รัฐบาลสปป.ลาวเปิดประมูลซื้อรถยนต์ไฟฟ้า

รัฐบาลลาวได้เปิดกระบวนการประมูลซื้อรถยนต์ไฟฟ้ากว่าร้อยคันสำหรับผู้นำพรรคและรัฐบาล รัฐบาลหวังที่จะซื้อยานพาหนะไฟฟ้าจำนวน 183 คัน รวมถึงรถยนต์ไฟฟ้า 23 คันที่มีกำลังมอเตอร์ 121KW-163KW และรถยนต์ไฟฟ้าอีก 160 คันที่มีกำลังมอเตอร์ 100KW-160KWรัฐบาลลาวได้หารือเกี่ยวกับการจัดซื้อยานพาหนะไฟฟ้าสำหรับเจ้าหน้าที่ระดับสูงตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 โดยมีเป้าหมายที่จะแทนที่รถยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซินด้วยรถยนต์ไฟฟ้าตามมาตรการลดต้นทุนเป็นการนำร่องการนำรถไฟฟ้ามาใช้ในประเทศโดยหวังว่าการนำรถไฟฟ้ามาทดแทนจะช่วยเหลือเรื่องสิ่งแวดล้อมตามเทรนด์โลกที่กำลังให้ความสนใจในเรื่องนี้

ที่มา : https://laotiantimes.com/2022/03/30/government-of-laos-opens-bidding-for-electric-vehicle-purchase/

‘IFC’ ทุ่ม 30 ล้านเหรียญสหรัฐ เหตุสร้างโรงงานผลิตพลังงานจากขยะในเวียดนาม

บรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (IFC) อนุมัติเงินทุนกว่า 30 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อทำการก่อสร้างโรงงานผลิตพลังงานจากขยะในจังหวัดบั๊กนิญ (Bắc Ninh) ถือเป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนเวียดนามเพื่อให้เวียดนามลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์ในปี 2050 โดยโรงงานแห่งนี้คาดว่าจะเริ่มดำเนินการในปี 2024 และจะเผาขยะ 500 ตันต่อวัน และเผาขยะอุตสาหกรรทุกวัน มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มความสามารถในการบำบัดของเสียและลดผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อม
ทั้งนี้ โรงงานเผาขยะจะสร้างพลังงานสะอาดได้ถึง 91,872 เมกะวัตต์ต่อชั่วโมงในแต่ละปี และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณ 600,000 ตันในระยะเวลาเพียง 15 ปี ซึ่งพลังงานที่ผลิตได้นั้นจะขายให้กับบริษัท Vietnam Electricity Corporation ภายใต้โครงการซื้อไฟฟ้า Feed-in-Tariff (FiT) เป็นระยะเวลา 20 ปี
ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/vietnams-trade-revenue-to-surpass-us-660-billion-this-year-38697.html

เอดีบีลงขันมูลค่า 665 ล้านเหรียญ ฟื้นฟูเศรษฐกิจสิ่งแวดล้อม

กลาสโกว์ สหราชอาณาจักร (2 พฤศจิกายน 2564) พันธมิตรทั้ง 4 ได้ให้คำมั่นร่วมกันในการจัดตั้งกองทุนจำนวน 665 ล้านเหรียญสหรัฐ ให้กับแพลตฟอร์มที่บริหารจัดการโดยธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank) หรือ เอดีบี ซึ่งมีเป้าหมายที่จะระดมเงินทุน 7 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อใช้สำหรับโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานที่มีคาร์บอนต่ำและมีความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อีกทั้งเร่งการฟื้นตัวของภูมิภาค จากเชื้อโคโรนาไวรัส (COVID-19) การระดมทุนดังกล่าว ซึ่งได้ประกาศในการประชุมครั้งที่ 26 ของการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (COP26) ณ เมืองกลาสโกว์ โดยความร่วมมือดังกล่าวนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของแพลตฟอร์มการพัฒนาเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมของอาเซียน (ASEAN Green Recovery Platform) เพื่อสนับสนุนกองทุนการเงินสีเขียวของอาเซียน Association of Southeast Asian Nations (ASEAN) Catalytic Green Finance Facility (ACGF) ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยกองทุนเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Infrastructure Fund) ที่บริหารจัดการโดยเอดีบี

ที่มา : https://www.posttoday.com/finance-stock/news/667142

‘ประยุทธ์’ ประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ ย้ำร่วมมือด้านวัคซีน-สิ่งแวดล้อม-พัฒนาดิจิทัล

