รัฐบาลกัมพูชาตั้งกองทุนพิเศษสำหรับรองรับฤดูการเก็บเกี่ยวข้าวในปีนี้

ธนาคารเพื่อการพัฒนาชนบทเพื่อการเกษตร (ARDB) ได้เริ่มสนับสนุนกองทุนพิเศษมูลค่า 30 ล้านดอลลาร์ให้กับโรงสีและผู้ส่งออกข้าวเพื่อทำการรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในกัมพูชาในช่วงฤดูการเก็บเกี่ยวปีนี้ โดยผู้อำนวยการธนาคารเพื่อการพัฒนาชนบทเพื่อการเกษตร (ARDB) กล่าวว่าเงินสนับสนุนจะถูกปล่อยออกมาทีละช่วง ซึ่งในช่วงแรกปล่อยออกมาประมาณ 3 ล้านดอลลาร์ แล้วจะค่อยๆกระจายยอดไปในระหว่างการเก็บเกี่ยว โดยเกษตรกรขายข้าวเปลือกให้กับ Amru ในราคาที่ 1,620 เรียลต่อกิโลสำหรับข้าวคุณภาพดีที่สุดและ 1,580 เรียลต่อกิโลสำหรับเกรดรองลงมา ซึ่งรายได้รวมจากการส่งออกข้าวของกัมพูชาแตะ 366.44 ล้านดอลลาร์ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2020 ตามรายงานของ CRF อยู่ที่ 536,035 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.11 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกัมพูชาทำการส่งออกข้าวส่วนใหญ่ไปยังตลาดเวียดนามอย่างไม่เป็นทางการมากกว่า 2 ล้านตันต่อปี ตามตัวเลขจากกระทรวงเกษตรกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50781705/special-fund-keeps-rice-harvests-on-firm-track-despite-heavy-floods/

ผู้ค้าข้าวในกัมพูชากล่าวถึงการถูกขัดขวางการส่งออกด้วยปัจจัยหลายประการ

กัมพูชาส่งออกข้าวประมาณ 30,000 ตัน ในช่วงปี 2009 และ ทางภาครัฐบาลกัมพูชาได้มีการใช้นโยบายในการช่วยกระตุ้นการส่งออกซึ่งในปัจจุบันกัมพูชามีการส่งออกข้าวสารโดยประมาณ 600,000 ตันต่อปี โดยในปี 2015 รัฐบาลตั้งเป้าหมายการส่งออกข้าวสารไว้ที่ 1 ล้านตัน ภายในปี 2020 ซึ่งคนวงการข้าวกล่าวว่าปัญหาต่างๆยังคงไม่ได้รับการแก้ไขมาหลายปี แม้จะมีการจัดตั้งคณะทำงานด้านเทคนิค (TWG) ด้านข้าวเมื่อ 5 ปีก่อน ไปจนถึงปัญหาด้านโลจิสติกส์และโครงสร้างพื้นฐานที่ยังคงต้องการได้รับการพัฒนาเพื่อให้อุตสาหกรรมการผลิตข้าวสามารถแข่งขันได้และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งระบบชลประทานของประเทศไม่ได้รับการออกแบบและจัดการที่ดีมากในอดีต โดยในปัจจุบันกัมพูชาส่งออกข้าวเปลือกที่ 536,305 ตัน ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2020 ซึ่งเป็นข้าวหอมประมาณ 421,132 ตัน ตามที่กระทรวงเกษตรระบุ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50779265/rice-exports-hindered-by-a-number-of-factors-says-an-insider/

