ผลกระทบของภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง หากมีการจัดเก็บ 100% ต่อภาคธุรกิจไทย ครั้งที่ 2

สถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยผลสำรวจผลกระทบของภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ครั้งที่ 2 หากมีการจัดเก็บ 100% ต่อภาคธุรกิจไทย จากกลุ่มตัวอย่างหอการค้าจังหวัดและสมาชิกหอการค้าทั่วประเทศ ผลการศึกษา พบว่า

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่า หากมีการเรียกเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างิ ในอัตราปกติ (100%) ส่งผลกระทบต่อธุรกิจอยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 90.6) ส่งผลให้ต้องเสียภาษีโดยรวมต่ำกว่า 1 แสนบาท (ร้อยละ 32.) และเมื่อพิจารณาภาษีที่ถูกจัดเก็บ คิดเป็นสัดส่วน 1-20% เมื่อเทียบกับรายได้ของธุรกิจ (ร้อยละ 73.7) โดยมีค่าฉลี่ยอยู่ที่ 15.2%

ด้านแนวทางในการรับมือหรือปรับตัวหากภาครัฐจะกลับมาเก็บภาษีฯ ในอัตราปกติ (100%) คือ

  • ควบคุมและลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ อาทิเช่น ลดการจ้างงาน ลดต้นทุนในการผลิตลง ตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
  • พิจารณาปรับเพิ่มราคาสินค้า/บริการให้สอดรับกับต้นทุนที่อาจจะเพิ่มขึ้น
  • ปรับแผนการในการดำเนินธุรกิจ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น
  • ชะลอการขยายธุรกิจ การลงทุน ในระยะสั้นไปก่อน และอาจจะพิจารณาเลิกกิจการหรือปิดกิจการเป็นการชั่วคราว l

ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อธุรกิจ คือ

  • ขยายการลดหย่อนภาษีออกไปอีก 1-2 ปี หรือจนกว่าเศรษฐกิจและธุรกิจจะเริ่มกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง
  • ปรับปรุงเงื่อนไขในการจัดเก็บภาษี โดยพิจารณาอ้างอิงจากประเภทธุรกิจ รวมถึงรายได้ของธุรกิจมาคำนวณในการจัดเก็บ เพื่อความเป็นธรรม
  • อยากให้จัดเก็บเป็นรูปแบบขั้นบันได ให้สอดคล้องกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ เช่น ทยอยเก็บเพิ่มขึ้นปีละ 5-10%
  • ออกนโยบายช่วยเหลือผู้ประกอบการ โรงแรม/บ้านเช่า/หอ/อพาร์ตเมนต์ ที่อยู่ในวงจรธุรกิจให้เช่าที่พักอาศัย
  • ไม่ควรจัดเก็บหรือทำการปรับขึ้นในสภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัว

ที่มา: สถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย                                                        เข้าถึงได้จาก https://bit.ly/3fNBRNJ

หอการค้าไทย หารือรัฐ จับมือนำเอกชน 9 กลุ่มธุรกิจ เยือนซาอุฯฟื้นการค้า

นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า หอการค้าไทยได้นำคณะเข้าร่วมหารือกับ นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และนายดามพ์ บุญธรรม อธิบดีกรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และแอฟริกา เพื่อเตรียมนำภาคเอกชนเดินทางเยือนซาอุดิอาระเบีย ซึ่งเป็นการดำเนินความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนระหว่างกัน หลังจากที่นายกรัฐมนตรีได้เดินทางเยือนก่อนหน้านี้ โดยคณะที่ร่วมหารือเตรียมการในครั้งนี้ ประกอบด้วยผู้บริหารระดับสูงของภาคเอกชนในสาขาธุรกิจที่มีศักยภาพ อาทิ สินค้าอุปโภคบริโภค เกษตรและอาหาร พลังงาน อสังหาริมทรัพย์ ยานยนต์ อัญมณีและเครื่องประดับ ท่องเที่ยวและบริการ เป็นต้น โดยในปีที่ผ่านมา ไทยส่งออกไปประเทศซาอุฯ ประมาณ 45,000 ล้านบาท คิดเป็นเพียงร้อยละ 0.6 ของการส่งออกทั้งหมดจากประเทศไทย ซึ่งหวังให้สัดส่วนการส่งออกไปยังซาอุฯ กลับไปที่ประมาณร้อยละ 2.2 ของการส่งออก ที่เคยเกิดขึ้นในปี 2532 มูลค่าประมาณ 150,000 ล้านบาท โดยไทยจะสามารถเจาะตลาด ได้ทั้งสินค้ารถยนต์และส่วนประกอบ สินค้าอาหารและอาหารแปรรูป เครื่องจักรกล และอุปกรณ์ไฟฟ้า ซึ่งเป็นสินค้าที่มีศักยภาพ

