เวิลด์แบงก์ คาดเศรษฐกิจเวียดนามปี 64 โต 6.8%

ธนาคารโลก (World Bank) ออกรายงานอัพเดทด้านเศรษฐกิจ โดยคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจเวียดนามมีแนวโน้มฟื้นตัวเป็นบวก จะเติบโตขึ้นร้อยละ 6.8 ในปี 2564 และหลังจากนั้นจะอยู่ในระดับทรงตัวประมาณร้อยละ 6.5 ซึ่งการคาดการณ์ตัวเลขดังกล่าว อยู่ภายใต้สมมติฐานว่าการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สามารถควบคุมได้ โดยเฉพาะการปล่อยวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม นาง Carolyn Turk ผู้อำนวยการธนาคารโลกประจำเวียดนาม กล่าวว่าเวียดนามกำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อจากการฟื้นตัวหลังวิกฤติโควิด-19 และมีโอกาสที่จะกำหนดเส้นทางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ฉลาดขึ้นและครอบคลุมมากขึ้น ช่วยให้ในอนาคตสามารถรับมือกับการระบาดใหญ่และภัยธรรมชาติ ทั้งนี้ เวิลด์แบงก์ คาดว่า เศรษฐกิจเวียดนามจะขยายตัวร้อยละ 3 ในปี 2563 ขณะที่เศรษฐกิจโลกจะหดตัวร้อยละ 4 ท่ามกลางภัยพิบัติครั้งใหญ่ในรอบหลาย 10 ปีที่ผ่านมา

  ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnams-economy-to-grow-68-percent-in-2021-world-bank/193558.vnp

INFOGRAPHIC : ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศและจำนวนประชากร ในกลุ่มสมาชิกอาร์เซ็ป

จากข้อมูลของ Worldometer และ World Bank เปิดเผยว่าความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) เป็นสนธิสัญญาการค้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งครอบคลุมตลาดที่มีประชากรรวมกัน 2.2 พันล้านคน และมี GDP รวมกันกว่า 26.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเกือบ 30% ของ GDP โลก

จำนวนประชากร ณ เดือนพฤศจิกายน 2563 (ล้านคน) และผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศในปี 2562 (ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ)

  1. จีน – จำนวนประชากร 1,441 ล้านคน, GDP 14.34 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
  2. เกาหลีใต้ – จำนวนประชากร 51.3 ล้านคน, GDP 1.64 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
  3. ญี่ปุ่น – จำนวนประชากร 126.3 ล้านคน, GDP 5.08 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
  4. อาเซียน – จำนวนประชากร 669.8 ล้านคน, GDP 2.87 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
  5. ออสเตรเลีย – จำนวนประชากร 25.6 ล้านคน, GDP 1.39 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
  6. นิวซีแลนด์ – จำนวนประชากร 4.8 ล้านคน, GDP 0.207 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

เมื่อวันจันทร์ (4 พฤศจิกายน 2562) อินเดียถอนตัวจากข้อตกลง RCEP

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/gdp-and-population-of-rcep-member-countries/190525.vnp

World Bank คาดการณ์เศรษฐกิจเวียดนามโต 2.5-3% ในปี 2563

ธนาคารโลก (WB) เปิดเผยรายงานเศรษฐกิจมหภาคของเวียดนาม เมื่อเดือนตุลาคม 2563 ระบุว่า GDP ของเวียดนามเติบโตขึ้นร้อยละ 2.5-3 ในปี 2563 ถึงแม้ว่าเวียดนามจะเผชิญกับการระบาดของเชื้อไวรัสโควิดรอบที่ 2 ก็ตาม แต่ในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ เศรษฐกิจเวียดนามส่งสัญญาฟื้นตัว จะขยายตัวร้อยละ 2.62 เมื่อเทียบกับปีที่แล้วและสูงกว่าเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนที่ร้อยละ 0.39 นับว่าขยายตัวขึ้น 2 เท่า ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ขยายตัวและยอดค้าปลีกในเดือนก.ย.เมื่อเทียบกับเดือนสิ.ค. ทั้งนี้ ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามเกินดุลการค้าอยู่ที่ 16.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ การลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ (FDI) ในเดือนก.ย. เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าของเดือนสิ.ค. อย่างไรก็ตาม ธนาคารโลกระบุว่าเวียดนามควรให้ความสำคัญกับการลดความเสี่ยงของการคลังภาครัฐ เมื่อเผชิญกับความไม่แน่นอนทั้งในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนี้ การแพร่ระบาดของไวรัสทำให้เวียดนามสามารถเปิดธุรกิจใหม่ได้อย่างรวดเร็วและคาดว่าจะเป็นเศรษฐกิจที่เติบโตเร็วที่สุดในโลกในปีนี้ ในขณะที่ หลายประเทศกำลังเผชิญกับการหดตัวทางเศรษฐกิจอย่างมากและวิ่งเข้าหากองทุนการเงินระหว่างประเทศเพื่อขอความช่วยเหลือทางการเงิน

