ท่าเรือพนมเปญ เสริมพื้นที่จัดเก็บตู้คอนเทนเนอร์ในกัมพูชา

ท่าเรือพนมเปญ (PPAP) ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์กัมพูชา (CSX) ได้เปิดตัวโครงการส่วนต่อขยายท่าเทียบ ไปในวันที่ 20 กันยายน ที่ผ่านมา โดยได้ยกระดับความสามารถในการจัดการตู้คอนเทนเนอร์เป็น 400,000 TEU ต่อปี ซึ่งการก่อสร้างท่าเรือแห่งนี้ใช้งบประมาณอยู่ที่ 18.4 ล้านดอลลาร์ เริ่มก่อสร้างขึ้นในปี 2019 และแล้วเสร็จภายในช่วงกลางปี 2021 โดยมีขนาดครอบคลุมพื้นที่ 2.75 เฮกตาร์ และเดิมมีความสามารถในการจัดการตู้คอนเทนเนอร์ 100,000 TEU ต่อปี ซึ่งเหตุผลที่จำเป็นต้องขยายเป็นเพราะว่าจำนวนตู้คอนเทนเนอร์ที่ท่าเรือเพิ่มขึ้นอย่างมาก ดังนั้นจึงจำเป็นต้องสร้างโครงสร้างพื้นฐานใหม่เพื่อรองรับการเติบโตอย่างต่อเนื่องของปริมาณการใช้คอนเทนเนอร์ที่ท่าเรือ โดยในปี 2019 PPAP ได้รับตู้คอนเทนเนอร์ประมาณ 290,000 ตู้ มายังท่าเรือ และยังได้วางแผนโครงการขยายสถานีคอนเทนเนอร์ใหม่ ด้วยการเพิ่มพื้นที่จัดเก็บให้ได้ 500,000 TEUs ต่อปี ภายในปี 2022

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50938651/phnom-penh-autonomous-port-upgrades-container-handling-capacity-to-400000-teus/

การก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกสีหนุวิลล์ เลื่อนกำหนดการเป็นปี 2022

เจ้าหน้าที่อาวุโสกล่าวว่าการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกเฟสแรกของท่าเรือปกครองตนเองสีหนุวิลล์ (PAS) จำเป็นต้องเลื่อนการเริ่มก่อสร้างในเฟสแรกออกไปจนถึงช่วงปีหน้า โดยคาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จภายในปี 2025 ซึ่งท่าเรือน้ำลึกแห่งนี้กำหนดความยาวไว้ที่ 350 เมตร และความลึกอยู่ที่ 14.50 เมตร รองรับเรือบรรทุกสินค้าที่กินน้ำลึกประมาณ 13 เมตร และเรือขนาดกลางที่มีความจุ 5,000 TEU โดยโครงการมีมูลค่าอยู่ที่ 218 ล้านดอลลาร์ได้รับการพัฒนาภายใต้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) จากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งก่อนหน้านี้โครงการก่อสร้างมีกำหนดเริ่มการก่อสร้างในช่วงกลางปี 2021 ซึ่งการเลื่อนการก่อสร้างเป็นผลมาจากการออกแบบเลย์เอาต์ที่ช้ากว่าที่วางแผนไว้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50930380/construction-of-first-deep-port-terminal-at-sihanoukville-rescheduled-for-2022/

ในปัจจุบันกัมพูชามีท่าเรือทางแม่น้ำและทางทะเลรวมกันกว่า 100 แห่ง

กัมพูชามีท่าเรือภายในประเทศทั้งหมด 105 แห่ง โดยแบ่งออกเป็นท่าเรือริมแม่น้ำ 78 แห่ง ที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง โตนเลสาบ โตนเลบาซัก และในจังหวัดต่างๆ และอีก 27 แห่ง คือท่าเรือทางทะเล ซึ่งกระทรวงโยธาธิการและการขนส่ง (MPWT) ได้แบ่งปันข้อมูลตัวเลขดังกล่าวและเสริมว่าท่าเรือส่วนใหญ่ดำเนินเกี่ยวกับการค้า อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว ท่าเรือน้ำมัน และอื่นๆ โดยท่าเรือเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมกิจกรรมการค้าทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ สู่การพัฒนาและขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในประเทศ ซึ่งรัฐมนตรีอาวุโสและรัฐมนตรีว่าการกระทรวง MPWT ได้จัดประชุมไปเมื่อวันที่ 26 ก.ค. ที่ผ่านมา เกี่ยวกับกฎหมายท่าเรือที่จะมีบทบาทสำคัญในการจัดการและพัฒนาท่าเรือภายในประเทศ รวมถึงการส่งเสริมการค้าในประเทศและระหว่างประเทศในระยะถัดไป

