จีนพร้อมสนับสนุนภาคพลังงานกัมพูชา

ทางการกัมพูชาพร้อมตอบสนองต่อความต้องการด้านพลังงานภายในประเทศ ภายใต้การร่วมมือของนักลงทุนจีน โดยเฉพาะการช่วยลดต้นทุนการบริโภคพลังงานของภาคครัวเรือนกัมพูชาซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 0.25 ดอลลาร์ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง ซึ่งสูงกว่ามากเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน อย่างประเทศไทยมีต้นทุนต่อกิโลวัตต์ชั่วโมงอยู่ที่ 0.139-0.141 ดอลลาร์ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง และเวียดนามโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 0.073-0.078 ดอลลาร์ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง สิ่งนี้พิสูจน์แล้วว่ากัมพูชามีต้นทุนทางด้านพลังงานที่สูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน แต่ด้วยความพยายามของรัฐบาลในการปรับปรุงภาคพลังงานได้เริ่มดำเนินโครงการไว้ตั้งปี 2018 ด้วยการเปิดตัวโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาด 400 เมกะวัตต์ “Lower Sesan 2” ในจังหวัดสตึงแตรง ภายใต้เงินทุนสนับสนุนจาก China Hwaneng Group จับมือร่วมกับ Royal Group ด้วยเม็ดเงินลงทุนกว่า 800 ล้านดอลลาร์ ในการสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำครอบคลุมกำลังการผลิตคิดเป็นกว่าร้อยละ 51 ของกำลังการผลิตไฟฟ้าทั้งหมดของกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501391160/china-proves-godsend-for-cambodias-energy-sector/

เมียนมา และจีนลงนามข้อตกลงซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 3 โครงการ

ตามการแถลงของสถานเอกอัครราชทูตจีนในเมียนมา การลงนามข้อตกลงระหว่างเมียนมาและจีนในการซื้อไฟฟ้าสำหรับโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 3 โครงการ ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเนปิดอว์ เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน โดยคำแถลงระบุว่า กำลังการผลิตรวมของโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 3 โครงการของ Kyeon Kyeewa, Kinda และ Sedoktaya ในเขต Magway และ Mandalay ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง Power China Resources Ltd. และกระทรวงพลังงานไฟฟ้าของเมียนมา อยู่ที่ 90 เมกะวัตต์ ซึ่งเพียงพอสำหรับรองรับการพัฒนาของ ภูมิภาค ด้านรัฐมนตรีกระทรวงพลังงานไฟฟ้าแห่งสหภาพ ชื่นชมความคืบหน้าของโครงการความร่วมมือด้านพลังงานแสงอาทิตย์ และหารือทัศนคติที่จะพัฒนาความร่วมมือด้านไฟฟ้าจีน-เมียนมาต่อไป เพื่ออำนวยความสะดวกในการพัฒนาของทั้งสองประเทศ และดึงดูดความสนใจของประชาชนเมียนมามากขึ้น นอกจากนี้ ยังได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการตามผลข้อตกลงของการประชุม Belt and Road Forum for International Cooperation ครั้งที่ 3 การพัฒนาการเชื่อมต่อไฟฟ้าระหว่างจีน-เมียนมา ความช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหา “ความต้องการไฟฟ้า” ของเมียนมา และรองรับการก่อสร้าง ระเบียงเศรษฐกิจจีน-เมียนมา

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-china-sign-agreement-to-purchase-electricity-from-three-solar-power-plant-projects/#article-title

วิกฤตขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าในเวียดนาม ทรุดตัวต่อเนื่องจนถึงปี 2050

คณะกรรมการกำกับดูแลของสมัชชาแห่งชาติ รายงานว่าแหล่งทรัพยากรพลังงานปฐมภูมิที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติกำลังจะหมดไป เนื่องจากไฟฟ้าพลังน้ำถูกใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพแล้ว รวมไปถึงปริมาณน้ำมันและก๊าซจากแหล่งพลังงานหลักลดลงอย่างรวดเร็ว ในขณะที่จากรายงานของธนาคารโลก ประจำเดือน ส.ค. มีการประเมินความสูญเสียของเวียดนาม พบว่าเวียดนามสูญเสียรายได้จากวิกฤตพลังงานไฟฟ้าขาดแคลนประมาณ 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 0.3% ของ GDP โดยผู้เชี่ยวชาญได้เตือนถึงการขาดแคลนไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องในภาคเหนือของประเทศ ทำให้จะไม่มีการจัดตั้งโรงงานใหม่เกิดขึ้นในอีก 2 ปีข้างหน้า ด้วยเหตุนี้ เวียดนามจำเป็นที่ต้องพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ และอาจทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนไฟฟ้าได้จนถึงปี 2050

