HLH ร่วมกับ CMEC พัฒนาโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ 200 เมกะวัตต์ในกัมพูชา

นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ Hong Lai Huat Group Ltd (SGX: CTO) และ China Machinery Engineering Corp (HKG: 1829) หรือ CMEC ได้ร่วมมือกันพัฒนาโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 200 เมกะวัตต์ที่ Aoral Eco-City ในกัมพูชา โดย HLH และ CMEC ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างกัน (MoU) เพื่อสร้างนิติบุคคลเฉพาะกิจ (SPV) และทำงานร่วมกันเป็นเวลาอย่างน้อย 20 ปี ซึ่งโครงการดังกล่าวจะส่งผลให้เกิดการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดของกัมพูชาตามที่ผู้จัดการทั่วไปและกรรมการบริหารของ HLH ได้กล่าวไว้ โดย Aoral Eco-City เป็นโครงการ “การพัฒนาเมืองเชิงนิเวศเกษตรผสมผสานขนาดใหญ่” ที่พัฒนาโดย HLH ภายในกัมพูชา ด้วยการสร้างสวนพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ โดยใช้เงินลงทุนทั้งหมดประมาณ 200 ล้านดอลลาร์ ซึ่ง CMEC จะเป็นฝ่ายกำหนดโซลูชันที่เกี่ยวกับโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบครบวงจรสำหรับโครงการนี้ เมื่อเสร็จสิ้นสวนพลังงานแสงอาทิตย์จะสามารถขายไฟฟ้าให้กับ Electricite du Cambodge (EDC) ของรัฐ

ที่มา : http://khmertimeskh.com/50846094/hlh-cmec-to-co-develop-200-mw-solar-project-in-cambodia/

EDF พักโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำในเมียนมา

Electricite de France SA (EDF) หนึ่งในบริษัทพลังงานที่ใหญ่ที่สุดของยุโรปสั่งเบรคโครงการไฟฟ้าพลังน้ำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเมียนมาที่มีความเกี่ยวข้องกับบริษัทค้าขายสินค้าอุปโภค-บริโภคจากญี่ปุ่นอย่าง Marubeni ซึ่งการเบรคโครงการมีผลจากการรัฐประหารเมื่อเดือนที่แล้ว Marubeni เป็นกลุ่มที่ผลักดันให้สร้างสถานีไฟฟ้าพลังน้ำขนาดใหญ่บนแม่น้ำเชวลี (Shweli) ในรัฐฉาน รัฐบาลฝรั่งเศสเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ใน EDF บริษัทได้วางแผนที่จะสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาด 671 เมกะวัตต์ภายในปี 2569 ด้วยต้นทุนประมาณ 1.5 พันล้านดอลลาร์ทำให้เป็นโครงการที่ใหญ่ที่สุดโครงการหนึ่งในเมียนมา EDF ได้แจ้งว่าเพื่อเป็นการเคารพสิทธิมนุษยชนในเมียนมาจึงได้ระงับโครงการไว้ก่อน นอกจากนี้ยังปรึกษากับรัฐบาลฝรั่งเศสและสหภาพยุโรปเพื่อเผ้าดูสถานการณ์อย่างใกล้ชิด Marubeni ไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในโครงการรวมถึงขนาดของการลงทุน ซึ่งในการแถลงการล่าสุดบริษัทจะจัดการกับสถานการณ์นี้อย่างเหมาะสม แต่ทั้งนี้ยังไม่ได้ประเมินทิศทางในอนาคตว่าจะเป็นอย่างไร

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/marubeni-involved-hydropower-project-in-myanmar-to-be-frozen

