การก่อสร้างโรงบำบัดน้ำบาเค็งในกัมพูชา แล้วเสร็จแล้วกว่าร้อยละ 38

การประปาส่วนภูมิภาคพนมเปญ (PWSA) กล่าวว่าโครงการก่อสร้างโรงบำบัดน้ำบาเค็ง เฟสที่ 1 ตอนนี้เสร็จสมบูรณ์แล้วร้อยละ 38 หลังจากเร่งดำเนินการเพื่อตอบสนองความต้องการน้ำดื่มที่เพิ่มขึ้นในเมืองพนมเปญและเมืองตาแก้วของจังหวัดกันดาล โดยโครงการประกอบด้วยงานหลัก 4 งาน ได้แก่ โรงบำบัดน้ำ สถานีสูบน้ำ การติดตั้งท่อส่งหลัก และติดตั้งท่อขนาดเล็กใต้แม่น้ำ ซึ่งขณะนี้โรงบำบัดน้ำเสร็จสมบูรณ์แล้วร้อยละ 10 และการก่อสร้างสถานีสูบน้ำเสร็จสิ้นแล้วร้อยละ 15 ด้านความคืบหน้าของท่อส่งหลักและท่อย่อยในแม่น้ำเจ้าพระยา อยู่ที่ร้อยละ 53 และร้อยละ 30 ตามลำดับ โดยค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง เฟสที่ 1 มีมูลค่าอยู่ที่ 190 ล้านดอลลาร์ ซึ่งการก่อสร้างเริ่มดำเนินการในเดือนกุมภาพันธ์ คาดว่าจะมีกำลังการผลิตรวม 195,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน โดยมีกำหนดการแล้วเสร็จภายในปลายปี 2022 ปัจจุบันความต้องการใช้น้ำสะอาดในเมืองหลวงและเมืองตาเขมา มีมากกว่า 700,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ปัจจุบันผลิตน้ำสะอาดเพียง 600,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50924129/bakheng-water-treatment-plant-construction-38-percent-complete/

ผลผลิตทางการเกษตรของกัมพูชา 9 รายการ ถูกยกขึ้นเป็นพืชมูลค่าสูง

รัฐบาลออสเตรเลียได้จัดทำรายการพืชผลมูลค่าสูงของกัมพูชาจำนวน 9 รายการ โดยได้ศึกษาห่วงโซ่คุณค่าทางการเกษตรของกัมพูชา-ออสเตรเลีย (CAVAC) ซึ่งผลการศึกษาระบุว่า มะม่วง ถั่วเลนทิล เม็ดมะม่วงหิมพานต์ พริก มันเทศ อะโวคาโด งา น้ำตาลปี๊บ และกล้วยตาก ถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่สำคัญ โดยเพื่อเป็นการกำหนดเป้าหมายให้กับเกษตรกร ผู้แปรรูป และผู้ที่มีส่วนได้เสียในภาคการเกษตรของกัมพูชาในการวางแผนการผลิตพืชผล ซึ่งรัฐบาลกัมพูชาหวังว่าจะเพิ่มความต้องการในตลาดสำคัญๆ เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ยุโรป จีน และอาเซียน และหาผู้ซื้อรายใหม่ๆ เพิ่มขึ้น โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มปริมาณการค้าระหว่างประเทศเป็นสำคัญ ซึ่งภาคเกษตรกรรมคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 22 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของกัมพูชา ส่วนการจ้างงานคิดเป็นอย่างน้อยร้อยละ 65 ของประชากรภายในประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50924268/nine-agricultural-products-listed-as-high-value-crops/

