รัฐบาลเมียนมาเล็งลงทุนผลิตอุปกรณ์การแพทย์ Covid-19

เนื่องจากเมียนมาต้องซื้อยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์จากตลาดต่างประเทศจึงวางแผนซื้ออุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) และหน้ากากอนามัยจากผู้ผลิตในในประเทศแทน สำหรับการป้องกันการควบคุมและการรักษา Covid-19 ของเมียนมานั้นมีการดำเนินการโดยสร้างโรงพยาบาลและคลินิกให้มากขึ้นและจัดหาเครื่องมือวินิจฉัยและเครื่องช่วยหายใจเพิ่มเติม สำหรับเครื่องวิเคราะห์ Cobas 6800 ที่ใช้ในการทดสอบ Covid-19 จะเริ่มดำเนินการในสัปดาห์นี้ และห้องปฏิบัติการในย่างกุ้งสามารถทดสอบได้มากกว่า 1,000 คนทุกวัน ทั้งนี้ยังมีการดำเนินการทางกฎหมายกับผู้ขายผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ในราคาที่สูงในตลาดท้องถิ่นเพื่อการเก็งกำไรอีกด้วย

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/govt-seeks-investment-to-manufacture-covid-19-medical-equipment-at-inoperative-factories

ธนาคารกลางเมียนมาลดอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 3 ในรอบปี

ธนาคารกลางของเมียนมา (CBM) ลดอัตราดอกเบี้ยอีก 1.5% เป็นครั้งที่ 3 เมื่อ 27 เมษายน 63 ที่ผ่านมา เนื่องจากการระบาดของ COVID-19  CBM ปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรก 0.5 % ในวันที่ 12 มีนาคม ครั้งที่สองในวันที่ 24 มีนาคม และวันที่ 27 เมษายน 63 รวมเป็น 3% ภายในสองเดือน การลดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวคาดว่าจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับผู้กู้และช่วยผลักดันเศรษฐกิจ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/central-bank-cuts-interest-rates-again.html

โควิด-19 กระทบเศรษฐกิจ CLMV เติบโตต่ำสุดในรอบ 2 ทศวรรษ ประเทศยิ่งพึ่งพารายได้จากต่างประเทศมาก ยิ่งกระทบหนัก (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 3100)

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์เรื่อง COVID-19 กระทบเศรษฐกิจ CLMV เติบโตต่ำสุดในรอบ 2 ทศวรรษ ประเทศยิ่งพึ่งพารายได้จากต่างประเทศมาก ยิ่งกระทบหนัก โดยระบุว่า การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบเชิงลบต่อเศรษฐกิจ CLMV ผ่านทางการพึ่งพารายได้จากต่างประเทศในธุรกิจท่องเที่ยว และภาคการส่งออก โดยประเทศที่พึ่งพารายได้จากต่างประเทศมาก ยิ่งได้รับผลกระทบในเชิงลบมาก      

