นักเศรษฐศาสตร์ลาวแนะ ‘ต้องดึงเม็ดเงินต่างชาติ’ เพื่อรักษาเสถียรภาพค่าเงินกีบ

ศ.ภูเพชร เคียวภิลาวงศ์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสและคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว เสนอแนะวิธีรักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนเงินกีบและจัดการกับความท้าทายทางเศรษฐกิจของลาวที่ตกต่ำจากปัญหาเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น โดยลาวจำเป็นต้องดึงดูดเงินตราต่างประเทศเข้ามามากขึ้นด้วยการเพิ่มมูลค่าของการส่งออก การท่องเที่ยว และการลงทุนจากต่างประเทศ เนื่องจากการไหลเข้าของเงินตราต่างประเทศจะช่วยรักษาเสถียรภาพของค่าเงินกีบไม่ให้อ่อนค่าลงไปกว่าปัจจุบัน นอกจากนี้ ประเด็นสำคัญที่ต้องแก้ไข คือ แก้ไขกฎระเบียบการซื้ออสังหาริมทรัพย์ของชาวต่างชาติในลาว โดยปัจจุบันยังไม่มีการออกกฎระเบียบดังกล่าวมารองรับว่าชาวต่างชาติสามารถซื้ออสังหาริมทรัพย์ในลาวได้ หากแก้ไขได้จะช่วยดึงดูดเม็ดเงินต่างชาติเข้ามาได้อีกทางหนึ่ง

ที่มา : https://www.nationthailand.com/world/asean/40031972

นักเศรษฐศาสตร์ลาวแนะ ‘ต้องดึงเม็ดเงินต่างชาติ’ เพื่อรักษาเสถียรภาพค่าเงินกีบ

ศ.ภูเพชร เคียวภิลาวงศ์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสและคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว เสนอแนะวิธีรักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนเงินกีบและจัดการกับความท้าทายทางเศรษฐกิจของลาวที่ตกต่ำจากปัญหาเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น โดยลาวจำเป็นต้องดึงดูดเงินตราต่างประเทศเข้ามามากขึ้นด้วยการเพิ่มมูลค่าของการส่งออก การท่องเที่ยว และการลงทุนจากต่างประเทศ เนื่องจากการไหลเข้าของเงินตราต่างประเทศจะช่วยรักษาเสถียรภาพของค่าเงินกีบไม่ให้อ่อนค่าลงไปกว่าปัจจุบัน นอกจากนี้ ประเด็นสำคัญที่ต้องแก้ไข คือ แก้ไขกฎระเบียบการซื้ออสังหาริมทรัพย์ของชาวต่างชาติในลาว โดยปัจจุบันยังไม่มีการออกกฎระเบียบดังกล่าวมารองรับว่าชาวต่างชาติสามารถซื้ออสังหาริมทรัพย์ในลาวได้ หากแก้ไขได้จะช่วยดึงดูดเม็ดเงินต่างชาติเข้ามาได้อีกทางหนึ่ง

ที่มา : https://www.nationthailand.com/world/asean/40031972

‘เวียดนาม’ อาจพลาดเป้าจีดีพีในปี 2566

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เปิดเผยว่าเวียดนามอาจจะพลาดเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจในปีนี้ โดยภาคอุตสาหกรรมที่เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจเวียดนามในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เริ่มมีทิศทางที่ขะลอตัวลง ทั้งนี้ สมัชชาแห่งชาติ รายงานว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คาดว่าจะเติบโตมากกว่า 5% ต่อปี ซึ่งก่อนหน้านี้ เวียดนามตั้งเป้าหมายการเติบโตของ GDP ไว้ที่ 6.5% ในปี 2566 ลดลงจาก 8.02% ในปีที่แล้ว อย่างไรก็ตามอุปสงค์ทั่วโลกที่อ่อนแอ ได้ส่งผลกระทบต่อการส่งออกของเวียดนามในปีนี้

ที่มา : https://www.reuters.com/markets/asia/vietnam-lawmakers-expect-country-miss-2023-gdp-growth-target-2023-10-16/

‘การค้าเวียดนาม-กัมพูชา’ ช่วง 9 เดือนแรกปี 66 มูลค่า 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

