กัมพูชาส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐฯเพิ่มสูงขึ้น

กัมพูชาส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐฯมูลค่ารวม 6,059 ล้านดอลลาร์ ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2020 เพิ่มขึ้นร้อยละ 17 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สะท้อนให้เห็นถึงผลการดำเนินงานการส่งออกของกัมพูชา แม้จะเผชิญกับความท้าทายจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยตัวเลขจากรัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและสหรัฐฯมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 6,369 ล้านดอลลาร์ ในช่วงเวลาเดียวกันลดลงร้อยละ 22 เมื่อเทียบเป็นรายปี นั่นแสดงให้เห็นว่าการส่งออกสินค้าของสหรัฐฯไปยังกัมพูชาลดลง ซึ่งกัมพูชานำเข้าสินค้าอยู่ราว 312 ล้านดอลลาร์ โดยตัวเลขในเดือนพฤศจิกายน 2020 เพียงเดือนเดียว แสดงให้เห็นว่ากัมพูชาส่งออกไปยังสหรัฐฯ 526 ล้านดอลลาร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 32 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนการนำเข้าอยู่ที่ 42 ล้านดอลลาร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 9 ในทิศทางเดียวกัน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50802292/cambodian-exports-to-us-rising/

สามเดือนเมียนมาขาดดุลการค้ากว่า 230 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

กระทรวงพาณิชย์เผยขาดดุลการค้ากว่า 230 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ในปีงบประมาณปัจจุบันซึ่งสูงกว่า 14 ล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 63 ถึง 1 มกราคม 64 ในปีงบการเงิน 63-64 ส่งออกสินค้ามูลค่า 3.685 พันล้านเหรียญสหรัฐลดลงกว่า 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับปีที่แล้วและนำเข้ามีมูลค่ากว่า 3.920 พันล้านเหรียญสหรัฐลดลงกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ดังนั้นจึงขาดดุล 234.525 ล้านดอลลาร์สหรัฐในขณะที่ช่วงเดียวกันของปีงบประมาณที่แล้วมีการขาดดุลเพียง 89.233 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมียนมากำลังดำเนินการตามยุทธศาสตร์การส่งออกแห่งชาติเพื่อส่งเสริมการส่งออก แต่ไม่สามารถลดการนำเข้าสินค้าจำเป็นได้ ในทางปฏิบัติความพยายามในการลดการขาดดุลการค้าต้องเผชิญกับปัญหาบางประการ

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/myanmar-sees-trade-deficit-of-over-230m-in-three-months