  • กัมพูชา เป็นประเทศที่ได้รับรับผลกระทบมากที่สุด เนื่องจากพึ่งพารายได้จากต่างประเทศทั้งในธุรกิจท่องเที่ยวและภาคการส่งออก โดยคาดว่าธุรกิจท่องเที่ยวจะหดตัวประมาณ 60% ในปีนี้ ส่วนภาคการส่งออกนั้น กัมพูชายังพึ่งพาการส่งออกไปยังตลาด EU และสหรัฐฯ มากที่สุด ซึ่งในปัจจุบัน ประเทศสหรัฐฯ และประเทศในกลุ่ม EU คือประเทศที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 มากที่สุดในเวลานี้ จึงคาดว่ามูลค่าส่งออกจะหดตัวถึง 10% ในปีนี้ ส่งผลให้เศรษฐกิจกัมพูชาโดยรวมจะหดตัวกว่า 0.9% ในปี 2563
  • เวียดนาม เวียดนามได้รับผลกระทบปานกลาง เนื่องจากพึ่งพารายได้จากต่างประเทศในภาคการส่งออกเท่านั้น และยังโชคดีที่ เวียดนามมีประเทศคู่ค้าหลักที่หลากหลายทำให้การกระจายความเสี่ยงในการส่งออกค่อนข้างดี ประกอบกับสินค้าส่งออกหลักของเวียดนาม คือ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะได้รับอานิสงค์จากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่จำเป็นต้องเปลี่ยนไปด้วยการทำงานที่บ้าน (Work From Home) จึงทำให้อุปสงค์ของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ แผงวงจรไฟฟ้า เพิ่มขึ้น และทำให้ภาพรวมการส่งออกของเวียดนามหดตัวไม่มากนัก คาดว่ามูลค่าการส่งออกของเวียดนามจะหดตัวประมาณ 5% ในปีนี้ ประกอบรัฐบาลมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจในรูปแบบเงินให้เปล่า และการลดภาษี คาดว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามจะยังคงเติบโตได้ในระดับ 3.6% ในปีนี้
  •  เมียนมา  เป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 ค่อนข้างน้อย เพราะมีรายได้จากภาคการส่งออกและธุรกิจท่องเที่ยวค่อนข้างน้อย อย่างไรก็ตาม ภาคการส่งออกของเมียนมาก็ได้รับผลกระทบค่อนข้างหนัก เนื่องจากสินค้าส่งออกหลักของเมียนมา คือ ก๊าซธรรมชาติ ซึ่งได้รับผลกระทบหนักจากราคาเชื้อเพลิงในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับ สินค้าส่งออกสำคัญอันดับสองของเมียนมา คือ เสื้อผ้าและสิ่งทอ ก็ได้รับผลกระทบหนักทั้งจากการปิดโรงงานในจีน และจากอุปสงค์สินค้าที่ลดลงในตลาด EU จึงคาดว่ามูลค่าการส่งออกของเมียนมาจะหดตัวถึง 10% ในปีนี้ อย่างไรก็ตาม EU ได้จัดตั้งกองทุนเงินช่วยเหลือฉุกเฉิน (Quick Assistance Fund) มูลค่า 500 ล้านยูโร เพื่อช่วยเหลืออุตสาหกรรมสิ่งทอในเมียนมาที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ซึ่งจะช่วยอุดหนุนการจ้างงานและการบริโภคของครัวเรือน ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่ากองทุนเงินช่วยเหลือฉุกเฉินของ EU ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 1% ของ GDP จะช่วยพยุงรายได้ของประชาชน และทำให้การบริโภคในครัวเรือนยังเติบโตได้ในระดับใกล้เคียงกับช่วงก่อนวิกฤตโควิด-19 นอกจากนี้ การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ของเมียนมาก็ยังคงเป็นไปตามกำหนดการเดิม จึงคาดว่าในภาพรวมเศรษฐกิจเมียนมาจะยังเติบโตได้ในระดับ 4.3% ในปี 2563
  • สปป.ลาว ก็เป็นอีกประเทศที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 ค่อนข้างน้อย เนื่องจากไม่ได้พึ่งพารายได้จากธุรกิจท่องเที่ยว หรือภาคการส่งออกมากนัก อย่างไรก็ตาม ธุรกิจท่องเที่ยวของลาวพึ่งพานักท่องเที่ยวไทยมากที่สุด ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 หนักที่สุดในอาเซียนในปีนี้ จึงคาดว่าธุรกิจท่องเที่ยวของลาวน่าจะได้รับผลกระทบหนักตามไปด้วย ส่วนภาคการส่งออกของสปป.ลาวคาดว่ามูลค่าการส่งออกจะหดตัวประมาณ 5% ในปีนี้ ยังโชคดีที่ ภาคการส่งออกของสปป.ลาวส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมเหมืองแร่และการผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งไม่ได้ทำให้เกิดการจ้างงานกับผู้คนจำนวนมาก ส่วนธุรกิจท่องเที่ยวก็เพิ่งเริ่มพัฒนาและยังมีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับ GDP จึงทำให้รายได้ของประชากรส่วนใหญ่ไม่ได้รับผลกระทบมากนัก และทำให้การบริโภคในครัวเรือนยังเติบโตได้ใกล้เคียงกับช่วงก่อนเกิดวิกฤตโควิด-19 นอกจากนี้ การลงทุนในโครงการรถไฟความเร็วสูงซึ่งมีมูลค่ากว่า 7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ยังคงดำเนินไปตามกำหนดการเดิม จึงทำให้เม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 มากนัก เมื่อดูภาพรวมแล้ว คาดว่าเศรษฐกิจสปป.ลาวจะยังเติบโตได้ในระดับ 3.9% ในปี 2563

