จีนให้คำมั่น เพิ่มการนำเข้าสินค้าเกษตรจากัมพูชา

จีนแสดงความมุ่งมั่นที่จะนำเข้าข้าวและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรอื่น ๆ จากกัมพูชามากขึ้นหลังจากข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ระหว่างกัมพูชาและจีนมีผลบังคับใช้ไปเมื่อต้นปีที่ผ่านมา โดยวางแผนนำเข้าข้าวและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรอื่นๆ อาทิเช่น กล้วย มะม่วง และลำไย เป็นสำคัญ ซึ่งการส่งออกของกัมพูชาไปยังจีนเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 39 หรือคิดเป็นมูลค่า 1.51 พันล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว จากข้อมูลของกระทรวงเกษตรกัมพูชา โดยในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2022 การส่งออกข้าวของกัมพูชามีมูลค่ารวมกว่า 103,000 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 35 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2021

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501045760/china-vows-to-increase-import-of-cambodian-agricultural-products/

ข้อตกลงการค้าเสรี ‘EVFTA’ มอบโอกาสทางการค้าระหว่างเวียดนาม-เยอรมนี

การรวมตัวขององค์กรต่างๆ ที่งานสัมมนาในหัวข้อ “โอกาสทางธุรกิจในเยอรมนี ภายใต้ความตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรป-เวียดนาม (EVFTA)” ณ กรุงฮานอย เมื่อวันที่ 14 ธ.ค. มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการค้าระหว่างสองประเทศผ่านข้อตกลง EVFTA จัดโดยสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมเวียดนาม และมูลนิธิฟรีดริช เนามัน (FNF) เยอรมนีเป็นผู้ซื้อสินค้าเวียดนามรายใหญ่อันดับที่ 2 ในหมู่สมาชิกของสหภาพยุโรป และอยู่ในอันดับที่ 7 ของโลกในปีที่แล้ว ทั้งนี้ นาย Hoang Quang Phong รองประธานหอการค้าและอุตสาหกรรมเวียดนาม กล่าวว่ายอดการค้าระหว่างเยอรมนีและเวียดนาม เพิ่มขึ้นจาก 5.6 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2554 และเมื่อทั้งสองประเทศได้บรรลุพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ ทำให้มูลค่าขึ้นแตะ 10 พันล้านเหรียญสหรัฐในปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม ทางสภาหอฯ เวียดนาม แนะให้ภาคธุรกิจใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี EVFTA รวมถึงศึกษาข้อมูลทางการตลาดและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง

ที่มา : https://en.nhandan.vn/business/item/10917002-evfta-presents-opportunities-for-vietnam-germany-trade-seminar.html

FTAs-RCEP ผลักดันกัมพูชาผลิตสินค้าส่งออกเพิ่มขึ้น

รัฐบาลกัมพูชาได้สนับสนุนและผลักดันให้ภาคธุรกิจผู้ผลิตทำการส่งออกผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น เนื่องจากปัจจุบันประเทศกัมพูชาได้เปิดตลาดส่งออกกว้างขึ้น หลังจากข้อตกลงการค้าเสรี (FTAs) และข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) มีผลบังคับใช้ในต้นปีหน้า โดยนายกรัฐมนตรี ฮุน เซน ได้กล่าวในพิธีเปิดถนนแห่งชาติหมายเลข 7 ว่า ข้อตกลงการค้าเสรีกัมพูชา-จีน และข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคที่ครอบคลุม จะมีผลบังคับใช้ในเดือน ม.ค. 2022 ซึ่งจะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจของกัมพูชาต่อไป สำหรับข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างกัมพูชาและจีน กัมพูชาสามารถนำเข้าผลิตภัณฑ์ได้มากกว่า 340 ชนิด โดยร้อยละ 95 ของผลิตภัณฑ์เหล่านั้นจะถูกยกเว้นการเก็บภาษี ส่วนความตกลงความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคได้รับการลงนามระหว่าง 15 ประเทศ รวมทั้งประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ และประเทศหุ้นส่วนการค้าเสรีอีก 5 แห่ง ได้แก่ ออสเตรเลีย จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และนิวซีแลนด์ ซึ่ง RCEP ถือเป็นข้อตกลงทางการค้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีประชากรรวมประมาณ 2.2 พันล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 30 ของประชากรโลก และครอบคลุมปริมาณการค้าถึงร้อยละ 28 ของการค้าโลก

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50983649/ftas-rcep-pushing-cambodia-into-producing-more-products-for-exports/

ข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างจีน-กัมพูชา มีผลบังคับ 1 ม.ค. 2022

ข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ที่ลงนามระหว่างจีนและกัมพูชาจะมีผลในวันที่ 1 มกราคม 2022 ตามรายงานของกระทรวงพาณิชย์ (MOC) โดยข้อตกลงซึ่งลงนามอย่างเป็นทางการไปเมื่อวันที่ 12 ต.ค. 2020 ที่ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ในการค้าสินค้าระหว่างจีนและประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพิ่มขึ้นเป็นมากกว่าร้อยละ 90 สำหรับทั้งสองประเทศ ขณะเดียวกัน ทั้งสองฝ่ายยังตกลงที่จะกระชับความร่วมมือในการลงทุนอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น ตามแผนริเริ่ม the Belt and Road Initiative, อีคอมเมิร์ซ และภาคเศรษฐกิจโดยรวม ตามกระทรวงพาณิชย์กล่าว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50975664/china-cambodia-fta-to-take-effect-on-jan-1-2022/

