‘SCG’ ตั้งเป้าให้ความสำคัญกับตลาดเวียดนามสูงสุด อีกไม่กี่ปีข้างหน้า

Nikkei Asian เผยบทสัมภาษณ์ของคุณรุ่งโรจน์ รังสิโยภา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ระบุว่าประเทศเวียดนามเป็นตลาดเป้าหมายที่สำคัญของธุรกิจ “อีกไม่กี่ปีข้างหน้า” ทั้งนี้ เมื่อปีที่แล้ว บริษัทมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 7% ถึงแม้ว่ารายได้จะปรับตัวลดลง แต่คาดว่าธุรกิจซีเมนต์และวัสดุก่อสร้างจะต้องใช้เวลาในการฟื้นตัวมากกว่ากลุ่มธุรกิจเคมีภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์ อย่างไรก็ตาม ทางบริษัทได้เริ่มขยายธุรกิจในภูมิภาค โดยเวียดนามเป็นศูนย์กลางเชิงกลยุทธ์ในปี 2535 จนถึงในไตรมาสแรกของปี 2560 บริษัทมีแหล่งปฏิบัติการ 22 แห่งในเวียดนาม และมีจำนวนพนักงานท้องถิ่นมากกว่า 8,600 คน ดังนั้น บริษัทได้พิสูจน์ให้เห็นว่ามีความสนใจและมีความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร ตลอดจนมุ่งมั่นพัฒนาคนเวียดนามให้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ เมื่อถามถึงประเด็นเศรษฐกิจ ท่ามกลางการระบาดของ COVID-19 พบว่า“สำหรับธุรกิจของ SCG บางส่วนได้รับผลกระทบและบางส่วนไม่ได้รับผลกระทบมากนัก” จำนวนผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ยอดขายรถยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ล้วนลดลง ตลอดจนซีเมนต์และวัสดุก่อสร้างที่มีสัดส่วนของยอดขายมากที่สุดของบริษัท ได้รับผลกระทบมากที่สุด เนื่องจากโควิด-19 ทำให้ผู้คนไม่มั่นใจว่ารายได้เพียงพอ การซื้อบ้านและคอนโดมีเนียมเกิดหยุดชะงักลง

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/vietnam-is-top-priority-for-siam-cement-in-coming-years-ceo-30185.html

สปป.ลาว-เวียดนามปฏิญาณกระชับความสัมพันธ์ความเป็นปึกแผ่นพิเศษ

ประธานาธิบดีสปป.ลาว Mr.Thongloun Sisoulith ได้ให้คำมั่นที่จะทำงานอย่างใกล้ชิดกับ Mr.Nguyen Xuan Phuc ประธานาธิบดีแห่งรัฐที่ได้รับการเลือกตั้งใหม่ของเวียดนามเพื่อยกระดับความสัมพันธ์การร่วมมือและความเป็นปึกแผ่นพิเศษระหว่างทั้งสองประเทศให้อยู่ในระดับที่สูงขึ้น หลายปีมานี้เวียดนามได้ให้การสนับสนุนต่อสปป.ลาวโดยเฉพาะอย่างยิ่งความช่วยเหลือของเวียดนามในการฟื้นฟูสปป.ลาวจากภัยพิบัติ รวมถึงการช่วยสปป.ลาวในการรับมือกับการแพร่ระบาดของโควิด -19 ท่ามกลางวิกฤตการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศและโลก เวียดนามถือเป็นประเทศหนึ่งที่สปป.ลาวมีการพึ่งพาทั้งด้านการค้าและการลงทุน ซึ่งเวียดนามเป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่อันดับสามในสปป.ลาวรองจากจีนและไทยในปี 2563 มูลค่าลงทุนจากเวียดนามทั้งหมด 4.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ด้านการค้ามีมูลค่าอยู่ที่ 815 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_LaosViet_68.php

