ADB คาดการท่องเที่ยวกัมพูชากลับมาฟื้นตัวอย่างเต็มรูปแบบแล้ว

ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) รายงานการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวภายในกลุ่มประเทศเอเชียและแปซิฟิก รวมถึงกัมพูชาที่สถานการณ์เริ่มกลับมาสู่ภาวะปกติ ซึ่งได้รายงานไว้ใน Asian Development Outlook (ADO) ประจำเดือนกรกฎาคมปีนี้ โดยได้ปรับคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชาไว้ที่ร้อยละ 5.5 ในปีนี้ และขยายตัวร้อยละ 6 ในปีหน้า จากการเติบโตของภาคการท่องเที่ยวและบริการที่แข็งแกร่งมากขึ้น สำหรับแนวโน้มการเติบโตของภาคการท่องเที่ยวอยู่ที่ร้อยละ 7.3 ขณะภาคการเกษตรของกัมพูชาที่ถือเป็น 1 ใน 4 เสาหลักของระบบเศรษฐกิจ คาดว่าจะเติบโตร้อยละ 1.1 อย่างไรก็ตาม คาดว่าภาคอุตสาหกรรมจะเติบโตช้าลงมาอยู่ที่ร้อยละ 5.8 ในปีนี้ และร้อยละ 7.8 ในปีหน้า

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501327000/tourism-recovery-in-full-swing-says-adb/

ทางการกัมพูชาพร้อมพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำคัญในจังหวัดกำปงธม

รัฐบาลกัมพูชากำลังเร่งวางแผนที่จะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในจังหวัดกำปงธม โดยเฉพาะสะพานทอดข้ามแม่น้ำโขงเพื่อเชื่อมต่อไปยังจังหวัดกระแจะ รวมถึงถนนและทางด่วนที่ทอดยาวไปจนถึงอำเภอกำปงเหลียงซึ่งตั้งอยู่ทางตอนตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดกำปงฉนัง และทางรถไฟสายใหม่จากปอยเปตไปยังบาเวต เพื่อเป็นการเชื่อมโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งภายในประเทศและต่างประเทศอย่างเวียดนาม ซึ่งจะช่วยปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการขนส่งทางด้านการค้า การท่องเที่ยว และการสร้างงานให้กับคนในท้องถิ่น กล่าวโดย Sun Chanthol รัฐมนตรีว่าการกระทรวงโยธาธิการและการขนส่ง โดยรัฐมนตรียังได้กล่าวชื่นชมต่อการทำงานของธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ซึ่งเป็นพันธมิตรสำคัญในการให้การสนับสนุนทางด้านเงินกู้ เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางถนนในกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501314607/major-infra-boosts-for-kampong-thom/

‘ภาวะเงินเฟ้อ’ กดดันประเทศในเอเชีย ใช้นโยบายการเงินเข้มงวดขึ้น

รายงานของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ฉบับใหม่ ระบุว่าแรงกดดันเงินเฟ้อที่สูงขึ้นของหลายประเทศในเอเชีย รวมถึงสปป.ลาว ผลักดันให้มีการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นกว่าที่คาดการณ์ไว้ เพื่อควบคุมภาวะเงินเฟ้อที่มีผลต่อเศรษฐกิจ รวมถึงสร้างผลกระทบต่ออุปสงค์ภายนอกและทิศทางการส่งออกของภูมิภาคที่แย่ลง ทั้งนี้ สปป.ลาว มีอัตราเงินเฟ้อที่สูงที่สุดในเอเชีย และคนจำนวนมากมีรายได้ที่ต่ำ ทำให้ต้องหันไปซื้อสิ้นค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต

อีกทั้ง สำนักงานสถิติของสปป.ลาว เปิดเผยว่าอัตราเงินเฟ้อ ในเดือน ก.พ.2566 เพิ่มขึ้น 41.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นจากเดือน ม.ค. ที่ 40.3% การปรับเพิ่มขึ้นของราคาในครั้งนี้ส่วนใหญ่มาจากการเพิ่มขึ้นของราคาอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ (49.3%) ในขณะเดียวกัน แขวงคำม่วน มีอัตราเงินเฟ้อที่สูงที่สุดของประเทศ (49.82%) รองลงมาแขวงเวียงจันทน์และแขวงหลวงพระบาง เป็นต้น

ที่มา : https://vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten2023_Inflation48.php

