ซูซูกิ มอเตอร์ เมียนมา เลื่อนส่งมอบรถออกไปอย่างไม่มีกำหนด

Suzuki Motor เมียนมา ออกมาแถลงข่าวว่า ยังไม่สามารถระบุได้ว่ะส่งมอบบรถให้กับลูกค้าได้เมื่อใด เนื่องจากปัจจุบันมีความล่าช้าในการนำเข้าอุปกรณ์ประกอบรถยนต์และวัสดุในการผลิต เป็นผลประกาศหยุดสายพานผลิตที่ บริษัท ซูซูกิ (เมียนมาร์) มอเตอร์ จำกัด และ บริษัท ซูซูกิติลาวามอเตอร์ จำกัด เป็นการชั่วคราว ทั้งนี้ บรัทฯ จะรับผิดชอบอย่างเต็มที่ในด้านการรับประกันและการบริการให้ถึงมือลูกค้าอย่างปลอดภัย

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/suzuki-motor-says-it-is-not-possible-to-predict-when-the-vehicle-will-be-delivered-to-those-who

การผลิตรถยนต์ต่ำ ฉุดซัพพลายเออร์ชิ้นส่วนยานยนต์เวียดนาม

ปริมาณการผลิตรถยนต์ขั้นต่ำอยู่ที่ 50,000 คันต่อปี สำหรับการเติบโตของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์เวียดนาม แต่มีผู้ผลิตเพียงไม่กี่รายที่สามารถบรรลุระดับการผลิตยานยนต์ดังกล่าวได้ ผู้ผลิตยานยนต์อย่างโตโยต้า (Toyota) และฮุนได้ (Hyundai) ผ่านเกณฑ์ระดับการผลิตยานยนต์ในปี 2564 ด้วยปริมาณการผลิตยานยนต์ 64,172 และ 56,028 คัน ตามลำดับ ในขณะที่เกีย (Kia) ไม่ผ่านระดับการผลิตยานยนต์อยู่ที่ 35,181 คัน รองลงมาวินฟาสต์ (VinFast) 34,746 คัน และมิตซูบิชิ (Mitsubishi) 26,346 คัน

ทั้งนี้ คุณ Truong Thị Chí Bình ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันยุทธศาสตร์และนโยบายอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม กล่าวว่าระดับการผลิตยานยนต์ขั้นต่ำถือเป็นความล้มเหลวของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ของเวียดนาม และปริมาณการผลิตที่อยู่ในระดับต่ำ แสดงให้เห็นถึงความต้องการชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศต่ำ ทำให้ซัพพลายเออร์ไม่กล้าที่จะลงทุนในสายการผลิตใหม่

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1166036/low-level-of-car-production-holds-back-vietnamese-auto-part-suppliers.html

‘ตลาดยานยนต์เวียดนาม’ ปี 64 พุ่งทะยาน

สมาคมผู้ผลิตยานยนต์เวียดนาม (VAMA) เปิดเผยรายงานพบว่าสมาชิกฯ ทำยอดขายได้ 304,149 คัน ในปี 2564 เพิ่มขึ้น 3% เมื่อเทียบกับปีก่อน แบ่งออกเป็นยอดขายยานยนต์นั่งส่วนบุคคล ลดลง 3%, ยานยนต์เพื่อการพาณิชย์ เพิ่มขึ้น 17% และยานยนต์เฉพาะทาง เพิ่มขึ้น 50% โดยในบรรดายานยนต์ที่จำหน่ายนั้น มีรถยนต์ประกอบในประเทศ 168,357 คัน รองลงมายานยนต์ที่ผลิตต่างประเทศ 135,792 คัน ลดลง 10% และเพิ่มขึ้น 24% เมื่อเทียบเป็นรายปี ตามลำดับ ทั้งนี้ ฮุนได (Hyundai) ยังคงเป็นแบรนด์ยานยนต์เพียงค่ายเดียวที่มียอดขายสูงสุดในปี 2564 ด้วยยอดขาย 70,518 คัน รองลงมาโตโยต้า (67,533 คัน), เกีย (45,532 คัน), วินฟาสต์ (35,723 คัน), มาสด้า (27,286 คัน), มิตซูบิชิ (27,243 คัน), ฟอร์ด (23,708 คัน) และฮอนด้า (21,698 คัน)

