‘สมาคมผู้ส่งออกอาหารทะเลเวียดนาม’ ร้องกฎหมายนำเข้าอาหารทะเลไม่เพียงพอ

สมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเลของเวียดนาม (VASEP) ได้ยื่นคำร้องต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อทำการเสนอให้แก้ไขข้อบังคับที่เกี่ยวกับมาตรการกักกันผลิตภัณฑ์อาหารทะเล ซึ่งคำร้องดังกล่าวนั้น ชี้ว่าธุรกิจอาหารทะเลของชุมชนประสบปัญหาอย่างมากต่อมาตรการกักกัน ทั้งนี้ สมาคมฯ กล่าวว่าการตรวจสอบของรัฐบาลสำหรับผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำที่นำเข้ามาในประเทศที่เป็นไปตามกฎข้อบังคับเกี่ยวกับการกักกันของกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท ไม่ใช่หลักการที่ถูกต้องของการตรวจสอบผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูปที่ใช้เป็นอาหารและมีรายการข้อกำหนดที่มากจนเกินไปและไม่จำเป็น นอกจากนี้ สมาคมฯ ยังเสนอให้ยกเลิกกฎระเบียบกักกันสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูปที่นำเข้าเพื่อการบริโภคภายในประเทศที่ประเมินแล้วว่าไม่มีความเสี่ยงในการแพร่กระจายโรคผ่านทางน้ำในเวียดนาม

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1106015/vasep-claims-imported-seafood-regulations-inadequate.html

 

บ.เกาหลีใต้ เล็งลงทุนระยะยาวในเวียดนาม

นายเวือง ดิ่งห์ เหวะ (Vuong Dinh Hue) ประธานรัฐสภาเวียดนาม และผู้นำธุรกิจ Samsung Electronics, SK, and Lotte Shopping & Lotte Mart กล่าวว่าทางบริษัทมีความสนใจที่จะร่วมมือกับเวียดนามในการพัฒนาพลังงานหมุนเวียน การผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และอุตสาหกรรมไฮเทค ตลอดจนช่วยเหลือผู้ประกอบการชาวเวียดนามถึงการมีส่วนร่วมในห่วงโซ่อุปทานโลก ในขณะเดียวกัน มุมมองต่อการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 และการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจ เวียดนามยังคงเป็นจุดหมายที่น่าสนใจของนักลงทุนต่างชาติ รวมถึงนักลงทุนชาวเกาหลีใต้อีกด้วย ทั้งนี้ นายเวือง ได้แสดงความยินดีถึงการเปิดตัวโครงการศูนย์วิจัยนวัตกรรมของบริษัทซัมซุงในเวียดนาม และหวังว่ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์จะนำไปวิจัยและผลิตเซมิคอนดักเตอร์ เพื่อทำให้สายการผลิตเทคโนโลยีชั้นสูงสมบูรณ์ในเวียดนาม นอกจากนี้ นายเวือง แสดงความขอบคุณกับบริษัทกลุ่ม SK ที่ทำการสนับสนุนกว่า 30 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับศูนย์นวัตกรรมแห่งชาติ และจะส่งเสริมกลุ่มบริษัทในการพัฒนาแหล่งพลังงานสะอาด ผลิตเซมิคอนดักเตอร์และอุปกรณ์โทรคมนาคมอื่นๆ

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/rok-firms-desire-to-invest-in-vietnam-in-long-run-911294.vov

 

‘เวียดนาม’ คาดคนชนชั้นกลางเพิ่ม 36 ล้านคน ในอีก 10 ปีข้างหน้า

รายงานข้อมูลเชิงลึกฉบับใหม่โดย McKinsey ในหัวข้อการศึกษา “ผู้บริโภคชาวเวียดนามหน้าใหม่” ระบุว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า คนชนชั้นกลางของเวียดนามคาดว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง และจะกระจายออกไปตามพื้นที่ต่างๆ และมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น ด้วยแรงขับเคลื่อนจากการลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิต การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศและผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ทำให้เวียดนามเป็นประเทศที่มีผลการดำเนินงานที่ดีกว่าในกลุ่มประเทศเอเชีย อีกทั้ง เวียดนามจะก้าวข้ามเศรษฐกิจผ่านการขับเคลื่อนการบริโภคและในอีก 10 ปีข้างหน้านั้น เวียดนามจะมีผู้บริโภคกว่า 36 ล้านคน ทำให้ผู้บริโภคจะใช้จ่ายอย่างน้อย 11 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน ซึ่งนับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เมื่อปี 2543 ประชากรเวียดนามมีไม่ถึง 10% ของกลุ่มผู้บริโภค ต่อมาตัวเลขกลับเพิ่มขึ้น 40% ในปัจจุบัน และภายในปี 2573 ตัวเลขอาจแตะ 75%