ADB กล่าวถึงกุญแจสำคัญด้านการค้าและการลงทุนในอนาคตของ สปป.ลาว

ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) กล่าวว่า การค้าและการลงทุนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ถือเป็นสิ่งสำคัญต่อการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในเอเชียและแปซิฟิก รวมถึง สปป.ลาว ซึ่งจะข้อความร่วมมือไปยังรัฐบาลระดับภูมิภาคทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้น ตามรายงานฉบับล่าสุดของ ADB โดยรายงานการบูรณาการเศรษฐกิจในเอเชีย (AEIR) ประจำปี 2023 ระบุว่า แม้ว่าการค้าและการลงทุนจะกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจที่โดดเด่นในเอเชียในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา แต่ก็นำไปสู่การเพิ่มการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในภูมิภาค ซึ่งมีความเสี่ยงต่อผลกระทบจากสภาพอากาศโลก โดย ADB มุ่งหวังว่ารัฐบาลจำเป็นต้องมีมาตรการต่างๆ เช่น การส่งเสริมการค้าสินค้าและบริการด้านสิ่งแวดล้อม การดูแลธุรกิจสีเขียว การพัฒนากลไกการกำหนดราคาคาร์บอน และการเสริมสร้างความร่วมมือระดับภูมิภาคผ่านข้อตกลงการค้าและการลงทุน เพื่อเป็นการผลักดันการลดคาร์บอนในภูมิภาค

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten2023_Greener28.php

ADB, CP Bank ปล่อยเงินกู้ 10 ล้านดอลลาร์ หนุน MSMEs กัมพูชา

ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ลงนามในสัญญาเงินกู้กับ Cambodia Post Bank (CP Bank) มูลค่า 10 ล้านดอลลาร์ เพื่อสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดเล็ก และขนาดกลาง (MSMEs) ในกัมพูชา และเสริมสร้างการฟื้นตัวจากผลกระทบของโควิด-19 โดยในกัมพูชา MSMEs คิดเป็นร้อยละ 99.8 ขององค์กรธุรกิจและนิติบุคคลทั้งหมด ซึ่งสร้างการจ้างงานให้กับคนท้องถิ่นมากกว่าร้อยละ 72 ตามข้อมูลของ ADB โดยธุรกิจกลุ่ม MSMEs ถือเป็นเสาหลักของเศรษฐกิจกัมพูชา คิดเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 50 ของการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในขณะที่ปัจจุบันการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของ MSMEs ของกัมพูชานั้นมีอยู่อย่างจำกัด โดยมีเพียงประมาณร้อยละ 20 ของวิสาหกิจทั้งหมด ที่สามารถเข้าถึงเงินทุนหรือการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินได้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501235452/adb-cp-bank-in-10-million-loan-pact-for-aiding-msmes/

กองทุนทรัสต์ ADB มอบเงินสนับสนุนกัมพูชา 18.4 ล้านดอลลาร์

กัมพูชารับมอบเงินทุนสนับสนุน 18.4 ล้านดอลลาร์ จากกองทุนทรัสต์ของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) สำหรับดำเนินโครงการภายในกัมพูชา 23 โครงการ โดยในปี 2021 ประเทศผู้รับเงินทุนสนับสนุนจากกองทุนทรัสต์ สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ อินเดีย มูลค่า 41.5 ล้านดอลลาร์ สำหรับ 31 โครงการ, ศรีลังกา 32.3 ล้านดอลลาร์ สำหรับ 15 โครงการ และฟิจิ 27.9 ล้านดอลลาร์ สำหรับ 14 โครงการ ซึ่งในปัจจุบันกองทุน ADB Trust Funds ได้รับเงินบริจาคในปี 2021 มูลค่ารวม 353.4 ล้านดอลลาร์ คิดเป็นการลดลงประมาณร้อยละ 49 จากตัวเลขในปี 2020 โดยกองทุนดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อการสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศสมาชิก

ที่มา :https://www.khmertimeskh.com/501145513/cambodia-received-18-4m-from-adb-trust-funds-in-2021/

“ADB” คงประมาณการการขยายตัวของเศรษฐกิจเวียดนาม

รายงานการวิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียประจำปี 2565 (Asian Development Outlook 2022 : ADO 2022) ของธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) เปิดเผยว่าคงประมาณการการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเวียดนามของปี 2565 อยู่ที่ 6.5% และในปีหน้า 6.7% โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของการค้าอย่างต่อเนื่อง การฟื้นตัวของภาคการผลิต การเดินทางในประเทศและการลงทุนของภาครัฐ ในขณะเดียวกัน ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่พุ่งสูงขึ้น โดยเฉพาะราคาน้ำมันในตลาดโลก อย่างไรก็ตาม อุปทานอาหารในประเทศยังคงเพียงพอและจะช่วยบรรเทาภาวะเงินเฟ้อในปีนี้

