‘CPTPP’ ดันส่งออกเวียดนาม

ในการประชุมเชิงปฏิบัติการ จัดขึ้นโดยสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมเวียดนาม (VCCI) เมื่อวันที่ 7 เมษายนที่ผ่านมา เพื่อระดมความเห็นถึงผลลัพธ์ในช่วง 2 ปี ของการดำเนินการตามข้อตกลงความครอบคลุมและก้าวหน้าเพื่อหุ้นส่วนการค้าภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก (CPTPP) หลังจากลงนามไปเมื่อเดือนมีนาคม 2561 ปัจจุบันมีประเทศเข้าร่วม 11 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย บรูไน แคนาดา ชิลี ญี่ปุ่น มาเลเซีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ เปรู สิงคโปร์และเวียดนาม ทั้งนี้ สมาชิกหอฯ แสดงความเห็นว่าข้อตกลงการค้าดังกล่าว ช่วยให้การส่งออกดีขึ้น มีมูลค่าถึง 34.3 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2562 และพุ่งขึ้นแตะ 34 พันล้านเหรียญสหรัฐในปีที่แล้ว โดยมูลค่าการค้าระหว่างประเทศสมาชิก คิดเป็นสัดส่วน 12.02% ของยอดการส่งออกทั้งหมดของเวียดนามในปี 2563 นอกจากนี้ รองเท้า เครื่องนุ่งห่ม ไม้และผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากไม้ เป็นกลุ่มสินค้าเติบโตที่ดีในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

  ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/cptpp-gives-boost-to-vietnamese-exports/199810.vnp

เวียดนามส่งออกข้าวไปไทย “พุ่ง”

กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (MoIT) เผยว่าในช่วงกลางเดือนมีนาคม ปริมาณการส่งออกข้าวของเวียดนามรวม 214,670 ตัน เป็นมูลค่า 117.58 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 38.5% ในแง่ของปริมาณและ 40.5% ในแง่ของมูลค่า โดยเฉพาะตลาดไทยที่ปริมาณการส่งออกข้าวของเวียดนามพุ่ง 30 เท่า ด้วยปริมาณกว่า 16,250 ตัน จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะที่ตลาดอื่น อาทิ กานา สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ฟิจิและอินโดนีเซีย ประเทศดังกล่าวนำเข้าข้าวเวียดนามพุ่งอย่างมาก ด้วยอัตรา 74.4%, 302.9%, 500.5% และ 2,180% ตามลำดับ ทั้งนี้ ตามสถิติ ณ วันที่ 6 เม.ย. ราคาส่งออกข้างหัก 5% ลดลง 5-10 เหรียญสหรัฐ อยู่ในระดับต่ำกว่า 500 เหรียญสหรัฐต่อตัน เนื่องจากแนวโน้มราคาข้าวทั่วโลกที่ปรับตัวลดลง ราคาข้าวของไทยและอินเดียปรับตัวลดลง เป็นผลมาจากค่าเงินบาทและค่าเงินรูปีอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://vov.vn/en/economy/vietnamese-rice-exports-to-thailand-enjoy-surge-848681.vov

เวียดนามตั้งเป้าปี 73 ภาคบริการมีสัดส่วน 60% ของ GDP

ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศของเวียดนาม มุ่งเน้นการส่งเสริมภาคบริการในปี 2564-2573 ด้วยกำหนดวิสัยทัศน์ถึงปี 2593 เพื่อให้บรรลุเป้าหมายข้างต้นนั้น รัฐบาลจะผลักดันให้เกิดการปฏิรูปองค์กรและส่งเสริมความโปร่งใส รวมถึงยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันของภาคบริการในช่วงยุคอุตสาหกรรม 4.0 นอกจากนี้ เวียดนามจะปรับโครงสร้างภาคเศรษฐกิจผ่านการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยเฉพาะสาขาการเงินการธนาคาร การประกันภัย การดูแลสุขภาพ การศึกษา การขนส่ง การค้าและการท่องเที่ยว เป็นต้น ทั้งนี้ ในไตรมาสแรกของปีนี้ ภาคบริการขยายตัวในทิศทางเป็นบวกที่ 3.34% เนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ค่อยๆลดลง

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnam-government-eyes-services-sector-to-make-up-60-of-gdp-by-2030-316932.html

