รีสอร์ตในกัมพูชาเริ่มเลิกจ้างพนักงานหลังการแพร่ระบาดยังไม่สิ้นสุด

อุตสาหกรรมท่องเที่ยวทวีปเอเชียได้รับผลกระทบจากโรคระบาด Covid และการฟื้นฟูยังคงอีกยาวไกล เนื่องจากมาตรการไม่รับนักท่องเที่ยวสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของกัมพูชาก็ตกอยู่ในสภาวะถดถอย อัตราการว่างงานในภาคท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ กระทรวงท่องเที่ยวคาดว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวยังไม่สามารถฟื้นตัวเต็มที่จนถึงปลายปี 2023 ขณะนี้กำลังเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและรีสอร์ตภายในประเทศเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวหลังจากเปิดประเทศ ประกอบด้วย โครงการสร้างสนามบินใหม่ในพนมเปญ โครงการพัฒนา Mondulkiri เพื่อเป็นศูนย์การของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (ecotourism) หนึ่งในโฆษกอุตสาหกรรมท่องเที่ยวกล่าวว่า “แผนการฉีดวัคซีน Covid ของรัฐบาลเป็นไปได้ดีเทียบกับหลายๆประเทศในอาเซียน อย่างไรก็ดี อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไม่สามารถรอให้โรคระบาดหมดได้เช่นกัน จึงอยากให้รัฐบาลพิจารณาเปิดเขตแดนที่วางแผนว่าจะเปิดภายในไตรมาศ 4 ปีนี้ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวที่ได้รับวัคซีนแล้ว ซึ่งจะช่วยฟื้นฟูการท่องเที่ยวที่ซบเซาใน 2 ปีที่ผ่านมา อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญคือรัฐบาลต้องพิจารณามาตราการช่วยเหลือเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำหรือปลอดดอกเบี้ยให้แก่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเนื่องจากผู้ประกอบการกำลังขาดแคลนเงินทุนสำรอง”

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50884775/resorts-lay-off-workers-with-no-end-to-covid-in-sight

บทบาท จีน ใน CLMV หลังโควิด…อิทธิพลทางเศรษฐกิจยังคงเข้มข้น

โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย

บทบาททางเศรษฐกิจของจีนในกลุ่มประเทศ CLMV ในช่วงที่ผ่านมา นับว่าโดดเด่นมาก โดยเฉพาะด้านการค้า   ซึ่งเป็นผลจากยุทธศาสตร์ต่างๆ ที่จีนพยายามเข้ามาสร้างอิทธิพลทางเศรษฐกิจ ทั้งในด้านความเชื่อมโยงทางกายภาพ (Physical connectivity) และความเชื่อมโยงทางสถาบัน (Institutional connectivity) ซึ่งมีส่วนในการกระตุ้นมูลค่าการค้าระหว่างกลุ่มประเทศ CLMV กับจีนให้เร่งตัวขึ้น อิทธิพลของความเชื่อมโยงทางกายภาพ ที่แน่นแฟ้นมากขึ้นระหว่างจีนกับ CLMV เ​กิดจากยุทธศาสตร์ “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” (BRI)   อาทิ โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม รวมถึงการลงทุนก่อสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งใหม่  ซึ่งมีส่วนดึงดูด FDI จีนให้มาตั้งคลัสเตอร์อุตสาหกรรมในพื้นที่ รวมถึงอุตสาหกรรมบริการที่ตอบสนองความเป็นเมือง  ในขณะที่อิทธิพลของความเชื่อมโยงทางสถาบัน อาทิ การผ่อนคลายกฎระเบียบที่เอื้อประโยชน์ต่อการค้าระหว่างประเทศ ก็มีส่วนช่วยให้กิจกรรมการค้าระหว่างกลุ่มประเทศ CLMV กับจีนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

