ปศุสัตว์ ปลื้มโควิดดันส่งออกหมูพุ่ง 344 %

ปศุสัตว์ ชี้นโยบายอาหารปลอดภัย ผนึกโควิด ทำตลาดต่างประเทศอ้าแขนรับ ดันส่งออก หมู เพิ่ม 344 % 1.3 หมื่นล้านบาท ด้านไก่ เพิ่ม 0.67 % มูลค่า 8.9 หมื่นล้านบาท รุ่ง ตลาดต่างประเทศอ้าแขนรับ ภาพรวมการผลิตและการส่งออกสินค้าปศุสัตว์สำคัญ โดยเฉพาะหมูและไก่เนื้อในช่วงที่ผ่านมา ไทยถือเป็นประเทศที่มีความโดดเด่นในระดับโลกด้านมาตรฐานความปลอดภัยในอาหาร (Food Safety ทำให้สินค้าปศุสัตว์ไทยเป็นที่ต้องการในตลาดโลก สะท้อนจากความสามารถในการส่งออกได้อย่างต่อเนื่อง ในช่วงม.ค.- ต.ค. 2563 การส่งออกสุกรและผลิตภัณฑ์ของไทย ในส่วนของสุกรมีชีวิตปริมาณรวม 2 ล้านตัว เพิ่มขึ้น 344.30% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน มูลค่า 1.3 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นการส่งออกสุกรขุน 1,9 ล้านตัวและส่งออกสุกรพันธุ์ 1แสนตัว ขณะที่การส่งออกเนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์ รวมถึงชิ้นส่วนอื่นๆ รวม 4.3 หมื่นล้านตัน มูลค่า5.1 พันล้านบาท สำหรับการส่งออกเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ ในช่วง 10 เดือนของปี 2563 ไทยมีปริมาณการส่งออกรวม 7.69 แสนตัน มากกว่าช่วงเดียวของปีก่อนหน้า 0.67% มูลค่ารวม 8.9 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นเนื้อไก่แปรรูป 58.50% ปริมาณ 4.5 แสนตัน มูลค่า 6.2 หมื่นล้านบาท และเนื้อไก่สด 41.50% ปริมาณ 3.1 แสนตัน มูลค่า 2.7 หมื่นล้านบาท โดยตลาดสำคัญของเนื้อไก่แปรรูป คือ ญี่ปุ่น อังกฤษ และอียู ขณะที่เนื้อไก่สดมีญี่ปุ่น จีน และอียู เป็นตลาดส่งออกที่สำคัญ

ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/906584

กัมพูชามองหาวิธีการลดต้นทุนอาหารสัตว์ที่ผลิตในท้องถิ่น

รัฐบาลกำลังมองหาข้อมูลจากภาคเอกชนเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของการผลิตอาหารสัตว์ในท้องถิ่นมากขึ้นเพื่อลดการนำเข้าจากต่างประเทศเพื่อจะช่วยให้อุตสาหกรรมขนาดเล็กและขนาดกลางดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ค่าไฟยังคงสูงสำหรับภูมิภาคตามที่กระทรวงเกษตรป่าไม้และการประมง (MAFF) รายงาน โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวง MAFF และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมจัดประชุมโต๊ะกลมเรื่องการผลิตอาหารสัตว์สำหรับอุตสาหกรรมในท้องถิ่น โดยมีส่วนร่วมจากสถาบันที่เกี่ยวข้องทั้งหมดรวมทั้งภาคเอกชน ซึ่งกระทรวงหารือถึงความท้าทายที่เกษตรกรเผชิญในห่วงโซ่ปศุสัตว์และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อให้การผลิตมีความสามารถในการแข่งขันต่อประเทศเพื่อนบ้านสร้างงานให้กับคนในท้องถิ่น โดยในปัจจุบันกัมพูชานำเข้าอาหารสัตว์เกือบร้อยละ 50 เนื่องจากราคาวัตถุดิบในท้องถิ่นเพิ่มสูงขึ้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50751913/methods-to-cut-costs-of-locally-produced-animal-feed-discussed/

เมียนมาลงทุนสร้างห้องเย็น 4 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากเงินกู้ของธนาคารโลก