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50902640/cambodia-has-over-100-river-and-sea-ports/

ท่าเรือแห้งธนาเล้ง เวียงจันทน์ โลจิสติกส์ พาร์ค สนับสนุนการเชื่อมโยงด้านโลจิสติกส์

ท่าเรือแห้งทนาเล็ง (TDP) และเวียงจันทน์โลจิสติกส์พาร์ค (VLP) โครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่สองโครงการได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนความพยายามของรัฐบาลสปป.ลาวในการเปลี่ยนสปป.ลาวให้กลายเป็นจุดเชื่อมโยงด้านโลจิสติกส์และประเทศที่เชื่อมโยงทางบกภายในภูมิภาคเอเชี่ยตะวันออกเฉี่ยงใต้ ท่าเรือแห้งทนาเล็งเป็นเป้าหมายที่สำคัญในการขับเคลื่อนตามยุทธศาสตร์ลอจิสติกส์แห่งชาติของสปป.ลาวตั้งแต่ปี 2559 ถึง 2568 โครงการนี้มีแผนที่จะเชื่อมโยงกับเส้นทางการค้าทางทะเล สนามบิน และทางรถไฟ ดังนั้นโครงการนี้จะช่วยสนับสนุนและเพิ่มศักยภาพทางการค้าและการลงทุนสูงสุดของสปป.ลาว ในอนาคตอันใกล้ โครงการนี้มีแผนที่จะเชื่อมโยงกับท่าเรือหวุงอังในจังหวัดห่าติ๋งตอนกลางของเวียดนาม ซึ่งรัฐบาลสปป.ลาวและเวียดนามได้ตกลงที่จะร่วมกันพัฒนาเพื่อผลประโยชน์สูงสุดของทั้งสองประเทศ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Thanaleng_105.php

เจ้าท่า ลุยปรับปรุงท่าเรือเกาะสมุย บูมเที่ยวทะเลอ่าวไทย

กรมเจ้าท่า เร่งปรับโฉมใหม่ท่าเรือเกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี คาดแล้วเสร็จปี 67 รองรับการท่องเที่ยวฝั่งอ่าวไทยเพิ่มสูงขึ้น-ยกระดับมาตรฐานท่าเรือให้ปลอดภัย นายวิทยา ยาม่วง อธิบดีกรมเจ้าท่า (จท.) เปิดเผยว่า กรมเจ้าท่าได้ดำเนินการตามแผนด้านโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางน้ำ เพื่อยกระดับท่าเรือให้ได้มาตรฐานและความปลอดภัย ซึ่งท่าเทียบเรือดังกล่าว เป็นท่าเรือสำคัญที่จะรองรับนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก ซึ่งท่าเรือเกาะสมุย เป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อการเดินทางไปยังเกาะพะงัน เกาะเต่า เกาะนางยวน และเกาะม้า จ.สุราษฎร์ธานี ในอนาคตอาจมีแนวโน้มนักท่องเที่ยวเดินทางเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง กรมเจ้าท่า จึงดำเนินการปรับปรุงรื้อถอนท่าเทียบเรือเดิมบางส่วน และปรับปรุงท่าเรือดังกล่าว ได้แก่ ปรับปรุงโครงสร้างท่าเทียบเรือเพื่อส่งเสริมหน้าท่าพื้นที่ 864 ตารางเมตร และเพิ่มพื้นที่สะพานทางเดิน 2,340 ตารางเมตร สร้างอาคารพักคอยรองรับผู้โดยสารเรือครุยส์ ขนาด 1,800 ตารางเมตร และอาคารพักคอยด้านหลังท่าเทียบเรือ 182.25 ตารางเมตร และงานก่อสร้างด้านอื่นๆ ด้วยรูปแบบที่ทันสมัย และได้มาตรฐานความปลอดภัย คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จปี 67 ทั้งนี้ การปรับปรุงท่าเรือเกาะสมุยจะเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ และรองรับนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น ในอนาคต หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย และรองรับการขยายตัวด้านเศรษฐกิจฝั่งอ่าวไทยในปัจจุบันและในอนาคต เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีรายได้ และคุณภาพชีวิตที่ดี ตามนโยบายรัฐบาลในการขับเคลื่อน และพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน และเป็นไปตามแนวทางยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี อีกด้วย