จากข้อมูลทางสถิติของกระทรวงเศรษฐกิจและการคลังกัมพูชา เปิดเผยว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2566 เวียดนามและกัมพูชามีมูลค่าการค้ารวมอยู่ที่ 4.77 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 3% การส่งออกของกัมพูชาไปยังเวียดนาม มีมูลค่า 2.02 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 30.7% เมื่อเทียบเป็นรายปี ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 2.73 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 11% ทั้งนี้ ในปัจจุบัน เวียดนามเป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับ 3 ของกัมพูชา รองจากจีนและสหรัฐฯ และยังเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดในอาเซียนและเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก รองจากสหรัฐฯ

นอกจากนี้ สำนักงานการค้าเวียดนาม ประจำประเทศกัมพูชา รายงานว่าโครงสร้างการส่งออกสินค้าเวียดนามไปยังกัมพูชามีความหลากหลาย เนื่องจากทั้งสองประเทศมีความเชื่อมโยงทางอุตสาหกรรมและธุรกิจมาอย่างต่อเนื่อง

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnam-cambodia-trade-hits-nearly-us5-billion-over-nine-months-post1052529.vov

กัมพูชา-ตุรกี ตั้งเป้าดันการค้าระหว่างประเทศแตะ 1 พันล้านดอลลาร์

HE SOK Chenda Sophea รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา ร่วมกับ Ms. Ülkü Kocaefe เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐตุรกี ประกาศกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างกัน โดยมุ่งมั่นที่จะผลักดันให้มูลค่าการค้าระหว่าง กัมพูชา-ตรุกี ให้ถึง 1 พันล้านดอลลาร์ ด้านรองนายกรัฐมนตรีแสดงความขอบคุณต่อรัฐบาลตุรกีที่ให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาแก่กัมพูชา ผ่านหน่วยงานความร่วมมือและประสานงานตุรกี (TIKA) ซึ่งทั้งสองฝ่ายยังได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับความร่วมมือด้านวัฒนธรรม การท่องเที่ยว และการศึกษา รวมทั้งสนับสนุนทุนการศึกษาและการฝึกอบรมสำหรับนักการทูตและนักศึกษากัมพูชาต่อไป

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501376155/cambodia-turkiye-aim-for-two-way-trade-goal-of-1-billion/

เศรษฐกิจเวียดนามปีนี้คาดจะเติบโต 4.8-5.0% ต่ำกว่าเป้าหมายอัตราการเติบโตใหม่ 6.0% ที่รัฐบาลเวียดนามตั้งเป้าไว้

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าเศรษฐกิจเวียดนามในไตรมาสที่ 4 จะเติบโตอยู่ที่ระดับ 6.3-7.0% และส่งผลให้เศรษฐกิจเวียดนามเติบโตอยู่ที่ระดับ 4.8-5.0% ในปีนี้ โดยปัจจัยหลักที่ทำให้เศรษฐกิจเวียดนามเร่งตัวขึ้นในไตรมาสที่ 4 คือภาคการส่งออกที่เริ่มขยายตัว และการเร่งการเบิกจ่ายการลงทุนภาครัฐ อย่างไรก็ตาม ปัญหาการต่ออายุหุ้นกู้เดิมในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จะยังเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อเศรษฐกิจเวียดนามไปจนถึงปลายปี 2567

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ธนาคารกลางเวียดนามจะคงดอกเบี้ยนโยบายไปอีก 3 เดือน ท่ามกลางวัฏจักรการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดที่ยังไม่สิ้นสุด แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของเวียดนามจะลดลงอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งอัตราเงินเฟ้อทั่วไปก็ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อเป้าหมาย 4.5% แต่แนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยของเฟด จะส่งผลให้เกิดสถานการณ์เงินทุนไหลออกและเป็นปัจจัยกดดันให้ค่าเงินดองอ่อนค่า จึงมองว่าธนาคารกลางเวียดนามจะรอดูสถานการณ์ต่อไปและจะยังไม่ปรับดอกเบี้ยนโยบายลงในระยะ 3 เดือน ข้างหน้า

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่ามูลค่าการส่งออกไทยไปเวียดนามจะขยายตัวขึ้น 2.7%YoY ในไตรมาสที่ 4 และส่งผลให้มูลค่าการส่งออกทั้งปี 2566 หดตัว -11.7%YoY โดยการขยายตัวของการส่งออกในไตรมาสที่ 4 จะเป็นผลพวงจากฐานต่ำและราคาน้ำมันดิบที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและฮามาส ซึ่งน้ำมันสำเร็จรูปเป็นสินค้าส่งออกอันดับที่ 2 ของไทยไปเวียดนาม