กองปศุสัตว์และสัตวแพทย์ของเมียนมาเผยมีการกู้ยืมเงิน 4 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากธนาคารโลกเพื่อสร้างห้องเย็นสำหรับผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ในย่างกุ้ง เขตพะโค และเขตอิระวดี ซึ่ง Covid-19 ส่งผลต่อต่อภาคปศุสัตว์ของเมียนมา เพราะการหมุนเวียนของสินค้าล่าช้าเนื่องจากมีห้องเย็นไม่เพียงพอ จากข้อมูลพบว่าประเทศเพื่อนบ้านมีสินค้าส่วนเกินจากปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์สัตว์ที่ผลิตเมื่อเกิดโรคทำให้สินค้าใกล้หมดอายุและไม่เหมาะกับการบริโภค ซึ่งสินค้าเหล่านี้กำลังถูกนำเข้าทางชายแดนอย่างผิดกฏหมาย สหพันธ์ปศุสัตว์แห่งเมียนมาได้กำหนดรายชื่อผลิตภัณฑ์สัตว์ที่เข้ามาในประเทศอย่างผิดกฎหมายแล้ว เช่น ไก่สด (เนื้อและไข่) ไก่เนื้อ ไก่แช่แข็ง ไส้กรอก ไข่ ลูกหมู หมู และหมูแช่แข็ง มูลค่าการส่งออกของผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์อยู่ระหว่าง 4 ล้านดอลลาร์สหรัฐและ 13 ล้านดอลลาร์จากปีงบประมาณ 2548-2549 จนถึงปี 2560-2561 หลังจากการผ่อนปรนข้อจำกัดรัฐบาลอนุญาตให้มีการส่งออกสัตว์มีชีวิตได้ซึ่งได้รับความร่วมมือของผู้ประกอบการ ส่วนมูลค่าการส่งออกในรอบปีเพิ่มขึ้นเป็น 562.859 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/cold-storage-factories-to-be-built-with-4m-world-bank-loan

เมียนมานำเข้าลูกไก่มากกว่า 19 ล้านตัวเพื่อลดปัญหาขาดแคลนสัตว์ปีกในประเทศ

สำนักงานอุตสาหกรรมปศุสัตว์แห่งมัณฑะเลย์เผยรัฐบาลอนุญาตให้เกษตรกรนำเข้าลูกไก่มากกว่า 19 ล้านตัวเพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนสัตว์ปีกที่เกิดจากการระบาดของ COVID-19 นับตั้งแต่เดือนที่ผ่านมาการผลิตไก่ลดลงมากถึง 40% ราคาขายส่งไก่เพิ่มขึ้นเป็น 5,000-5,500 จัต (4 ดอลล่าร์สหรัฐ) และราคาขายปลีกอยู่ที่ 8,000-10,000 จัต ทำให้ราคาไก่ในฟาร์มเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ดังนั้นรัฐบาลจึงอนุญาตให้นำเข้าไก่จำนวน 19.2 ล้านตัวตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนกรกฎาคม ส่วนเครื่องเพาะพันธุ์ไก่มีกำลังการผลิตเพียงพอ แต่สามารถอนุญาตให้นำเข้าได้เนื่องจากการขาดแคลนอุปทาน คาดว่าจะกลับสู่ภาวะปกติในเดือนกรกฎาคม และราคาไก่เริ่มลดลงเรื่อย ๆ โดยราคาสูงสุดจะอยู่ที่ 5,500 จัต ต่อ 1.63 กิโลกรัมและตอนนี้อยู่ที่ 4,400 จัต ผู้ผลิตสัตว์ปีกได้หันมามาทำห้องเย็นที่ทันสมัยและปรับปรุงพันธุ์จากโรงงานเพื่อรับมือกับความท้าทายจากจำนวนคู่แข่งต่างชาติที่เพิ่มขึ้นในภาคนี้

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-imports-over-19-million-chicks-ease-poultry-shortage.html

คาดอุตสาหกรรมปศุสัตว์ในกัมพูชากำลังจะเติบโต

ภาคปศุสัตว์ในกัมพูชาคาดว่าจะเติบโตขึ้นเล็กน้อยที่ร้อยละ 1.1 ในปีนี้ โดยอัตราการเติบโตจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 1.6 ในปี 2564 ตามรายงานล่าสุดจากรัฐบาล ซึ่งเป็นไปตามความคาดหวังของการเลี้ยงสัตว์เชิงพาณิชย์ขนาดเล็กและขนาดใหญ่โดยเฉพาะสุกรและไก่สด รวมถึงส่งผลให้คนในท้องถิ่นได้บริโภคเนื้อสัตว์ในราคาที่เหมาะสม โดยรัฐบาลมีการสนับสนุนและจะช่วยสร้างงานและสร้างรายได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับแรงงานกลุ่มที่อพยพกลับมายังประเทศรวมถึงแรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าที่ได้รับผลกระทบในช่วงวิกฤตการณ์ COVID-19 ซึ่งประธานสมาคมผู้เลี้ยงปศุสัตว์กัมพูชากล่าวว่าสัตว์ปีกถือเป็นกลุ่มที่มีการศักยภาพมากที่สุด โดยสังเกตเห็นว่าไก่และเป็ดประมาณ 10,000-12,000 ตัว ถูกส่งไปยังตลาดในประเทศทุกวัน รวมถึงภายในประเทศมีปัญหาการขาดแคลนเนื้อหมูอยู่ประมาณ 300 ตันต่อวัน หรือคิดเป็นหมูสดประมาณ 3,000 ตัว ทำให้มองเห็นถึงโอกาสในด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม เพื่อตอบสนองต่ออุปสงค์ภายในประเทศ และเพื่อการส่งออกในอนาคต

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50737483/animal-husbandry-to-rise/