CRF และ IRRI ร่วมวิจัยพัฒนาข้าวในกัมพูชา

สมาพันธ์ข้าวกัมพูชา (CRF) และสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (IRRI) ได้ตกลงที่จะร่วมมือกันในการวิจัยและพัฒนาข้าวเพื่อส่งเสริมและปรับปรุงภาคข้าวในกัมพูชา โดยความร่วมมือของ IRRI ในการวิจัยและพัฒนาข้าวกับ CRF ในการเป็นหุ้นส่วนการผลิตเมล็ดพันธุ์ภายในประเทศ ซึ่งเป็นสิ่งที่สนับสนุนการปรับปรุงภาคข้าวของกัมพูชาให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก โดยจะช่วยปรับปรุงภาคการผลิตข้าวผ่านการเพิ่มการวิเคราะห์ผลผลิตและความยืดหยุ่นของห่วงโซ่คุณค่าภายในประเทศกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50771825/crf-irrr-vow-to-continue-rice-research-and-development-cooperation/

เวียดนามคาดส่งออกข้าว 100,000 ตันไปอียู

จากการหารือของกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท ในประเด็น ‘การส่งออกข้าวไปยังสหภาพยุโรป’ เมื่อวันที่ 8 ก.ย. ที่ผ่านมา คุณ Le Quoc Doanh รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ระบุว่าข้อตกลงการค้าเสรี EVFTA จะก่อให้เกิดประโยชน์มากมายต่อผลผลิตทางการเกษตร การส่งออกข้าวจะมีศักยภาพสูงขึ้นภายใต้ข้อตกลงดังกล่าว ประกอบกับอียูจะให้โควตาข้าวของเวียดนาม 80,000 ตันต่อปี และเปิดเสรีการค้าข้าวหักอย่างสมบูรณ์ หมายความว่าเวียดนามสามารถส่งออกข้าวได้ถึง 100,000 ตันต่อปี ไปยังอียู ทั้งนี้ กรมการผลิต ระบุว่าอียูจะยกเว้นภาษีสำหรับผลิตภัณฑ์ข้าวจากเวียดนาม หลังจาก 3-5 ปี ด้วยเหตุนี้ เวียดนามจึงมีความได้เปรียบการค้าเมื่อเทียบกับกัมพูชาและเมียนมา ที่ต้องจ่ายภาษี 150 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันในปี 2563 และ 123 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันในปี 2564

ที่มา : http://dtinews.vn/en/news/018/69841/vietnam-hopes-to-export-100-000-tonnes-of-rice

เวียดนามส่งออกข้าวไปยังแอฟริกา ‘เป็นที่น่าพอใจ’

การส่งออกข้าวของเวียดนามไปยังตลาดแอฟริกา มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นและคาดว่าจะเพิ่มขึ้นในช่วงเดือนที่เหลือของปีนี้ โดยเฉพาะประเทศแอลจีเรียและเซเนกัลที่คาดว่าจะบริโภคข้าวเวียดนามเพิ่มสูงขึ้นอีก ส่วนใหญ่นิยมบริโภคข้าวหัก ทั้งนี้ จากรายงานของสำนักงานการค้าในแอลจีเรีย ระบุว่าตลาดแอฟริกามีความต้องการบริโภคข้าวอยู่ในระดับสูง เป็นผลมาจากแรงงานชาวเอเชียที่เพิ่มสูงขึ้น แต่ว่าอุปสรรคจากการนำเข้าข้าวของแอฟริกาส่วนใหญ่เป็นปัญหาทางด้านการผลิตในท้องถิ่น รวมถึงผลผลิตที่ไม่เพียงพอ, ภัยธรรมชาติ, ความล้มเหลวทางการเมืองและโรคระบาด เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันข้าวเวียดนามเผชิญกับการแข่งขันจากคู่แข่งในตลาดแอฟริกา ได้แก่ อินเดีย, ไทย, ปากีสถาน, ทาจิกิสถาน, อุรุกวัยและจีน นอกจากนี้ ในปี 2562 เวียดนามส่งออกข้าวไปยังเซเนกัล อยู่ที่ 96,000 ตัน ติดเป็นมูลค่า 32.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13 ในง่ของปริมาณ และเพิ่มขึ้นเป็น 10 เท่าในแง่ของมูลค่า

ที่มา : https://vnexplorer.net/vietnam-enjoys-boost-in-rice-exports-to-africa-a202091956.html