คุมเข้มทุเรียนเพื่อนบ้านสวมสิทธิทุเรียนไทยส่งออกจีน

กรมการค้าต่างประเทศ สั่งคุมเข้มทุเรียนเพื่อนบ้านสวมสิทธิทุเรียนไทยส่งออกไปจีน ห่วงกระทบภาพลักษณ์ทุเรียน นายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า  กรมฯ ได้รับแจ้งให้สำนักงานพาณิชย์ และผู้ส่งออกจังหวัดจันทบุรีเร่งตรวจสอบ หลังพบว่ามีการนำเข้าทุเรียนจากประเทศเพื่อนบ้าน มาสวมสิทธิเป็นทุเรียนไทย พร้อมกับใช้หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าเพื่อขอรับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรส่งออกไปยังประเทศจีน ซึ่งถือเป็นการปลอมแปลงถิ่นกำเนิด และส่งผลต่อภาพลักษณ์รวมถึงชื่อเสียงของทุเรียนไทย “เพื่อป้องกันการสวมสิทธิทุเรียนไทย และป้องกันการแอบอ้างถิ่นกำเนิด กรมฯ จึงได้ดำเนินการเพิ่มสินค้าทุเรียนในบัญชีรายการสินค้าเฝ้าระวัง ซึ่งจะทำให้ขั้นตอนในการพิจารณาออกหนังสือรับรองฯ เข้มงวดและรัดกุมยิ่งขึ้น” หรับสินค้าทุเรียนที่ถูกสวมสิทธินั้น ประกอบด้วย ทุเรียนสด  พิกัดศุลกากร 0810.60 และทุเรียนแช่แข็ง  พิกัดศุลกากร 0811.90 ซึ่งกรมฯ ได้กำหนดแนวปฏิบัติในการออกหนังสือรับรองฯ ทุกประเภท สำหรับสินค้าทุเรียนดังกล่าว โดยให้ผู้ยื่นขอหนังสือรับรองฯ ต้องระบุข้อความยืนยันแหล่งที่มาของทุเรียนในประเทศที่ขอรับหนังสือรับรองฯ เพิ่มเติมลงในแบบขอรับการตรวจคุณสมบัติของสินค้าทางด้านถิ่นกำเนิดเพื่อขอใช้สิทธิพิเศษทางด้านภาษีศุลกากร  ตั้งแต่วันที่ 21 ธ.ค.63 เป็นต้นไป นายกีรติกล่าวว่า การดำเนินการดังกล่าว จะเป็นการดำเนินงานเชิงรุกในการป้องกันการสวมสิทธิและการแอบอ้างถิ่นกำเนิดสินค้าทุเรียน เพื่อให้ไทยได้รับความเชื่อถือและความมั่นใจจากประเทศคู่ค้าว่า ทุเรียนที่ส่งออกจากไทยเป็นทุเรียนที่มีถิ่นกำเนิดไทยจริง โดยจากสถิติการส่งออกทุเรียนสดและทุเรียนแช่แข็งของไทย ปี 63 (ม.ค.-ต.ค.) ปริมาณรวม 631,394 ตัน มูลค่า 69,153 ล้านบาท ปริมาณลดลง 4.2% แต่มูลค่าเพิ่มขึ้น 42.9%  เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 62 โดยส่งออกไปยังประเทศ 3 อันดับแรก ได้แก่ จีน ฮ่องกง และเวียดนาม ตามลำดับ

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/818113

เวียดนามเผยอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ คาดว่ายอดขายในประเทศพุ่ง แต่ส่งออกชะลอตัว

ตามรายงานของ SSI Research เปิดเผยว่าความต้องการปูนซีเมนต์ในประเทศคาดว่าจะเพิ่มขึ้นประมาณ 5-7% ในปีนี้ เมื่อเทียบกับปี 63 โดยยอดขายในประเทศที่เพิ่มขึ้นนั้น ส่วนใหญ่มาจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและการไหลเข้าของเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) รวมถึงการฟื้นตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ ล้วนส่งผลให้ความต้องการปูนซีเมนต์พุ่ง ในขณะที่การส่งออกปูนซีเมนต์ คาดว่าอยู่ในระดับไม่เปลี่ยนแปลง/ทรงตัว เนื่องจากความต้องการนำเข้าของจีนยังอยู่ในระดับสูง การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน อย่างไรก็ตามคงเป็นเรื่องยากที่จะเห็นการเติบโตสูงขึ้นในปี 63 เป็นผลมาจากอุปทานปูนซีเมนต์ของจีนที่กำลังค่อยๆฟื้นตัว ทั้งนี้ คาดการณ์ว่ากำลังการผลิตรวมของอุตสาหกรรมดังกล่าว จะเพิ่มขึ้น 7 ล้านตัน หรือ 7% เนื่องจากสายการผลิตใหม่ที่เริ่มเปิดดำเนินการในปลายปี 63 และต้นปีนี้ สำหรับการส่งออกของอุตสาหกรรมดังกล่าวนั้น พบว่าอุตฯ พึ่งพาตลาดจีนค่อนข้างมาก และสิ่งที่น่าเป็นห่วง คือการปรับนโยบายการคลังที่เข็มงวดขึ้นในอนาคตข้างหน้า

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/855281/cement-industry-domestic-sale-forecast-to-increase-but-export-to-slowdown.html

เวียดนามส่งออกเครื่องหนัง รองเท้า ปี 63 ดิ่งลง 10% ด้วยมูลค่า 16.5 พันดอลลาร์สหรัฐ