นอกจากนี้ ปัจจัยกดดันการส่งออกไทยไปเวียดนามในไตรมาสที่ 4 ส่วนหนึ่งมาจากการที่บริษัทไทยไปลงทุนในโครงการปิโตรคอมเพล็กซ์เพื่อผลิตเม็ดพลาสติกในเวียดนาม ซึ่งจะเริ่มดำเนินกิจการตั้งแต่ครึ่งหลังของปีนี้ และคาดว่าจะทำให้การส่งออกเม็ดพลาสติกซึ่งเป็นสินค้าส่งออกอันดับที่ 4 ของไทยไปเวียดนาม หดตัวอย่างต่อเนื่องไปจนถึงกลางปี 2567

ที่มา : https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/economy/Pages/Vietnam-EB4020-12-10-2023.aspx

‘AMRO’ คาดเศรษฐกิจเวียดนาม ปี 66 โต 4.5%

สำนักงานวิจัยเศรษฐกิจมหภาคของภูมิภาคอาเซียน+3 (AMRO) คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจเวียดนามในปี 2566 จะขยายตัว 4.7% และจะเร่งตัวขึ้นที่ 6% ในปี 2567 หลังจากชะลอตัวอย่างมากในไตรมาสแรกของปีนี้ เศรษฐกิจเวียดนามก็กลับมาฟื้นตัวดีขึ้น เนื่องมาจากได้รับสัญญาณจากคำสั่งซื้อใหม่ที่เพิ่มขึ้นและความเชื่อมั่นทางธุรกิจฟื้นตัว อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจเวียดนามในระยะสั้นยังคงมีความเปราะบาง เป็นผลมาจากเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มการเติบโตในระยะปานกลาง

ที่มา : https://vir.com.vn/vietnams-economic-growth-projected-at-47-per-cent-in-2023-105916.html

‘S&P Global’ ชี้เวียดนามเป็นหนึ่งในตลาดเกิดใหม่ที่เติบโตเร็วสุด อีก 5 ปีข้างหน้า

จากรายงานของ S&P Global Market Intelligence เมื่อวันที่ 5 ต.ค. ระบุว่าการเติบโตระยะกลางของเศรษฐกิจในอีก 5 ปีข้างหน้า มีปัจจัยขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจหลายประการที่จะช่วยให้เวียดนามเป็นหนึ่งในตลาดเกิดใหม่ที่เติบโตเร็วที่สุดในเอเชีย โดยเวียดนามยังคงได้รับประโยชน์จากต้นทุนค่าแรงงานที่ต่ำ และด้วยแรงงานที่มีจำนวนมาก มีการศึกษาที่ดีเมื่อเทียบกับคู่แข่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้เวียดนามเป็นศูนย์กลางการผลิตที่น่าสนใจของบริษัทข้ามชาติ นอกจากนี้ แนวโน้มของรายจ่ายการลงทุนมีทิศทางที่เติบโตอย่างรวดเร็ว สะท้อนให้เห็นว่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมีความแข็งแกร่ง รวมถึงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในประเทศ

ที่มา : https://en.nhandan.vn/vietnam-among-fastest-growing-emerging-asian-markets-in-next-five-years-sp-global-post130134.html

‘ธนาคารโลก’ หั่นคาดการณ์เศรษฐกิจเวียดนามเหลือ 4.7% ปีนี้

จากรายงานการวิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจมหภาคและสถานการณ์ความยากจนในเวียดนามของธนาคารโลก เปิดเผยว่าได้ปรับลดคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามในปีนี้ ชะลอตัวลงเหลือเพียง 4.7% และกลับมาฟื้นตัวดีขึ้นที่ 5.5% ในปี 2567 และ 6.0% ในปี 2568 โดยธนาคารโลกมองว่าเศรษฐกิจที่เติบโตช้าลง เป็นผลมาจากการบริโภคของภาคเอกชนที่ลดลง ตลาดอสังหาฯ ตกต่ำ และอุปสงค์ภายนอกที่ชะลอตัวลงอย่างมาก นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปี 2566 คาดว่าจะอยู่ที่ 3.5% เนื่องจากเงินเดือนข้าราชการเพิ่มขึ้น

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/wb-projects-vietnam-s-economic-growth-to-slow-to-4-7-this-year-2197044.html