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1115045/vn-automobile-market-inched-up-in-2021.html

‘เวียดนาม’ ชี้ยอดขายยานยนต์เริ่มส่งสัญญาบวกสิ้นปีนี้

สมาคมผู้ผลิตยานยนต์เวียดนาม (VAMA) รายงานว่ายอดขายยานยนต์เวียดนาม เพิ่มขึ้น 52% เมื่อเดือนที่แล้ว หลังจากลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 แสดงให้เห็นถึงสัญญาบวกสำหรับตลาดยานยนต์ในช่วงปลายปี โดยยอดขายยานยนต์รวมทั้งสิ้นของสมาชิก VAMA ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ อยู่ที่ 188,937 คัน เพิ่มขึ้น 5% เมื่อเทียบเป็นรายปี ยอดขายรถยนต์นั่ง 129,896 คัน ลดลง 0.3% เมื่อเทียบเป็นรายปี ในขณะที่ยอดขายรถยนต์เชิงพาณิชย์และรถยนต์เฉพาะทาง 54,920 คันและ 4,121 คัน เพิ่มขึ้น 19% และ 56% เมื่อเทียบเป็นรายปี ตามลำดับ ทั้งนี้ ภาคธุรกิจมองว่าการเติบโตของยอดขายในเดือนก่อนหน้า เป็นผลมาจากรัฐบาลสามารถควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 ได้ ในขณะเดียวกันหลายๆ จังหวัดและหัวมืองทั่วประเทศ ผ่อนคลายมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม เพื่อกลับมาเข้าสู่ “ความปกติรูปแบบใหม่” ซึ่งมีส่วนช่วยในการกระตุ้นยอดขายยานยนต์

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1058751/positive-signs-for-year-end-car-shopping.html

VinFast ค่ายรถยนต์เวียดนาม ประกาศลุยเปิดสาขาในตลาดอเมริกาเหนือและยุโรป

‘VinFast’ ค่ายรถยนต์เวียดนาม เตรียมเปิดสาขาอย่างเป็นทางการในสหรัฐฯ แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนีและเนเธอแลนด์ และก้าวเข้าสู่การเป็นบริษัทรถยนต์ไฟฟ้าอัจฉริยะระดับโลก โดยตามแผนของบริษัทจะเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าอัจฉริยะสองรุ่น ได้แก่ VF e35 และ VF e36 ไปยังทั่วโลก ด้วยการออกแบบที่ล้ำสมัยและโครงภายนอกที่น่าดึงดูดและอำนวยความสะดวกในระดับสูง พร้อมกับมีมาตรฐานความปลอดภัยของ NHTSA และ EURO NCAP ทั้งนี้ สหรัฐฯ แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนีและเนเธอร์แลนด์ ถือเป็นตลาดสำคัญที่จะขยายธุรกิจของบริษัทและวางรากฐานการดำเนินธุรกิจในประเทศเหล่านี้

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/991133/vinfast-officially-begins-operations-in-north-america-and-europe.html

เวียดนามนำเข้ายานยนต์พุ่ง 20% ในเดือนก.พ.

