เวิลด์แบงก์เตือนรัฐประหารเมียนมากระทบพัฒนาประเทศ

ธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ในเมียนมา หลังจากกองทัพได้ก่อรัฐประหารเพื่อยึดอำนาจรัฐบาล โดยเวิลด์แบงก์เตือนว่า สถานการณ์ดังกล่าวจะทำให้การเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบประชาธิปไตยในเมียนมามีความเสี่ยงที่จะเผชิญกับภาวะถดถอย และจะสร้างความเสียหายต่อแนวโน้มการพัฒนาประเทศ มีความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยและความมั่นคงของประชาชนในเมียนมา ซึ่งรวมถึงเจ้าหน้าที่ของเวิลด์แบงก์และบรรดาพันธมิตร เราได้รับผลกระทบจากการถูกปิดช่องทางการสื่อสารทั้งภายในเมียนมาและกับต่างประเทศ ทั้งนี้ กองทัพเมียนมาเข้ายึดอำนาจรัฐบาลเมื่อวานนี้ พร้อมกับควบคุมตัวนางออง ซาน ซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐและผู้นำคนอื่นๆ และได้ประกาศภาวะฉุกเฉินทั่วประเทศเป็นเวลา 1 ปี โดยกองทัพได้มอบอำนาจการปกครองให้กับนายพลมิน อ่อง หล่าย ขณะที่สัญญาว่าจะจัดการจัดการเลือกตั้งทั่วไปหลังจากนั้น นอกจากนี้ เวิลด์แบงก์คาดการณ์ว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจเมียนมา จะลดลงเพียง 0.5% ในปีงบประมาณ 2562/2563 จากระดับ 0.68% ของปีงบประมาณก่อนหน้า อย่างไรก็ดี คาดว่าเศรษฐกิจเมียนมาอาจหดตัวรุนแรงถึง 2.5% หากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ยังคงยืดเยื้อ

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/920433

โรงงาน Suzuki ในย่างกุ้ง ยังเดินสายการผลิตตามปกติ

บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ Suzuki ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ Thilawa ยังเปิดดำเนินการตามปกติแม้จะมีข่าวลือแพร่สะพัดบนโซเชียลมีเดียในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 64 ว่าจะปิดตัวลงท่ามกลางความไม่สงบทางการเมืองในประเทศ แต่ตัวแทนจากคณะกรรมการบริหารเขตเศรษฐกิจพิเศษ Thilawa (SEZ) ได้ออกมาสยบข่าวลือดังกล่าว กระนั้นการผลิตได้หยุดชะงักในช่วงสั้น ๆ เนื่องจากขาดการเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแต่ได้รับการแก้ไขเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ยังยืนยันด้วยว่า บริษัท โตโยต้า กำลังจะมีพิธีเปิดดำเนินการในเดือนนี้ คณะกรรมการฯ กล่าวเพิ่มเติมว่านักลงทุนใน Thilawa SEZ ไม่มีแผนที่ถอนการลงทุนอย่างแน่นอน โดยบริษัท ซูซูกิ ได้ลงทุนราว 800 – 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในเมียนมาและคาดว่าการผลิตแบบ CKD (Completely Knocked-Down) จะเริ่มขึ้นเมื่อโรงงานแห่งใหม่เสร็จสมบูรณ์ในปี 66

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/business-usual-suzuki-facility-yangon.html

การเมืองเมียนมายังน่าห่วง ผู้ค้าข้าวใน Bayintnaung หยุดการซื้อขายชั่วคราว

ผู้ค้าส่งข้าวศูนย์ค้าระงับการซื้อขายส่งพร้อมทั้งจับตาดูสถานการณ์ทางการเมืองของเมียนมาอย่างใกล้ชิดก่อนตัดสินใจว่าจะทำอย่างไร นาย U Than Oo เลขานุการของ Bayintnaung Wholesales Center กล่าวว่าการสื่อสารรวมถึงรถบรรทุกถูกตัดขาดจึงต้องหยุดการค้าขายไว้ก่อน ส่วนที่ถูกส่งขายไปแล้วจำเป็นต้องลดราคา 500 จัตต่อถุงเพื่อระบายสินค้า ขณะนี้ผู้ค้ากำลังเฝ้าสังเกตสถานการณ์และรอคำชึ้แจงเพิ่มเติม เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 64 พบว่ายอดขายสินค้าของซูเปอร์มาร์เก็ตรวมไปถึงตลาดในย่างกุ้งเพิ่มขึ้นเนื่องจากผู้คนกักตุนอาหารและสิ่งจำเป็นในช่วงเวลาที่ไม่แน่นอนนี้