นอกจากนี้ การทวนกระแสโลกาภิวัตน์ อันมีจุดเริ่มต้นจากสงครามการค้าและสงครามเทคโนโลยีระหว่างจีนกับสหรัฐฯ  ยังถูกท้าทายด้วยความเปราะบางของห่วงโซ่อุปทานโลกซึ่งเกิดจากปัจจัยที่ไม่อาจคาดเดา  อาทิ การแพร่ระบาดของโควิด19 ซึ่งอาจส่งผลให้จีนรวมถึงบริษัทต่างชาติในจีนหันมาให้ความสำคัญกับประเทศเพื่อนบ้านในฐานะห่วงโซ่อุปทานแห่งใหม่ เพื่อลดและกระจายความเสี่ยงด้านปฏิบัติการจากการที่ฐานการผลิตกระจุกตัวอยู่ในจีน อีกทั้งยังมีส่วนช่วยคานอิทธิพลทางอ้อมในด้านเศรษฐกิจของสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม อิทธิพลของจีนจะมากขึ้นหรือน้อยลงหลังโควิด ยังคงขึ้นอยู่กับยุทธศาสตร์ของจีนและท่าทีของกลุ่มประเทศ CLMV ที่มีต่อจีนภายใต้ความขัดแย้งของสองมหาอำนาจทางเศรษฐกิจโลกอย่างสหรัฐฯ และจีน  โดยคาดว่ากลุ่ม CLMV น่าจะอยู่ในฐานะแหล่งการผลิตสินค้าทางการเกษตร รวมถึงอาหาร ซึ่งตอบโจทย์ความมั่นคงทางด้านอาหารของจีน 

นอกจากนี้ CLMV ยังมีแนวโน้มได้รับการกระจายการลงทุนในอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้นในทิศทางที่เร่งตัวขึ้น โดยเวียดนามยังคงมีศักยภาพในการก้าวขึ้นมาเป็นหนึ่งในห่วงโซ่อุปทานใหม่สำหรับอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีเข้มข้นอย่างอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ แต่อาจพยายามปรับสมดุล FDI ให้รองรับนักลงทุนสัญชาติอื่นที่มีศักยภาพสูงมากกว่าดึงดูด FDI จากจีนเป็นหลัก

ที่มา : https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/China-CLMV-01-07-21.aspx

แผนการก่อสร้างทางยกระดับเชื่อมสนามบินพนมเปญกำลังประสบกับปัญหา

แผนการสร้างทางด่วนเชื่อมกรุงพนมเปญกับสนามบินนานาชาติแห่งใหม่ กำลังประสบกับปัญหาความล่าช้าจากผลกระทบการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังคงดำเนินอยู่ในปัจจุบัน โดยผู้อำนวยการทั่วไปของกลุ่มบริษัท Overseas Cambodia Investment Corporation (OCIC) กล่าวว่าโครงการยังคงดำเนินการต่อไป แต่จะใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 จากกรณีที่บริษัทได้ปรับลดลงพนักงานลงครึ่งหนึ่งทำให้เกิดการล่าช้าและได้ปรับแผนการก่อนสร้างใหม่อีกครั้ง  ซึ่งโครงการทางด่วนนี้มีระยะทางความยาวรวม 21.5 กิโลเมตร และแบ่งออกเป็น 2 เฟส ในการก่อสร้าง เชื่อมต่อ National Road 2 กับสนามบินแห่งใหม่ โดยโครงการนี้มีมูลค่าประมาณ 400 ล้านดอลลาร์ ในระยะแรกมีกำหนดจะแล้วเสร็จในปี 2023

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50883981/phnom-penh-airport-flyover-plans-run-into-coronavirus-turbulence/

ผู้ผลิตเสื้อผ้ารายใหญ่ของกัมพูชารายงานถึงผลประกอบการหลังล็อกดาวน์

บริษัท Grand Twins International (Cambodia) Plc. (GTI) ผู้ผลิตเสื้อผ้ารายใหญ่ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์กัมพูชา ได้เปิดเผยข้อมูลในช่วงไตรมาสแรกหลังจากทางการกัมพูชาได้ประกาศล็อกดาวน์ในช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดย GTI ได้รายงานถึงกำไรก่อนหักภาษีที่ลดลงถึงร้อยละ 49.77 จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งรายรับปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.73 เป็น 32.731 ล้านดอลลาร์ ชดเชยด้วยต้นทุนขายที่เพิ่มขึ้น 2.303 ล้านดอลลาร์ โดยต้นทุนค่าวัสดุคิดเป็นร้อยละ 74 ของต้นทุนทั้งหมด มีมูลค่ามากกว่า 23.273 ล้านดอลลาร์ ส่วนต้นทุนแรงงานปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.96 สู่ 2.104 ล้านดอลลาร์ ทางด้านสินทรัพย์รวมของบริษัทลดลงร้อยละ 2.81 เป็น 85.425 ล้านดอลลาร์ เนื่องจากที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ปรับลดจากค่าเสื่อมราคา ลูกหนี้การค้าและเงินสดที่ปรับตัวลดลง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50883983/garment-manufacturer-releases-dismal-report/