โรงไฟฟ้า 2 แห่งในสปป.ลาวมีแผนที่จะขายไฟฟ้าให้กัมพูชา

การก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน 2 แห่งจะเริ่มในปลายปีนี้ในแขวงเซกองทางตะวันออกเฉียงใต้ของสปป.ลาวซึ่งโรงไฟฟ้าแห่งแรกจะสร้างโดย บริษัท โฟนแซคกรุ๊ป จำกัด มีกำลังผลิตไฟฟ้าได้มากถึง 1,800 เมกะวัตต์ โรงงานดังกล่าวบริษัท โฟนแซคกรุ๊ป จำกัด จะลงทุนประมาณ 3-4 พันล้านเหรียญสหรัฐในโรงไฟฟ้ารวมถึงการสร้างสายไฟเพื่อส่งกระแสไฟฟ้าไปยังกัมพูชา ส่วนโรงไฟฟ้าแห่งที่สองจะสร้างโดยบริษัทจากจีน มีแผนจะลงทุนมากกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ไม่ได้สร้างสายกระแสไฟฟ้าแต่ซึ่งจะร่วมมือกับElectricite du Laos (EDL) ในการส่งออกพลังงานไฟฟ้าไปยังกัมพูชา โดยโรงงานแห่งที่สองมีกำลังผลิตไฟฟ้า 700 เมกะวัตต์ กระแสไฟฟ้ากว่า 600 เมกะวัตต์ จะถูกส่งออกไปยังกัมพูชา เจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงานและเหมืองแร่ กล่าวว่าโรงงานเหล่านี้จะเปิดดำเนินการและเริ่มส่งกระแสไฟฟ้าไปยังกัมพูชาในปี 2568 ซึ่งจะสร้างรายได้ให้กับคนในท้องถิ่นและขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจในแขวงและภาพเศรษฐกิจของประเทศ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Two25.php

โรงไฟฟ้าสองแห่งในกันดาลของกัมพูชาเรื่องผลิตกระแสไฟฟ้า

โรงไฟฟ้าพลังงานฟอสซิลขนาดใหญ่ในจังหวัดกันดาลได้เริ่มเดินเครื่องยนต์ สำหรับการผลิตกระแสไฟฟ้าให้กับกริดแห่งชาติ ตามข้อมูลของกระทรวงเหมืองแร่และพลังงาน โดยเครื่องยนต์ของโรงไฟฟ้ารวมกันมีกำลังการผลิตอยู่ที่ 400 เมกะวัตต์ ซึ่งเริ่มผลิตไฟฟ้าไปเมื่อต้นเดือน ม.ค. ผู้อำนวยการใหญ่ด้านพลังงานของกระทรวงเหมืองแร่และพลังงานกล่าวโรงงานดังกล่าวได้เริ่มผลิตไฟฟ้าแล้ว แต่ยังไม่สามารถผลิตได้อย่างเต็มกำลังการผลิตที่ 400 เมกะวัตต์ โดยการก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าเริ่มในเดือนตุลาคม 2019 ประกอบด้วยโรงงานสองแห่ง แห่งแรกใช้พลังงานจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 200 เมกะวัตต์ ผลิตโดย บริษัท Wartsila ของฟินแลนด์ และได้รับการพัฒนาโดยบริษัท CGGC-UN Power Co. จากจีน ส่วนโรงงานแห่งที่สองใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 200 เมกะวัตต์ ผลิตโดย Man Group ของเยอรมนี สร้างโดย China National Heavy Machinery Corp (CHMC) ซึ่งโครงการนี้คาดว่าจะมีมูลค่าอยู่ที่ 380 ล้านดอลลาร์ โดยรัฐบาลให้กู้ยืม 300 ล้านดอลลาร์ และส่วนที่เหลือมาจากเงินกองทุนของ EDC โดยในปี 2019 กัมพูชาใช้พลังงานทั้งหมด 12,014.59 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เพิ่มขึ้นร้อยละ 23 เมื่อเทียบเป็นรายปี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50803643/two-power-plants-in-kandal-start-their-engines/

กัมพูชาคาดโซล่าฟาร์ม 3 แห่ง จะช่วยเสริมปริมาณพลังงานสู่กริดในต้นปีหน้า

สถานีพลังงานแสงอาทิตย์ 3 แห่ง จะเริ่มสร้างพลังงานและเชื่อมโยงกับกริดแห่งชาติในต้นปีหน้า เนื่องจากขณะนี้โครงการยังไม่แล้วเสร็จ โดยในปัจจุบันโครงการดำเนินไปแล้วกว่าร้อยละ 90 ซึ่งโครงการก่อสร้างโซล่าฟาร์มทั้งสามโครงการเพิ่งได้รับการอนุมัติในการก่อสร้างเมื่อปีที่แล้ว โดยอธิบดีด้านพลังงานและโฆษกกระทรวงเหมืองแร่และพลังงานกล่าวว่านักลงทุนกระตือรือร้นที่จะก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามแผนที่วางไว้เพื่อสร้างพลังงานให้กับกริดแห่งชาติ ซึ่งทั้งสามโครงการถือเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 20 เมกะวัตต์ ที่ลงทุนโดย บริษัท Green Sustainable Ventures Co., Ltd. ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองบาเว็ตจังหวัดสวายเรียง ส่วนโรงผลิตที่สองมีขนาด 30 เมกะวัตต์ตั้งอยู่ในจังหวัดบันเตียเมียนเจยลงทุนโดย Ray Power Supply Co,. Ltd. และโรงผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ที่สามขนาด 60 เมกะวัตต์ในจังหวัดพระตะบองลงทุนโดย Risen Energy Co., Ltd.