ภาคการผลิตข้าวในกัมพูชาเริ่มมีเงินทุนหมุนเวียนมากขึ้น

สมาพันธ์ข้าวกัมพูชา (CRF) และธนาคารเพื่อการเกษตรและพัฒนาชนบท (ARDB) ซึ่งเป็นธนาคารของรัฐได้หารือเกี่ยวกับการขยายเงินกู้พิเศษจากรัฐบาลสำหรับการรวบรวมข้าวเปลือกในฤดูเก็บเกี่ยวที่กำลังจะมาถึง โดยประธาน CRF กล่าวว่าในฤดูการเก็บเกี่ยวข้าวที่กำลังจะมาถึงนี้ต้องใช้เงินอย่างน้อย 300 ล้านดอลลาร์ ในการซื้อข้าวเปลือกให้ได้ตามเป้าหมายการส่งออกที่ 800,000 ตัน ซึ่งในปัจจุบัน ARDB ได้เบิกจ่ายเงินจำนวน 50 ล้านเหรียญสหรัฐให้กับผู้ผลิตข้าวเป็นเงินกู้พิเศษด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อซื้อข้าวเปลือกการสีเพื่อการส่งออก โดยปีที่แล้วกัมพูชาส่งออกข้าวสารไปยังตลาดต่างประเทศจำนวน 620,106 ตัน ใกล้เคียงกับในปี 2018 ในปริมาณที่ส่งออกที่ 626,225 ตัน ซึ่งในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ มีการส่งออกข้าวของกัมพูชาไปยังตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 38.33 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2019

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50758091/more-funds-for-paddy-rice-collection-mulled/

ฟิลิปปินส์ยกเลิกการนำเข้าข้าวเมียนมาท่ามกลางการประท้วงของเกษตรกร

สมาคมผู้ค้าข้าวแห่งเมียนมา(MRTA) เผยข้อตกลงการส่งออกข้าวระหว่างเมียนมาและฟิลิปปินส์ได้ลดลงหลังจากที่ได้รับแรงกดดันจากเกษตรกรในท้องถิ่นในท้องถิ่น เมื่อปีที่แล้วเมียนมาส่งออกข้าว 150,000 ตันไปยังฟิลิปปินส์เป็นครั้งแรก ก่อนหน้านี้เมียนมาร่วมประมูลเพื่อส่งออกข้าว 50,000 ตันไปยังฟิลิปปินส์ในปี 2560 แต่ในปีนั้นเวียดนามชนะการประมูลไป เมียนมาไม่สามารถส่งออกข้าวตามเป้าหมายที่คาดไว้คือ 2.4 ล้านตันในปีงบประมาณ 2562-2563 เนื่องจากความต้องการที่ลดลง ขณะนี้มีการส่งออกข้าวเพียง 2 ล้านตันและคาดว่าข้าวที่เหลืออีก 400,000 ตันจะถูกส่งออกในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน 2563 ณ วันที่ 17 กรกฎาคมการขาดดุลการค้าของเมียนมาในปี 2562-2563 เพิ่มขึ้นเป็น 1.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจาก 718 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงเวลาเดียวกันในปี 2561-2562

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/philippines-cancels-myanmar-rice-consignment-amid-local-protests.html