กรมศุลกากรเวียดนาม เผยว่าในเดือนกุมภาพันธ์ เวียดนามนำเข้ายานยนต์จำนวน 10,039 คัน คิดเป็นมูลค่า 209 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 20.3% เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว ในแง่ของจำนวน และหดตัว 1.88% ในแง่ของมูลค่า โดยส่วนใหญ่ราว 90% นำเข้ามาจากไทย (5,200 คัน), อินโดนีเซีย (3,300 คัน) และจีน (589 คัน) ตามลำดับ ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาในภาพรวม จะเห็นว่าในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามนำเข้ายานยนต์ประมาณ 18,400 คัน เพิ่มขึ้น 23.7% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยเฉพาะยานยนต์นั่งส่วนบุคคลที่มีสัดส่วนมากที่สุดถึง 66.3% ของส่วนแบ่งการตลาด อย่างไรก็ตาม จากตัวเลขสถิติของกรมศุลฯ ชี้ให้เห็นว่าเวียดนามนำเข้าชิ้นส่วนและส่วนประกอบยานยนต์ 345 ล้านเหรียญสหรัฐในเดือนกุมภาพันธ์ และส่วนใหญ่นำเข้าจากเกาหลีใต้ ไทย จีนและอินเดีย

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnam-car-imports-surge-over-20-in-february-316742.html

เวียดนามไปไกล Foxconn จีบ Vinfast ‘สตาร์ทเครื่อง’ รถ EV

โดย Marketeer

แผนรุกตลาดรถ EV ของ “ยักษ์โรงงาน OEM” มาถึงประเทศที่เศรษฐกิจขยายตัวลำดับต้นๆ ใน ASEAN แล้ว โดย Foxconn เริ่ม ‘เปิดดีล’ สร้างรถ EV ในเวียดนามกับ Vinfast แบรนด์รถเวียดนามใต้ชายคา VinGroup ย้ำความต้องการรุกธุรกิจยานยนต์ของฝ่ายแรกและศักยภาพของฝ่ายหลัง ท่ามกลางของขยายตัวทางเศรษฐกิจของเวียดนามซึ่งโรงงานอุตสาหกรรมมีส่วนสำคัญ

แม้สร้างชื่อจากการเป็นเบอร์ใหญ่ในอุตสาหกรรมรับจ้างผลิต (OEM) และมี iPhone เป็นลูกค้าสำคัญ แต่ Foxconn ก็เริ่มรุกสู่วงการรถ EV แล้ว เพื่อหนี Disruption หลังเทรนด์ตลาด Gadget มุ่งสู่อุปกรณ์สั่งการด้วยเสียง

และเห็นว่ารถ EV เป็นธุรกิจมีอนาคต ตามการหันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมของคนทั่วโลก จนตลาดทวีความคึกคัก มีข่าวคืบหน้าพัฒนารถ EV จากบรรดาแบรนด์รถออกมาไม่ขาดสาย

เพื่อผลักดันแผนรุกตลาดรถ EV ให้เดินหน้า Foxconn เลือกใช้จุดแข็งเรื่องการผลิตอุปกรณ์ IT และ Smart Device รวมถึงการเป็นยักษ์ฌโรงงาน ไปจับมือกับค่ายรถมากมาย ตั้งแต่เบอร์ใหญ่ๆ อย่าง Fiat Chrysler Automobile (FCA) และ Geely ไปจนถึงแบรนด์เล็กที่มีจุดแข็งเรื่อง Design และชื่อเสียงของผู้ก่อตั้งอย่าง Fisker

ล่าสุดแผน ‘ตัดถนน’ สู่วงการรถ EV ของ Foxconn มาถึงเวียดนาม โดย Reuters รายงานอ้างแหล่งข่าวว่า Foxconn อยู่ระหว่างการเจรจาขั้นต้นกับ Vinfast พัฒนารถ EV

แม้ยังต้องติดตามติดกันต่อไปว่าดีลนี้จะคืบหน้าจนนำสู่การผลิตอย่างจริงจังหรือหยุดลงแค่การคุยกันเบื้องต้น แต่ก็เป็นชี้ว่า Foxconn เล็งเห็นถึงศักยภาพของ Vinfast บริษัทยานยนต์อายุเพียง 4 ปีใต้ชายคา Vingroup ของ Pham Nhat Vuong มหาเศรษฐีอันดับ 1 ของเวียดนาม และย้ำถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามที่โรงงานอุตสาหกรรมมีส่วนสำคัญ

