เจาะโอกาสส่งออกผักและผลไม้แปรรูปของเวียดนาม

โดย SME Go Inter I ธ.กรุงเทพ
Vietnam Industry and Trade Information Centre คาดการณ์ว่าผักและผลไม้แปรรูปจะมีศักยภาพที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพราะความสะดวกและมีระยะเวลาในการเก็บรักษาที่ยาวนาน
ในช่วงปี 2559-2563 การส่งออกผักและผลไม้แปรรูปของเวียดนามเติบโตขึ้นถึงเลขสองหลักต่อปี โดยในปี 2562 การส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้น 41.2% yoy ก่อนจะตกลงสู่ระดับ 11.1% ในปี 2563
จากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ที่ยืดเยื้อ ทำให้การส่งออกผักและผลไม้แปรรูปสามารถทำรายได้ ได้มากถึง 653.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา โดยเพิ่มขึ้น 16% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
สำหรับตลาดส่งออกผักและผลไม้แปรรูปที่สำคัญของเวียดนาม ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลียรัสเซีย และสหรัฐอเมริกา ส่วนการส่งออกของเวียดนามไปยังจีนเติบโตขึ้น 24.8% เมื่อเทียบช่วงเวลาเดียวกันในปี 2562
นอกจากนี้ คาดว่าการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 จะไม่ส่งผลกระทบทางลบต่ออุตสาหกรรมผักและผลไม้แปรรูปทั่วโลก ในทางตรงข้ามอุปทานของผักและผลไม้แปรรูปจะเพิ่มขึ้น ขณะที่การส่งออกสินค้าหรือสินค้าแช่แข็งจะลดลง เป็นเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกลุ่มผู้ผลิตสินค้า
ขณะเดียวกัน การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ได้ทำลายห่วงโซ่อุปทานการขนส่ง และทำให้ต้นทุนค่าขนส่งสูงขึ้นเนื่องจากมีจำนวนเรือและเครื่องบินจำกัด ประกอบกับการเกิดเหตุการณ์ที่เรือบรรทุกสินค้าขวางคลองสุเอซเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมาที่ทำให้ต้องขยายเวลาในการขนส่งผักและผลไม้สดออกไป
จากบริบทข้างต้นทำให้ผักและผลไม้สดที่ไม่สามารถส่งออกได้ถูกนำส่งไปยังโรงงานแปรรูปในท้องถิ่นต่างๆ และจากราคาวัตถุดิบที่ถูกลงนี้จะช่วยให้โรงงานแปรรูปสามารถขยายกำลังการผลิตเพื่อการส่งออกได้
เมื่อความต้องการและความพยายามในการขยายการผลิตของโรงงานแปรรูปในท้องถิ่นเพิ่มขึ้น ทำให้ผักและผลไม้แปรรูปในปัจจุบันมีสัดส่วน ถึง 25-30% ของมูลค่าการส่งออกผักและผลไม้รวมทั้งหมดของประเทศ โดยก่อนการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 จะอยู่ที่ประมาณ 10%
อย่างไรก็ดี อุตสาหกรรมแปรรูปผักและผลไม้ของเวียดนามยังคงเผชิญหน้ากับข้อจำกัดหลายประการ โดยหนึ่งในปัญหาดังกล่าวคือ สินค้าเวียดนามในปัจจุบันส่งออกภายใต้ชื่อแบรนด์ที่แตกต่างกันแต่ยังไม่มีแบรนด์ที่แข็งแกร่งในระดับประเทศ อีกทั้งยังขาดความเข้าใจในรสนิยมของผู้บริโภคและยังต้องปรับปรุงการสร้างห่วงโซ่อุปทานในตลาดต่างประเทศด้วย
โดยสรุปแล้ว อุตสาหกรรมแปรรูปของเวียดนามยังคิดเป็นเพียง 8-10% ของผลผลิตผักและผลไม้ที่ได้ในแต่ละปี การบริโภคก็ยังคงอยู่ในรูปแบบของสินค้าสดหรือการถนอมอาหารเบื้องต้นเพียงเท่านั้น ซึ่งความเสียหายจากการเก็บเกี่ยวยังคงอยู่ในระดับที่สูงเกินไปที่ประมาณ 20% ดังนั้นกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าของเวียดนามจึงมองว่ายังคงมีพื้นที่สำหรับผู้ประกอบการให้สามารถเข้ามาลงทุนในการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการส่งออกเพื่อรองรับอุปสงค์ในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นได้