ที่มา : https://www.matichon.co.th/economy/news_3174848

ผลกระทบของภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง หากมีการจัดเก็บ 100% ต่อภาคธุรกิจไทย ครั้งที่ 1

สถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยผลสำรวจผลกระทบของภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ครั้งที่ 1 หากมีการจัดเก็บ 100% ต่อภาคธุรกิจไทย จากกลุ่มตัวอย่างภาคธุรกิจทั่วประเทศ จำนวน 1,252 ราย ผลการศึกษา พบว่า

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ไม่เห็นด้วยกับการที่รัฐบาลยกเลิกการลดหย่อน ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่อัตรา 90% ในปี 2565 ( ร้อยละ 84.1)  หากมีการเรียกเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างิ ในอัตราปกติ (100%) จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจอยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 88.1) เมื่อรัฐบาลมีการยกเลิกการลดหย่อนภาษีฯ จะส่งผลกระทบโดยรวมต่อธุรกิจโดยรวมต่ำกว่า 5 แสนบาท (ร้อยละ 69.5) จากสถานการณ์ปัจจุบัน กลุ่มตัวอย่างคิดว่าไม่เหมาะสมที่ภาครัฐจะดำเนินการจัดเก็บภาษีฯ ในอัตราปกติ (100%) (ร้อยละ 92.2) เหตุเพราะว่าสภาวะเศรษฐกิจยังไม่กลับสู่ภาวะปกติและมีความเปราะบาง(ร้อยละ 44.2) ส่วนเวลาที่เหมาะสมแก่การที่ภาครัฐจะกลับมาเก็บภาษีฯ ในอัตราปกติ (100%) พบว่าไม่สามารถคาดการณ์ได้ (ร้อยละ 62.8) ขณะที่สถานการณ์ปัจจุบัน มาตรการหรือความช่วยเหลือจากภาครัฐที่ต้องการได้รับมากที่สุดคือ ขยายกรอบระยะเวลาการลดหย่อนภาษีฯ  (ร้อยละ 30.2) หากภาครัฐขยายกรอบระยะเวลาในการยกเว้นการจัดเก็บภาษีฯ ออกไปในปี 2565-66 กลุ่มตัวอย่างจะนำเงินในส่วนที่จะต้องชำระภาษี ไปใช้รักษาสภาพคล่องของธุรกิจ (ร้อยละ 27.5) สิ่งที่อยากให้ภาครัฐดำเนินการปรับปรุงหรือแก้ไขในกระบวน การจัดเก็บภาษีฯ  คือ หลักเกณฑ์ในการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน (ร้อยละ 23.0) หากจำเป็นต้องปรับอัตราภาษีฯ ในอัตราปกติ (100%) กลุ่มตัวอย่างเห็นว่ารัฐบาลควรลดอัตราภาษีลง เพื่อลดผลกระทบต่อภาคธุรกิจ (ร้อยละ 32.0) และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีฯ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อธุรกิจ คือ ลดอัตราการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมเพื่อไม่เป็นการเพิ่มภาระแก่ธุรกิจ (ร้อยละ 40.4)

ที่มา: สถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย                                 เข้าถึงได้จาก https://bit.ly/3MfXiTD

 

 