ไตรมาส 1 ปี 64 เศรษฐกิจเวียดนามโต 4.48%

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าในไตรมาสแรกของปี 2564 อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ขยายตัว 4.48% เป็นผลมาจากการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ดี ภาคเกษตรกรรม ป่าไม้และประมง ขยายตัว 3.16% ภาคอุตสาหกรรมและการก่อสร้าง 6.3% และภาคบริการ 3.34% โดยทั้ง 3 ภาคเศรษฐกิจมีส่วนผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ 8.34% 55.96% และ 35.7% ตามลำดับ ภาคบริการมีการขยายตัวในเชิงบวก เนื่องจากผู้ประกอบการใช้ประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรี ทั้งนี้ ในไตรมาสแรก กิจกรรมการส่งออกและนำเข้ากลับมาฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง ด้วยมูลค่าราว 152.65 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 24.1% เมื่อเทียบเป็นรายปี นอกจากนี้ ท่ามกลางการระบาดของโควิด-19 สภาพเศรษฐกิจและสังคมของเวียดนามในไตรมาสแรก ยังคงมีเสถียรภาพและอยู่ในทิศทางที่เป็นบวก ประกอบกับควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับต่ำ แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่ต้องดำเนินการ คือ การควบคุมการระบาดของไวรัส และดำเนินการฉีดวัคซีนให้ทั่วถึง ตลอดจนช่วยเหลือภาคเอกชนและเร่งการเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อการลงทุนของภาครัฐ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/915081/vietnamese-economy-expands-448-per-cent-in-q1.html

คณะกรรมการสมัชชาสปป.ลาว (NA) จะอนุมัติกฎหมาย 96 ฉบับเพื่อบังคับใช้ใน 5 ปีข้างหน้า

กฎหมาย 96 ฉบับจะถูกประกาศใช้และแก้ไขในช่วง 5 ปีข้างหน้า กฎหมาย 38 ฉบับเป็นกฎหมายใหม่และจะมีการถกเถียงกันก่อนที่จะได้รับการอนุมัติในขณะที่อีก 58 ฉบับเป็นกฎหมายที่จะได้รับการแก้ไขเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์การพัฒนาของประเทศซึ่งจากกฎหมายทั้งหมด 96 ฉบับมี 36 ฉบับที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ 28 นางพิงคำลา สิมมาเลขาธิการ NA กล่าวว่า “คณะกรรมการประจำของสมัชชาจะต้องร่วมมืออย่างใกล้ชิดมากขึ้นกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดเนื้อหาของกฎหมายก่อนที่จะส่งไปยังรัฐสภาเพื่ออภิปราย” ปัญหาหลักอย่างหนึ่งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาคือกฎหมายบางฉบับที่ประกาศใช้แล้วไม่สามารถปฎบัติหรือประยุกต์ใช้ได้ตามความเป็นจริงของสถานการณ์ของประเทศ  NA มุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การแก้ไขหรืออกกฎหมายเพิ่มเติมครั้งนี้ จะทำให้กฎหมายของสปป.ลาวมีความสอดคล้องกับยุคสมัยและบริบทของโลกปัจจุบันเพื่อเป็นกรอบหรือแนวทางในการพัฒนาประเทศที่สำคัญด้านหนึ่งจากเสาหลักที่สำคัญอย่างด้านกฎหมาย

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_NA_63.php

รัฐบาลสปป.ลาวมุ่งมั่นป้องกันวิกฤตทางเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