ที่มา :
1/ https://www.bangkokbanksme.com/en/export-processed-vegetables-and-fruits-of-vietnam
2/ https://the-japan-news.com/news/article/0008042350

ก.พาณิชย์ เผย รายได้การส่งออกช่วงเดือนครึ่งของปีงบประมาณย่อย 64-65

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย ในช่วงเดือนครึ่งปีของปีงบประมาณย่อย 2564-2565 มีรายได้จากการส่งออกทางทะเลและการค้าผ่านแดนมากกว่า 77 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และมากกว่า 75 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ มาจากการค้าทางทะเล ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.ถึง 19 พ.ย. มีการส่งออกถั่วพัลส์มากกว่า 169,827 ตัน โดยมีรายได้ 144.04 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ รัฐบาลอินเดียได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจเพื่อนำเข้าถัวพัลส์ 250,000 ตันและอีก 100,000 ตัน ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2564-2565 ถึงปีงบประมาณ 2568-2569 เมียนมามีผลผลิตถั่วพัลส์มากกว่า 11 ล้านเอเคอร์ต่อปี คิดเป็นมากกว่า 35% ของผลผลิตถั่วทั้งหมด

ที่มา: https://news-eleven.com/article/221505

‘เวียดนาม’ ถือเป็นหนึ่งในตลาดที่มีการขับเคลื่อนการเติบโตทางการค้าในอนาคต

รายงานที่เผยแพร่โดยธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด ระบุว่าเวียดนามเป็นหนึ่งใน 13 ตลาดที่มีการขับเคลื่อนการเติบโตทางการค้าในอนาคต และด้วยการบูรณาการทางเศรษฐกิจโลกที่ดีขึ้น เวียดนามจึงมีความได้เปรียบอย่างมากจากการส่งออก ทั้งนี้ ธนาคารได้ทำการสำรวจบริษัทระดับโลก พบว่าธุรกิจส่วนใหญ่ 41% ได้ดำเนินงานในเวียดนามแล้วหรือวางแผนที่จะลงทุนในเวียดนามอีก 10 ปีข้างหน้า โดยสหรัฐฯ และจีนยังคงเป็นตลาดส่งออกรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ตามลำดับ คิดเป็นสัดส่วน 26% และ 19% ของการส่งออกรวมทั้งสิ้นในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปี 2573 แสดงให้เห็นถึงการเติบโตของการค้าระหว่างประเทศ ด้วยเหตุนี้ เวียดนามจึงเป็นฐานการผลิตที่สำคัญ โดยเฉพาะสินค้าส่งออก อาทิ เครื่องจักร อุปกรณ์ไฟฟ้า สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม สินค้าการเกษตรและอาหาร เป็นต้น นอกจากนี้ ตามรายงานของ Công thương (อุตสาหกรรมและการค้า) เผยว่าการที่เวียดนามมีจำนวนแรงงานที่มาก และความสัมพันธ์ห่วงโซ่อุปทานขนาดใหญ่ ตลอดจนนโยบายที่เปิดกว้างสำหรับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ทำให้เวียดนามจะก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางการผลิตระดับโลกและเป็นแหล่งดึงดูดผู้ประกอบการต่างชาติ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-among-markets-driving-future-trade-growth/216466.vnp

 