รมว.พาณิชย์กัมพูชาร่วมลงนาม FTA กับเกาหลีใต้

กัมพูชาและเกาหลีใต้ได้ร่วมลงนามในข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ซึ่งจะลดภาษีนำเข้าระหว่างกันมากกว่าร้อยละ 90 ภายใต้ข้อตกลงดังกล่าว ซึ่งตกลงกันในขั้นต้นเมื่อเดือน ก.พ. ที่ผ่านมาว่า กัมพูชาจะยกเลิกภาษีสินค้าร้อยละ 93.8 และเกาหลีใต้จะยกเลิกการจัดเก็บภาษีร้อยละ 95.6 ของสินค้านำเข้าจากกัมพูชา โดยกระทรวงพาณิชย์กัมพูชากล่าวเสริมว่า FTA ถือเป็นส่วนสำคัญที่จะขยายตลาดให้กว้างขึ้นสำหรับผลิตภัณฑ์ของกัมพูชา ซึ่งตั้งแต่เดือน ม.ค.-ก.ย. ปีนี้ การส่งออกของกัมพูชาไปยังเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 คิดเป็นมูลค่า 259.1 ล้านดอลลาร์ ส่วนการนำเข้ามีมูลค่ารวมอยู่ที่ 461.4 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.4 เมื่อเทียบเป็นรายปี ตามข้อมูลของสมาคมการค้าระหว่างประเทศเกาหลีใต้ โดยปีที่แล้วปริมาณการค้าทวิภาคีลดลงร้อยละ 18 คิดเป็นมูลค่ารวม 885 ล้านดอลลาร์ จากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโควิด-19

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50959287/commerce-minister-signs-free-trade-agreement-with-south-korea/

ฮุน เซน วางแผนเร่งเพิ่มปริมาณการค้า กัมพูชาและต่างประเทศ

นายกรัฐมนตรี ฮุน เซน วางแผนเร่งเพิ่มปริมาณการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในสินค้าภาคเกษตร ซึ่งถือเป็นความหวังใหม่ของกัมพูชาในการสร้างความมั่นคงด้านการส่งออกและเป็นผลดีต่อระบบเศรษฐกิจในอนาคตของกัมพูชา รวมถึงทางด้าน Wang Yi รัฐมนตรีจีน ยืนยันการสนับสนุนของจีน ต่อภาคการเกษตรโดยกล่าวว่าจีนจะนำเข้าผลิตผลทางการเกษตรจากกัมพูชาเพิ่มมากขึ้นเพื่อประโยชน์ของเกษตรกรชาวกัมพูชา โดยจีนถือเป็นประเทศที่มีขนาดของเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลกรองจากสหรัฐอเมริกา ดังนั้นจึงเป็นประโยชน์อย่างมากต่อกัมพูชาที่มีจีนเป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิด ผ่านข้อตกลงการค้าเสรีที่กำลังจะมีผลบังคับใช้ รวมถึงยังมีข้อตกลงการค้าเสรีกับสมาชิกอาเซียน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ที่กำหนดให้การส่งออกของกัมพูชาปลอดภาษีถึงร้อยละ 90 ระหว่างผู้ลง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือเป็นกรอบความร่วมมือระหว่างกัมพูชาและนานาประเทศในการเพิ่มปริมาณการค้าระหว่างกัน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50934578/hunt-down-more-overseas-trade-demands-prime-minister-hun-sen/

สมัชชาแห่งชาติกัมพูชา อนุมัติข้อตกลงการค้าเสรี RCEP

สมัชชาแห่งชาติกัมพูชาได้อนุมัติความตกลงความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ซึ่งกัมพูชาได้เตรียมขั้นตอนสำหรับการเข้าร่วมข้อตกลงที่จะมีผลบังคับใช้ภายในต้นปีหน้า โดยการเข้าร่วม RCEP ของกัมพูชา ถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการรักษาตลาดระหว่างกลุ่มประเทศสมาชิกผู้ลงนามในข้อตกลง RCEP สร้าง ด้วยการกำหนดกรอบความร่วมมือระหว่างกันที่จะให้ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน ซึ่งจะอำนวยความสะดวกในการขยายห่วงโซ่อุปทานการค้าและการลงทุนระดับภูมิภาค ซึ่งคาดว่าจะมีส่วนทำให้เศรษฐกิจกัมพูชาและภูมิภาคฟื้นตัวอย่างรวดเร็วจากวิกฤตโควิด-19 โดย RCEP ถูกกำหนดให้เป็นข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยเริ่มแรกประกอบด้วยประเทศสมาชิก 16 ประเทศ คิดเป็นกลุ่มประชากรรวมกว่า 3.6 พันล้านคน หรือร้อยละ 48.1 ของประชากรโลก ซึ่งผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของประเทศสมาชิก RCEP รวมกันอยู่ที่ 28.5 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2019 คิดเป็นร้อยละ 32.7 ของ GDP ทั่วโลก โดยการค้ารวมของประเทศที่ลงนามมีมูลค่าเกิน 11.2 ล้านล้านดอลลาร์ หรือร้อยละ 29.5 ของมูลค่าการค้าโลก