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐอเมริกาฯ ครั้งที่ 9 ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยมีผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียน และประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา โจ ไบเดน เข้าร่วมด้วย โดยประธานาธิบดีโจ ไบเดน กล่าวถึงความสำคัญระหว่างสหรัฐฯ กับอาเซียนที่มีความสำคัญมากขึ้นว่า สหรัฐฯ สนับสนุนแนวคิด AOIP และเห็นว่าการก้าวผ่านศตวรรษที่ 21 ต้องร่วมมือกันเพื่อสู้กับโควิด-19 รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ และการสร้างความเข้มแข็งด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ร่วมกัน และการผลิตเทคโนโลยีใหม่ ๆ ซึ่งมุ่งหวังที่จะได้ร่วมกับอาเซียนเพื่อประโยชน์ร่วมกันต่อไป ตลอดจนยืนยันที่จะมีความช่วยเหลือให้กับอาเซียนอย่างต่อเนื่องในอนาคต เพื่อสนับสนุนอาเซียนให้ Build Back Better ขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวเสนอแนวทางความร่วมมือของอาเซียน-สหรัฐฯ ใน 3 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ 1.ความร่วมมือในการกระจายวัคซีนให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึงและรวดเร็ว 2.การให้ความสำคัญกับการเติบโตสีเขียว เพื่อก้าวไปสู่ “Next Normal” อย่างยั่งยืน และ 3.การพัฒนาด้านดิจิทัล

ที่มา : https://www.khaosod.co.th/politics/news_6698213

รัฐบาลลาวและ Electricité De France (EDF) ได้ลงนามในข้อตกลงการพัฒนาโครงการ Nam Theun 2-Solar

รัฐบาลลาวและ Electricité De France (EDF) ได้ลงนามในข้อตกลงการพัฒนาโครงการ Nam Theun 2-Solar ซึ่งเป็นโครงการพลังงานแสงอาทิตย์แบบลอยตัวแบบไฮบริดที่ใหญ่ที่สุดในโลก ครอบคลุมพื้นที่ 3.2 ตารางกิโลเมตร คาดจะมีกำลังการผลิตติดตั้ง 240MWp ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการไฟฟ้าพลังน้ำที่ใหญ่ที่สุดในสปป.ลาว ผู้พัฒนาโครงการที่นำโดย EDF ร่วมกับ Lao Holding State Enterprise (LHSE) และ บริษัท ผลิตไฟฟ้า (EGCO) ของประเทศไทยตั้งเป้าที่จะเริ่มการก่อสร้างในปี 2565 และเริ่มดำเนินการในปี 2567 โครงการน้ำเทิน-2 โซลาร์จะจัดหาไฟฟ้าที่สะอาด ปลอดภัย โดยไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือสังคม ที่สำคัญประหยัดน้ำซึ่งช่วยให้สามารถเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์แบบแปรผันเป็นไฟฟ้าพลังน้ำเพิ่มเติมและมีเสถียรภาพ เป็นนวัตกรรมในการผลิตไฟฟ้าหมุนเวียนในลักษณะที่น่าเชื่อถือยิ่งขึ้น สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติสปป.ลาวในการส่งเสริมพลังงานควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Namtheun2_135.php

เปิดตัวโครงการนโยบายอุตสาหกรรมสีเขียวของสปป.ลาว

กระทรวงอุตสาหกรรมและการพาณิชย์และ Global Green Growth Institute ได้ลงนามในข้อตกลงเพื่อเปิดตัวโครงการอย่างเป็นทางการเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาภายใต้แนวความคิด “นโยบายอุตสาหกรรมสีเขียวของสปป.ลาว” ภายใต้โครงการนี้จะมีการแก้ไขนโยบายสำหรับภาคอุตสาหกรรมพลังงานให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงแผนปฏิบัติการสำหรับการลงทุนของภาคเอกชนในภาคพลังงานอุตสาหกรรมให้สอดคล้องกับโครงการ ในระยะกลางโครงการจะขยายการลงทุนของภาคเอกชนในการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในอุตสาหกรรม ในระยะยาวจะมีแนวทางลดการปล่อยก๊าซจากอุตสาหกรรมและการเปลี่ยนภาคอุตสาหกรรมไปสู่เส้นทางการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ปล่อยมลพิษน้อยลงในอนาคต โครงการเหล่านี้จะช่วยเร่งการนำแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนมาใช้ในภาคอุตสาหกรรมในสปป.ลาวและด้วยเหตุนี้จึงเป็นก้าวสำคัญในการฟื้นตัวของภาคพลังงานอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่เป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญของเศรษฐกิจสปป.ลาวในอนาคต