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/wb-vietnams-gdp-forecasted-to-grow-at-25-3-in-2020-25216.html

World Bank ชี้ ธุรกิจครอบครัวเมียนมายังน่าเป็นห่วง

จากรายงานของธนาคารโลกกว่าร้อยละ 85 ของธุรกิจครอบครัวและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในเมียนมายังไม่มีสัญญาณการฟื้นตัวในช่วงหลายเดือนจนถึงเดือนมิถุนายนเนื่องจากพิษของ COVID-19 ข้อมูลดังกล่าวถูกรวบรวมจาก COVID-19 Monitoring Platform โดยธนาคารโลกของเมียนมาในเดือนมีนาคมและพฤษภาคมซึ่งได้สำรวจธุรกิจประมาณ 500 แห่งจาก 12 ภาคส่วนใน 6 พื้นที่ ได้แก่ เขตย่างกุ้งเ ขตมัณฑะเลย์ และรัฐชิน ส่วนใหญ่อยู่ในภาคการผลิต บริการ และภาคอื่น ๆ เช่น เกษตรกรรมและการค้า จากการสำรวจร้อยละ 85 มองว่าธุรกิจยังไม่ฟื้นตัว ในความเป็นจริงความเสียหายได้เพิ่มขึ้นในเดือนพฤษภาคม โดยร้อยละ 81 เห็นว่ารุนแรงกว่าเมื่อเทียบกับร้อยละ 69 ในเดือนมีนาคม ซึ่งธุรกิจในย่างกุ้งจะได้รับความเดือดร้อนมากที่สุด สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ส่วนใหญ่ที่อยู่ที่ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือ รัฐบาลได้รวบรวมกองทุน COVID-19 มูลค่า 1 แสนล้านจัต เพื่อเป็นเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำระยะเวลา 12 เดือนให้กับธุรกิจ SMEs จำนวน 3,000 ถึง 4000 รายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว กองทุนเงินกู้นี้มาจาก Japan International Cooperation Agency (JICA) จำนวนเงิน 15,000 ล้านเยน (190 พันล้านจัต) ภายใต้โครงการเงินกู้ฉุกเฉินสองขั้นตอนกับ Myanma Economic Bank ซึ่งเป็นธนาคารของรัฐ ขณะนี้กองทุนเงินกู้ชุดที่สามได้รับการอนุมัติและจัดลำดับความสำคัญของพื้นที่ที่ยังไม่ได้รับการพัฒนา เช่น รัฐชิน รัฐกะฉิ่น รัฐฉาน รัฐคายาห์ และเขตทานินธารี เงินกู้จำนวน 500 ล้านจัตจะถูกจัดสรรให้กับธุรกิจในพื้นที่เหล่านี้โดยจะปล่อยกู้ผ่านธนาคารเอกชน 11 แห่งซึ่งกู้ยืมจาก Myanma Economic Bank ในระยะเวลาเงินกู้ 5 ปีและอัตราดอกเบี้ยกำหนดโดยธนาคารกลางเมียนมา

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/no-recovery-sight-myanmar-family-businesses-world-bank.html

INFOGRAPHIC : เวียดนามกระโดดอันดับทางเศรษฐกิจ แตะระดับสูงสุด

World Economic Forum (WEF) ได้จัดอันดับ Global Competitiveness Index ของประเทศเวียดนาม มีคะแนนดัชนีความสามารถทางการแข่งขันที่ดีขึ้นจาก 55 คะแนน ในช่วงปี 2017-2018 เป็น 67 คะแนน ในช่วงปี 2018-2019

World Intellectual Property Organisation (WIPO) ได้เปิดตัวรายงาน Global Innovation Index (GII) พบว่าประเทศเวียดนามขยับตัวดีขึ้นมาอยู่ในอันดับที่ 42 จากทั้งหมด 129 ประเทศ

World Bank ได้ประกาศผลการจัดอันดับความยากง่าย ในการประกอบธุรกิจ หรือ Doing Business พบว่าในปี 2020 ประเทศเวียดนามมีคะแนนสูงขึ้นจาก 69 ในปี 2019 เป็น 70 คะแนน ในปี 2020

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnams-economy-ranking-improves-reaches-new-heights/182491.vnp

เวิลด์แบงก์ชี้จีดีพีไทยปี’63 หดตัวกว่า 5% คาดตกงานและสูญเสียรายได้จากโควิด-19 กว่า 8.3 ล้านคน