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/adb-maintains-growth-forecast-for-vietnam/234137.vnp

กระทรวงการวางแผน ADB ประเมินความร่วมมือด้านต่างๆ

สปป.ลาวกำลังทำงานร่วมกับธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) เพื่อบรรลุ 24 โครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารด้วยเงินมากกว่า 829 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งรวมถึงเงินกู้มูลค่า 470.69 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และเงินช่วยเหลือมูลค่า 358.36 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ความร่วมมือระหว่างสปป.ลาวและ ADB เกิดขึ้นภายใต้ยุทธศาสตร์ความร่วมมือระยะยาว 5 ปีตั้งแต่ปี 2560-2564 และแผนธุรกิจ Country Operations Business Plan ซึ่งจะมีการทบทวนทุก 3 ปี นอกจากนี้ สำนักงาน ADB ได้ดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปีของประเทศเพื่อประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจเพื่อเป็นพื้นฐานในการจัดสรรงบประมาณสำหรับแต่ละภาคส่วนอย่างเหมาะสม แนวทางการกำกับของ ADB เป็นเพื่อนำพาสปป.ลาวสู่ความสำเร็จทั้งด้านสังคมและเศรษฐกิจโดยมีแบบแผนและกลยุทธ์ที่สำคัญ ตามกรอบแนวทางที่ ADB เป็นผู้วางและติดตาม

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten88_Planning.php

ADB สนับสนุนทางด้านสุขภาพ พลังงานสะอาด และถนนหนทางในกัมพูชา

ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) มอบเงิน 25 ล้านดอลลาร์ เพื่อเสริมสร้างระบบสุขภาพของกัมพูชา โดยเฉพาะห้องปฏิบัติการและระบบควบคุมการป้องกันการติดเชื้อจากโควิด-19 ทั่วประเทศจำนวน 81 แห่ง ซึ่งในปีที่แล้ว ADB ได้สนับสนุนภาคเอกชนในการขยายโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานสะอาดในกัมพูชา โดยได้ให้เงินกู้นอกภาครัฐจำนวน 4.7 ล้านดอลลาร์แก่ Prime Road Alternative Company Ltd. เพื่อพัฒนาและดำเนินการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 60 เมกะวัตต์ ในจังหวัดกำปงชนัง โครงการนี้คาดว่าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เกือบ 111,000 ตันต่อปี อีกทั้ง ADB ยังได้สนับสนุนเงินช่วยเหลือจำนวน 82.1 ล้านดอลลาร์ ให้กับกัมพูชา เพื่อปรับปรุงและก่อสร้างถนนภายในประเทศเชื่อมกันระหว่างจังหวัด เหยื่อแวง-กันดาล ระยะทางประมาณ 48 กม.

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501063773/adb-focuses-on-health-clean-energy-roads-in-cambodia/

คาดสินค้ากลุ่มพลังงาน ดันเงินเฟ้อกัมพูชาพุ่ง 4.7% ในปี 2022

ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) คาดกัมพูชาได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากวิกฤต สงครามระหว่าง รัสเซีย-ยูเครน ค่อนข้างต่ำ แต่อัตราเงินเฟ้อภายในจะยังคงเร่งขึ้นภายในปี 2022 ตามรายงานล่าสุดของ ADB โดยได้คาดการอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 4.7 จากราคาสินค้าในกลุ่มพลังงานและน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น อันเนื่องมาจากวิกฤตสงคราม ประกอบกับอุปสงค์ภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น โดยก๊าซธรรมชาติถือเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการผลิตปุ๋ยไนโตรเจน ซึ่งรัสเซียและเบลารุสส่งออกสินค้าชนิดนี้คิดเป็นกว่าร้อยละ 32 ของการส่งออกทั่วโลก ส่งผลทำให้ต้นทุนการเพาะปลูกพืชผลคาดว่าจะเพิ่มขึ้น นอกจากปุ๋ยแล้ว ราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นยังทำให้การทำฟาร์มมีต้นทุนที่สูงขึ้น ทำให้เงินเฟ้อด้านอาหารทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501054826/energy-prices-set-to-accelerate-inflation-to-4-7-in-2022/