กัมพูชาเร่งหาตลาดส่งออกใหม่เพื่อรองรับผลผลิตลำไยภายในประเทศ

เกษตรกรชาวกัมพูชาคาดการว่าจะเก็บเกี่ยวลำไยในฤดูได้จำนวน 111,000 ตัน ในปีนี้ โดยกัมพูชามีพื้นที่เพาะปลูกมากกว่า 13,600 เฮกตาร์ ในพื้นที่ 14 จังหวัด และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรกล่าวว่าครึ่งหนึ่งของพื้นที่เพราะปลูกพร้อมสำหรับการเก็บเกี่ยวแล้ว ซึ่งกัมพูชาจะส่งออกลำไยในรูปแบบอบแห้งหรือบรรจุกระป๋องในน้ำเชื่อมเป็นสำคัญ โดยกระทรวงเกษตรพยายามเพิ่มยอดขายด้วยการเปิดตลาดส่งออกใหม่มากขึ้น ซึ่งลำไยถูกกำหนดให้เป็นผลไม้กัมพูชาชนิดที่ 3 ที่จะส่งออกไปยังประเทศจีนหลังจากก่อนหน้าได้ทำการส่งออก กล้วยและมะม่วง ภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรีไปแล้ว โดยจีนตกลงที่จะเริ่มนำเข้ามะม่วงของกัมพูชาจากโรงงานแปรรูป 5 แห่ง และจากสวน 37 แห่ง ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดด้านสุขอนามัยพืชที่ทางการกำหนดไว้สำหรับการส่งออก

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50923413/new-export-markets-will-be-needed-to-absorb-the-looming-longan-surplus-from-new-yield-forecast/

กัมพูชาเล็งปรับใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ เข้ามาบริหารงบประมาณแผ่นดิน

ทางการกัมพูชามุ่งมั่นที่จะปฏิรูปการจัดการงบประมาณแผ่นดิน ผ่านระบบการจัดการทางการเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ (FMIS) โดยความคืบหน้านี้ได้รับการหยิบยกขึ้นมาในระหว่างการประชุมคณะกรรมการปฏิรูปการจัดการการเงินสาธารณะ ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ซึ่ง FMIS ก่อตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนโครงการปฏิรูปการจัดการการเงินสาธารณะที่ริเริ่มโดยกระทรวงเศรษฐกิจและการคลัง มีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงธรรมาภิบาลและความโปร่งใสในการจัดการงบประมาณแห่งชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านรายจ่ายงบประมาณของประเทศ ด้วยการปรับปรุงมาตรฐานการจัดการและความรับผิดชอบในการระดมทรัพยากรปัจจุบันและทุนของรัฐบาลทั้งหมด

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50922444/cambodia-to-change-to-electronic-system-to-manage-national-budget/

ธนาคารแห่งชาติกัมพูชา กำหนดนโยบายรักษาเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยน

ธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) ตัดสินใจกำหนดนโยบายที่จะรักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนในช่วงไตรมาสถัดไป โดยการตัดสินใจดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ครั้งที่ 56 ที่จัดขึ้นเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา รวมถึง NBC จะยังคงเสริมสภาพคล่องในระบบต่อไปผ่าน Liquidity-providing collateralized operations (LPCO) เพื่ออัดฉีดเงินเรียลเข้าสู่ระบบตามความต้องการสภาพคล่องในระยะสั้น  โดยผู้ว่าการกล่าวว่าในปี 2020 มูลค่าของเรียลต่อดอลลาร์มีเสถียรภาพค่อนข้างดีแม้จะอ่อนค่าลงเล็กน้อย (น้อยกว่าร้อยละ 1) ซึ่งทั้งในอดีตและปัจจุบัน NBC พยายามลดหรือจำกัดความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนด้วยการใช้เครื่องมือหลายอย่างเพื่อดูดซับหรืออัดฉีดสภาพคล่องภายในระบบเศรษฐกิจ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50922563/cambodian-monetary-policy-to-maintain-exchange-rate-stability/

EIC CLMV Outlook Q3/2021

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC)

การระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ในภูมิภาคตั้งแต่ไตรมาส 2 ของปี 2021 สร้างแรงกดดันต่อแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจ CLMV แม้ว่าการส่งออกที่ยังขยายตัวได้สูงอาจจะช่วยลดความรุนแรงของผลกระทบได้บางส่วน