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50790719/three-solar-stations-set-to-generate-power-earlier-next-year/

กัมพูชาวางแผนเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติ

กระทรวงเหมืองแร่และพลังงานกัมพูชากล่าวว่าก๊าซธรรมชาติ LNG จะมีบทบาทสำคัญในการจัดหาพลังงานของกัมพูชาในอนาคต รวมถึงมีการวางแผนที่จะผลิตไฟฟ้าจากโรงงาน LNG ให้ได้ถึง 3,600 เมกะวัตต์ภายในปี 2030 โดยรัฐบาลจะดึงดูดการลงทุนในโรงไฟฟ้าพลังงาน LNG มากขึ้น แม้ว่าในปัจจุบันกัมพูชาจะไม่มีโรงงานผลิต LNG ภายในประเทศ ซึ่งกัมพูชาได้ปรับแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าในปี 2020-2030 ซึ่งคาดการณ์ว่าจะมีการใช้ก๊าซมากขึ้นในส่วนของการผลิตไฟฟ้าในอนาคต โดยคาดว่าเศรษฐกิจของกัมพูชาจะฟื้นตัวหลัง COVID-19 ในช่วงปี 2021 ดังนั้นความต้องการพลังงานของกัมพูชาจึงคาดว่าจะกลับมาอย่างแข็งแกร่ง ซึ่ง LNG จะมีบทบาทสำคัญในการตอบสนองความต้องการด้านพลังงานของกัมพูชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการผลิตไฟฟ้าในการใช้ในอุตสาหกรรม การขนส่ง หรือจะในเชิงพาณิชย์และที่อยู่อาศัยก็ตาม

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50785544/cambodia-to-add-power-generation-from-natural-gas/

รัฐบาลเมียนมาไฟเขียว Ywama ปรับปรุงโรงงานผลิตก๊าซธรรมชาติ

กระทรวงพลังงานและพลังงาน (MOEE) ได้ยกระดับการสร้างโรงไฟฟ้าความร้อนร่วมก๊าซ – กังหันแบบที่เมือง Ywama และเมืองย่างกุ้ง โรงไฟฟ้าแห่งนี้ธนาคารโลกจัดหาเงินเพื่อสนับสนุนราว 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐสหรัฐเพื่อการปรับปรุง โดยใช้เวลา 36 เดือนจึงจะเสร็จสมบูรณ์ โดยได้รับการพัฒนาภายใต้การร่วมทุนประกอบด้วยกลุ่มบริษัท Eden Group และรัฐบาลเมียนมา นักลงทุนยังได้รับเชิญให้เข้าร่วมประมูลโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ 30 โครงการซึ่งสามารถผลิตได้มากกว่า 1,000 เมกะวัตต์ในเดือนพฤษภาคม โดยการกำหนดระยะการประกวดราคาได้ขยายจากวันที่ 17 มิถุนายน – 17 กรกฎาคม 2563

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/govt-greenlights-ywama-gas-plant-upgrade.html

กัมพูชาศึกษาความเป็นไปได้ในโรงไฟฟ้าพลังงานขยะอุตสาหกรรม

การศึกษาความเป็นไปได้ของโรงไฟฟ้าพลังงานขยะอุตสาหกรรมในจังหวัดเสียมเรียบ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแปลงขยะเป็นพลังงานและรักษาความสะอาดในเขตเมือง ซึ่งโรงงานมีขนาดกำลังการผลิตไฟฟ้า 12 เมกะวัตต์ ถูกเสนอโดยบริษัท MIZUDA ของจีน โดยใช้ขยะอย่างน้อย 210,000 ตันต่อปี เพื่อผลิตพลังงานประมาณ 750,000 กิโลวัตต์ชั่วโมง ซึ่งโครงการดังกล่าวได้ถูกนำเสนอในการประชุมเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม โดยคณะผู้แทน MIZUDA ซึ่งบริษัทได้สรุปการสำรวจเมื่อปลายปี 2019 แสดงให้เห็นว่าจังหวัดเสียมเรียบปัจจุบันมีขยะประมาณวันละ 480 ตัน และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 600 ตัน ในปี 2022 และ 1,000 ตันภายในปี 2035 โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเสียมราฐให้การต้อนรับโครงการโดยเน้นว่าจะมีส่วนช่วยปกป้องสิ่งแวดล้อมและจัดจัดสรรไฟฟ้าประมาณร้อยลละ 10 ของการใช้พลังงานทั้งหมดในจังหวัด