แม้ว่าวิกฤตโควิด-19 จะทำให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทLกลุ่ม CLMV อยู่ในระดับต่ำที่สุดในรอบ 2 ทศวรรษ แต่เศรษฐกิจ CLMV ก็ยังสามารถเติบโตได้ในระดับ 3.4% ในปีนี้ นอกจากนี้ เศรษฐกิจ CLMV ดยรวมยังมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างรวดเร็วใน 1-2 ปีข้างหน้า โดยอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจจะอยู่ที่ระดับ 6.4% ในปี 2564และ 6.5% ในปี 2565

ที่มา : https://kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/economy/Pages/z3100.aspx

มัณฑะเลย์พร้อมรับมือแรงงานที่เดินทางกลับจากจีน

แรงงานข้ามชาติกว่า 1,000 คนที่เดินทางกลับพม่าจากจีนบริเวณชายแดนงเขตมัณฑะเลย์และรัฐฉานระหว่างวันที่ 26 – 27 เมษายนได้ถูกพากลับบ้านโดยเขตการปกครองของพวกเขาในมัณฑะเลย์, พะโคะ, สะกาย และมะกเว แรงงานส่วนใหญ่ไม่มีเอกสารประกอบการทำงานและเดินทางผ่านเส้นทางผิดกฎหมาย มากกว่าหนึ่งในสามของแรงงานที่ถูกส่งกลับถูกพากลับไปยังมัณฑะเลย์ ซึ่งผู้ที่กลับเข้ามาต้องกักตัว 21 วันและกักตัวที่บ้านอีก 7 วัน เพื่อตรวจหาเชื้อ COVID-19

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/mandalay-takes-precautions-migrant-workers-return-china.html

ADB คาดเศรษฐกิจเมียนมาฟื้นตัวเร็วสุดปีหน้าหากหยุดการระบาดของ COVID-19

ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ชี้เศรษฐกิจเมียนมาจะชะลอตัวลงอย่างมีนัยสำคัญถึง 4.2% ในปีนี้ภายใต้วิกฤต COVID-19 แต่อาจฟื้นตัวเป็น 6.8% ในปี 2564 หากไวรัสถูกกำจัดอย่างรวดเร็ว ADB คาดการณ์การเติบโต GDP ของเมียนมาในปี 63 สูงที่สุดเป็นอันดับสองในอาเซียนรองจากเวียดนามที่คาดว่าจะโตที่ 4.8% รายงานระบุว่าแม้ว่าการผลิตภาคเกษตรจะขยายตัว แต่อุปสงค์จากต่างประเทศและในประเทศก็เพิ่มขึ้นสำหรับราคาอาหารบางรายการแม้จะมีความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนในปี 2562 อัตราเงินเฟ้อคาดลดลงเล็กน้อยที่ 7.5% ในปี 63 และ 64 ในขณะที่ GDP ต่อหัวคาดว่าจะอยู่ที่ 3.3% ในปี 2563 และ 5.9% ในปี 2564

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-growth-rebound-next-year-if-virus-confined-quickly-adb.html

ยูซาน่าพลาซ่าพร้อมเปิดอีกครั้งหลัง 30 เมษายน

การตัดสินใจทำขึ้นหลังจากมีการหารือกันระหว่างสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและคณะกรรมการของ Yuzana Plaza จากเดิมที่กำหนดไว้วันที่ 24 เมษายน แต่ผู้บริโภคและผู้เช่าแผงร้านค้าไม่เห็นด้วยเพราะอยู่ในช่วงการจากแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ในขณะนี้ คณะกรรมการบริหารมิงกาลาร์ ตองนันต์ สั่งให้ศูนย์การค้าทุกแห่งในเมืองปิดทำการชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคมถึง 18 เมษายนและตอนนี้ได้ขยายไปถึง 30 เมษายน 2563

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/yuzana-plaza-plans-to-reopen-after-april-30