กัมพูชาส่งออกสินค้าเกษตรรวม มูลค่า 4.4 พันล้านดอลลาร์

กัมพูชาส่งออกสินค้าเกษตรมูลค่ารวม 4.4 พันล้านดอลลาร์ ไปยังตลาดต่างประเทศ ในช่วง 11 เดือนแรกของปีนี้ โดยสิ่งนี้ทำให้มั่นใจได้ว่าภาคเกษตรกรรมจะยังคงเป็นหนึ่งในตัวขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจกัมพูชาในช่วงของการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งตัวเลขจากกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง ระบุว่าตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนพฤศจิกายน กัมพูชาส่งออกสินค้าเกษตรปริมาณรวม 7.1 ล้านตัน ถูกส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ 68 แห่งทั่วโลก โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 87.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งในจำนวนนี้คิดเป็นการส่งออกข้าวสารรวม 532,179 ตัน ลดลงร้อยละ 11.46 เมื่อเทียบปีต่อปี มูลค่ารวม 454 ล้านดอลลาร์ ส่วนข้าวเปลือกส่งออกไปทั้งสิ้นจำนวน 3.1 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 75 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนพฤศจิกายนปีนี้ มูลค่าการส่งออกรวม 546 ล้านดอลลาร์ โดยการส่งออกสินค้านอกภาคเกษตรมีมูลค่ารวม 2.990 พันล้านดอลลาร์ ปริมาณ 4.6 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 49.47 เมื่อเทียบเป็นรายปี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50980853/cambodia-nets-4-4-billion-from-agricultural-exports/

รอบ 1 ปี เมียนมาส่งออกใบชาไปแล้วกว่า 4,900 ตัน

ระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 2563 ถึง 30 ก.ย. 2564 เมียนมาส่งออกใบชาประมาณ 4,900 ตัน ส่งออกไปยังเกาหลีใต้ เยอรมนี จีน ประเทศในสหภาพยุโรป และประเทศต่างๆ ในเอเชีย มากกว่า 4,000 ตันถูกส่งออกผ่านด่านชายแดน ซึ่งกระทรวงพาณิชย์เมียนมาเน้นส่งเสริมการส่งออกของรัฐฉาน โดยเน้นเทคโนโลยีให้กับเกษตรกรเพื่อเป็นการพัฒนาทางเลือกในการเพาะปลูก ขณะที่ตลาดใบชาโลกผู้นำเข้าสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา รัสเซีย สหราชอาณาจักร เวียดนาม ซาอุดีอาระเบีย อิหร่าน โมร็อกโก เยอรมนี จีน และฮ่องกง ด้านผู้ส่งออกรายใหญ่ ได้แก่ จีน อินเดีย ศรีลังกา เคนยา โปแลนด์ เยอรมนี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น และใต้หวัน ส่วนผู้ผลิตชารายใหญ่ที่สุดในโลก ได้แก่ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เคนยา ตุรกี เมียนมาร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม ศรีลังกา และอิหร่าน เนื่องจากเมียนมาเป็นผู้ผลิตใบชารายใหญ่ การเสริมสร้างความแข็งแกร่งในการผลิตและเทคโนโลยีการเกษตรจะทำให้เมียนมาเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกชารายใหญ่ที่สุดของโลก

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/more-than-4900-tonnes-of-tea-leaves-exported-within-one-year/

สปป.ลาวเล็งเห็นรายได้จากแร่ 463 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หวังผลักดันเพิ่มขึ้น

สปป.ลาวคาดว่าจะมีรายได้ 463 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้จากการขายแร่ทั้งในประเทศและเพื่อการส่งออก หลังจากมีรายได้ 1.464 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงเก้าเดือนแรกของปี 2564 แร่ธาตุที่ผลิตในช่วงเก้าเดือนแรกของปีมีมูลค่า 12.601 ล้านล้านกีบ (1.18 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ในขณะที่ตัวเลขตลอดทั้งปีจะสูงถึง 15.889 ล้านล้านกีบ ทั้งนี้ตั้งแต่ปี 2564 ถึงปี 2568 รัฐบาลสปป.ลาวคาดว่าจะผลิตผลิตภัณฑ์แร่มูลค่า 7.832 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 4% จากห้าปีที่ผ่านมา ในอนาคตรัฐบาลหวังที่จะเพิ่มความสามารถในการแปรรูปแร่ของประเทศเพิ่มอีกเพื่อลดจำนวนแร่ดิบที่ส่งออก หวังเพิ่มมูลค่าด้วยการส่งออกแร่แปรรูป

ที่มา : https://laotiantimes.com/2021/11/23/laos-to-see-mineral-earnings-of-usd-463-million-in-fourth-quarter/

เช็คเลย สินค้าไทยตัวไหน โอกาสทองส่งออกประเทศเพื่อนบ้าน

โดย ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล

เช็คเลย  สินค้าไทยตัวไหน ไทยส่งออกประเทศเพื่อนบ้านแล้วปังยอดขายถล่มทลาย แนะผู้ประกอบการไทย โอกาสทองในตลาดจีน มาเลเซีย สิงคโปร์ ลาว กัมพูชา เมียนมา หลังยอดส่งออกผ่านชายแดน-ผ่านแดนขยายตัวต่อเนื่อง