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_New_53.php

GIZ ทำข้อตกลงกับกระทรวงสิ่งแวดล้อมเพื่อเพิ่มการบริโภคที่ยั่งยืนในสปป.ลาว

Deutsche Gesellschaft für Internationale Zusammenarbeit (GIZ) ลงนามกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เงินสนับสนุนทางเทคนิคจำนวน 600,000 ยูโรสำหรับการบริโภคที่ยั่งยืน โครงการ“ การบริโภคและการผลิตอย่างยั่งยืนในเอเชีย: The Next Five” (SCP) เป็นโครงการระดับภูมิภาคที่ได้รับทุนจากกระทรวงสิ่งแวดล้อมการอนุรักษ์ธรรมชาติและคณะกรรมการความปลอดภัยนิวเคลียร์ของเยอรมนีโดยร่วมมือกับกรมควบคุมมลพิษของประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนรัฐบาลของสปป.ลาว กัมพูชา เวียดนาม เมียนมาร์และภูฏานในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกผ่านการผลิตและบริการที่ยั่งยืนและการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม งบประมาณทั้งหมดสำหรับห้าประเทศคือ 5 ล้านยูโรโดยมีระยะเวลาโครงการสามปีสปป.ลาว คาดว่าโครงการนี้จะนำไปสู่การปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องของสปป. ลาวโดยเฉพาะกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างสาธารณะ (ฉบับที่ 030 / NA) ซึ่งออกเมื่อวันที่ 2 2 พฤศจิกายน 2560) ซึ่งระบุไว้ในข้อ 4 วรรค 3 ว่ารัฐบาลส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างสาธารณะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_GIZ39.php

อุทยานแห่งชาตินาไก – น้ำเทินโครงการต้นแบบการพัฒนาเมืองควบคู่สิ่งแวดล้อม

อุทยานแห่งชาตินาไก – น้ำเทินหนึ่งในพื้นที่รกร้างสุดท้ายที่เหลืออยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังได้รับการพัฒนาเป็นโครงการต้นแบบสำหรับการจัดการพื้นที่คุ้มครองในสปป.ลาวและส่วนที่เหลือของภูมิภาค คุณ Savanh Chanthakoumane ผู้อำนวยการบริหารของอุทยานกล่าวกับเวียงจันทน์ไทม์สเมื่อเร็ว ๆ นี้ว่า “เราจำเป็นต้องสร้างสมดุลในการปกป้องอุทยานและการปรับปรุงความเป็นอยู่ด้วยความช่วยเหลือจากการมีส่วนร่วมในพื้นที่ซึ่งที่ผ่านมาเราให้ความสำคัญกับการจัดการและการอนุรักษ์พื้นที่คุ้มครองมากเกินไปโดยไม่คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนเลย”  นาคาอิ – น้ำเทินได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปีที่แล้วเป็นโดยเป็นจุดรวมความหลากหลายทางชีวภาพระดับโลกโดยมีพื้นที่ 4,270 ตารางกิโลเมตรครอบคลุมแขวงคำม่วนและแขวงบอลิคำไซทางตอนกลางของสปป.ลาว ในปี 2562 มีการระดมทุน 3.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐจาก 3 แหล่งเพื่อใช้ไปกับการปรับปรุงวิถีชีวิตของผู้คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อุทยานและส่วนที่เหลือจะถูกใช้ไปกับกิจกรรมการอนุรักษ์การส่งเสริมพื้นที่ดังกล่าวจะนำมาซึ่งการพัฒนาที่สำคัญควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นเป้าหมายของการพัฒนาประเทศในแบบของสปป.ลาว

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Nakai_193.php

ความพยายามของรัฐบาลเมียนมาในการจัดการสิ่งแวดล้อม

ธุรกิจจำนวนมากที่รัฐบาลให้ส่งแผนการจัดการสิ่งแวดล้อม (EMP) เดือนมกราคม 61 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (MONREC) ได้ประกาศให้แก่ธุรกิจในเก้าภาคเพื่อส่งกระทรวง ในเดือนกรกฎาคม 62 กระทรวงออกประกาศอีกครั้งเกี่ยวกับข้อกำหนด แต่ให้ขยายเวลาหกเดือนเพื่อให้ธุรกิจสามารถวางแผน ข้อกำหนดมีไว้สำหรับธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับผลิตแอลกอฮอล์ ไวน์ และเบียร์ อาหารและเครื่องดื่ม บรรจุภัณฑ์ของสารกำจัดศัตรูพืช ปูนซีเมนต์ สิ่งทอและการย้อมสี การหลอมโลหะและการกลั่นและการผลิตเหล็ก เหล็กดิบและโลหะผสมต่ำ การฟอกและตกแต่งหนัง โรงงานผลิตเยื่อและกระดาษ และการผลิตน้ำตาล กระทรวงประกาศว่าจะดำเนินการกับธุรกิจที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของ EMP ภายใต้กฎหมายการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของประเทศ

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/govts-efforts-environmental-management-making-progress-official.html

กองทุนคุ้มครองสิ่งแวดล้อมส่งเสริมการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในสปป.ลาว

กองทุนคุ้มครองสิ่งแวดล้อมมอบเงิน 1.4พันล้านกีบเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในหกพื้นที่เป้าหมายโดยโครงการนี้จะทำงานร่วมกับ National Academy of Politics และ Public Administration วัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อการสนับสนุนนโยบายกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมอย่างเข้มงวดรวมถึงการบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมรวมถึงการจัดการแผนการคุ้มครองป่าอื่น ๆ โดยข้อตกลงดังกล่าวจะทำให้เขตพื้นที่ต่างๆมีความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาตอย่างยั่งยืนเป็นผลดีในการท่องเที่ยวที่จะช่วยดึงดูดต่างชาติให้มาเที่ยว ส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจต่อไปในภายภาคหน้า

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Environment12.php