รัฐบาลสปป.ลาวได้ให้คำมั่นที่จะสนับสนุนเศรษฐกิจ ภายใต้นโยบายการคลังแบบขาดดุลเพื่อป้องกันไม่ให้ประเทศเผชิญวิกฤตเศรษฐกิจจากปัญหาหนี้เรื้อรัง นายบุญชม อุบลประสุต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังชี้แจงประเด็นดังกล่าวต่อสมาชิกรัฐสภาเมื่อวันอังคารว่า “แผนงบประมาณของรัฐในช่วง 5 ปีข้างหน้าได้รับการออกแบบมาเพื่อรองรับและแก้ไขปัญหาทางการเงินที่เรื้อรัง เราจะพยายามสร้างสมดุลระหว่างรายรับและรายจ่ายซึ่งหมายความว่าเราจะใช้งบประมาณตามรายได้ที่ได้รับหรือใช้จ่ายมากกว่าจำนวนเงินที่เราได้รับเล็กน้อย” ตามรายงานของรัฐบาลการขาดดุลการคลังสำหรับปี 2564-2568 ถูกกำหนดไว้ที่ร้อยละ 2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เพื่อหยุดหนี้ที่เพิ่มขึ้น ในที่ประชุมสมาชิกสมัชชาแห่งชาติยังขอให้รัฐบาลเพิ่มเป้าหมายการจัดเก็บรายได้ 5 ปีจากร้อยละ 16 ของ GDP เป็นร้อยละ18 ข้อเสนอดังกล่าวรัฐบาลจะนำมาพิจารณาอีกครั้งเพราะการดำเนินนโยบายด้านภาษีอาจไปกระทบต่อภาคธุรกิจที่ต้องแบกรับภาระมากขึ้นภายใต้สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ในปัจจุบันซึ่งจะทำให้มีปัญหาของภาคธุรกิจตามมา  แนวทางในอีก 5 ปีข้างจึงเป็นสิ่งสำคัญในการที่จะรักษาสมดุลระหว่างการใช้งบประมาณและการฟื้นฟูเศรษฐกิจของสปป.ลาว

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt59.php

‘เวียดนาม’ ทะยานสู่ ‘เสือเศรษฐกิจแห่งเอเชีย’

โดย SME Go Inter I ธนาคารกรุงเทพ

‘เวียดนาม’ ประเทศในกลุ่มอาเซียนที่มีการจัดการได้ดีที่สุด และดูเหมือนว่าเศรษฐกิจเวียดนามที่ได้รับผลกระทบน้อย ทั้งกลับมาโตได้เร็วโดยในปี 2563 เติบโตอยู่ที่ 2.91% จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ที่ 7% แต่ก็ถือว่าเป็นเพียงไม่กี่ประเทศทั่วโลกที่ GDP โตสวนกระแสเศรษฐกิจโลกที่กำลังดิ่งเหว

ความสำเร็จในการควบคุมโรคอุบัติใหม่ครั้งนี้ คุณธาราบดี ซึ้งอดิชัยวิทย์ ผู้จัดการทั่วไป ธนาคารกรุงเทพ สาขาประเทศเวียดนาม วิเคราะห์ว่า เป็นการตอกย้ำภาพลักษณ์การทำงานของรัฐบาลเวียดนามที่แก้ปัญหาดังกล่าวได้อย่างแข็งแกร่ง ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั่วโลก ทำให้เวียดนามเนื้อหอมสุดๆ ในยามนี้ ที่ทุกประเทศต่างหันหัวรบเข้าไปลงทุนด้วยมากที่สุด และที่สำคัญประเทศเวียดนามไม่ใช่คู่ขัดแย้งสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริการกับจีนเกี่ยวกับเก็บภาษีศุลกากร ทำให้นักลงทุนนานาชาติโยกย้ายฐานการผลิตและลงทุนเพื่อผลิตสินค้าส่งออกไปทั่วโลกได้อย่างไม่เป็นอุปสรรค

ดังนั้นเมื่อมองภาพรวมประเทศเวียดนามหลังจากผ่านพ้นโรคโควิด คุณธาราบดี จึงยกให้ประเทศเวียดนามเป็นเสือเศรษฐกิจตัวใหม่แห่งเอเชีย เนื่องจากเป็นประเทศที่มีศักยภาพในการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดีที่สุดในภูมิภาคอาเซียน และมีศักยภาพการเติบโตในระยะยาวเพราะความมีเสถียรภาพทางการเมือง เข็มทิศพัฒนาประเทศมีเป้าหมายชัดเจน ที่รัฐบาลเวียดนามเร่งผลักดันการพัฒนาประเทศและเศรษฐกิจคู่ขนาน เพื่อความก้าวหน้าทัดเทียมนานาประเทศ โดยพร้อมให้การสนับสนุนการลงทุนทุกมิติจากต่างประเทศให้เข้ามาเป็นหุ้นส่วนเศรษฐกิจ