สมาคมปศุสัตว์กัมพูชากำลังเร่งทำงานเพื่อลดราคาเนื้อหมูภายในประเทศ

สมาคมผู้เลี้ยงปศุสัตว์กัมพูชาแถลงว่าจะทำงานเพื่อลดราคาเนื้อหมูภายในสัปดาห์หน้าเพื่อรองรับต่อผู้บริโภคในท้องถิ่น โดยการปรับราคาขึ้นหลังจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรแสดงความกังวลเกี่ยวกับราคาเนื้อหมูที่สูงในตลาดภายในประเทศ ณ ปัจจุบัน ซึ่งสมาคมจะทำงานร่วมกับเกษตรกรในท้องถิ่นเพื่อหาวิธีที่จะสามารถลดราคาเนื้อหมูในท้องถิ่นให้เหลือเพียง 12,000 เรียล (ประมาณ 3 ดอลลาร์) ต่อกิโลกรัม โดยมีรายงานว่าเกษตรกรผู้เพาะปลูกในท้องถิ่นหลายคนแสดงความตั้งใจที่จะขยายการทำฟาร์มปศุสัตว์หลังจากที่นายกรัฐมนตรีฮุนเซนเรียกร้องให้ลดการนำเข้าพืชผักและปศุสัตว์ลงเพื่อกระตุ้นการผลิตในท้องถิ่น ซึ่งในบรรดาการทำฟาร์มทุกประเภทการเลี้ยงหมูกำลังเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากหลังจากราคาเนื้อหมูในท้องถิ่นเพิ่มขึ้นในปัจจุบันราคาเนื้อหมูในตลาดอยู่ในช่วง 13,200 เรียล (ประมาณ 3.25 ดอลลาร์) ถึง 14,200 เรียล (ประมาณ 3.50 ดอลลาร์) ต่อกิโลกรัม

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50733576/livestock-association-to-lower-price-of-pork/

การส่งออกปศุสัตว์สร้างรายได้สูงสุดในสินค้าเกษตร

การส่งออกปศุสัตว์สร้างรายได้สูงสุดในกลุ่มสินค้าเกษตร มีมูลค่ามากถึง 217.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งมากกว่า กล้วยไม้และยางที่เคยเป็นสินค้าที่สร้างรายได้สูงสุดแก่สปป.ลาว โดยประเทศคู่ค้าที่สำคัญในการส่งออกปศุสัตว์ของสปป.ลาวคือ เวียดนาม ซึ่งปศุสัตว์เป็น 1 ใน 2 ผลิตภัณฑ์ยอดนิยมที่สปป.ลาวขายให้กับเวียดนามโดยมีมูลค่าการส่งออกเกือบ 220 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งใน 20 อันดับแรกของผลิตภัณฑ์ที่ส่งออกไปยังประเทศจีนด้วยยอดขายมูลค่า 7.5 ล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้จีนถือเป็นประเทศที่มีความต้องการในปศุสัตว์สปป.ลาวสูง โดยตลาดในยูนนานของจีนต้องการปศุสัตว์ 500,000 ตัวจากสปป.ลาวเป็นประจำทุกปี สินค้ากลุ่มนี้จึงเป็นสินค้าที่น่าสนใจเพราะอนาคตจะเติบโตได้อีกและสปป.ลาว ยังมีศักยภาพในการแข่งขันด้วยปัจจัยที่สปป.ลาวมีที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงโคเพื่อการค้านั้นเอง

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/livestock-top-earner-among-laos%E2%80%99-agricultural-exports-113626

การลงทุนที่จำเป็นสำหรับสปป.ลาวเพื่อเก็บเกี่ยวผลกำไรจากการเกษตร

อุปสงค์ในระดับภูมิภาคสำหรับพืชผลและปศุสัตว์ยังคงอยู่ในระดับสูง แต่สปป.ลาวไม่สามารถใช้ประโยชน์จากศักยภาพที่จะสนองความต้องการของตลาดในภูมิภาคได้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกสิกรรมและป่าไม้เน้นย้ำความจำเป็นที่  สปป.ลาวจะต้องดึงดูดการลงทุนด้านการเกษตรเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับตลาดส่งออก หนึ่งในความท้าทายที่สำคัญคือเกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงปฏิบัติการเกษตรแบบยังชีพด้วยวิธีการผลิตแบบดั้งเดิมซึ่งไม่สามารถผลิตได้เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ปัญหาอีกประการหนึ่งคือผลผลิตในฟาร์มคุณภาพต่ำและการกระจายตัวของห่วงโซ่คุณค่า ซึ่งการรวมตัวกันของแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดในการทำฟาร์มเป็นสิ่งสำคัญในการปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์และลดต้นทุน และเชื่อมโยงเกษตรกรและผู้ผลิตเข้ากับธุรกิจการเกษตรและโรงงานแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าส่งออก อีกทั้งสปป.ลาวยังมีศักยภาพสูงในการปลูกพืชอินทรีย์เพื่อการค้าเนื่องจากความต้องการอาหารที่สะอาดเพิ่มขึ้นเนื่องจากผู้บริโภคมีความห่วงใยสุขภาพมากขึ้น

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/more-investment-needed-laos-reap-profits-agriculture-102737