 

หลังจากเห็นยอดส่งออกสินค้าชายแดนและผ่านแดน ขยายตัวสุดปัง 9 เดือน ขยายตัว38%   ทั้งปี ตั้งเป้าขยายตัว 3% ต้องทำตัวเลขการส่งออกให้ได้ 789,198 ล้านบาท แสดงให้เห็นว่า โอกาสของสินค้าไทยที่ส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ยังคงมีโอกาสขยายตัวต่อเนื่องทั้งปี  ซึ่งปัจจัยสนับสนุนการส่งออกยังคงเป็นค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มอ่อนค่า ซึ่งช่วยให้สินค้าไทยสามารถแข่งขันด้านราคาได้มากขึ้น   บวกกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นในสินค้าจำเป็นทั้งเพื่อการอุปโภคบริโภค และสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการ Work From Home และการป้องกันหรือรักษาโรคในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งสินค้าไทยยังคงได้รับความนิยมและเป็นที่ต้องการในตลาดเพื่อนบ้าน

 

สินค้าไหนของไทยที่ส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านแล้วยอดขายถล่มทลายและมีโอกาสโตในอนาคต ต้องบอกว่า “มาเลเซีย” ถือว่าเป็นประเทศส่งออกอันดับ 1 ของไทย ซึ่งสินค้าที่ ส่งออกสำคัญๆ ที่ยังขยายตัวเป็นบวกมาอย่างต่อเนื่อง  ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ฯ  ,ยางพารา , และเครื่องวีดิโอ เครื่องเสียงฯ

 

“เมียนมา” สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ สายไฟฟ้า สายเคเบิ้ล ,น้ำมันดีเซล , และปุ๋ย

“กัมพูชา” สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ 1,รถยนต์นั่ง , เครื่องจักรกลและส่วนประกอบอื่น ๆ

“สปป.ลาว” สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป , น้ำมันดีเซล , น้ำมันสำเร็จรูปอื่น ๆ

 

ส่วน การค้าผ่านแดนไปประเทศที่สาม ซึ่งประกอบด้วย  จีน สิงคโปร์ เวียดนาม และประเทศอื่น ๆ   จะเห็นได้ว่าในเดือนกันยายนไทยส่งออกสินค้าผ่านแดน  มีมูลค่าการส่งออก 43,000 ล้านบาท ขยายตัวสูงถึง +31.95% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน  โดยมี “จีน” เป็นตลาดส่งออกอันดับหนึ่ง สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์, ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง ,%) ยางพารา, ไม้แปรรูป และผลิตภัณฑ์ยาง

 

รองลงมาเป็น “สิงคโปร์” สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ฯ , เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบฯ , และแผงวงจรไฟฟ้า , และอันดับสาม “เวียดนาม”  สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์และไดโอด ,เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ และหม้อแบตเตอรี่และส่วนประกอบ

 

ผู้ประกอบการไทยคงต้องเร่งมองหาโอกาสและพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพอาศัยความได้เปรียบจากค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงในช่วงนี้เร่งเจาะตลาดประเทศเพื่อนบ้านให้มากขึ้น และคาดการณ์ว่าความต้องการสินค้าไทยยังคงมีอย่างต่อเนื่องด้วยภาพลักษณ์ของสินค้าไทยที่เป็นที่ยอมรับของทั่วโลก