ขณะเดียวกันรัฐบาลเวียดนามยังได้ทำข้อตกลงการค้าทั่วโลก ไม่ว่าจะทำข้อตกลง FTA กับยุโรปและสหรัฐฯ รวมถึงเข้าร่วมใน ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก หรือ CPTPP (Comprehensive and Progressive Trans-pacific Partnership) ซึ่งทำให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีในการส่งออกสินค้าไปยังกลุ่มประเทศสมาชิก สร้างความได้เปรียบให้กับประเทศเวียดนามอย่างมาก

ที่มา : https://www.bangkokbanksme.com/en/vietnam-asian-economic-tiger

ประธานาธิบดีสปป.ลาวคนใหม่เผชิญกับหนี้จีนที่เพิ่มขึ้นและเศรษฐกิจที่ย่ำแย่

เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาสมาชิกสภาแห่งชาติสปป.ลาวได้เลือกนายทองโหลน สีสุลิธ เป็นประธานาธิบดีคนใหม่ของประเทศโดยมอบความไว้วางใจให้ผู้นำคนใหม่นำสปป.ลาวไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้ว ส่วนหนึ่งของอุปสรรคและความท้าทายของผู้นำคนใหม่คือการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ได้รับความเสียหายจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ที่ถึงแม้สปป.ลาวจะไม่ได้รับผลกระทบมากนักแต่ประเทศที่สปป.ลาวพึ่งพาอย่างไทย จีน ล้วนได้รับผลกระทบด้านเศรษฐกิจจากโควิด-19 ทำให้สปป.ลาวได้รับผลกระทบไปด้วย เห็นได้ชัดจากกรณีการปิดด่านชายแดนและมาตรการที่เข้มงวดส่งผลให้การค้าชายแดนหดตัวอย่างมาก นอกจากนี้ปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนคือหนี้จากการกู้ยืมจากจีน ซึ่งถือเป็นหนี้ก้อนใหญ่ที่สุดของสปป.ลาวในการกู้มาเพื่อลงทุนหากไม่ได้รับการแก้ไข หนี้ก่อนนี้อาจทำให้สปป.ลาวต้องสูญเสียพื้นตามแนวรถไฟให้แก่จีนเพื่อเป็นการชดใช้หนี้ อย่างไรก็ตามขณะนี้รัฐบาลเริ่มมีการรัดเข็มขัดด้านงบประมาณและเข้มงวดด้านการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานมากขึ้นเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดของการใช้งบประมาณ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นแนวทางเพื่อการรชำระหนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ที่มา : https://asia.nikkei.com/Politics/New-Laos-president-faces-rising-China-debt-and-battered-economy

“อาคม”มั่นใจเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวไตรมาสสี่

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังระบุ หลังจากไทยเริ่มมีการฉีดวัคซีนในประเทศ ส่งผลให้ ประชาชนมีความมั่นใจมากขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดการเดินทางในประเทศเพิ่มขึ้นด้วย โดยขณะนี้ ได้รับรายงานว่า ในช่วงเทศสงกรานต์ในเดือนเม.ย.นี้ ทางสายการบินต่างๆ ถูกจับจองเที่ยวบินเต็มทุกเที่ยวบินแล้ว และปริมาณการเดินทางไปต่างจังหวัดในช่วงนี้ก็เพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลดีเพราะทำให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ สถาบันจัดอันดับเครดิตรวมทั้งศูนย์วิจัยหลายแห่งประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะเริ่มกลับมาดีขึ้นเรื่อยๆ ประชาชนเริ่มมีความเชื่อมั่น รวมทั้งประชาชนกลุ่มฐานรากจะมีการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น ส่วนที่จะออกมาตรการฟื้นฟู หรือเดินหน้ามาตรการคนละครึ่ง เฟส 3 ต่อเนื่องหรือไม่นั้น จะต้องรอติดตามสถานการณ์ก่อน และยังต้องติดตามดัชนีตัวเลขเศรษฐกิจอีกครั้ง ทั้งนี้ เชื่อว่าเศรษฐกิจไตรมาส 4 จะดีขึ้นแน่นอน เนื่องจากประเทศไทยจะสามารถเปิดรับนักท่องเที่ยวได้ ซึ่งเป็นผลมาจากมีการฉีดวัคซีนโควิด-19 และนักท่องเที่ยวมีใบรับรองการฉีดวัคโควิด ขณะเดียวกัน ประเทศไทยจะต้องไปเจรจากับประเทศต้นทางที่คนไทยอยากจะเดินทางท่องเที่ยวเพื่อส่งคนททยออกไป เพื่อแลกกับต่างชาติให้เข้ามาเที่ยวในประเทศ เพื่อช่วยธุรกิจสายการบินระหว่างประเทศด้วย