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50747710/feasibility-study-on-waste-to-energy-plant-in-siem-reap-province-proposed/

EXIM BANK ปล่อยกู้ลงทุนโรงไฟฟ้าพลังน้ำใน สปป. ลาว

นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) และนายบัณฑิต สะเพียรชัย กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) (บีซีพีจี) ร่วมลงนามกับ ดร.จื้อกัง หลี่ ประธานกรรมการ ธนาคาร ไอซีบีซี (ไทย) ในสัญญาสนับสนุนทางการเงินจำนวน 172 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ให้แก่โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำใน สปป.ลาว นอกจากนี้ยังร่วมลงนามกับนายมานาบุ อิโนอุเอะ กรรมการผู้จัดการ ธนาคาร ซูมิโตโม มิตซุย ทรัสต์ (ไทย) (SMTBT) ในสัญญาสนับสนุนทางการเงินจำนวน 6,465.07 ล้านเยน (ประมาณ 1,900 ล้านบาท) ให้แก่โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ชิบะ 1 (Chiba 1) ในประเทศญี่ปุ่น ณ EXIM BANK สำนักงานใหญ่ เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2563 ซึ่งความร่วมมือระหว่าง EXIM BANK กับ บีซีพีจี ซึ่งเป็นผู้ประกอบการไทยที่มีศักยภาพเข้าไปลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานและพลังงานทดแทนเพื่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศเพื่อนบ้านอย่างยั่งยืน โดยมี ไอซีบีซี (ไทย) และ ไอซีบีซี เวียงจันทน์ ร่วมให้การสนับสนุนทางการเงินจำนวน 172 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แก่บริษัท บีซีพีจี อินโดไชน่า จำกัด สำหรับลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำ Nam San 3A และ Nam San 3B ใน สปป. ลาว กำลังการผลิตรวม 114 เมกะวัตต์ โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือภายใต้บันทึกข้อตกลงระหว่างรัฐบาลของเวียดนาม และ สปป.ลาว ในการก่อสร้างสายส่งเชื่อมต่อชายแดนของทั้งสองประเทศ เพื่อขายไฟฟ้าจาก สปป.ลาว ไปยังประเทศเวียดนาม

ที่มา : https://www.posttoday.com/finance-stock/news/628866

ภาคเอกชนทำข้อตกลงรัฐบาลสปป.ลาวเพื่อพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน

บริษัท Evolution Power Investment Corporation (EPIC) และ Khounmixay Bridge และ บริษัท ก่อสร้างและซ่อมแซมถนน (KMX) ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับรัฐบาลสปป.ลาว เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนที่สะอาดในจังหวัดเซกอง ทางตอนใต้ของสปป.ลาวภายใต้ MOU นั้น EPIC และ KMX จะได้รับอนุญาตให้ทำการศึกษาความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมของโครงการโรงไฟฟ้าเทคโนโลยีความร้อนสะอาดในเขตดากจึง จังหวัดเซกองโดยโครงการคาดว่าจะมีค่าใช้จ่าย 1.7 พันล้านเหรียญสหรัฐและคาดว่าจะเริ่มดำเนินการในปี 2570 เพื่อผลิตไฟฟ้าและส่งออกไปยังประเทศไทย เวียดนามและกัมพูชา รวมถึงการบริโภคในประเทศโดยโครงการมุ่งมั่นที่จะใช้แหล่งเชื้อเพลิงที่สกัดในประเทศเพื่อผลิตพลังงานเพื่อการส่งออกและเพิ่มมูลค่าให้กับทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น พลังงานความร้อนจะเป็นส่วนสำคัญในการผลิตกระแสไฟฟ้าสำหรับภูมิภาคอาเซียนและได้จะรับกระแสความนิยมจากทั่วโลกซึ่งในอนาคตพลังงานสะอาดจะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญของสปป.ลาวต่อไป  

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt106.php