ที่มา : https://marketeeronline.co/archives/212444

การค้าชายแดนปี’ 64 มีลุ้นเติบโต 4.3% จับตาการค้าข้ามแดนไปประเทศที่ 3

โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย (KResearch)

การค้าชายแดนและผ่านแดนของไทยในปีที่ผ่านมาเผชิญความท้าทายอย่างมากจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ทั่วโลกต้องประสบเป็นปีแรกไม่เพียงทำให้กำลังซื้อของคู่ค้าชะลอตัว ยังทำให้พรมแดนระหว่างประเทศจำเป็นต้องจำกัดจุดผ่านแดนเหลือเพียงเฉพาะช่องทางที่สำคัญเท่านั้น รวมทั้งเพิ่มมาตรการเข้มงวดในการตรวจปล่อยรถขนส่งสินค้า สิ่งเหล่านี้กดดันการส่งออกชายแดนและผ่านแดนของไทยในภาพรวมให้หดตัวร้อยละ 2.16 มีมูลค่า 766,314 ล้านบาท ในปี 2563

สำหรับปี 2564 เป็นอีกปีที่โควิด-19 ยังไม่คลี่คลาย แต่ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าของไทยเริ่มปรับตัวดีขึ้นกว่าเดิม มีทั้งปัจจัยด้านราคาน้ำมันที่เข้ามาช่วยเสริมให้ตัวเลขการค้าชายแดนพลิกฟื้นกลับมา ขณะที่โครงสร้างการส่งออกสินค้าของไทยที่พึ่งพาตลาดประเทศที่มีพรมแดนติดกับไทยเกินกว่าครึ่ง (เมียนมา สปป.ลาว กัมพูชาและมาเลเซีย) กลายเป็นจุดอ่อนสำคัญที่ฉุดการส่งออกชายแดนในภาพรวมลดลงตลอด 3 ปีที่ผ่านมา โดยคาดว่าในปี 2564 การส่งออกชายแดนไปตลาดเหล่านี้จะยังมีทิศทางเติบโตเชื่องช้าต่อไปขยายตัวเพียงร้อยละ 1.3 มีมูลค่าการส่งออก 454,005 ล้านบาท ดังนี้

  • การส่งออกชายแดนของไทยเริ่มมีปัญหามีมูลค่าการค้าลดลงเรื่อยมา ด้วยข้อจำกัดด้านกำลังซื้อและจำนวนประชากรของคู่ค้า จึงทำให้ทิศทางการส่งออกไปยังตลาดเหล่านี้เติบโตได้อย่างจำกัด โดยเฉพาะประเทศที่มีพรมแดนติดกับไทยอย่าง สปป.ลาว และกัมพูชา
  • โครงสร้างการส่งออกสินค้าแบบเดิมของไทยตอบโจทย์ตลาดคู่ค้าได้น้อยลง

จะเห็นได้ว่าโครงสร้างการส่งออกของไทยไม่เอื้อต่อการส่งออกไปยังตลาดชายแดนหลักของไทยดังเช่นในอดีต ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ตลาดดาวรุ่งที่จะมาสนับสนุนการค้าชายแดนของไทยอยู่ที่การส่งสินค้าผ่านแดนไปประเทศที่ 3 (สิงคโปร์ จีน เวียดนาม และประเทศอื่นๆ) ซึ่งเริ่มมีสัญญาณเติบโตมาระยะหนึ่ง โดยสัดส่วนการส่งออกไปตลาดนี้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 43 ของการส่งออกชายแดนและผ่านแดน (จากที่เคยมีสัดส่วนร้อยละ 37 ในปี 2561) อีกทั้งสินค้าไทยที่ไปตลาดนี้มีศักยภาพโดดเด่นจึงน่าจะเติบโตได้ดีกว่าตลาดอื่นๆ โดยคาดว่าปี 2564 จะเติบโตที่ร้อยละ 8.5 มีมูลค่าส่งออกราว 345,191 ล้านบาท

