitch Ratings (Fitch) ตั้งเป้าขยายตัวไว้ที่ 7% ทั้งนี้ คุณทิม อีแวนส์ ผู้บริหารระดับสูงของบริษัท HSBC ได้เน้นย้ำถึงผลประโยชน์อันมหาศาสจากการทำธุรกิจในเวียดนาม ภายในการสัมมนาผ่านเว็บที่จัดขึ้นร่วมกันระหว่างธนาคารและสำนักงานการลงทุนต่างประเทศ นอกจากนี้ คุณมิเชล วี ผู้อำนวยการธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดประจำเวียดนาม กล่าวว่าความคืบหน้าของการฉีดวัคซีนโควิด-19 ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ

ที่มา : http://hanoitimes.vn/international-organizations-hold-optimistic-view-on-vietnam-economic-outlook-317653.html

วิกฤติทางการเมืองในเมียนมาทำให้ประชากรอีก 3.4 ล้านคนต้องเผชิญกับ ‘ความหิวโหย’

โดยโครงการอาหารโลก (World Food Programme, WFP)

ตั้งแต่รัฐประหารในเมียนมาเมื่อกุมภาพันธ์ 2564 ยิ่งทำให้ประเด็น ‘ความไม่มั่นคงทางอาหาร’ ของประเทศที่มีแต่เดิมรุนแรงขึ้น ประมาณว่าอีก 1.5 – 3.4 ล้านคนในเมียนมาจะประสบกับความหิวโหย และ 3 ใน 4 ของประชาชนจะเปราะบางต่อ ‘ความยากจน’ โดยเฉพาะผู้คนในพื้นที่เขตเมืองซึ่งได้รับผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจที่ตกต่ำ และผลกระทบระยะยาวที่มีต่อระบบอาหารในพื้นที่ชนบท

เพราะวิกฤติทางการเมืองทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว การค้าขายติดขัด การลงทะเบียนเปิดธุรกิจน้อยลงกว่าปีก่อนหน้า ซึ่งทางธนาคารโลกคาดการณ์ว่า GDP ของเมียนมาร์อาจหดตัวถึง 10% ในปี 2564

นอกจากนี้ วิกฤติทางการเมืองทำให้การดำเนินการภาครัฐ 90% ต้องพักลงชั่วคราว การให้บริการสาธารณสุข สถาบันการศึกษา และโรงงานในย่างกุ้งกว่า 13 แห่ง (มีนาคม 2564) ต้องปิดตัวลง ผู้คนสูญเสียงานและรายได้ขณะที่ราคาข้าวและน้ำมันทำอาหารสูงขึ้น 5% และ 18% ตามลำดับ และสูงมากในบริเวณชายแดนในรัฐยะไข่ คะฉิ่น และฉิ่น ทั้งค่าใช้จ่ายในภาคขนส่งที่แพงขึ้น และธนาคารพาณิชย์ประมาณ 2,000 แห่งทำงานไม่ได้ตามปกติ การชำระเงินระหว่างประเทศ การถอนเงิน การโอนเงินระหว่างธนาคาร รวมถึงการส่งเงินกลับบ้านของชาวเมียนมามากกว่า 4 ล้านคนจากต่างประเทศซึ่งเป็นรายได้หนึ่งแหล่งที่สำคัญ ต้องประสบปัญหา – เหล่านี้เป็นสัญญาณสำคัญต่อประเด็นความยากจน และความหิวโหยในเมียนมา

เมียนมาเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางค่อนข้างต่ำที่เศรษฐกิจพึ่งพิงอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ อัญมณี เป็นต้น โดยที่ภาคบริการคิดเป็น 42% ของ GDP ภาคอุตสาหกรรมคิดเป็น 36% และภาคเกษตรกรรมคิดเป็น 22% ขณะที่ด้านการค้าขายส่วนมากค้าขายภายในภูมิภาคโดยมีจีนเป็นหุ้นส่วนหลักที่ส่งออก 31% และนำเข้า 34% ตามมาด้วยประเทศไทยและสิงคโปร์ ส่วนในด้านการลงทุนมีสิงคโปร์ลงทุน 34% และฮ่องกง 26%

อย่างไรก็ดี ในภาวะปกติจนถึงมกราคม 2564 ปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาความไม่มั่นคงทางอาหารในเมียนมามาจาก – ความเปราะบางต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติ ความขัดแย้งและความตึงเครียดระหว่างชุมชน และผลกระทบของโควิด-19 ที่มีต่อเศรษฐกิจ

เช่นการศึกษาของ Fill the Nutrient Gap ในปี 2562 ระบุว่าอาหารที่มีโภชนาการและดีต่อสุขภาพยังคงมีราคาสูงจนคนเมียนมาไม่สามารถเข้าถึงได้ 9 ใน 10 ของครัวเรือนสามารถเข้าถึงอาหารที่ให้พลังงาน 4 ใน 10 สามารถเข้าถึงอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ

ขณะที่หลังจากวิกฤติทางการเมือง WFP ประเมินว่าปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อความไม่มั่นคงทางอาหารมาจาก ‘การสูญเสียรายได้และสูญเสียงานของครัวเรือน จากเหตุการณ์ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น โดยตั้งฉากทัศน์ไว้ที่ 3 เดือนและ 6 เดือนหลังจากเดือนมีนาคม 2564 โดยเฉพาะว่าในกลางเดือนมีนาคมจะเป็นช่วงเก็บเกี่ยวข้าวบริเวณปากน้ำอิรวดี และเตรียมดินเพื่อทำนาในช่วงพฤษภาคม – มิถุนายน

ทว่าด้วยสถานการณ์ของเมียนมาในตอนนี้ซึ่งกระทบกับภาคการเกษตร แรงงาน และการคมนาคมขนส่ง ย่อมส่งผลทำให้อาจไม่สามารถปลูก-เก็บเกี่ยวพืชผลได้ ทั้งที่จะเป็นอาหารเลี้ยงปากท้องของคนเมียนมาเอง

ที่มา :

/1 https://www.sdgmove.com/2021/06/04/myanmar-after-takeover-face-food-insecurity/

/2 https://www.wfp.org/publications/myanmar-analysis-economic-fallout-and-food-insecurity-wake-takeover-2021

พิษปฏิวัติฉุดจีดีพีเมียนมาปี 64 ดิ่ง 10% หวั่นกระทบส่งออกไทยสูญ 9.6 หมื่นล้าน

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเผย 100 วันหลัง “มิน อ่อง ลาย” ปฏิวัติ ทุบจีดีพีเมียนมาปี 64 ติดลบ 10% ขณะนี้มูลค่าการส่งออกของไทยไปเมียนมา คาดว่าจะ -51.6% ถึง – 82.2% หรือมีมูลค่าลดลง 60,670 ถึง 96,590 ล้านบาท ทำให้มูลค่าการส่งออกรวมของไทย -0.8% ถึง -1.3% สำหรับ 10 กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมเสี่ยงที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงมาก เช่น น้ำมันสำเร็จรูป เครื่องจักรกล เหล็ก ผ้าผืน ผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาง รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เภสัชภันฑ์ เครื่องคอมพิวเตอร์ และเซรามิก ทั้งนี้คาดว่า FDI ในเมียนมาปี 2564 จะ -76.1% ถึง -85.4% หรือมีมูลค่าหายไป 202,902 ล้านบาท ถึง 227,698 ล้านบาท

ที่มา : https://www.prachachat.net/economy/news-677777