USAID เปิดตัวระบบการขนส่งและคลังสินค้าแบบควบคุมอุณหภูมิในกัมพูชา

หน่วยงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศสหรัฐฯ (USAID) ได้เปิดตัวระบบการขนส่งและคลังสินค้าแบบควบคุมอุณหภูมิในกัมพูชามูลค่า 3 ล้านดอลลาร์ เพื่อช่วยส่งเสริมการพัฒนาภาคการเกษตรในกัมพูชา โดยความคิดริเริ่มนี้เกิดจากผู้อำนวยการด้านภารกิจของ USAID ที่ได้กล่าวถึง “Cambodia Mission Director” ในการประชุมเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรกัมพูชา ซึ่งในโอกาสนี้ ผู้อำนวยการด้านภารกิจของ USAID เห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาภาคเกษตรกรรมของกัมพูชา โดยวางแผนในการร่วมพัฒนาระบบขนส่งกัมพูชาในช่วงระยะเวลา 4 ปี คาดว่าจะช่วยส่งเสริมการขนส่งสินค้าภาคการเกษตรให้ออกสู่ตลาดอย่างปลอดภัย มีคุณภาพ และ ได้ราคาที่เหมาะสม

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50883062/usaid-initiates-3-million-cold-chain-logistic-system-in-cambodia/

กัมพูชาเร่งส่งเสริมความร่วมมือทวิภาคีระหว่างอินเดีย

กัมพูชาและอินเดียยังคงเดินหน้าในการเสริมสร้างความร่วมมือทวิภาคีระหว่างกัน โดยได้ตกลงในร่างการเจรจาความตกลงการให้สิทธิพิเศษทางการค้า (PTA) ซึ่งการส่งออกของอินเดียในช่วงเดือน ม.ค.-มี.ค. ไปยังกัมพูชาสูงถึง 60 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 71.7 จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยการส่งออกของกัมพูชาไปยังอินเดียมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 12.7 ล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 นับจากไตรมาสแรกของปีที่แล้ว ซึ่งทั้งสองประเทศเห็นพ้องต้องกันในหลักการที่จะจัดทำข้อตกลงการค้าพิเศษระหว่างกัน เพื่อเป็นการสนับสนุนภาคการค้าของทั้งสองประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50883358/india-and-kingdoms-trade-talks-heat-up/

กัมพูชาเดินหน้าแผนยุทธศาสตร์ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน

กัมพูชาเดินหน้าแผนยุทธศาสตร์ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เพื่อให้เศรษฐกิจกัมพูชาหมุนเวียนไปด้วยตัวเองให้ได้มากที่สุด โดยการนำทรัพยากรหมุนเวียนกลับมาใช้ ให้เป็นวัสดุใหม่อีกครั้ง ภายใต้การสนับสนุนทางด้านการเงินจากสวีเดน ญี่ปุ่น และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) สภาแห่งชาติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของกระทรวงสิ่งแวดล้อม ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อมกล่าวว่ากลยุทธ์และแผนปฏิบัติการสำหรับเศรษฐกิจหมุนเวียนมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างโซลูชันแบบได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย (Win-Win) ต่อความท้าทายในปัจจุบัน ในการขจัดการสูญเสียทรัพยากรตลอดวงจรเศรษฐกิจ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50882745/cambodia-implements-strategy-towards-a-circular-economy/

สนามบินนานาชาติกัมพูชาพร้อมรับนักท่องเที่ยวต่างชาติสิ้นปีนี้

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของกัมพูชาคาดการณ์ว่าจะกลับมาปรับตัวดีขึ้นภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งมุ่งเน้นไปที่กลุ่มนักท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะจากจีน เกาหลี ญี่ปุ่น ไทย และสิงคโปร์ ผ่านโครงการ “travel bubble” ที่จะยกเว้นข้อกำหนดในการกักตัวสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ได้รับวัคซีนแล้ว ตามรายงานของประธานเจ้าหน้าที่บริหารของท่าอากาศยานกัมพูชา ซึ่งรัฐบาลกัมพูชาได้ตั้งเป้าหมายที่จะกระจายวัคซีนจำนวน 10 ล้านโดสที่ได้ตั้งเป้าไว้ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยในปัจจุบันทางการกัมพูชาได้ทำการกระจายวัคซีนไปแล้วมากกว่าร้อยละ 32 ของกลุ่มประชากรเป้าหมาย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50882517/airports-ready-for-passengers-air-bridges-travel-bubbles/