โดยสรุป ด้วยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าที่น่าจะปรับตัวดีขึ้นจากปีก่อน ซึ่งได้ผ่านพ้นสถานการณ์โควิด-19 มาได้อีกปีหนึ่ง ซึ่งแน่นอนว่าหลายประเทศยังต้องพึ่งพาการบริโภคสินค้าจากไทย รวมถึงสินค้าในกลุ่ม IT มีสัญญาณเร่งตัวตามกระแสโลกอย่างต่อเนื่องยิ่งผลักดันการส่งออกสินค้าผ่านแดนไปประเทศที่ 3 ให้มีบทบาทสำคัญ ด้วยแรงขับเคลื่อนดังกล่าว

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า การส่งออกชายแดนและผ่านแดนของไทยปี 2564 จะพลิกกลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 4.3 มีมูลค่าการส่งออก 799,195 ล้านบาท (กรอบประมาณการเติบโตที่ร้อยละ 3.3-5.5 มีมูลค่าการส่งออก 791,602-808,461 ล้านบาท) โดยขึ้นอยู่กับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าในการรับมือกับการระบาดของโควิด-19 ได้ดีเพียงใด การส่งออกไปตลาดส่วนใหญ่กลับมาขยายตัวยกเว้นบางประเทศที่หดตัวจากปัจจัยเฉพาะ อาทิ เมียนมาที่มีปัญหาการเมืองในประเทศฉุดเศรษฐกิจ และโรคระบาดในสุกรที่กัมพูชาทำให้ฐานปีก่อนสูงผิดปกติอย่างมาก

นอกจากนี้ สิ่งที่ต้องจับตาในระยะต่อไป ต้องยอมรับว่าโครงสร้างการผลิตและส่งออกของไทยในปัจจุบันไม่เอื้อให้ค้าชายแดนไทยเติบโตได้อย่างมั่งคงนัก เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นสินค้ามีมูลค่าเพิ่มน้อยในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค อาหารและเครื่องดื่ม ขนาดตลาดมีจำกัดจึงไม่สามารถผลักดันค้าชายแดนให้เร่งตัวได้มาก ทำได้เพียงแค่ประคองการเติบโตไปตามภาวะเศรษฐกิจของคู่ค้าเป็นหลัก ขณะที่สินค้าที่ใช้วัตถุดิบในไทยอย่างยางพารากับผลไม้เมืองร้อน ซึ่งมีศักยภาพโดดเด่นในตัวเองมีส่วนช่วยขับเคลื่อนค้าชายแดนไทยไปยังประเทศจีนและเวียดนามได้อย่างต่อเนื่องและยังคงมีช่องทางอันสดใส แต่สินค้าที่สร้างมูลค่าเพิ่มสูงในกลุ่มยานยนต์ เทคโนโลยีโดยเฉพาะสินค้า IT ที่อยู่ในกระแสความต้องการของตลาดโลกยังมีโอกาสเติบโตได้อย่างไม่หยุดยั้ง นับว่ามีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นการค้าชายแดนของไทยนับจากนี้ไป แต่สินค้าเหล่านี้จะยังคงเป็นแรงส่งให้แก่ไทยได้อีกนานแค่ไหนนั้นคงขึ้นอยู่กับการตัดสินใจลงทุนของต่างชาติว่าจะเลือกลงทุนในไทยหรือย้ายไปตั้งฐานการผลิตที่อื่น ดังนั้น การกระตุ้นการค้าชายแดนซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งของการค้าในภาพรวมของไทยก็คงต้องเริ่มจาการแก้ปัญหาโครงสร้างการผลิตของไทยให้ยกระดับไปอีกขั้น จนสินค้าไทยเกิดความโดดเด่นเป็นที่ต้องการของคู่ค้าเหนือคู่แข่งชาติอื่นๆ