ดัชนีความเชื่อมั่นนักธุรกิจต่างชาติในไทย ไตรมาสที่ 3/2564

สถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้เผย ‘ดัชนีความเชื่อมั่นนักธุรกิจต่างประเทศ ไตรมาสที่ 3 ปี 2564  (สิงหาคม-ตุลาคม 2564)  ซึ่งสำรวจความเห็นจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นหอการค้าต่างประเทศประจำประเทศไทย 29 ประเทศ จำนวน 66 ราย พบว่าดัชนีความเชื่อมั่นนักธุรกิจต่างชาติโดยรวมอยู่ที่ระดับ 41.7 เพิ่มขึ้นจาก 27.7 ในไตรมาสก่อนหน้า หลังจากรัฐบาลประกาศคลายล็อกดาวน์และเตรียมเปิดประเทศในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 นี้ ทำให้ความเชื่อมั่นของนักธุรกิจต่างชาติปรับตัวดีขึ้น

ผลสำรวจด้านธุรกิจที่นักลงทุนต่างชาติกำลังเผชิญอยู่พบว่า อันดับแรกคือ ความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ จากต้นทุนการดำเนินการที่สูงขึ้น อาทิเช่น ค่าขนส่ง ค่าเงินที่ผันผวน ภาระทางภาษี และการขาดแรงงานในการผลิต  (21.7%) รองลงมาคือ ธุรกิจขาดสภาพคล่อง ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากสถาบันทางการเงินได้ รวมถึงขาดการสนับสนุนจากทางภาครัฐ (18.1%) และธุรกิจคู่ค้าส่วนใหญ่ปิดตัวลงเป็นการชั่วคราวหรือถาวร ส่งผลให้เกิดการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน (15.7%)

ขณะเดียวกันสิ่งที่นักธุรกิจต่างชาติต้องการให้รัฐบาลไทยสนับสนุนและแก้ไขปัญหา คือ 1) มีแผนควบคุมโควิด-19 ที่ชัดเจน  2)นโยบายการให้เงินอุดหนุน ค่าจ้าง ค่าเช่า ฯ ต่อภาคธุรกิจและเอสเอ็มอี ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 3) แก้ไขกฎระเบียบที่ซับซ้อนในการเข้ามาลงทุน ให้มีความทันสมัย เอื้อต่อการลงทุน รวมถึงกระบวนการขอVisa และWork Permit ให้ง่ายขึ้น และ 4)จัดหาวัคซีนมาฉีดให้ประชาชนให้เร็วที่สุดและทั่วถึงที่สุด และผ่อนปรนมาตรการโควิดเพื่อให้ภาคธุรกิจดำเนินกิจการได้สะดวกขึ้น

ทั้งนี้สิ่งที่ต้องการให้รัฐบาลสนับสนุน เพื่อแก้ไขปัญหาทางธุรกิจ คือ 1) ปรับปรุงกฎหมายกฎระเบียบ ที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (FBA) ให้มีความทันสมัย เอื้อต่อการลงทุน รวมถึงกระบวนการขอ Visa และ Work Permit ง่ายขึ้น 2) สร้างการเข้าถึงแหล่งเงินทุน สนับสนุนซอฟต์โลน และมาตรการพักทรัพย์พักหนี้ แก่ผู้ประกอบการที่ได้ผลกระทบ โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs ทั้งธุรกิจไทยและต่างประเทศ และ 3) สร้างเสถียรภาพทางการเมือง ลดขั้นตอนในการดำเนินงาน

ที่มา: สถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

ชู 11 มาตรฐานขานรับเปิดประเทศ ตั้งแต่เหยียบประเทศจนถึงกำจัดขยะ

นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวในพื้นที่กรุงเทพมหานครตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.นี้ ตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี  โดยใช้แนวทางกรุงเทพแซนด์บ็อกซ์ ซึ่งภาคเอกชนจะมีส่วนร่วมในการส่งเสริมมาตรฐาน SHA+ พร้อมรณรงค์มาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร (Covid Free Setting) ซึ่งที่ผ่านมา ชาวกรุงเทพฯ ฉีดวัคซีนเข็มแรกแล้ว 100% และเข็มที่ 2 อีก 69.77% โดยน่าจะครบ 70% ภาย 1-2 วันนี้ตามเป้าหมาย จึงมีความพร้อมที่จะเปิดเมือง และกลับมามีชีวิตอีกครั้ง และได้จัดทำมาตรฐานขั้นตอนการปฎิบัติงาน แบ่งเป็นมาตรฐาน 11 ด้าน ซึ่งหอการค้าไทยจะสื่อสารไปยังหอการค้าจังหวัดให้เตรียมความพร้อมต่อไป