ที่มา : https://www.nationthailand.com/international/40009869

 

‘เวียดนาม’ เผยยอดจดทะเบียนธุรกิจเทคโนโลยีดิจิทัลตั้งใหม่ ปี 64 เกือบ 5,600 ราย

ในปี 2564 เวียดนามมีการจดทะเบียนธุรกิจเทคโนโลยีดิจิทัลที่จัดตั้งใหม่ จำนวน 5,600 ราย เนื่องมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้มีความจำเป็นในการทำงาน การขายและการสื่อสารออนไลน์ คุณ Nguyen Thanh Tuyen รองผู้อำนวยการเทคโนโลยีสารสนเทศ กระทรวงสารสนเทศและการสื่อสาร (MIC) กล่าวว่าปัจจุบัน บริษัทเทคโนโลยีดิจิทัล มีจำนวนราว 64,000 ราย และมีพนักงานมากกว่า 1 ล้านคน ทั้งนี้ กระทรวงฯ ระบุว่าในปี 2563 มีจำนวนแพลตฟอร์มมากกว่า 34 แพลตฟอร์มที่ได้รับการอนุมัติจากกระทรวงสารสนเทศ ซึ่งเป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศเวียดนาม นอกจากนี้ อุตสาหกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลของเวียดนาม ประสบความสำเร็จจากการเติบโตอย่างมาก โดยในปี 2563 เวียดนามได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้การเติบโตของเศรษฐกิจโลกหดตัวลงและ แต่เวียดนามยังคงมีตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ 2.91% และถือเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่มีตัวเลขการเติบโตที่เป็นบวก ตลอดจนอุตสาหกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลมีอัตราการเติบโตมากกว่า 9% ถือว่าสูงกว่าการเติบโตของ GDP กว่า 3 เท่า

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-has-5600-new-digital-technology-firms-in-2021/217968.vnp

 

เจาะโอกาสส่งออกผักและผลไม้แปรรูปของเวียดนาม

โดย SME Go Inter I ธ.กรุงเทพ
Vietnam Industry and Trade Information Centre คาดการณ์ว่าผักและผลไม้แปรรูปจะมีศักยภาพที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพราะความสะดวกและมีระยะเวลาในการเก็บรักษาที่ยาวนาน
ในช่วงปี 2559-2563 การส่งออกผักและผลไม้แปรรูปของเวียดนามเติบโตขึ้นถึงเลขสองหลักต่อปี โดยในปี 2562 การส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้น 41.2% yoy ก่อนจะตกลงสู่ระดับ 11.1% ในปี 2563
จากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ที่ยืดเยื้อ ทำให้การส่งออกผักและผลไม้แปรรูปสามารถทำรายได้ ได้มากถึง 653.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา โดยเพิ่มขึ้น 16% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
สำหรับตลาดส่งออกผักและผลไม้แปรรูปที่สำคัญของเวียดนาม ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลียรัสเซีย และสหรัฐอเมริกา ส่วนการส่งออกของเวียดนามไปยังจีนเติบโตขึ้น 24.8% เมื่อเทียบช่วงเวลาเดียวกันในปี 2562
นอกจากนี้ คาดว่าการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 จะไม่ส่งผลกระทบทางลบต่ออุตสาหกรรมผักและผลไม้แปรรูปทั่วโลก ในทางตรงข้ามอุปทานของผักและผลไม้แปรรูปจะเพิ่มขึ้น ขณะที่การส่งออกสินค้าหรือสินค้าแช่แข็งจะลดลง เป็นเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกลุ่มผู้ผลิตสินค้า
ขณะเดียวกัน การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ได้ทำลายห่วงโซ่อุปทานการขนส่ง และทำให้ต้นทุนค่าขนส่งสูงขึ้นเนื่องจากมีจำนวนเรือและเครื่องบินจำกัด ประกอบกับการเกิดเหตุการณ์ที่เรือบรรทุกสินค้าขวางคลองสุเอซเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมาที่ทำให้ต้องขยายเวลาในการขนส่งผักและผลไม้สดออกไป
จากบริบทข้างต้นทำให้ผักและผลไม้สดที่ไม่สามารถส่งออกได้ถูกนำส่งไปยังโรงงานแปรรูปในท้องถิ่นต่างๆ และจากราคาวัตถุดิบที่ถูกลงนี้จะช่วยให้โรงงานแปรรูปสามารถขยายกำลังการผลิตเพื่อการส่งออกได้
เมื่อความต้องการและความพยายามในการขยายการผลิตของโรงงานแปรรูปในท้องถิ่นเพิ่มขึ้น ทำให้ผักและผลไม้แปรรูปในปัจจุบันมีสัดส่วน ถึง 25-30% ของมูลค่าการส่งออกผักและผลไม้รวมทั้งหมดของประเทศ โดยก่อนการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 จะอยู่ที่ประมาณ 10%
อย่างไรก็ดี อุตสาหกรรมแปรรูปผักและผลไม้ของเวียดนามยังคงเผชิญหน้ากับข้อจำกัดหลายประการ โดยหนึ่งในปัญหาดังกล่าวคือ สินค้าเวียดนามในปัจจุบันส่งออกภายใต้ชื่อแบรนด์ที่แตกต่างกันแต่ยังไม่มีแบรนด์ที่แข็งแกร่งในระดับประเทศ อีกทั้งยังขาดความเข้าใจในรสนิยมของผู้บริโภคและยังต้องปรับปรุงการสร้างห่วงโซ่อุปทานในตลาดต่างประเทศด้วย
โดยสรุปแล้ว อุตสาหกรรมแปรรูปของเวียดนามยังคิดเป็นเพียง 8-10% ของผลผลิตผักและผลไม้ที่ได้ในแต่ละปี การบริโภคก็ยังคงอยู่ในรูปแบบของสินค้าสดหรือการถนอมอาหารเบื้องต้นเพียงเท่านั้น ซึ่งความเสียหายจากการเก็บเกี่ยวยังคงอยู่ในระดับที่สูงเกินไปที่ประมาณ 20% ดังนั้นกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าของเวียดนามจึงมองว่ายังคงมีพื้นที่สำหรับผู้ประกอบการให้สามารถเข้ามาลงทุนในการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการส่งออกเพื่อรองรับอุปสงค์ในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นได้