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/822510

ท่าเรือเพื่อการท่องเที่ยวในกัมพูชาคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในสิ้นปีนี้

การก่อสร้างท่าเรือเพื่อการท่องเที่ยวระหว่างประเทศในจังหวัดกำปอตเสร็จสมบูรณ์แล้วประมาณร้อยละ 50 และคาดว่าจะแล้วเสร็จในปลายปี 2564 โดยความคืบหน้าดังกล่าวได้นำเสนอในที่ประชุมเพื่อทบทวนการดำเนินโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านการท่องเที่ยวเพื่อการเติบโต ด้านสิ่งแวดล้อมในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงใน 4 จังหวัดชายฝั่งของกัมพูชา ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและประธานคณะกรรมการบริหารโครงการระดับชาติเป็นประธานการประชุมเมื่อวันที่ 20 ม.ค. โดยการประชุมดังกล่าวมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาการท่องเที่ยว ผ่านโครงสร้างพื้นฐานรองรับการท่องเที่ยว ได้แก่ ท่าเรือนานาชาติกำปอตเพื่อการท่องเที่ยว ซึ่งแนะนำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินโครงการอย่างมีประสิทธิผลและสำเร็จลุล่วงตามแผนที่วางไว้ เพื่อเป็นการพัฒนาภาคการท่องเที่ยวภายในประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50806066/tourism-seaport-construction-to-be-completed-by-year-end/

ท่าเรือติวาลาพร้อมรับเรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่

การท่าเรือของเมียนมา (Myanmar Port Authority: MPA) อนุญาตให้เรือขนาดใหญ่ที่มีความสูงถึง 10 เมตรเข้าเทียบได้ที่ท่าเรือติวาลาของย่างกุ้งในเดือนนี้ คาดว่าจะช่วยให้มีปริมาณการขนส่งสินค้าในตู้คอนเทนเนอร์มากและสามารถกระตุ้นให้มีปริมาณการค้าที่สูงขึ้น ซึ่งการค้าของเมียนมาประมาณ 95% เป็นการค้าทางทะเล ในปีงบประมาณที่แล้วมีการส่งออกสินค้ามูลค่ากว่า 10.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐและนำเข้า 15.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐผ่านเส้นทางเดินเรือ ท่าเรือ Thilawa ซึ่งมีความยาว 10 เมตรสามารถรองรับเรือได้ถึง 20,000 ตันหรือ 2,000 TEU (Twenty foot Equivalent Unit : ตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 20 ฟุต) จนถึงต้นปีนี้มีเพียงเรือที่มีความสูงไม่เกิน 9 เมตรเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้เทียบที่ท่าเรือ สามารถรองรับเรือได้ถึง 15,000 ตันหรือ 1,500 TEU

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/yangons-thilawa-port-receive-larger-ships.html

โครงการท่าเรือเพื่อการท่องเที่ยวของกัมพูชาเสร็จสมบูรณ์แล้วร้อยละ 55

กระทรวงโยธาธิการและการขนส่ง (MPWT) กล่าวว่าโครงการท่าเรือเพื่อการท่องเที่ยวแห่งใหม่ในจังหวัดกัมปอตได้ดำเนินการแล้วเสร็จถึงร้อยละ 55 แต่ด้วยการออกแบบใหม่และผลกระทบจาก COVID-19 ทำให้เกิดความล่าช้า โดยโครงการมีมูลค่าอยู่ที่ 8 ล้านดอลลาร์ มาจากเงินกู้ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) คาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดดำเนินการได้ภายในสิ้นปี 2022 ซึ่งหัวหน้าแผนกโครงสร้างพื้นฐานทางน้ำและการก่อสร้างท่าเรือของ MPWT กล่าวว่าได้ตัดสินใจที่จะออกแบบอาคารผู้โดยสารหลักและท่าเรือใหม่เนื่องจากเพิ่งสังเกตว่าการออกแบบครั้งแรกไม่ดีพอ ดังนั้นจึงต้องมีการออกแบบและวางแผนเพิ่มเติมสำหรับข้อกำหนดโครงสร้างที่แตกต่างกัน โดยท่าเรือตั้งอยู่ในเขตตึกชูมีความยาวประมาณ 300 เมตร และสามารถรองรับเรือที่บรรทุกผู้โดยสารได้ 300 ถึง 400 คน โดยเมื่อท่าเรือสร้างเสร็จและพร้อมให้บริการ จะมีส่วนช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดโดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่านแพ็คเกจการท่องเที่ยวที่เชื่อมจังหวัดกัมปอตกับจุดหมายปลายทางในเวียดนามและไทย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50787547/kampot-tourism-port-project-55-complete/

