‘ภาคการผลิตของเวียดนาม’ ปรับตัวลดลง เหตุโควิด-19 ระบาด

ผลสำรวจโดยนิกเกอิ ชี้ว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของเวียดนาม ปรับตัวลงสู่ระดับ 40.2 ในเดือนสิ.ค. จากระดับ 45.1 ในเดือนก.ค. สะท้อนให้เห็นว่าภาคการผลิตของเวียดนามต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย. 2563 ทั้งนี้ แอนดรูว์ ฮาร์เกอร์ รองผู้อำนวยการ IHS Markit กล่าวว่าผู้ผลิตของเวียดนามกำลังเผชิญกับปัญหาการดำเนินงานในปัจจุบันที่แทบจะเป็นไปไม่ได้ เนื่องจากมาตรการข้อจำกัดต่างๆ ที่ควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการผลิตสินค้า อีกทั้งธุรกิจส่วนใหญ่คาดว่ามาตรการดังกล่าวจะขยายเวลาต่อไปมากขึ้น ในขณะเดียวกันตลาดแรงงานของภาคการผลิต ประสบปัญหาจากมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม ภาคธุรกิจยังคงให้พนักงานบางส่วนอยู่ในสถานที่ทำงาน แต่พนักงานบางส่วนยังไม่สามารถเข้ามาทำงานได้ เมื่อพิจารณาในภาพรวมแล้วนั้น การจ้างงานลดลงเป็นเดือนที่สามติดต่อกัน

ที่มา : https://hanoitimes.vn/vietnam-manufacturing-output-declines-on-covid-19-outbreak-318571.html

‘เวียดนาม’ เผยโควิด-19 ทุบกิจการในเกิ่นเทอกว่า 95% หยุดกิจการชั่วคราว

จากรายงานของสำนักงานอุตสาหกรรมและการค้า เปิดเผยว่าจำนวนกิจการ 1,032 แห่งจากทั้งหมด 1,090 แห่ง หรือประมาณ 94.68% ของจำนวนธุรกิจทั้งหมดในจังหวัดเกิ่นเทอ (Can Tho) ปิดกิจการชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 16 สิ.ค. ที่ผ่านมา การปิดกิจการนั้น เนื่องจากได้รับผลกระทบจากโควิด-19 และส่งผลกระทบต่อการผลิตและซัพพลายเชน ตลอดจนตลาดอุปโภคบริโภค ทั้งนี้ ปัจจุบันมีจำนวนธุรกิจเพียง 20 แห่งที่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรมเกิ่นเทอ ยังคงดำเนินกิจการต่อไปได้ ในขณะที่ธุรกิจ 41 แห่งที่ดำเนินกิจการอยู่นอกนิคมอุตสาหกรรมที่สามารถยังดำเนินการต่อไปได้ นอกจากนี้ จังหวัดเกิ่นเทอ มีผู้ติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 2,663 คน (ณ วันที่ 27 เม.ย –15 สิ.ค.)

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/covid19-forces-nearly-95-percent-of-can-tho-firms-to-halt-operations/206456.vnp

เวียดนามเผยผลสำรวจชี้ธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิตส่วนใหญ่ 78% มองว่ามั่งคงและดีขึ้นในไตรมาสที่ 3

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าธุรกิจที่อยู่ในอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูปส่วนใหญ่ 39.2% มองว่าทิศทางของการทำธุรกิจและการผลิตจะปรับตัวดีขึ้นในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ รองลงมา 38.6% อยู่ในระดับไม่เปลี่ยนแปลง และ 22.2% อาจประสบปัญหามากเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ทั้งนี้ สำนักงานสถิติ ชี้ว่าการผลิตของภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 2 อยู่ในทิศทางที่เป็นบวก เนื่องจากกิจกรรมการผลิตและการทำธุรกิจค่อยๆกลับมาฟื้นตัว ด้วยอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 11.45% เมื่อเทียบเป็นรายปี และในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ ภาคอุคสาหกรรมเติบโตประมาณ 8.91% เมื่อเทียบเป็นรายปี อย่างไรก็ดี ตามข้อมูล ณ วันที่ 1 มิ.ย. จำนวนแรงงานที่อยู่ในธุรกิจอุตสาหกรรม ลดลง 1.4% เมื่อเทียบเป็นรายเดือน และ 1% เมื่อเทียบเป็นรายปี