นายเกียรติพงศ์ อริยปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) เปิดเผยว่า ยอมรับเศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบที่รุนแรงจากโควิด-19 โดยเวิลด์แบงก์คาดการณ์อัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลในประเทศ (GDP) ปีนี้อาจหดตัวกว่า 5% และน่าจะใช้เวลามากกว่า 2 ปีกว่า ที่จะกลับสู่ระดับจีดีพีก่อนที่จะประสบปัญหาโควิด-19 การส่งออกคาดหดตัวประมาณ 6.3% ซึ่งเป็นการชะลอตัวลงรายไตรมาสที่แรงที่สุดในรอบ 5 ปี เนื่องจากความต้องการสินค้าไทยในต่างประเทศยังคงอ่อนแอ จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก นอกจากนี้ คาดว่าการบริโภคภาคเอกชนจะลดลง 3.2% เนื่องจากมาตรการห้ามการเดินทางและรายได้ที่ลดลง ซึ่งจำกัดการใช้จ่ายของผู้บริโภคโดยเฉพาะในไตรมาส 2/2563 ประกอบกับมีคนตกงานกระจายไปทั่ว และกระทบต่อครัวเรือนชนชั้นกลางไปถึงครัวเรือนที่ยากจน ภาคการท่องเที่ยวที่คิดเป็นสัดส่วน 15% ของจีดีพีได้รับผลกระทบอย่างมากจากการที่ไทยเกือบจะห้ามนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศตั้งแต่เดือนมี.ค. 2563 “ประมาณการว่าไทยจะมีคนตกงานและสูญเสียรายได้จากโควิด-19 กว่า 8.3 ล้านคน ทำให้งานมากมายโดยเฉพาะในภาคการท่องเที่ยวและภาคบริการมีความเสี่ยง ซึ่งจากรายงานยังพบอีกว่าจำนวนผู้ที่ไม่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หรือผู้ที่มีรายได้ต่อวันต่ำกว่า 5.5 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ (ตามภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อ) จะสูงขึ้นกว่าหนึ่งเท่าตัวจาก 4.7 ล้านคนในไตรมาสแรกเป็น 9.7 ล้านคนในไตรมาส 2/2563 โดยเฉพาะ สัดส่วนของคนที่ไม่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจในกลุ่มครัวเรือนชนชั้นกลางในภาคการผลิตและภาคบริการจะเพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าตัว จาก 6% เป็น 20%”

ที่มา : https://www.khaosod.co.th/economics/news_4412170

“ธสน.” เตือนผู้ส่งออกบริหารความเสี่ยงรับมือ “เศรษฐกิจโลก” และปัญหาผู้ซื้อต่างประเทศ

นายพิศิษฐ์  เสรีวิวัฒนา  กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หรือ ธสน. (EXIM BANK) เปิดเผยว่า จากผลกระทบของการแพร่ระบาดโควิด-19 ธนาคารโลก (World Bank) ได้คาดการณ์ว่า ในปี 2563 เศรษฐกิจโลกจะหดตัว 5.2% ต่ำสุดในรอบเกือบ 100 ปีนับตั้งแต่เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (The Great Depression) ในช่วงทศวรรษ 1930 ขณะที่การค้าโลกจะหดตัว 13.4% เป็นการหดตัวรุนแรงเกินเลข 2 หลัก (-10% ขึ้นไป) ครั้งแรกนับตั้งแต่เกิดวิกฤตสินเชื่อซับไพรม์หรือวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ในปี 2552 “EXIM BANK” คาดว่า ในปี 2563 ภาคการส่งออกของไทยจะหดตัว 5-8% สินค้าที่มีโอกาส เช่น สินค้าจำเป็นประเภทอาหาร และสินค้าตามกระแสเมกะเทรนด์ เช่น อุปกรณ์สำนักงานสำหรับทำงานจากบ้าน (Work from Home) เครื่องมือแพทย์ เภสัชภัณฑ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์ ทั้งนี้  จากการคาดการณ์ของออยเลอร์เฮอร์เมส (Euler Hermes) บริษัทประกันสินเชื่อทางการค้าชั้นนำของโลก Covid-19 จะส่งผลกระทบให้ธุรกิจการค้าทั่วโลกขาดทุนคิดเป็นมูลค่า 3.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ รวมทั้งจะมีธุรกิจล้มละลายเพิ่มสูงขึ้นกว่า 20% ผู้ส่งออกไทยจึงต้องบริหารความเสี่ยงทางการค้าระหว่างประเทศ โดยวิธีกระจายตลาดส่งออกสินค้าไปยังตลาดที่ยังเติบโตหรือมีคนรุ่นใหม่ที่ยังมีกำลังซื้ออยู่มาก เช่น ตลาดใหม่อย่าง CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม) เอเชียใต้ และแอฟริกา

