อาเซียน-จีนลุยอัปเกรด “เอฟทีเอ” เดินหน้าขยายการค้าและลงทุน อำนวยความสะดวกลดอุปสรรค

นางสาวโชติมา เอี่ยมสวัสดิกุล รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ได้รับมอบหมายจากนางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ให้เป็นประธานฝ่ายอาเซียนเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการร่วมกำกับการดำเนินงานภายใต้ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน (ACFTA-JC) ครั้งที่ 15 และการประชุม Special การประชุมครั้งนี้ได้ติดตามการดำเนินการตามความตกลงของคณะทำงานย่อยในเรื่องต่างๆ เช่น คณะทำงานด้านมาตรฐาน ด้านการลงทุน ด้านกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า รวมถึงหารือแนวปฏิบัติของสมาชิกให้ทันสมัย เพื่ออำนวยความสะดวกมากยิ่งขึ้น และบรรเทาปัญหาที่เกิดจากอุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษี โดยเฉพาะจากจีน

ที่มา : https://www.thairath.co.th/business/economics/2455178

กัมพูชาส่งออกผลไม้ไปยังจีนเพิ่มขึ้นหลัง FTA กัมพูชา-จีน มีผลบังคับใช้

การส่งออกสินค้าเกษตรของกัมพูชาโดยเฉพาะผลไม้สดได้กลายเป็นส่วนสำคัญของการปรับปรุงมาตรฐานความเป็นอยู่ของเกษตรกรและถือเป็นส่วนส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยปัจจุบันกัมพูชาส่งออกผลไม้ไปยังจีนเพิ่มขึ้นภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรี กัมพูชา-จีน แม้จะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งผลไม้จากกัมพูชาหลายชนิดได้รับอนุญาตให้ทำการส่งออกไปยังประเทศจีนได้ตั้งแต่ในช่วงเดือนเมษายนของปีที่แล้ว โดยสินค้าชนิดแรกที่ได้รับการอนุญาตได้แก่มะม่วง ซึ่งกรมศุลกากรจีนได้อนุมัติการนำเข้ามะม่วงจากสวน 37 แห่ง และโรงงานแปรรูปอีก 5 แห่ง ในกัมพูชา ภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรีกัมพูชา-จีน ซึ่งในระยะอันสั้นจะมีการประเมินสำหรับการขออนุญาตในการส่งออกลำไยจากกัมพูชาไปยังจีนเพิ่มเติม โดยคาดว่าจะเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของกัมพูชาในอนาคต

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501118917/growth-of-fruit-exports-to-china-highlights-effectiveness-of-cambodia-china-fta/

ครึ่งปีแรกกัมพูชาดึงเงินลงทุนจากจีนพุ่งแตะ 1.29 พันล้านดอลลาร์

กัมพูชาดึงดูดการลงทุนจากจีนมูลค่าการลงทุนรวมกว่า 1.29 พันล้านดอลลาร์ ในช่วงครึ่งแรกของปี ตามการรายงานของสภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) โดยในรายงานระบุเพิ่มเติมว่า จีนยังคงเป็นประเทศที่มีนักลงทุนเข้ามาลงทุนในกัมพูชามากที่สุดคิดเป็นกว่าร้อยละ 43 ของเงินลงทุนจากนักลงทุนชาวต่างชาติทั้งหมดที่มีมูลรวมอยู่ที่ 2.99 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งโครงการลงทุนส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่ภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร การผลิต การท่องเที่ยว และการลงทุนทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน เป็นสำคัญ ในขณะเดียวกัน กรมศุลกากรและสรรพสามิตของกัมพูชาได้รายงานถึงมูลค่าการค้าระหว่างกัมพูชากับจีนที่เพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 19.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 5.98 พันล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501118255/cambodia-attracts-1-29-billion-investment-from-china-in-h1-of-2022/