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/nearly-78-pct-of-manufacturing-processing-firms-expect-stable-better-performance-in-q3/204495.vnp

เผยผลสำรวจดัชนีภาคการผลิตเวียดนามดิ่งลง เหตุภัยธรรมชาติ

ผลสำรวจล่าสุดซึ่งจัดทำโดยนิกเกอิ ระบุว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของเวียดนาม ปรับตัวลดลงสู่ระดับ 49.9 ในเดือนพฤศจิกายน สะท้อนถึงสภาพธุรกิจที่ไม่เปลี่ยนแปลงในวงกว้าง อีกทั้ง ผลผลิตลดลงเล็กน้อยในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งการลดลงดังกล่าวอาจเป็นแค่ชั่วคราว เนื่องจากธุรกิจหลายแห่งประสบปัญหาน้ำท่วมและพายุที่รุนแรง ทำให้การผลิตหยุดชะงัก รวมถึงการระบาดของโรคโควิด-19 เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อผลผลิต ในขณะที่ยอดคำสั่งซื้อใหม่ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ว่านับเป็นส่วนน้อยของการดำเนินธุรกิจ ทั้งนี้ ถึงแม้ว่าผลการดำเนินธุรกิจในเดือนพฤศจิกายนไม่ค่อยดีนัก แต่ว่าธุรกิจหลายแห่ง มองว่าการผลิตจะกลับมาขยายตัวได้ในปีหน้า ด้วยความมั่นใจที่ว่าเวียดนามจะยังคงควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19 ได้ต่อไป

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnam-manufacturing-activity-dips-in-nov-amid-storms-and-flooding-315078.html

RCEP กระตุ้นภาคการผลิตของเมียนมา

งานวิจัยของ Oxford Business Group ชี้ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) มีส่วนผลักดันการผลิตของเมียนมาโดยกลุ่มการค้าจาก 15 ประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลกเพื่อขยายฐานการผลิต สภาหอการค้าอังกฤษในเมียนมาเผยผู้ผลิตในท้องถิ่นระดับภูมิภาคและระดับโลกที่ต้องเข้าร่วมในตลาดอาเซียนกำลังใช้ประโยชน์จากโอกาสในเมียนมา เพราะเศรษฐกิจเมียนมาร์ยังมีความใหม่มีพื้นฐานทางการเกษตรและการผลิตโดยรวมอยู่ในช่วงเริ่มต้น มีฐานต้นทุนที่ต่ำ โครงสร้างพื้นฐานที่กำลังเติบโตและรัฐบาลที่เปิดกว้าง รัฐบาลใหม่ของนางอองซานซูจี ตอนนี้ถึงเวลาสร้างและเสริมสร้างขีดความสามารถของกระทรวงต่างๆเพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน RCEP อย่างมีประสิทธิผลแ 5 ปีที่ผ่านมาธุรกิจจากต่างประเทศมีการลงทุนลงทุนกว่า 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในธุรกิจการผลิต 711 แห่ง ส่วนใหญ่จากญี่ปุ่นและสิงคโปร์ลงทุน 1.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐใน 50 ธุรกิจในเขตเศรษฐกิจพิเศษ จากรายงานของคณะกรรมการด้านการลงทุนและการบริหารบริษัท (DICA) การลงทุนภาคการผลิตมีมูลค่ามากที่สุดในช่วงปี 2559 ถึง 2563 ด้วยมูลค่า 7.4 พันล้านดอลลาร์  โดย RCEP ได้ลงนามเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 63 ที่ผ่านมาในการประชุมสุดยอดอาเซียน ซึ่งมีประเทศร่วมลงนาม ได้แก่ 10 ประเทศจากอาเซียน จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ RCEP มีประชากรคิดเป็น 30% ของประชากรโลก และขนาดของเศรษฐกิจจะเท่ากับ 28% ของ GDP โลก โดยกลุ่มอาเซียนที่เข้าร่วม ได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย สปป.ลาว มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/new-asean-led-trade-deal-boost-myanmar-manufacturing-sector.html