สมาคมรองเท้าและเครื่องหนังเวียดนาม (Lefaso) ระบุว่าในปี 2563 การส่งออกเครื่องหนังและรองเท้าของเวียดนาม คาดว่าจะลดลง 10% เมื่อเทียบเป็นรายปี ด้วยมูลค่า 16.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้าในท้องถิ่น ได้รับการสนับสนุนอย่างมากจากนโยบายภาครัฐบาล เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการส่งออกไว้ที่ 20 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2564 ทั้งนี้ อุตสาหกรรมเครื่องหนังของเวียดนาม ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการหยุดชะงักของการนำเข้าวัตถุดิบจากจีน ในขณะที่ ตลาดสหรัฐฯและยุโรปที่มีสัดส่วนรวมกันร้อยละ 70 ของยอดส่งออกเครื่องหนังของเวียดนาม ก็ถูกสั่งปิดจากการระบาดของโควิด-19 ด้วยเหตุนี้ ผู้ผลิตเครื่องหนังหลายรายของเวียดนาม ตกอยู่ภายใต้สถานกาณณ์ยากลำบากที่ไม่ได้รับคำสั่งซื้อใหม่ รวมถึงความล่าช้าของคำสั่งซื้อที่มีอยู่ อีกทั้ง ปัญหาสำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือธุรกิจขาดเงินทุนหมุนเวียน ซึ่งต้องได้รับการช่วยเหลือจากรัฐบาล เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnam-exports-of-leather-footwear-down-10-to-us165-billion-in-2020-315749.html

การส่งออกทางทะเลไปจีนของเมียนมาหวั่นพบอุปสรรค

อุตสาหกรรมอาหารทะเลของเมียนมาต้องใช้เส้นทางอื่นสำหรับการส่งออกไปยังประเทศจีนเนื่องจากความยากลำบากในการขนส่ง นาย U Tine Kyaw เลขาธิการสมาคมผู้ประกอบการค้าปลาไหลแของเมียนมากล่าวว่าการบริหารงานในจังหวัดต่างๆ ในจีนส่งผลให้ต้องใช้เส้นทางด่านมูเซเป็นเวลาสามเดือนแทนที่จะใช้เส้นทางชินฉ่วยฮ่อ สินค้าทางทะเลไม่สามารถส่งออกได้ ดังนั้นจึงใช้เส้นทาง Muse-Kyin San Kyawt แทน ซึ่งบางรายการต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ทั้งนี้การค้าขายจะหยุดหากประตูด่าน Kyin San Kyawt ถูกปิดลง

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-marine-exporters-face-roadblocks-china.html

กัมพูชาส่งออกยางพาราเป็นมูลค่ากว่า 459 ล้านดอลลาร์ในปี 2020

กัมพูชาส่งออกยางพาราถึง 340,000 ตัน ในปี 2020 สร้างรายได้จากการส่งออกกว่า 459 ล้านดอลลาร์ให้กับประเทศ รายงานโดยกระทรวงเกษตรป่าไม้และประมง ซึ่งกัมพูชามีพื้นที่สำหรับทำสวนยางพารารวม 401,914 เฮกตาร์ โดย 240,811 เฮกตาร์หรือคิดเป็นร้อยละ 60 ถือเป็นการทำสวนยางพาราในรูปแบบอุตสาหกรรม และ 161,103 เฮกตาร์ หรือคิดเป็นร้อยละ 40 เป็นการทำสวนยางพาราในครัวเรือน โดยกัมพูชามีการส่งออกยางพาราอยู่ที่ 282,071 ตัน ในปี 2019 เพิ่มขึ้นร้อยละ 30 จาก 217,501 ตันในปี 2018 ซึ่งตลาดส่งออกยางพาราที่สำคัญของกัมพูชาคือมาเลเซีย เวียดนาม สิงคโปร์ และจีนเป็นหลัก

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50800901/cambodias-rubber-export-reach-459-million-in-2020/

เวียดนามตั้งเป้าส่งออกอาหารทะเลปี 64 อยู่ที่ 9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ พุ่ง 6%YoY