เวียดนามเผยไตรมาสแรก ยอดส่งออกผักผลไม้กลับมาดีขึ้น

สำนักงานการค้าต่างประเทศ กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า เปิดเผยว่ายอดการส่งออกผักและผลไม้ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ อยู่ที่ 944 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 6.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว จีนยังคงเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ที่สุด ด้วยมูลค่า 352.83 ล้านเหรียญสหรัฐ จากการซื้อผักและผลไม้ของเวียดนามตั้งแต่เดือน ม.ค.-ก.พ. ซึ่งมูลค่าดังกล่าวคิดเป็นสัดส่วน 62.5% ของยอดการส่งออกสินค้าทั้งหมด ทั้งนี้ ในเดือนมี.ค. เวียดนามส่งออกผักและผลไม้ไปต่างประเทศ อยู่ที่ 380 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 6.3 เมื่อเทียบเป็นรายปี และคาดว่ารายได้จากการส่งออกผัก ผลไม้จะพุ่งขึ้นแตะ 8-10 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยรายได้ส่วนใหญ่มาจากสินค้าแปรรูปที่มีสัดส่วน 30% ของมูลค่าทั้งหมด ภายในปี 2573

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/fruit-vegetable-exports-bounce-back-in-q1/199657.vnp

‘SCG’ ตั้งเป้าให้ความสำคัญกับตลาดเวียดนามสูงสุด อีกไม่กี่ปีข้างหน้า

Nikkei Asian เผยบทสัมภาษณ์ของคุณรุ่งโรจน์ รังสิโยภา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ระบุว่าประเทศเวียดนามเป็นตลาดเป้าหมายที่สำคัญของธุรกิจ “อีกไม่กี่ปีข้างหน้า” ทั้งนี้ เมื่อปีที่แล้ว บริษัทมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 7% ถึงแม้ว่ารายได้จะปรับตัวลดลง แต่คาดว่าธุรกิจซีเมนต์และวัสดุก่อสร้างจะต้องใช้เวลาในการฟื้นตัวมากกว่ากลุ่มธุรกิจเคมีภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์ อย่างไรก็ตาม ทางบริษัทได้เริ่มขยายธุรกิจในภูมิภาค โดยเวียดนามเป็นศูนย์กลางเชิงกลยุทธ์ในปี 2535 จนถึงในไตรมาสแรกของปี 2560 บริษัทมีแหล่งปฏิบัติการ 22 แห่งในเวียดนาม และมีจำนวนพนักงานท้องถิ่นมากกว่า 8,600 คน ดังนั้น บริษัทได้พิสูจน์ให้เห็นว่ามีความสนใจและมีความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร ตลอดจนมุ่งมั่นพัฒนาคนเวียดนามให้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ เมื่อถามถึงประเด็นเศรษฐกิจ ท่ามกลางการระบาดของ COVID-19 พบว่า“สำหรับธุรกิจของ SCG บางส่วนได้รับผลกระทบและบางส่วนไม่ได้รับผลกระทบมากนัก” จำนวนผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ยอดขายรถยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ล้วนลดลง ตลอดจนซีเมนต์และวัสดุก่อสร้างที่มีสัดส่วนของยอดขายมากที่สุดของบริษัท ได้รับผลกระทบมากที่สุด เนื่องจากโควิด-19 ทำให้ผู้คนไม่มั่นใจว่ารายได้เพียงพอ การซื้อบ้านและคอนโดมีเนียมเกิดหยุดชะงักลง

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/vietnam-is-top-priority-for-siam-cement-in-coming-years-ceo-30185.html

สปป.ลาว-เวียดนามปฏิญาณกระชับความสัมพันธ์ความเป็นปึกแผ่นพิเศษ

ประธานาธิบดีสปป.ลาว Mr.Thongloun Sisoulith ได้ให้คำมั่นที่จะทำงานอย่างใกล้ชิดกับ Mr.Nguyen Xuan Phuc ประธานาธิบดีแห่งรัฐที่ได้รับการเลือกตั้งใหม่ของเวียดนามเพื่อยกระดับความสัมพันธ์การร่วมมือและความเป็นปึกแผ่นพิเศษระหว่างทั้งสองประเทศให้อยู่ในระดับที่สูงขึ้น หลายปีมานี้เวียดนามได้ให้การสนับสนุนต่อสปป.ลาวโดยเฉพาะอย่างยิ่งความช่วยเหลือของเวียดนามในการฟื้นฟูสปป.ลาวจากภัยพิบัติ รวมถึงการช่วยสปป.ลาวในการรับมือกับการแพร่ระบาดของโควิด -19 ท่ามกลางวิกฤตการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศและโลก เวียดนามถือเป็นประเทศหนึ่งที่สปป.ลาวมีการพึ่งพาทั้งด้านการค้าและการลงทุน ซึ่งเวียดนามเป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่อันดับสามในสปป.ลาวรองจากจีนและไทยในปี 2563 มูลค่าลงทุนจากเวียดนามทั้งหมด 4.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ด้านการค้ามีมูลค่าอยู่ที่ 815 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_LaosViet_68.php