ด้านอุปสงค์ภายในประเทศ การระบาดของ COVID-19 ใน CLMV ตั้งแต่เดือนเมษายน ส่งผลให้ภาครัฐต้องยกระดับความเข้มงวดของมาตรการควบคุมโรค ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจปรับลดลงและสร้างแรงกดดันเพิ่มเติมต่ออุปสงค์ในประเทศที่เปราะบางอยู่เดิมก่อนแล้ว โดยการควบคุมการระบาดระลอกปัจจุบัน นับเป็นความท้าทายครั้งใหญ่ของภูมิภาค โดยเฉพาะเวียดนามที่สามารถควบคุมการระบาดในรอบก่อนหน้าได้ดี แต่ในครั้งนี้ การระบาดของเวียดนามกลับอยู่ในระดับสูง ทำให้รัฐบาลเวียดนามต้องประกาศมาตรการ lockdown เข้มงวด เช่นเดียวกับเมียนมาที่มียอดผู้ติดเชื้อสูง แต่บุคลากรทางการแพทย์กลับไม่เพียงพอจากความไม่สงบทางการเมือง ส่วนจำนวนผู้ติดเชื้อในกัมพูชาและสปป.ลาว ก็มีสูงกว่ารอบก่อนหน้า แต่ยังมีจำนวนต่ำกว่าอีกสองประเทศข้างต้น

สำหรับอุปสงค์ภายนอก ภาคการส่งออกของเศรษฐกิจ CLMV ยังคงส่งสัญญาณการฟื้นตัวแข็งแกร่งท่ามกลางการระบาดของ COVID-19 โดยได้อานิสงส์จากการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจประเทศพัฒนาแล้ว การส่งออกจึงเป็นปัจจัยสนับสนุนการเติบโตของภูมิภาค โดยการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของเวียดนามขยายตัวได้สูงอย่างต่อเนื่องและเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลักของภูมิภาค อย่างไรก็ตาม การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานจากการระบาดของ COVID-19 ในวงกว้างที่อาจทำให้มีการปิดโรงงานเพิ่มขึ้น ยังคงเป็นความเสี่ยงสำคัญ และอาจกลายเป็นปัจจัยฉุดภาคการส่งออกได้ตั้งแต่ไตรมาส 3 ของปี 2021 เป็นต้นไป

ทั้งนี้ปัจจัยหลักที่มีผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ CLMV ในระยะต่อไป ได้แก่

1) มาตรการควบคุมการระบาดที่มีประสิทธิภาพและทันท่วงที รวมถึงความคืบหน้าในการฉีดวัคซีน ซึ่งจะทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจพลิกฟื้นกลับมาได้

2) ขนาดและประสิทธิภาพของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งภาคการคลังและการเงินที่จะช่วยลดผลกระทบต่อการครัวเรือนและภาคธุรกิจ

3) ปัจจัยความเสี่ยงรายประเทศ ได้แก่ ความไม่สงบทางการเมืองของเมียนมา และความสามารถในการชำระหนี้สาธารณะของสปป. ลาว

กัมพูชา

+ภาคการส่งออกฟื้นตัวจากเศรษฐกิจโลกที่ขยายตัวได้แข็งแกร่งและความสำเร็จในการกระจายการส่งออกไปยังหลายสินค้ามากขึ้น (export diversification)

+มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทางการคลังและการฉีดวัคซีนที่ดำเนินการได้ย่างรวดเร็วและสนับสนุนการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ

มาตรการ lockdown ที่เพิ่มความเข็มงวดขึ้นเพื่อรับมือกับการระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์เดลต้าจะสร้างแรงกดดันต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวที่ยังซบเซาจะเป็นปัจจัยฉุดการเติบโตของเศรษฐกิจ

สปป.ลาว

+การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานโครงการขนาดใหญ่และการเปิดตัวใช้รถไฟจีน-สปป.ลาว ในเดือนธันวาคม