ที่มา : https://www.retailnews.asia/power-shortage-in-vietnam-looms-until-2050/

วิกฤตขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าในเวียดนาม ทรุดตัวต่อเนื่องจนถึงปี 2050

คณะกรรมการกำกับดูแลของสมัชชาแห่งชาติ รายงานว่าแหล่งทรัพยากรพลังงานปฐมภูมิที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติกำลังจะหมดไป เนื่องจากไฟฟ้าพลังน้ำถูกใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพแล้ว รวมไปถึงปริมาณน้ำมันและก๊าซจากแหล่งพลังงานหลักลดลงอย่างรวดเร็ว ในขณะที่จากรายงานของธนาคารโลก ประจำเดือน ส.ค. มีการประเมินความสูญเสียของเวียดนาม พบว่าเวียดนามสูญเสียรายได้จากวิกฤตพลังงานไฟฟ้าขาดแคลนประมาณ 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 0.3% ของ GDP

โดยผู้เชี่ยวชาญได้เตือนถึงการขาดแคลนไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องในภาคเหนือของประเทศ ทำให้จะไม่มีการจัดตั้งโรงงานใหม่เกิดขึ้นในอีก 2 ปีข้างหน้า ด้วยเหตุนี้ เวียดนามจำเป็นที่ต้องพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ และอาจทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนไฟฟ้าได้จนถึงปี 2050

ที่มา : https://www.retailnews.asia/power-shortage-in-vietnam-looms-until-2050/

8 เดือนแรกของปี กัมพูชานำเข้า น้ำมันและก๊าซ มูลค่ารวมกว่า 2.28 พันล้านดอลลาร์

สำหรับในช่วงเดือน มกราคม-สิงหาคม ปีนี้ กัมพูชานำเข้าผลิตภัณฑ์น้ำมันและก๊าซมูลค่ารวมกว่า 2.28 พันล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 9.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามรายงานของกรมศุลกากรและสรรพสามิต (GDCE) โดยคาดว่าความต้องการในการใช้ผลิตภัณณ์ดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเป็น 4.8 ล้านตัน ภายในปี 2030 จากปริมาณ 2.8 ล้านตัน ในปี 2020 ซึ่งปัจจุบันกัมพูชานำเข้าผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม 100% ซึ่งมีแหล่งนำเข้าส่วนใหญ่มาจากไทย เวียดนาม และสิงคโปร์

ด้าน OPEC, สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ และสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ ล้วนคาดการณ์ถึงการขาดดุลของตลาดที่เพิ่มมากขึ้นในไตรมาสหน้า เนื่องจากผู้ผลิตรายใหญ่ควบคุมอุปทานการผลิตและการส่งออกทั่วโลก โดยคาดว่าอุปสงค์น้ำมันทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน ส่งผลทำให้ราคาน้ำมันจ่อปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งราคาน้ำมันในกัมพูชาล่าสุดเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (18 ก.ย.) อยู่ที่ 1.12 ดอลลาร์ ต่อลิตร ขณะที่น้ำมันดีเซลราคาอยู่ที่ 1.15 ดอลลาร์ ต่อลิตร

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501362703/cambodia-imports-oil-and-gas-products-worth-2-28-billion-in-the-first-eight-months-of-the-year/