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/news/387958/

 

ประเมินสถานการณ์น้ำท่วม 2564

สถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยผลสำรวจ ประเมินสถานการณ์น้ำท่วม 2564 จากกลุ่มตัวอย่างหอการค้าจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วม จำนวน 138 ราย ผลการสำรวจ ดังนี้

ผลการสำรวจ พบว่า ระดับของผลกระทบอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 34.2 พื้นที่ที่ได้รับความเสียหายมากที่สุดคือ พื้นที่เพาะปลูกทางด้านเกษตร คิดเป็นร้อยละ 65.9 โดยพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายคิดเป็นร้อยละ 22 ของพื้นที่จังหวัด และทำให้บ้านเสียหาย คิดเป็นร้อยละ 74.3 โดยผลกระทบต่อเศรษฐกิจของจังหวัดอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 43.6 และ กระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 39.5 ขณะที่ผลกระทบต่อธุรกิจในจังหวัดอยู่ในะระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 44.5 ขณะที่ความรุนแรงเมื่อเทียบกับปี 54 พบว่ารุนแรงน้อยกว่าปี 54 คิดเป็นร้อยละ 83.38 และสร้างความเสียหายน้อยกว่าปี 54 คิดเป็นร้อยละ 83.38 ซึ่งจากกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 57.4 มองว่า สถานการณ์น้าท่วมจะลดลงและเข้าสู่สภาวะปกติ ไม่เกิน 7 วัน ส่วนข้อเสนอแนะที่ต้องการให้รัฐบาลด้าเนินการ ได้แก่ 1.ช่วยเหลือเกษตรกร ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ เช่น การชดเชยผลผลิตทางการเกษตรหรือการสนับสนุนเงินทุนเพื่อนำมาซ่อมแซมกิจการที่ได้รับความเสียหาย 2.เงินชดเชยน้ำท่วมโดยเฉพาะพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายมาก และ 3. ควรมีมาตรการช่วยเหลือที่เป็นรูปธรรมและควรประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนภัยให้เร็วมากกว่านี้ เป็นต้น

ที่มา: สถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

ผลกระทบช่วงการ LOCKDOWN กรกฎาคม -สิงหาคม 2564

สถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยผลสำรวจผลกระทบช่วงการ Lockdown กรกฎาคม -สิงหาคม 2564 จากกลุ่มตัวอย่างหอการค้าจังหวัดทั่วประเทศ จำนวน 284 ราย และกลุ่มตัวอย่างภาคประชาชนจำนวน 1,164 ราย ผลการศึกษา ดังนี้