CLMV รับแรงหนุนที่แตกต่าง หลังเศรษฐกิจโลกฟื้น

โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับเพิ่มตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจโลกปี 2564 เป็น 6.0% จากเดิมที่ 5.5% สะท้อนมุมมองเชิงบวกต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกอย่างแข็งแกร่งหลังวิกฤตโควิด นำโดยเศรษฐกิจขนาดใหญ่อย่างสหรัฐฯ และจีน ซึ่งคาดว่าจะส่งผลบวกต่อกลุ่มประเทศ CLMV ในระดับที่แตกต่างกันตามความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การส่งออก รายได้ส่งกลับของแรงงานในต่างประเทศ การลงทุนโดยตรง (FDI) และการท่องเที่ยว

เวียดนามเป็นประเทศที่ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก  จากสัดส่วนการส่งออกที่สูงถึง 104% ของ GDP   โดยมีการผลิตและส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในสัดส่วนสูง นอกเหนือจากอานิสงส์จากรายได้นำส่งกลับของแรงงาน ซึ่งมีสัดส่วนถึง 5.8% ของ GDP

ขณะที่กัมพูชาอาจเป็นอีกประเทศที่ได้รับแรงหนุนจากการฟื้นตัวของตลาดส่งออกหลักอย่างสหรัฐฯ จีน และยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน เนื่องจากสัดส่วนของการลงทุนโดยตรงสูงถึง 60%​ โดยส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและอสังหาริมทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง

ในส่วนของประเทศสปป.ลาว อาจเป็นประเทศใน CLMV ที่โครงสร้างการส่งออกได้รับอานิสงส์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกน้อยที่สุด เนื่องจากการส่งออกมีสัดส่วนไม่มากเมื่อเทียบกับขนาดของเศรษฐกิจ    โดยในด้านการลงทุนตรงจากต่างประเทศ น่าจะได้รับอานิสงส์น้อยกว่ากัมพูชา เนื่องจากสัดส่วนการลงทุนตรงมีเพียง 22% 

ขณะที่เมียนมา ปัจจัยการเมืองภายในประเทศน่าจะลดทอนผลบวกจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก   ในขณะที่สัดส่วนการลงทุนตรงโดยรวมอยู่ที่ 13% ต่ำสุดในกลุ่ม CLMV

ในส่วนของภาคการท่องเที่ยว  เนื่องจากประเทศใน CLMV ส่วนใหญ่พึ่งพานักท่องเที่ยวจากจีนและนักท่องเที่ยวในภูมิภาค ซึ่งมีการฉีดวัคซีนล่าช้ากว่าประเทศในตะวันตก ทำให้โอกาสที่จะบรรลุการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ในปี 2564 มีไม่มาก ส่งผลให้การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวน่าจะจำกัดเฉพาะนักท่องเที่ยวจากตะวันตก ซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 10% ของจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งหมดใน CLMV

ที่มา : https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/CLMV-FB-28-06-21.aspx

ALCEDA Bank กัมพูชา ตั้งวงเงินกู้สนับสนุน SMEs 169 ล้านดอลลาร์

ACLEDA Bank ประกาศตั้งวงเงินกู้ระยะยาว 5 ปี มูลค่ารวม 169 ล้านดอลลาร์ ให้กับภาค SMEs ภายในประเทศ จากความร่วมมือทางการเงินระหว่างประเทศในการสนับสนุนการเติบโตเชิงกลยุทธ์และถือเป็นการกระจายแหล่งเงินทุนตามแผนการดำเนินงานของธนาคาร ซึ่งคาดว่าจะอำนวยความสะดวกให้กับธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการประคับประคองธุรกิจ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดที่ยังคงดำเนินอยู่ในปัจจุบัน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50881234/acleda-bank-procures-169mn-loan-to-support-smes/