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/bayintnaung-rice-wholesalers-halts-trade-observe-situation.html

ไซต์งานก่อสร้างในย่างกุ้งหยุดกระทันหัน หวั่นกระทบแรงงานจำนวนมาก

อุตสาหกรรมการก่อสร้างของย่างกุ้งหยุดชะงักตามปัญหาการเชื่อมต่อและการขนส่ง สมาคมผู้ประกอบการการก่อสร้างแห่งเมียนมาเผยไซต์ก่อสร้างในเขตย่างกุ้งได้ระงับชั่วคราวและกำลังรอการพัฒนาเพิ่มเติมก่อนที่จะตัดสินใจเกี่ยวกับแผนการดำเนินการต่อไป ปัจจุบันไม่มีการเชื่อมต่อ (โทรศัพท์หรืออินเทอร์เน็ต) และประชาชนไม่สามารถถอนเงินที่ธนาคารได้คนงานยังไม่สามารถเดินทางไปที่ทำงานได้เนื่องจากไม่มีรถประจำทางกระทบต่อคนทั้งประเทศ โดยมีแรงงานในอุตสาหกรรมจำนวนมากที่ได้รับค่าจ้างรายวัน คนงานเหล่านี้มักจะถอนเงินสดทุกวันที่ธนาคารหลังเลิกงาน ทั้งนี้ผู้เที่เกี่ยวข้องยังไม่มีแผนที่ประชุมหรือเจรจาเพื่อแก้ไขสถานการณ์ดังกล่าว

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/yangon-construction-sites-cease-operations.html

อนาคตเศรษฐกิจเมียนมา ความไม่แน่นอนหลังการเลือกตั้ง

หอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งสหภาพเมียนมา (UMFCCI) เผยสถานการณ์ฉุกเฉินในขณะนี้ส่งผลกระทบต่อความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจและนักลงทุนต้องรอดูว่าจะคลี่คลายอย่างไรในอีกไม่กี่วันข้างหน้า โดยการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจอาจเกิดขึ้นได้หากสถานการณ์ยังดำเนินต่อไป ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงของประเทศและเกิดการประท้วงเกิดขึ้นในต่างประเทศ จากสถานการณ์ปัจจุบันนักลงทุนอาจตัดสินใจถอนการลงทุนออกจากเมียนมา หากมองแนวโน้มของสถานการณ์คาดจะมีการปราบปรามโดยกองทัพมากขึ้นอาจส่งผลให้เกิดความไม่สงบและความไม่แน่นอนทางการเมืองเพิ่มขึ้น ทั้งนี้สหรัฐฯ ยืนยันสนับสนุนสถาบันประชาธิปไตยของเมียนมาและเรียกร้องให้กองทัพยึดมั่นในประชาธิปไตยและปล่อยตัวผู้ที่ถูกควบคุมตัวซึ่งรวมถึงนางอองซานซูจี เนื่องจากเอเชียคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 60 ของการส่งออกทั้งหมดของเมียนมารโดยมีตลาดหลักคือจีนและไทยการส่งออกทั้งหมดไปภูมิภาคนี้จะลดผลกระทบของการคว่ำบาตรจากประเทศตะวันตกได้ บริษัทวิจัยได้ปรับการคาดการณ์การเติบโตของ GDP เหลือ 2% สำหรับปีงบประมาณ 63-64 และปีงบประมาณ 64-65 จากที่คาดไว้ก่อนหน้านี้คือ 5.6% และ 6% แนวโน้มการเติบโตของประเทศขึ้นอยู่กับโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญและการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ซึ่งอาจล่าช้าหรือยกเลิกได้ทั้งหมดหากมีการใช้มาตรการคว่ำบาตร

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/umfcci-vice-chair-says-impacts-economy-uncertain.html