จีนรุกลงทุนสปป.ลาว 16 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

คำเจน วงโพสี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการวางแผนและการลงทุนของ สปป.ลาว กล่าวว่าจีนยังคงเป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดในสปป.ลาว ด้วยเม็ดเงินทุนสะสมประมาณ 16.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รวม 833 โครงการ โดยการลงทุนของจีนดังกล่าวมีความหลากหลายสาขาธุรกิจและส่วนใหญ่เงินทุนเข้าไปยังธุรกิจขนาดย่อม ขนาดกลางและขนาดใหญ่, รัฐวิสาหกิจและบริษัทเอกชน ทั้งนี้ เงินลงทุนหลักที่มีจำนวนมากเข้าไปยังโครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ได้แก่ ทางด่วยเวียงจันทร์-วังเวียง, ทางรถไฟสายลาว-จีน, เขตพัฒนาไซเสดถา, เขตเศรษฐกิจบ้านบ่อหาน-บ่อเต็น. สายส่งไฟฟ้าแรงสูงและโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten137_Chinese_y22.php

กัมพูชาส่งออกข้าวไปยังจีนเพิ่มขึ้น 17% ในช่วงครึ่งแรกของปี

กัมพูชาส่งออกข้าวสารปริมาณรวมกว่า 168,280 ตัน ไปยังประเทศจีนในช่วงครึ่งแรกของปี 2022 หรือคิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยจีนยังคงเป็นผู้นำเข้าข้าวรายสำคัญของกัมพูชาคิดเป็นกว่าร้อยละ 51.4 ของการส่งออกข้าวสารทั้งหมดของกัมพูชา ซึ่งหลังจากข้อตกลงการค้าระดับภูมิภาค (RCEP) มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคมที่ผ่านมา ทางประธานสหพันธ์ข้าว (CRF) ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าปริมาณการค้าข้าวสารกับจีนและกัมพูชาจะต้องปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501115402/cambodias-rice-export-to-china-up-over-17-pct-in-h1/

ไตรมาสแรกของปีงบฯ 65-66 ภาคการผลิตเมียนมาดูดเม็ดเงินลงทุนจากจีนไปแล้วกว่า 11.112 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

คณะกรรมการการลงทุนและการบริหารบริษัท (DICA) ของเมียนมา เผย ไตรมาสที่ 1 (เม.ย.-มิ.ย.2565) ของปีงบประมาณ 2565-2566 มีการลงทุนในภาคการผลิตจาก 7 บริษัทของจีน รวมทั้งสิ้น  11.112 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากเม็ดเงินลงทุนทั้งหมด 21.99 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มทุนจากฮ่องกง ลงทุนกว่า 5.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ญี่ปุ่นประมาณ 3.1 และไต้หวันอีก 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แม้ว่าสถานประกอบการที่ต้องใช้แรงงานจำนวนมากต้องเผชิญกับผลกระทบของโควิด-19 และความไม่สงบทางการเมือง แต่ขณะนี้เริ่มกลับสู่ภาวะปกติหลังจมีการเร่งฉีดวัคซีนโควิด-19 สำหรับแรงงาน ตั้งแต่เดือนก.ย.2564 ที่ผ่านมา โดยภาคการผลิตส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอที่ผลิตแบบ CMP (การตัด การผลิต และบรรจุภัณฑ์) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของจีดีพีประเทศ ทั้งนี้ ในช่วงงบประมาณย่อยที่ผ่านมา (เดือนต.ค. 2564 ถึงเดือนมี.ค. 2565) เมียนมาดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมากกว่า 647.127 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จาก 49 บริษัทต่างชาติ ในจำนวนนี้ มี 40 บริษัทลงทุนในภาคการผลิต

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-manufacturing-sector-attracts-11-million-from-china-in-q1-april-june/#article-title

ราคาข้าวส่งออกไปจีนผ่านด่านมูเซ พุ่งขึ้น!

นาย อู มิน เต็ง รองประธานศูนย์ค้าส่งข้าวชายแดนมูเซ เผย ราคาส่งออกข้าวไปจีนราคาพุ่งสูงเป็นที่พอใจเป็นอย่างมาก โดยราคาข้าวหักอยู่ที่ 36,000 จัตต่อถุง (น้ำหนัก 50 กิโลกรัม) จากความต้องการที่เพิ่มขึ้นของต่างประเทศ คาดว่าจะหนุนราคาไปได้ถึง 45,000 จัตต่อถุง ปัจจุบันมีการส่งข้าวและข้าวหักจีนผ่านชายแดนมูเซอยู่ที่ประมาณ 10,000 ถุง ซึ่งก่อนหน้านี้มีปริมาณการส่งออกมากถึง 60,000 ถุง ระหว่างวันที่ 1 เม.ย. ถึง 30 มิ.ย.2565 ของปีงบประมาณ 2565-2566 มีส่งออกข้าวและข้าวหักกว่า 550,000 ตัน โดย 510,000 ตัน ส่งออกทางทะเล และผ่านชายแดนอีก 33,000 ตัน ทั้งนี้ เมียนมามีรายได้จากการส่งออกข้าวในปีงบประมาณ 2563-2564 ประมาณ 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการส่งออกข้าว 2 ล้านตัน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/broken-rice-export-to-china-fetches-high-price/#article-title