ที่มา :
1/ https://www.bangkokbanksme.com/en/export-processed-vegetables-and-fruits-of-vietnam
2/ https://the-japan-news.com/news/article/0008042350

‘สตาร์ทอัพเวียดนาม’ ประสบความสำเร็จในการดึงดูดเงินทุนจำนวนมาก

แม้ว่าจะเผชิญกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างรุนแรง แต่ด้วยระบบนิเวศของ Startup เวียดนามที่มีการเติบโตอย่างแข็งแกร่ง โดยในเดือน มิ.ย.64 บริษัทการลงทุนชั้นนำที่จัดการหลายสินทรัพย์ทางเลือกหลายประเภทอย่าง “KKR” ได้ออกมาประกาศว่าจะลงทุน 100 ล้านเหรียญสหรัฐใน “EQuest” สตาร์ทอัพด้านการศึกษาของเวียดนาม ในขณะเดียวกัน เดือนก.ย.64 บริษัทสตาร์ทอัพด้านการขนส่งสินค้า “Ninja Van” ก็ประสบความสำเร็จในการดึงดูดเงินลงทุนกว่า 500 ล้านเหรียญสหรัฐ จากการระดมทุนรอบ Series E ที่นำโดยนักลงทุนอย่าง Geopost/DPDgroup, BCapital Group, Monk’s Hill Ventures และ Zamrud

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnamese-startups-succeed-in-attracting-large-investment-amounts-910165.vov

‘เวียดนาม’ นำเข้าอาหารสัตว์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

เวียดนามกลายมาเป็นผู้นำเข้าข้าวโพดรายใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และคาดว่าจะก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่อันดับที่ 5 ของตลาดโลก กรมศุลกากรของเวียดนาม (GDC) เปิดเผยว่าในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา มูลค่าการนำเข้าอาหารสัตว์และวัตถุดิบ อยู่ที่ 4.14 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 29% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 63 ซึ่งมูลค่าดังกล่าวแสดงให้เห็นว่ายังคงมีแนวโน้มขยายตัวได้ต่อเนื่อง ทำให้เปิดโอกาสอันดีแก่ผู้ส่งออกข้าวโพดและผลิตภัณฑ์ที่เหลือจากขบวนการผลิตเอทานอลด้วยข้าวโพด (DDGS) ทั้งนี้ แนวโน้มความต้องการนำเข้าข้าวโพดและผลิตภัณฑ์ DDGS ของเวียดนาม จะดันพุ่ง 3 เท่าในอีก 10 ปีข้างหน้า สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มของอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1094879/vietnamese-animal-feed-imports-continue-to-rise.html