+การส่งออกที่ขยายตัวสูงจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายนอกและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับเพิ่มสูงขึ้น

การยกระดับมาตรการ lockdown และการปิดพรมแดนอย่างเข็มงวดจะกระทบต่อกิจกรรมเศรษฐกิจ

เสถียรภาพการคลังที่น่ากังวล จากภาระหนี้สาธารณะในรูปเงินตราต่างประเทศที่อยู่ในระดับสูง ประกอบกับภาวะเงินกีบอ่อนค่า และทุนสำรองระหว่างประเทศที่อยู่ในระดับต่ำ

เมียนมา

การระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 ทำให้เมียนมาประกาศใช้มาตรการ lockdown ทั่วประเทศ ขณะที่ขีดความสามารถ lockdown ทั่วประเทศ ขณะที่ขีดความสามารถของระบบสาธารณสุขมีจำกัด

การปราบปรามของรัฐบาลทหารและขบวนการอารยะขัดขืน โดยมวลชนจะส่งผลลบต่ออุปสงค์ภายในประเทศ

การหยุดชะงักของระบบโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะพื้นฐาน ได้แก่ การขนส่ง ระบบอินเทอร์เน็ต และการให้บริการของธนาคาร

ประชาชนขาดความเชื่อมั่นในรัฐบาล ซึ่งอาจลดประสิทธิภาพของมาตรการต่างๆ รวมถึงแผนการฉีดวัคซีนและความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติที่ลดลง

เวียดนาม

+ การส่งออกสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูงที่ขยายตัวได้ดีตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกจะเป็นปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อเนื่อง

+ FDI ที่ลงทุนในเวียดนามยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นตามแนวโน้มศักยภาพเศรษฐกิจในระยะยาว ได้แก่ ความสามารถในการเข้าถึงตลาดใหม่ๆ ผ่านข้อตกลงการค้า และจำนวนแรงงานที่มีมาก รวมถึงฐานผู้บริโภคขนาดใหญ่ในประเทศ

เวียดนามเผชิญความยากลำบากในการควบคุมการระบาดของ COVID-19 รอบที่ 4 ตั้งแต่เดือนเมษายน และส่งผลรุนแรงต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศ

ความเสี่ยงการหยุดชะงักของอุปทานเนื่องจากปิดโรงงานที่ขยายระยะเวลาออกไปยังประเด็นที่ต้องจับตามอง

ที่มา : https://www.scbeic.com/th/detail/product/7761

เวียดนามถูกจัดเป็นนำเข้ามะม่วงรายใหญ่ที่สุดของกัมพูชา

กัมพูชาส่งออกมะม่วงรวม 140,000 ตัน หรือร้อยละ 86.8 ของการส่งออกผลไม้ทั้งหมดไปยังเวียดนามในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ โดยกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงของกัมพูชา ระบุว่า ทางการเวียดนามรายงานถึงปริมาณการส่งออกมะม่วง ระหว่างเดือนมกราคม-กรกฎาคม เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 248 หรือคิดเป็นปริมาณ 161,228 ตัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งนอกจากมะม่วงสดแล้วกัมพูชายังส่งออกแยมมะม่วงเกือบ 13,525 ตัน คิดเป็นการส่งออกไปยังเวียดนาม 77 ตัน, ไปยังประเทศไทย 1,000 ตัน และ ไปยังจีน 11,000 ตัน ในช่วง 7 เดือนแรกของปี โดยในปัจจุบันกัมพูชามีพื้นที่เพาะปลูกมะม่วงราว 126,668 เฮกตาร์ ส่งออกมะม่วงไปแล้ว 845,274 ตัน มูลค่ากว่า 473.2 ล้านดอลลาร์ ในปีที่แล้ว ส่วนใหญ่ส่งออกไปยังเวียดนาม ไทย จีน เกาหลีใต้ สิงคโปร์ รัสเซีย และฝรั่งเศส เป็นสำคัญ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50921620/vietnam-biggest-buyer-of-cambodias-mangoes/