“Xiaomi” ยืนยันเตรียมสร้างสายการผลิตสมาร์ทโฟนในเวียดนาม

เสียวหมี่ (Xiaomi) ผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือสัญชาติจีน ประกาศเริ่มผลิตสมาร์ทโฟนในเวียดนาม โดย DBG Technology ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ DBG Electronics ของฮ่องกงที่ตั้งโรงงานในจังหวัดท้ายเงวียน (Thai Nguyen) ภาคเหนือของประเทศ ทั้งนี้ บริษัท DBG Technology  เผยว่าโรงงานแห่งใหม่ในเวียดนามจะเป็นศูนย์กลางในการส่งออกไปยังกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงมาเลเซียและไทย ในขณะที่ต้นทุนการขนส่งในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และต้นทุนโลจิสติกส์ที่เพิ่มขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งปัญหาดังกล่าว ทางผู้ผลิตสมาร์ทโฟนสัญชาติจีนได้จับมือกับพันธมิตรในการโลคัลไลเซชันด้านการผลิต

ที่มา : https://hanoitimes.vn/xiaomi-confirms-production-of-smartphones-in-vietnam-321190.html

นักลงทุนจีน แห่ซื้อที่ดินในสปป.ลาว

ธุรกิจจีนเข้ามากว้านซื้อที่ดินในสปป.ลาว สำหรับโรงงาน โรงแรมและโครงการพัฒนาด้านอื่นๆ เนื่องจากอิทธิพลของจีนเข้ามาขยายตัวอย่างต่อเนื่องในประเทศที่ยากจนและไม่มีทางออกสู่ทะเล โดยสำนักข่าว RFA อ้างตัวแทนอสังหาริมทรัพย์ในเวียงจันทน์ เปิดเผยว่า ชาวจีนจำนวนมากกำลังจะเข้ามาซื้อที่ดินในอนาคต ราคาที่ดินใกล้สถานีรถไฟเวียงจันทน์อยู่ที่ 2,500 บาท (70 ดอลลาร์สหรัฐ) ต่อตารางเมตร และที่ดินที่ได้รับการจดทะเบียนส่วนใหญ่ถูกขายไปกับชาวจีน นอกจากนี้ จีนเป็นผู้ลงทุนและให้ความช่วยเหลือต่างชาติรายใหญ่ที่สุดของลาว และเป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับสองรองจากไทย

ที่มา : https://www.rfa.org/english/news/laos/land-07062022143130.html

จีนให้คำมั่นกัมพูชา สนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจต่อเนื่อง

Wang Yi รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของจีน ให้คำมั่นต่อกัมพูชาในการสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจ ผ่านการส่งออกและการเพิ่มเที่ยวบินตรงระหว่างประเทศ โดยการส่งออกของกัมพูชาไปยังจีนมีมูลค่าเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 6-10 ทุกปี ในด้านการลงทุน Wang Wentian เอกอัครราชทูตจีนประจำกัมพูชา กล่าวว่า การลงทุนโดยตรงของจีนในกัมพูชาในปัจจุบันสูงถึง 206 ล้านดอลลาร์ ในไตรมาสแรกของปีนี้ ขณะที่ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่าง จีน-กัมพูชา ก็เติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและจีนมีมูลค่าถึง 4,990 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามข้อมูลจากกรมศุลกากรและสรรพสามิต ในขณะที่กัมพูชาส่งออกไปยังจีนมูลค่ารวมอยู่ที่ 519.8 ล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สวนทางกับการนำเข้าจากจีนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.5 หรือคิดเป็นมูลค่า 4,470 ล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501106399/china-pledges-continuous-support-for-cambodias-economic-development/