เมียนมาเตรียมสร้างท่าเรือเพื่อพัฒนาการขนส่งทางน้ำ

กระทรวงคมนาคมและการสื่อสารกำลังวางแผนที่จะพัฒนาท่าเรือภายในประเทศหลายแห่งที่แม่น้ำอิระวดีและแม่น้ำชิดวิน เพื่อปรับปรุงการขนส่งทางบกและการขนส่งทางแม่น้ำ ท่าเรือแห่งใหม่นี้จะได้รับการพัฒนาเป็นท่าเรือหลักเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการขนส่งทางน้ำและโลจิสติกส์ นอกจากนี้ยังยกระดับการค้ากับอินเดีย จีน และไทยและสอดคล้องกับแผนพัฒนาแห่งชาติของเมียนมาและแผนแม่บทโลจิสติกส์ ท่าเรือทั้ง 5 แห่งอยู่ใน จังหวัดปะโคะกู เขตมะกเว เมืองบะมอฝั่งแม่น้ำอิรวดี รวมถึงเมืองกะเล่วะและเมืองโมนยวาริมแม่น้ำชิดวิน (Chindwin) โดยมีมูลค่ารวม 182 ล้านดอลาร์สหรัฐ ซึ่งจะมีการเปิดประมูลและคาดว่าจะเริ่มได้ในปีงบประมาณที่จะถึงนี้  ท่าเรือทั้ง 5 แห่งซึ่งเมื่อพัฒนาแล้วคาดว่าจะยกระดับเศรษฐกิจภายในประเทศผ่านการขนถ่ายสินค้าและการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ที่มีประสิทธิภาพและสร้างโอกาสในการทำงานให้กับคนในท้องถิ่นและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของเขตเศรษฐกิจและเขตอุตสาหกรรมในพื้นที่ นอกจากนี้ยังช่วยลดราคาสินค้าเนื่องจากต้นทุนการขนส่งสินค้าที่ลดลง ประหยัดเวลาการเดินเรือด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกในการขนถ่ายที่รวดเร็ว ลดการสูญเสียและความเสียหายต่อสินค้าและการขนถ่ายสินค้าที่ปลอดภัยและมีความเชื่อถือมากขึ้น

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-build-inland-ports-improve-river-transportation.html

เมียนมา-ญี่ปุ่นหารือแผนแม่บทโลจิสติกส์แห่งชาติ

จากข้อมูลของกระทรวงคมนาคมและการสื่อสาร เมียนมาร์และญี่ปุ่นหารือเกี่ยวกับการดำเนินการขั้นสุดท้ายของแผนแม่บทโลจิสติกส์แห่งชาติซึ่งได้รับความช่วยเหลือจาก Japan International Cooperation Agency (JICA) เพื่อสนับสนุนการพัฒนาภาคโลจิสติกส์ของเมียนมาเมื่อวันที่ วันที่ 17 สิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา แผนแม่บทโลจิสติกส์แห่งชาติร่างขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2559 โดยความช่วยเหลือของ  JICA นำโดยกระทรวงคมนาคมและการสื่อสาร ตามแผนแม่บทภาคโลจิสติกส์จะเพิ่มขึ้นสามเท่าของปัจจุบันภายในปี 2573 จากรายงานของ Myanma Port Authority (MPA) มีการสร้างท่าเทียบเรือใหม่ 8 แห่งในย่างกุ้งภายในระยะเวลาสามปีและกำลังดำเนินการขนถ่ายสินค้าด้วยท่าเทียบเรือ 41 แห่ง ชายฝั่งเมียนมาร์มีความยาว 1,385 ไมล์และมีการสร้างท่าเรือ 9 แห่งตามแนวชายฝั่ง ท่าเรือย่างกุ้งเป็นท่าเรือสำคัญและรองรับการค้าทางทะเลระหว่างประเทศมากกว่าร้อยละ 90 ท่าเรือใหม่ที่สร้างขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้แก่ ท่าเทียบเรือ Green Asia ที่มีความยาว 200 เมตร ท่าเทียบเรือ Elite Petrochemical ท่าเรือ Wilmar International และ International Bulk Terminal Thilawa

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/myanmar-japan-discuss-implementation-of-national-logistics-master-plan