ที่มา : https://www.thansettakij.com/economy/503105

เดือนต.ค.64 เมียนมาส่งออกข้าวผ่านทางเรือ ทะลุ 200,000 ตัน

จากข้อมูลของกรมศุลกากรเมียนมา เดือนต.ค.2564 ที่ผ่านมา เมียนมาส่งออกข้าวและข้าวหักมากกว่า 216,375 ตัน โดยผ่านทางเรือ 211,759 ตัน  และชายแดน 4,616 ตัน ซึ่งปริมาณการส่งออกลดลงอย่างมีนัยสำคัญเนื่องจากการปิดชายแดน ในเดือนที่ผ่านมาราคาข้าวเฉลี่ย อยู่ที่ 315-350 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน ขึ้นอยู่กับพันธุ์และคุณภาพ ทั้งนี้ราคาข้าวของเมียนมาค่อนข้างต่ำกว่าไทยและเวียดนาม จากข้อมูลสหพันธ์ข้าวเมียนมา (MRF) พบว่าราคาสูงกว่าตลาดของอินเดียและปากีสถาน โดยตลาดส่งออกข้าวสำคัญของเมียนมาจะเป็นจีน รองลงมาคือ ไอวอรี่โคสต์ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และกินี ในขณะเดียวกัน ตลาดนำเข้าข้าวหักยังคงเป็นจีนเป็นหลัก รองลงมาคือ เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม สเปน และฝรั่งเศส ในปีงบประมาณ 2019-2020 ที่ผ่านมา เมียนมามีรายได้จากการส่งออกข้าวกว่า 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากปริมาณ 2.5 ล้านตัน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-exports-over-200000-mt-of-rice-through-maritime-route-in-october/

ในช่วง 10 เดือน กัมพูชาส่งออกข้าวมูลค่ารวมกว่า 957 ล้านดอลลาร์

กัมพูชาส่งออกข้าวปริมาณรวมมากกว่า 3.1 ล้านตัน ตั้งแต่เดือน ม.ค.-ต.ค. สร้างรายได้กลับเข้ามาในประเทศราว 957.3 ล้านดอลลาร์ โดยคิดเป็นการส่งออกข้าวสารจำนวน 460,169 ตัน มูลค่ารวม 323.47 ล้านดอลลาร์ ซึ่งสหพันธ์ข้าวกัมพูชาระบุว่ามากกว่าร้อยละ 79 ถูกส่งออกไปยัง 5 ประเทศสำคัญ ได้แก่ จีน ฝรั่งเศส กาบอง มาเลเซีย และเนเธอร์แลนด์ ข้าวหอมคิดเป็นเกือบร้อยละ 79 ของการส่งออกข้าวสารทั้งหมด โดยในเดือนต.ค. เพียงเดือนเดียว กัมพูชาส่งออกข้าวสารรวมกว่า 49,471 ตัน ซึ่งสูงกว่าเดือนตุลาคมปีที่แล้วร้อยละ 4 ซึ่งประเทศจีนยังถือเป็นตลาดส่งออกข้าวสารรายสำคัญของกัมพูชา ซึ่งทำการนำเข้าข้าวจากกัมพูชามากกว่า 23 ล้านตัน ตามการรายงานของสถานทูตจีน คิดเป็นสัดส่วนเกือบครึ่งหนึ่งของการส่งออกข้าวสารทั้งหมดของกัมพูชา ทางด้านข้าวเปลือกกัมพูชาได้ทำการส่งออกปริมาณเกือบ 2.7 ล้านตัน มูลค่ารวมเกือบ 634 ล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50968599/rice-exports-top-957-million-in-first-10-months-of-2021/

ต.ค. 64 นำเข้าเมียนมาลดฮวบ เหลือ 120 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

จากข้อมูลกระทรวงพาณิชย์ การนำเข้าของเมียนมาระหว่างวันที่ 1-29 ต.ค.2564 ของปีงบประมาณย่อย 2564-2565 (ต.ค.64-มี.ค.65) ลดฮวบลงเหลือ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งลดลง 121.98 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการนำเข้าสินค้าทุนลดลงเมื่อเดือนที่แล้ว เช่น ชิ้นส่วนรถยนต์ ยานพาหนะ เครื่องจักร ฯลฯ อยู่ที่ประมาณ 170.18 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณก่อนที่ 229.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่ การนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค เช่น ซึ่งรวมถึงยา เครื่องสำอาง และน้ำมันปาล์ม อยู่ที่ 262.38 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงเล็กน้อย 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปีงบประมาณก่อน ส่วนการนำเข้าวัตถุดิบเพิ่มขึ้นเป็น 413 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จาก 326.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดย 10 ประเทศที่เมียนมานำเข้าเป็นหลัก ได้แก่ จีน สิงคโปร์ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย อินเดีย เวียดนาม ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสหรัฐอเมริกา

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/imports-down-by-120-mln-last-month-reports-moc/