ที่มา :

/1 https://kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business/Pages/Border-Trade-z3191.aspx

/2 https://www.moneyandbanking.co.th/article/news/kresearch-frontier-19022021

พัฒนาการของไทย สู่ ‘ฮับ’ ยานยนต์ไฟฟ้าอาเซียน

ยานยนต์ไฟฟ้า ถูกหยิบยกมาพูดถึงกันอย่างจริงจังในประเทศไทยเมื่อ 5-6 ปีที่ผ่านมา ทั้งในฐานะ “อุตสาหกรรมใหม่” และในฐานะ “หนทางแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม” ของประเทศ หลายปีที่ผ่านมาดูเหมือนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลงเหมือนเช่นที่ผ่านมา ทั้งนี้ยานยนต์ไฟฟ้าในไทยไม่เฉพาะแต่เพียงรถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่ใช้ไฟฟ้าเป็นพลังงานเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ยานยนต์ไฟฟ้าในไทย แตกแขนงออกไปในหลากหลายรูปแบบ ทั้งที่เป็นรถบัสโดยสาร รถตุ๊กตุ๊ก รถขนาดเล็ก 4 ที่นั่งสำหรับใช้งานในเมือง บริการเช่ารถไฟฟ้า แอพพลิเคชั่นสำหรับเช่ารถไฟฟ้า เรื่อยไปจนถึงเรือใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่สำหรับให้บริการนักท่องเที่ยว โดยทั้งหมดนั่นเริ่มต้นจากพื้นฐานของการเป็น “ฐานการผลิตรถยนต์ขนาดใหญ่ที่สุดอันดับ 11 ของโลก และเป็นอันดับ 4 ในเอเชีย เป็นรองเพียงแค่จีน, ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้เท่านั้น” ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา
อุตสาหกรรมรถยนต์ที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากโควิด-19 ในเวลานี้ “โรดแม็ป” ของไทยในการส่งเสริมการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า หรืออีวี ตั้งเป้าหมายเอาไว้ที่ราวร้อยละ 30 ของรถยนต์ทั้งหมดที่ผลิตได้ในประเทศในปีหนึ่งๆ หรือราว 750,000 คัน ต้องเป็นรถยนต์ที่ใช้ไฟฟ้าภายในสิ้นทศวรรษนี้ จัดสรร “แรงจูงใจ” เชิงภาษีให้เพื่อดึงดูดบรรดาค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่ให้เข้ามาร่วมอยู่ในโครงการนี้

ที่มา : https://www.matichonweekly.com/column/article_390875

บริษัทผู้จัดจำหน่ายยานยนต์ในกัมพูชากำลังได้รับผลกระทบจากโควิด-19

โควิด-19 ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ของกัมพูชาเป็นอย่างมากโดยปริมาณการค้าลดลงเกือบร้อยละ 40 เมื่อเทียบกับปีก่อน จากสถิติการนำเข้าและส่งออกล่าสุดในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ปริมาณการส่งออกรถยนต์และรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 34.1 และ 39.5 ตามลำดับ โดยผู้จำหน่ายรถยนต์รายใหญ่ในประเทศระบุว่าอุปทานและอุปสงค์ในภาคนี้ลดลงจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นสำคัญ ซึ่ง RMA Group (RMA) ระบุว่าเนื่องจากโครงการลงทุนภาคเอกชนและภาครัฐขนาดใหญ่หลายโครงการในกัมพูชาถูกเลื่อนหรือยกเลิก ประกอบกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ลดลง อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการโรงแรมต้องประสบกับความสูญเสียอย่างหนัก ทั้งธนาคารของประเทศที่กำลังระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้นส่งผลให้ความต้องการรถยนต์ลดลงไปด้วย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50795854/automotive-firms-hit-on-imports-exports/