CSG พร้อมสร้างสมดุลในการจัดหาพลังงานให้แก่ สปป.ลาว

China Southern Power Grid (CSG) กำลังมองหาโอกาสทางธุรกิจมากขึ้น ภายในเขตลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-ลุ่มแม่น้ำโขง (LMC) โดยเฉพาะในประเทศ สปป.ลาว หลังจากที่ได้รุกลงทุนด้านพลังงานและการค้าภายในภูมิภาคแล้วในปัจจุบัน ด้าน Li Xinhao ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายความร่วมมือระหว่างประเทศของ CSG กล่าวว่า บริษัท พร้อมให้การช่วยเหลือและร่วมมือกับกลุ่มประเทศในเขตลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-ลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อสร้างสมดุลในด้านการจัดหาไฟฟ้าในภูมิภาค ซึ่งในช่วงฤดูแล้งของ สปป.ลาว ทางการจำเป็นต้องนำเข้าพลังงานไฟฟ้าเพื่อตอบสนองต่อความต้องการภายในประเทศ โดยในอนาคต CSG จะสร้างสายส่งไฟฟ้าเพิ่มขึ้นใน สปป.ลาว เพื่อเป็นการสร้างความแข็งแกร่งด้านพลังงาน ภายในสิ้นปี 2022 บริษัท ได้นำส่งไฟฟ้ากว่า 40,212 GWh ไปยังเวียดนาม 1,228 GWh ไปยัง สปป.ลาว และ 4,969 GWh ไปยังเมียนมา รวมถึงทำการซื้อไฟคืนจากเมียนมา 23,279 GWh

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_132_China_CSG_y23.php

ตัวแทนอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม สปป.ลาว ร่วมหารือลดต้นทุนด้านพลังงาน

สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม สปป.ลาว (ALGI) เล็งเห็นและให้ความสำคัญกับการลดต้นทุนด้านพลังงาน รวมถึงการปกป้องสิ่งแวดล้อม โดยทางสมาคมได้จัดหลักสูตรทางด้านเทคนิคเกี่ยวกับระบบการจัดการพลังงาน รวมถึงการฝึกอบรม ซึ่งมุ่งเป้าไปที่การดำเนินการตามแผนที่มีอยู่ของบริษัทสำหรับภาคส่วนอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป ที่ได้จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 20-22 มิถุนายน ณ หอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งชาติ สปป.ลาว (LNCCI) ที่ได้รับความร่วมมือกับทางกระทรวงพลังงานและเหมืองแร่ สปป.ลาว ในการถ่ายทอดความรู้

โดยภาคอุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้ระบบการจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อลดต้นทุนการผลิตและสอดคล้องกับนโยบายและพระราชกฤษฎีกาการอนุรักษ์พลังงานของรัฐบาล นอกจากนี้ คู่ค้าในปัจจุบันยังต้องการสินค้าที่ผลิตโดยกรรมวิธีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงยังเป็นมิตรต่อแรงงานในสายการผลิต

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten2023_Garment120.php

“เมียนมา” เผยราคาเชื้อเพลิงในประเทศ พุ่ง 2,000 จ๊าดต่อลิตร

คณะกรรมการกำกับการนำเข้า การจัดเก็บและการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงของเมียนมา รายงานว่าราคาน้ำมันเตาในประเทศ (ดีเซลและออกเทน 92) ขยับเพิ่มสูงขึ้นเกินกว่า 2,000 จ๊าดต่อลิตร โดยราคาเชื้อเพลิงในประเทศถูกกำหนดมาจากราคาน้ำมันเบนซินอ้างอิงราคากลางของเอเชีย (MOPS) ซึ่งเป็นที่กำหนดราคาผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้ ตามข้อมูลในเดือน สิ.ค. 65 พบว่าราคาน้ำมันออกเทน 92 พุ่งสูงขึ้นอยู่ที่ 2,605 จ๊าดต่อลิตร ราคาน้ำมันออกเทน 95 และดีเซล ขยับเพิ่มสูงขึ้นแตะ 2,670 จ๊าดต่อลิตร และ 3,245 จ๊าดต่อลิตร ตามลำดับ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmars-honey-exports-exceed-330-tonnes-in-may/#article-title