1. ผลการสำรวจกลุ่มตัวอย่างหอการค้าจังหวัดทั่วประเทศ พบว่า ได้รับผลกระทบทางลบมากถึงร้อยละ 74.16 โดยที่ระหว่างการ Lockdown กับการเปิดให้ดำเนินการธุรกิจ/เศรษฐกิจ ส่วนใหญ่เห็นว่า ควรเปิดให้ดำเนินการธุรกิจ/เศรษฐกิจ ร้อยละ 77.32 มาตรการที่รัฐบาลออกมาช่วยเหลือประชาชนในช่วง COVID 19 พบว่าอยู่ในระดับไม่เพียงพอ ร้อยละ 48.22% และมีความพึงพอใจในมาตรการอยู่ในระดับน้อย ร้อยละ 46.50 ด้านทัศนะต่อการผ่อนคลายมาตรการ Lockdown พบว่า เห็นด้วยกับการผ่อนคลายมาตรการ Lockdown อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 61.24 โดยมีความพอใจอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 54.08 ส่วนผลกระทบจากการผ่อนคลายมาตรการ Lockdown พบว่าได้รับผลกระทบทางบวกถึง ร้อยละ 64.2 ด้านมุมมองต่อการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนในจังหวัด พบว่า เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ร้อยละ 50.00 ส่วนรูปแบบการจ้างงานในจังหวัด ส่วนใหญ่ร้อยละ 47.31 เป็นการจ้างงานไม่เต็มเวลา/ถูกลดชั่วโมงการทำงานลง หลังการผ่อนคลายมาตรการ มองว่าธุรกิจกลับมาดำเนินได้ปกติ เหมือนกับช่วงก่อน COVID 19  ภายในเดือนตุลาคม ร้อยละ 32.63 ส่วนมุมมองต่อภาวะเศรษฐกิจของจังหวัดเมื่อเทียบกับปีก่อน ส่วนใหญ่ ร้อยละ 73.40 เติบโตน้อยกว่า 0.0 และมุมมองต่อภาวะเศรษฐกิจไทยเมื่อเทียบกับปีก่อน ส่วนใหญ่ ร้อยละ 76.09 เติบโตน้อยกว่า 0.0 เช่นกัน ขณะที่ข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล คือ ควรจัดหาวัคซีนให้เพียงพอเพื่อนำมาฉีดให้ประชาชนในประเทศให้เร็วและทั่วถึงที่สุด ควรกำหนดมาตรการฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจที่ชัดเจนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว และผ่อนคลายมาตรการการกักกันโรค (Lockdown) เพื่ออำนวยความสะดวกในการดาเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เป็นต้น

2. ผลการสำรวจกลุ่มตัวอย่างภาคประชาชน พบว่า ได้รับผลกระทบทางลบมากถึงร้อยละ 72.7 โดยที่ระหว่างการ Lockdown กับการเปิดให้ดำเนินการธุรกิจ/เศรษฐกิจ ส่วนใหญ่เห็นว่า ควรเปิดให้ดำเนินการธุรกิจ/เศรษฐกิจ ร้อยละ 59.2 ด้านมาตรการที่รัฐบาลออกมาช่วยเหลือประชาชนในช่วง COVID 19 พบว่าอยู่ในระดับน้อย ร้อยละ 33.5% โดยมีความพึงพอใจในมาตรการอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 48.6 ด้านทัศนะต่อการผ่อนคลายมาตรการ Lockdown พบว่า เห็นด้วยกับการผ่อนคลายมาตรการ Lockdown อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 51.1 มีความพอใจอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 51.4 ส่วนผลกระทบจากการผ่อนคลายมาตรการ Lockdown พบว่าได้รับผลกระทบทางบวกถึง ร้อยละ 44.7 ด้านรูปแบบการจ้างงาน ส่วนใหญ่ร้อยละ 57.9 ยังทำงานเป็นปกติ ส่วนมุมมองหลังการผ่อนคลายมาตรการ มองว่าธุรกิจกลับมาดำเนินได้ปกติ เหมือนกับช่วงก่อน COVID 19  ภายในเดือนพฤศจิกายน ร้อยละ 42.5 ขณะที่ข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล ได้แก่ เพิ่มมาตรการช่วยเหลือและเยียวยา ให้ครอบคลุมทุกกลุ่มทุกพื้นที่ ปรับปรุงและพัฒนาการบริหารจัดการสถานการณ์ COVID 19 ให้ได้ดีกว่านี้ และกำหนดแผนพัฒนาระบบเศรษฐกิจที่สามารถนำมาปรับใช้ได้จริงในสถานการณ์ปัจจุบัน เป็นต้น

ที่มา: สถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

กกร.ขอพบ‘บิ๊กตู่’ ชี้ช่อง5แนวทางฝ่าวิกฤติโควิด

คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกอบด้วยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย แจ้งว่า กกร.ได้ยื่นหนังสือขอเข้าหารือ นายกรัฐมนตรี เพื่อหารือแนวทางการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ล่าสุดอยู่ระหว่างรอแจ้งเวลากลับมา ทั้งนี้ ได้ยื่น 5 ประเด็นหลักในการหารือดังนี้ 1.ให้เอกชน เป็นผู้ติดต่อนำเข้าวัคซีนได้ไม่ต้องผ่านหน่วยงานรัฐ 2.อนุญาตสนับสนุนให้เอกชนดำเนินการผลิตและจัดหายาฟาวิพิราเวียร์ รวมทั้งอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องให้เพียงพอ 3.สนับสนุนค่าใช้จ่ายชุดตรวจแรพิด แอนติเจน เทสต์ที่มีคุณภาพมาตรฐาน และเพียงพอ 5.แนวทางการฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย เช่น ให้กรมสรรพากร ยกเว้นภาษีเอสเอ็มอี ระยะเวลา 3 ปี ฯลฯ