นายกรัฐมนตรี แนะบริษัท เวียงจันทน์สตีลอินดัสตรี จำกัด (VSI) พัฒนาการผลิตเพื่อรองรับความต้องการประเทศ

นายกรัฐมนตรีทองลุน สีสุลิดได้แนะนำให้ บริษัท เวียงจันทน์สตีลอินดัสตรี จำกัด (VSI) บริษัทผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์จากเหล็กที่ปัจจุบันบริษัท เวียงจันทน์สตีลอินดัสตรี จำกัด (VSI) สามารถผลิตสินค้าได้หลากหลายโดยมีกำลังการผลิต 350,000 ตันต่อปี สิ่งสำคัญที่จะทำให้บริษัทก้าวต่อไปได้จะต้องมีการดำเนินการพัฒนาด้านการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพสูงขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นของประเทศ จากการที่มีการลงทุนก่อสร้างถนน ทางรถไฟและอาคารเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรียังกล่าวอีกว่า “โรงงานเหล็กแห่งนี้มีส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศ การจัดหาผลิตภัณฑ์เหล็กที่ผลิตในท้องถิ่นจะช่วยลดความต้องการสินค้านำเข้าเพื่อลดการขาดดุลการค้าของประเทศ”

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_PM_179.php

Covid-19 ส่งผลให้ภาคการผลิตน้ำมันของกัมพูชาชะงัก

การระบาดใหญ่ของเชื้อไวรัส Covid-19 คาดว่าจะชะลอการพัฒนาของแหล่งน้ำมันอัปสรา ซึ่งตั้งอยู่ที่แปลง A ของฝั่งกัมพูชาของลุ่มน้ำเขมรในอ่าวไทย โดยได้รับการพัฒนาโดย KrisEnergy Ltd. บริษัทจากทางสิงคโปร์ ซึ่งกระทรวงเหมืองแร่และพลังงานกล่าวว่าโรคระบาดทั่วโลกกำลังดำเนินไปอย่างช้าๆ แต่ปัจจุบัน บริษัท ยังคงพัฒนาโครงการอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทยังคงทำงานหนักเพื่อให้งานสำเร็จ แต่มันยากสำหรับบริษัทเนื่องจากสถานการณ์ Covid-19 แม้แต่การส่งช่างไปยังการก่อสร้างแพลตฟอร์มขั้นต่ำก็พิสูจน์ให้เห็นได้ยากและการดำเนินงานในไซต์ก็หยุดชะงักลง

ที่มา : https://english.cambodiadaily.com/business/virus-puts-cambodia-oil-production-into-question-164258/

สปป.ลาวให้คำมั่นว่าจะส่งเสริมการผลิตเชิงพาณิชย์

รัฐบาลได้จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการผลิตทางการเกษตรเพื่อการส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน และตรวจสอบสินค้าเกษตรที่นำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน ตรวจสอบว่าสามารถผลิตในประเทศเพื่อลดการพึ่งพาการนำเข้า เนื่องจากการขาดดุลบัญชีปัจจุบันของประเทศกำลังขยายตัวท่ามกลางอัตราแลกเปลี่ยนที่ผันผวนส่งผลให้ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศลดลงมากขึ้น คณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นใหม่จะช่วยให้ผู้ผลิตและซัพพลายเออร์ทำงานร่วมกันเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด อย่างไรก็ตามภาคเอกชนเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อต่อสู้กับการค้าข้ามพรมแดนที่ผิดกฎหมายเพราะผลิตภัณฑ์ที่ลักลอบนำเข้ามาฆ่าอุตสาหกรรมในท้องถิ่น

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/laos-pledges-boost-commercial-farm-production-102904