พลังงานเผยช่วง 4 ด.ใช้น้ำมัน/วันเพิ่ม 3.1%

นางสาวนันธิกา ทังสุพานิช อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน เผยภาพรวมการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง รอบ 4 เดือน ของปี 2566 เฉลี่ยอยู่ที่ 158.86 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 3.1 และคาดว่าในครึ่งปีหลัง การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงทุกชนิดมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศอย่างเห็นได้ชัด โดยการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเดือนมกราคม – เมษายน ของน้ำมันกลุ่มเบนซิน เฉลี่ยอยู่ที่ 31.86 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.8 การใช้น้ำมันกลุ่มดีเซล เฉลี่ยอยู่ที่ 74.63 ล้านลิตร/วัน ลดลงร้อยละ 3.4 เนื่องจากเดือนเมษายน 2565 มีการใช้น้ำมันกลุ่มดีเซลหมุนเร็วสูงเนื่องจากการคลายความกังวลของประชาชนจากการผ่อนปรนมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของ COIVD-19 ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ส่งผลต่อการเดินทางกลับภูมิลำเนาและท่องเที่ยวที่เพิ่มสูงขึ้น การใช้น้ำมันอากาศยานเชิงพาณิชย์ (Jet A1) เฉลี่ยอยู่ที่ 13.89 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 92.4 ตามมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวของหลายประเทศ การใช้ LPG เฉลี่ยอยู่ที่ 17.18 ล้าน กก./วัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 3.3 การใช้ NGV เฉลี่ยอยู่ที่ 3.50 ล้านกก./วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.4 ในส่วนการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง ปริมาณการนำเข้ารวม เฉลี่ยอยู่ที่ 1,098,731 บาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.9 และการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป ปริมาณส่งออกรวม อยู่ที่ 151,539 บาร์เรล/วัน ลดลงร้อยละ 2.6 คิดเป็นมูลค่าส่งออกรวม 15,164 ล้านบาท/เดือน ขณะที่ การคาดการณ์การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงปี 2566 คาดว่า น้ำมันกลุ่มเบนซินปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.8 น้ำมันกลุ่มดีเซลปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.1 น้ำมันอากาศยานเชิงพาณิชย์ (Jet A1) ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.7 น้ำมันเตาปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.2 และ LPG ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 โดยการคาดการณ์ของกรมสอดคล้องกับการคาดการณ์ของหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยคาดการณ์การใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ปี 2566 ทุกชนิดจะกลับมาใกล้เคียงกับในปี 2562 ยกเว้นน้ำมันอากาศยานเชิงพาณิชย์ (Jet A1) เนื่องจากหลายประเทศยังคงมาตรการจำกัดการเดินทาง ประกอบกับสายการบินอยู่ระหว่างการฟื้นฟู

ที่มา : https://www.innnews.co.th/news/economy/news_563394/

เวียดนามจัดโครงสร้างแหล่งพลังงานใหม่ หวังดูดเงินลงทุนต่างชาติหลายพันล้านดอลลาร์เข้าประเทศ

สำนักข่าว Reuters รายงานว่า แหล่งข่าวจากวงการพลังงานเวียดนามระบุว่า รัฐบาลเวียดนามอยู่ระหว่างพิจารณาปรับเป้าหมายเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้ามากกว่า 2 เท่าภายในปี 2030 โดยมีแผนลดเป้าหมายสำหรับพลังงานลมนอกชายฝั่งลง และจะพึ่งพาถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงหลักเพิ่มขึ้นเป็น 30.1 กิกะวัตต์ จากแผนเดิมปี 2020 อยู่ที่ 21.4 กิกะวัตต์ และยืนยันว่า โรงไฟฟ้าแห่งนี้เป็นแหล่งไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ ซึ่งคิดเป็น 19% ของโรงไฟฟ้าทั้งหมด ส่วนไฟฟ้าพลังน้ำจะเป็นแหล่งพลังงานหลักอันดับ 2 รองลงมาคือ ก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) และพลังงานลม ส่วนแผนการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างการปรับปรุง โดยมีการคาดการณ์ว่า กำลังการผลิตจะเพิ่มเป็น 158 กิกะวัตต์ในอีก 7 ปี เพิ่มขึ้นราว 2 เท่าจากก่อนหน้านี้ที่คาดว่าจะมีกำลังการผลิต 69 กิกะวัตต์ ทั้งนี้ ก็เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศที่คาดว่าจะเข้ามาหลายพันล้านดอลลาร์  อย่างไรก็ตาม แผนดังกล่าวมีความสำคัญต่อการปลดล็อกกองทุนเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานมูลค่า 1.55 หมื่นล้านดอลลาร์ ที่ให้คำมั่นไว้ในเดือนธันวาคมโดยกลุ่ม 7 ชาติและประเทศที่ร่ำรวย แต่การอนุมัติยังล่าช้าไปหลายปี ท่ามกลางความขัดแย้งภายในและการปฏิรูปที่ซับซ้อน

ที่มา : https://thestandard.co/vietnam-new-energy-resource-structure/