ที่มา : https://www.thansettakij.com/content/439442

World Bank พร้อมสนับสนุนการปฏิรูปเศรษฐกิจในเมียนมา

ธนาคารโลกจะให้การสนับสนุนเมียนมาภายใต้กรอบความร่วมมือกับประเทศตั้งแต่ปี 2563 ถึง 2566 โดยมุ่งเน้นไปที่สามด้าน เช่น การสร้างทุนมนุษย์และส่งเสริมชุมชน กระตุ้นการเติบโตของภาคเอกชนที่นำโดยรับผิดชอบและโอกาสทางเศรษฐกิจโดยรวม และเพิ่มความยืดหยุ่นในการรับมือกับภัยธรรมชาติในขณะเดียวกันก็มั่นใจว่าทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะถูกจัดการอย่างยั่งยืน การคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจในขณะนี้คาดว่าจะลดลงอย่างรวดเร็วจาก 6.3 เปอร์เซ็นต์ใน 2561-2562 เหลือ 2% ในปี 2562-2563 เนื่องจาก COVID – 19 ในขณะที่เศรษฐกิจคาดว่าจะฟื้นในปีหน้าหากการระบาดสามารถควบคุมได้และการค้าโลกกลับมาอีกครั้ง ในขณะเดียวกันธนาคารโลกได้ให้เงินกู้ 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับโครงการฉุกเฉินอย่าง COVID-19 และได้รับเงินช่วยเหลือ 8 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากแหล่งเงินทุนฉุกเฉินสำหรับการแพร่ระบาด

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/world-bank-pledges-support-economic-reform-myanmar.html

ธนาคารโลกอนุมัติ 60 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อเสริมความแข็งแกร่งทางการเงินของสปป.ลาว

ธนาคารโลกได้อนุมัติเงิน 60 ล้านดอลลาร์สหรัฐในการพัฒนาศักยภาพและเสริมสร้างความปลอดภัยทางการเงินในด้านการเงินและพัฒนาระบบลงทะเบียนพลเมืองของประเทศ รัฐบาลสปป.ลาวได้แบ่งเงินไปเสริมศักยภาพใน 2 ด้าน โดย 35 ล้านดอลลาร์จะช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งทางการเงินของสปป .ลาวและยังเสริมสร้างความมั่นคงทางการเงินของภาคการเงินซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อครัวเรือนและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในส่วน 25 ล้านดอลลาร์สหรัฐจะช่วยสนับสนุนโครงการทะเบียนราษฎรและสถิติสำคัญ (CRVS) ซึ่งเป็นการพัฒนาระบบทะเบียนของราษฎรให้มีมาตราฐานมากขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของแผนการพัฒนาตามนโยบายสาธารณะของแผนพัฒนาระดับชาติ การพัฒนาภาคการเงินและทะเบียนราษฎรถือเป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของสปป.ลาวให้มีความมั่นคงและเป็นพื้นฐานในการพัฒนาด้านอื่นๆต่อไป

ที่มา : http://www.xinhuanet.com/english/2020-04/01/c_138938016.htm

World Bank จับมือ ADB ช่วยเหลือเมียนมาจัดการกับผลกระทบของ COVID-19

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการลงทุนและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (MIFER) ธนาคารโลกของเมียนมาและธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ร่วมหารือในการจัดการกับผลกระทบของ COVID-19 ที่มีต่อระบบเศรษฐกิจ MIFER กล่าวว่าธนาคารโลกได้ใช้งบ 14 พันล้านเหรียญสหรัฐเพื่อสนับสนุนประเทศสมาชิกในการเผชิญกับ COVID-19 โดยมอบ 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐจะให้แก่เมียนมาภายใต้ระบบ Fast Track และธนาคารโลกกำลังประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจของเมียนมา จากนั้นธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชียแจ้งว่าจะจัดสรรความช่วยเหลือมูลค่า 6.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับการพัฒนาประเทศสมาชิก ADB ประสานงานกับกระทรวงสาธารณสุขและการกีฬาเพื่อให้สินเชื่อและเงินช่วยเหลือเพื่อใช้ในความพยายามในการป้องกันและควบคุม COVID-19 นอกจากนี้ยังได้หารือกับ ADB จัดสรรเงิน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐภายใต้กองทุนโครงการประกันสุขภาพของ The Greater Mekong Subregion (GMS)

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/world-bank-adb-assist-myanmars-efforts-deal-covid-19s-effects.html