เอกชนหวั่นรัฐประหารเมียนมาดันแรงงานทะลักเข้าไทย

เอกชนหวั่นแรงงานเมียนมาทะลักเข้าไทย ซ้ำเติมโควิด-19 ยิ่งกระทบศก. ชี้อีกมุมการค้าไทยได้ประโยชน์ ตื่นรัฐประหาร แห่ตุนสินค้าไทย นายเกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย หลังจากพลเอกอาวุโส มินห์ อ่อง หล่าย ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพ ได้ทำการรัฐประหาร ยึดอำนาจการปกครองประเทศเมียนมาว่า ยังเร็วเกินไปที่จะประเมินสถานการณ์ทางตรงต่อเศรษฐกิจไทย แต่ผลกระทบทางอ้อมที่น่าเป็นห่วง คือ แรงงานเมียนมา อาจไหลทะลักเข้ามาในไทย จะยิ่งซ้ำเติมสถานการณ์โควิด-19 ที่กลับมาแพร่ระบาดระลอกใหม่ต่อเนื่อง มีสาเหตุหลักมาจากแรงงานต่างด้าวในตลาดอาหารทะเลจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งจะส่งผลกระทบทางอ้อมกับเศรษฐกิจไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้มงวดในการตรวจตราบริเวณชายแดน โดยเฉพาะบริเวณช่องทางธรรมชาติ 2,400 กิโลเมตร และต้องจัดการกับผู้เกี่ยวข้องลักลอบขนแรงงานผิดกฎหมายอย่างเด็ดขาด นายอนุรัตน์ อินทร ประธานหอการค้า จ.เชียงราย กล่าวว่า ได้ประเมินเบื้องต้นคาดว่า จะทำให้การนำเข้าสินค้าจากไทยมากขึ้นกว่าปกติ เนื่องจากประชาชนอาจตื่นตะหนกกักตุนสินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งส่วนใหญ่นำเข้าจากไทย โดยด่านพรมแดนของ จ.เชียงราย มีทั้งหมด 6 ด่าน สร้างรายได้รวมประมาณ 50,000 ล้านบาทต่อปี เป็นการนำเข้า–ส่งออกสินค้าระหว่างไทยกับเมียนมา และไทยกับลาว โดยจะติดตามสถานการณ์ภายในของเมียนมาอย่างใกล้ชิดต่อไป นายศิวัสน์ เหลืองสมบูรณ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย กล่าวว่า ได้ประเมินผลกระทบการทำรัฐประหารเมียนมา จะส่งผลต่อไทยบ้างเล็กน้อยเนื่องจากการค้าและการส่งออกไทยไปยังเมียนมาในปัจจุบันมีไม่มากแล้ว เพราะส่วนใหญ่เมียนมาได้ผลิตในประเทศเองไม่เหมือนเมื่อก่อน โดยสิ่งที่จะกระทบคงจะเป็นด้านพลังงาน เนื่องจากมีรัฐวิสาหกิจไทยแห่งหนึ่งได้เข้าลงทุนในเมียนมา หากยืดเยื้ออาจกระทบต่อการต่อสัมปทานในระยะข้างหน้าได้

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/822756

แบงก์ชาติเมียนมา ออกกฎระเบียบควบคุม Non-Bank

ธนาคารกลางแห่งเมียนมา (CBM) ได้ออกกฎระเบียบใหม่ที่ครอบคลุมการจัดตั้งการดำเนินงานและการดำเนินธุรกิจของสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (NBFI) ในประเทศ เพื่อให้อยู่ขอบเขตของธนาคารกลางรวมถึงการกำหนดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งประกาศ 1/2564 จะใช้กับนิติบุคคลที่มีเจตนาในการจัดตั้ง NBFI ที่จัดหาเงินทุนเพื่อเช่าซื้อและการซื้อขายลูกหนี้การค้า โดยจะต้องขอใบรับรองการจดทะเบียนจาก CBM เพื่อดำเนินธุรกิจ ขณะนี้ NBFI จำเป็นต้องส่งรายงานเป็นระยะเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไปยัง CBM และงบการเงินที่ตรวจสอบโดยผู้ตรวจสอบให้กับ CBM ภายในสามเดือนของสิ้นปีบัญชีตามประกาศ 1 / พ.ศ. 2564 ตั้งแต่ปี 2559 CBM ออกใบอนุญาติให้กับ NBFI จำนวน  28 แห่ง มีการเพิกถอนใบอนุญาติ 2 แห่ง ในเดือนสิงหาคม 63 คือ First Collaborative และ Finance Co Ltd เนื่องจากไม่สามารถเริ่มดำเนินการภายในหนึ่งปี ขณะที่เดือนธันวาคม 63 ได้เพิกถอนใบอนุญาตของ Z Corporation Co Ltd เนื่องจากโครงสร้างทางธุรกิจที่ไม่เหมาะสมและมีความไม่โปร่งใส

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-releases-directives-non-bank-financial-institutions.html