ถึงแม้จะเกิดการระบาดของเชื้อไวรัส แต่กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม ได้ตั้งเป้าการส่งออกในปี 2564 ที่ 9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะที่ สมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเล กล่าวว่าในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ การส่งออกอาหารทะเลลดลง เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 อย่างไรก็ตามสถานการณ์เริ่มปรับตัวดีขึ้นจากเดือนกรกฎาคมและมีการเติบโตเป็นตัวเลขสองหลักตั้งแต่เดือนกันยายน เป็นผลมาจากการส่งออกกุ้งที่ขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องและสัญญาเชิงบวกจากผลิตภัณฑ์อาหารทะเลตั้งแต่เดือนสิงหาคม

ที่มา : https://e.nhipcaudautu.vn/economy/vietnam-targets-2021-seafood-exports-to-reach-9-bln-up-6-yoy-3338706/

เวียดนามส่งออกหน้ากากอนามัยพุ่ง 20% เดือนพฤศจิกายน

กรมศุลกากรเวียดนาม (GDVC) รายงานประจำเดือนว่าในเดือนพฤศจิกายน เวียดนามส่งออกหน้ากากอนามัยประมาณ 173 ล้านชิ้น เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนที่แล้ว ส่วนใหญ่ร้อยละ 50 ส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป สิงคโปร์ เกาหลีใต้และประเทศอื่นๆ ทั้งนี้ ในช่วง 11 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามส่งออกหน้ากากอนามัยรวมกว่า 1.3 พันล้านชิ้น และเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีเหงียน ซวน ฟุก ได้อนุมติให้ส่งออกหน้ากากอนามัยและอุปกรณ์ป้องกัน รวมถึงเตรียมรองรับกับความต้องการในประเทศและเก็บสำรองไว้ อย่างไรก็ตาม เมื่อเดือนกรกฎาคม ตัวเลขการส่งออกหน้ากากลดลง หลังจากควบคุมการระบาดของโควิด-19 ได้ในหลายๆประเทศ ประกอบกับคนในพื้นที่มีความสงบมากขึ้นและมีประสบการณ์ในการรับมือต่อเชื้อไวรัส ต่อมาในเดือนกันยายน ความต้องการหน้ากากอนามัยกลับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นผลมาจากประเทศทั่วโลกยังคงดิ้นรนหาทางออกจากวิกฤติโควิด-19 โดยเฉพาะในยุโรปและสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้ธุรกิจสิ่งทอในเวียดนามสามารถรักษาการประกอบกิจการและชดเชยกับการสูญเสียรายได้ที่ลดลงในปีนี้วมถึงไว้รับกับความต้องการในประเทละอุปกรารเงินร

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnams-exports-of-medical-face-masks-surge-over-20-in-november-315493.html

กัมพูชาส่งออกยางพาราเพิ่มสูงขึ้นในปีนี้

อธิบดีกระทรวงเกษตรกล่าวว่าการส่งออกยางของกัมพูชาคาดว่าจะสูงถึง 340,000 ตัน ภายในสิ้นปีนี้ โดยผู้อำนวยการฝ่ายการยางกล่าวว่าเป็นการเพิ่มขึ้นกว่า 280,000 ตัน ที่ส่งออกในปี 2019 และคาดว่าอัตราการส่งออกยางจะเพิ่มขึ้นจนถึงปี 2024 ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นทุกปีอยู่ในช่วง 30,000 และ 40,000 ตัน เนื่องจากต้นยางบางส่วนจะไม่สามารถสร้างน้ำยางได้อีกในช่วงเวลาดังกล่าว โดยปัจจุบันกัมพูชามีการเพาะปลูกต้นยางพารากว่า 410,000 เฮกตาร์ ภายในประเทศ และอยู่ระหว่างการเพาะปลูกอีกประมาณ 290,000 เฮกตาร์ ซึ่งกัมพูชาส่งออกยางแปรรูปไปยังเวียดนามราวร้อยละ 60 โดยที่เหลือส่วนใหญ่ส่งออกไปยังจีน มาเลเซีย สิงคโปร์ และยุโรป ซึ่งสมาคมพัฒนายางแห่งกัมพูชา (ARDC) กล่าวว่าขณะนี้ราคายางในกัมพูชามีแนวโน้มที่ดี โดยบริษัทในท้องถิ่นสามารถขายผลิตผลได้ถึง 1,700 ดอลลาร์ต่อตัน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50795539/kingdoms-rubber-exports-up-in-2020/