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/927622

เศรษฐกิจเวียดนามยังคงฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องในช่วงแรกของปี 64

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เผยว่าเศรษฐกิจเวียดนามฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ ได้รับสัญญาจากการเติบโตของภาคธุรกิจควบคู่กับการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยตัวชี้วัดที่แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจฟื้นตัว ได่แก่ การผลิตทางการเกษตร ป่าไม้ อุตสาหกรรมและดัชนีพัฒนาธุรกิจ เป็นต้น และยังมีตัวชี้วัดอื่น ได้แก่ การดึงดูดของการลงทุนจากภาคเอกชนและกิจกรรมการส่งออก-นำเข้าที่กลับมาดีขึ้น ทั้งนี้ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ยอดจดทะเบียนของธุรกิจใหม่กว่า 8,000 แห่งทั่วประเทศ ด้วยเงินทุนจดทะเบียนแตะ 179 พันล้านดอง นอกจากนี้ นาย Tran Toan Thang หัวหน้าศูนย์ข้อมูลและวิเคราห์เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (NCIF) กล่าวว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเวียดนาม ได้รับสัญญาในทิศทางที่เป็นบวกในช่วงไตรมาสที่ 3-4 ของปีที่แล้ว ถึงแม้ว่าจะอยู่ในทิศทางที่ดีขึ้น แต่ธุรกิจในท้องถิ่นหยุดกิจการชั่วคราวกว่า 33,000 แห่งในช่วง 2 เดือนแรกของปี เพิ่มขึ้น 18.6% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/vietnamese-economy-continues-to-reboot-during-first-months-of-2021-29289.html

5สัญญาณรัฐประหารทุบเศรษฐกิจเมียนมา

การรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือนของกองทัพเมียนมาเมื่อวันที่ 1ก.พ.ที่ทำให้ดินแดนนี้ตกอยู่ในสภาพวุ่นวาย มีการชุมนุมประท้วงทุกวันและมีการปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมและทหาร-ตำรวจแทบทุกวัน ส่งผลให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก ที่สำคัญกว่านั้น การรัฐประหารที่เกิดขึ้นกำลังสร้างความเสียหายแก่เศรษฐกิจของเมียนมา จากข้อมูลของสหประชาชาติ(ยูเอ็น)บ่งชี้่ว่าเมียนมา ยังคงเป็นหนึ่งในประเทศพัฒนาน้อยที่สุดของโลกแต่การที่เมียนมาค่อยๆปรับเปลี่ยนไปสู่ระบอบประชาธิปไตยก็สร้างความหวังแก่โลกว่าในไม่ช้าเศรษฐกิจของเมียนมาจะเติบโตเหมือนเพื่อนบ้านในอาเซียน ขณะที่ ตั้งแต่สิงคโปร์ ประเทศที่เข้าไปลงทุนโดยตรงในเมียนมารายใหญ่สุด จนถึงญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่ายังมองไม่เห็นอนาคตของเมียนมา เนื่องจากคนงานจำนวนมากในเมียนมา ถ้าไม่ผละงานออกไปร่วมชุมนุมประท้วงเพื่อต่อต้านรัฐประหารก็หนีกลับบ้านเกิดในช่วงที่ทางการใช้กำลังเข้าปราบปราม สิ่งเหล่านี้ทำให้กิจกรรมทางธุรกิจสะดุ ทั้งนี้ 5 สัญญาณที่บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจของเมียนมาได้รับผลกระทบจากการทำรัฐประหารยึดอำนาจของกองทัพ 1) ดัชนีพีเอ็มไอร่วงต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ 2) การจดทะเบียนธุรกิจใหม่ลดลง86% 3) การลงทุนหดหาย 4) ปริมาณการค้าหุ้นดิ่ง60% 5) ความสามารถในการตรวจโควิดลด90%

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/927525