เวียดนามอาจส่งออกข้าวแซงไทย

เวียดนามอาจส่งออกข้าวแซงไทยในปีนี้ เนื่องจากราคาที่แข่งขันกันได้และการยกเลิกโควต้าส่งออกข้าว โดยข้อมูลทางสถิติจากสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เปิดเผยว่าปริมาณการส่งออกข้าวของไทยอยู่ที่ 2.57 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 54.2 พันล้านบาท (1.71 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ ลดลงร้อยละ 31.9 ในแง่ปริมาณ และร้อยละ 13.2 ในแง่มูลค่า เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ในขณะเดียวกัน ข้อมูลจากสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมเวียดนาม (VCCI) ระบุว่าช่วงเวลาเดียวกันนั้น ปริมาณการส่งออกข้าวของเวียดนามอยู่ที่ราว 2.9 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 1.41 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 ในแง่ปริมาณ และร้อยละ 18.9 ในแง่มูลค่า เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ทั้งนี้ สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยมองว่าในปีนี้ ปริมาณการส่งออกข้าวจะอยู่ที่ 6.5 ล้านตัน ซึ่งต่ำที่สุดในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาและต่ำกว่าที่ตั้งเป้าไว้ที่ 7.5 ล้านตัน เป็นผลมาจากหลายปัจจัย ได้แก่ ความต้องการทั่วโลกที่หดตัวลงจากการระบาดของไวรัส เงินบาทแข็งค่าและผลผลิตที่อยู่ในระดับต่ำ จากภัยแล้งที่มีแนวโน้มยืดเยื้อ เป็นต้น นอกจากนี้ ข้อตกลงการค้าเสรี EVFTA คาดว่าจะช่วยให้เวียดนามสามารถกระจายตลาดการส่งออกข้าวให้หลากหลายมากขึ้น

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-may-surpass-thailand-in-rice-export/179355.vnp

การส่งออกข้าวของกัมพูชาพุ่งสูงขึ้นร้อยละ 42 ในช่วงครึ่งปีแรกของ 2563

การส่งออกข้าวของกัมพูชาเพิ่มขึ้นร้อยละ 42 ในช่วงหกเดือนแรกของปีนี้ ตามรายงานของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรป่าไม้และการประมง โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรกล่าวว่ากัมพูชาส่งออกข้าวสารจำนวน 397,660 ตัน นับจากเดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายนปีนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.25 เมื่อเทียบกับจำนวน 281,538 ตัน ในปี 2562 ซึ่งกัมพูชาส่งออกข้าวสารไปยังกว่า 56 ประเทศทั่วโลก โดยการส่งออกข้าวไปยังสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 45 จีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.20 ส่วนในกลุ่มประเทศอาเซียนเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 47.7 และแหล่งอื่น ๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 79.26

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50739927/rice-exports-surge-by-42-percent-in-the-first-six-months-of-2020/

การเปลี่ยนแปลงของกัมพูชาจากความไม่มั่นคงด้านอาหารสู่ประเทศผู้ส่งออกข้าว

นายกรัฐมนตรีฮุนเซนกล่าวว่ากัมพูชากำลังส่งเสริมภาคเกษตรกรรมอย่างจริงจัง โดยเฉพาะการส่งออกข้าว ซึ่งนายกฯย้ำว่ากัมพูชาจะไม่ประสบกับความไม่มั่นคงด้านอาหารเหมือนในอดีตอีกต่อไป คำแถลงดังกล่าวเกิดขึ้นจากการเปิดตัวอย่างเป็นทางการของ “โครงการเยียวยาสำหรับครอบครัวผู้ยากจนและผู้ด้อยโอกาสในช่วง Covid-19″ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2563 โดยจุดแข็งของกัมพูชาคือมีผลผลิตส่วนเกินถึง 6 ล้านตัน ซึ่งกัมพูชาส่งออกข้าวหลัก ๆ สามประเภท ได้แก่ ข้าวหอม ข้าวขาวและข้าวสวยไปยังจีน สหภาพยุโรป และ อาเซียน ตามรายงานของสหพันธ์ข้าวกัมพูชา (CRF) โดยกัมพูชามีรายได้มากกว่า 240 ล้านดอลลาร์จากการส่งออกข้าวในช่วง 5 เดือนแรกในปี 2563 ซึ่งส่งออกข้าว 356,000 ตัน เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 42 เมื่อเทียบกับในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2562 ซึ่งมีการส่งออกเพียง 250,000 ตัน โดยตัวเลขการส่งออกในปี 2563 ถือเป็นการเติบโตที่สำคัญที่สุดในกัมพูชาซึ่งเป็นปริมาณการส่งออกที่สูงที่สุด

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50738817/cambodias-transformation-from-a-food-insecurity-to-a-rice-exporting-nation/