ที่มา: https://www.naewna.com/business/595654

ดัชนีความเชื่อมั่นนักธุรกิจต่างชาติในไทย ไตรมาสที่ 2/2564

สถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ยังได้เปิดเผย ‘ดัชนีความเชื่อมั่นนักธุรกิจต่างชาติ’ ในไทย (Foreign Business Confidence Index: FBCI) และผลสำรวจความเห็น ‘ดัชนีนักธุรกิจต่างชาติในไทย’ ประจำไตรมาส 2/64 ไตรมาสที่ 2 ปี 2564 (พ.ค.- ก.ค.2564) ซึ่งสำรวจความเห็นจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นหอการค้าต่างประเทศประจำประเทศไทย 35 ประเทศ จำนวน 70 ราย ในระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม 2564 โดยพบว่าดัชนีความเชื่อมั่นนักธุรกิจต่างชาติโดยรวมอยู่ที่ระดับ 27.7 ลดลงจาก 33.2 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยเป็นระดับต่ำสุดนับจากเริ่มต้นสำรวจ

ด้านปัญหาทางธุรกิจที่นักลงทุนต่างชาติกำลังเผชิญอยู่พบว่า อันดับแรกคือ คำสั่งซื้อที่ลดลงจากเศรษฐกิจที่ซบเซา (23.54%) รองลงมาคือ ธุรกิจขาดสภาพคล่องและเข้าไม่ถึงมาตรการเยียวยา (18.31%) และผู้บริหารและพนักงานเข้าไม่ถึงวัคซีน (12.33%)

ส่วนการสำรวจความเห็นของนักธุรกิจต่างชาติยังพบด้วยว่า 70% คิดว่าเศรษฐกิจไทยในปีนี้มีโอกาสเติบโตติดลบ 42.50% มีความเชื่อมั่นต่อมาตรการควบคุมโควิดของภาครัฐน้อย และ 35.70% ไม่เชื่อมั่นเลย 57% มองว่ามาตรการของรัฐบาลในเวลานี้ไม่เพียงพอในการแก้ไขปัญหา และ 27% ยังไม่แน่ใจว่าเศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นตัวได้ในช่วงใด โดยส่วนใหญ่เชื่อว่าอย่างเร็วที่สุดคือไตรมาสแรกของปีหน้า

ที่มา: สถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

ปธ.หอค้า ชี้ 4 ประเด็นเสี่ยงจากขยายล็อกดาวน์ คาด ศก.เสียหาย 1.2 แสนล้าน ใน 30 วัน

นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย เผยว่า จากประกาศควบคุมสูงสุดและเข้มงวด เพิ่มจาก 10 จังหวัด เป็น 13 จังหวัด ภาคเอกชน มีความเห็นว่า 1.ภาคเอกชน ต้องการความชัดเจนในการจัดการ ประกาศที่ออกมาควรมีรายละเอียดเพื่อให้ประชาชนและผู้ประกอบการมีการเตรียมความพร้อม 2.สำหรับที่มีการยกระดับเพิ่มใน 3 จังหวัด เห็นว่าเป็นจังหวัดที่มีภาคการผลิตสูงมาก ควรต้องมีมาตรการเชิงรุกในการตรวจ การคัดแยก และจัดสรรวัคซีนให้ทั่วถึง 3.จากการประเมินความเสียหายเบื้องต้นคาดว่าผลกระทบ 1 เดือน จะประมาณ 90,000-120,000 ล้านบาท 4. รัฐต้องเร่งกระจายวัคซีนให้กลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ที่มีการระบาดหนักเป็นการด่วน

ที่มา: https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2836170