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50878878/assembly-approves-rcep-trade-agreement/

กัมพูชาพยายามรักษาปริมาณการค้าระหว่างเกาหลีใต้

การส่งออกของกัมพูชาไปยังเกาหลีใต้ยังคงเติบโตในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความต้องการในสินค้าของกัมพูชาที่กำลังฟื้นตัวและจากข้อตกลงการค้าเสรีทวิภาคี (FTA) ที่ส่งผลให้ปริมาณการค้าทวิภาคีเพิ่มสูงขึ้น โดยตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนเมษายนปีนี้กัมพูชาส่งออกสินค้าไปยังเกาหลีใต้มูลค่ารวม 124 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ตามข้อมูลของสมาคมการค้าระหว่างประเทศของเกาหลีใต้ ส่วนกัมพูชาทำการนำเข้าสินค้าจากเกาหลีใต้รวม 194 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 เมื่อเทียบกับปีก่อน คิดเป็นการค้าทวิภาคีรวม 318 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 ซึ่งสินค้าสำคัญของกัมพูชาที่ส่งออกไปยังเกาหลีใต้ ได้แก่ เสื้อผ้า รองเท้า สินค้าที่เกี่ยวกับเดินทาง เครื่องดื่ม เครื่องใช้ไฟฟ้า ยาง ยา และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ในขณะที่สินค้านำเข้าหลักจากเกาหลี ได้แก่ ยานยนต์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ในครัว เครื่องดื่ม ยา และผลิตภัณฑ์พลาสติก

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50858257/cambodia-maintains-exports-to-south-korea/

กัมพูชาเร่งศึกษาข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างอินเดีย

หลังจากการลงนามในข้อตกลงการค้าความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคระหว่างกัมพูชาและจีน รวมถึงได้ข้อสรุปในการเจรจา FTA กับเกาหลีใต้แล้ว กัมพูชายังคงมองหาคู่ค้าที่มีศักยภาพในการลงนามข้อตกลงการค้าเสรีทวิภาคีต่อไป โดยเฉพาะกับอินเดีย ซึ่งโฆษกกระทรวงพาณิชย์กล่าวว่ากระทรวงกำลังทำงานอย่างใกล้ชิดกับสถาบันวิจัยอิสระในภูมิภาคเพื่อทำการศึกษาความเป็นไปได้เกี่ยวกับต้นทุนและผลประโยชน์ของ FTA ระหว่างประเทศคู่ค้าต่อไป โดยการศึกษายังอยู่ในระหว่างดำเนินการและเกี่ยวข้องกับการปรึกษาหารือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเต็มรูปแบบ พร้อมกับเตรียมการสำหรับการเจรจาระหว่างอินเดียในระยะถัดไป ซึ่งอินเดียถือเป็นหนึ่งในตลาดที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่มีกำลังซื้อ ด้วยเหตุนี้จึงแสดงให้เห็นถึงตลาดที่มีศักยภาพที่ดีสำหรับผลิตภัณฑ์ของกัมพูชาและเป็นเป้าหมายเชิงตรรกะต่อไปในการที่จะเป็นพันธมิตรทางการค้าที่หวังไว้สำหรับกัมพูชาในอนาคต ข้อมูลจากสถานทูตอินเดียในกัมพูชากล่าวว่าปริมาณการค้าระหว่างสองประเทศสูงถึง 250 ล้านดอลลาร์ในปี 2019 เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับปี 2018 อยู่ที่ 227 ล้าน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50816522/looking-to-india-for-next-major-fta-agreement/

กัมพูชาสามารถส่งออกสินค้ากว่า 10,000 รายการ ภายใต้ CCFTA

ภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรีกัมพูชา – จีน (CCFTA) กัมพูชาสามารถส่งออกสินค้าไปยังจีนได้มากกว่า 10,000 รายการ โดยได้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการระหว่างผู้แทนจากกระทรวงพาณิชย์ กรมศุลกากรและสรรพสามิต กระทรวงโยธาธิการและการขนส่ง และภาคเอกชน เพื่อหารือเกี่ยวกับ FTA และผลประโยชน์โดยรวม ไปจนถึงขั้นตอนศุลกากร แผนโลจิสติกส์ และกิจกรรมตลอดจนโอกาสและความท้าทายจากมุมมองของภาคเอกชนภายใต้ FTAs ที่ได้รับในปัจจุบัน ซึ่งอธิบดีการค้าระหว่างประเทศของกระทรวงพาณิชย์และสมาชิกของทีมเจรจา CCFTA ยินดีให้ข้อมูลเชิงลึกที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับ FTA ที่กัมพูชาได้รับต่อผู้สนใจข้อมูล

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50812421/over-10000-cambodian-products-can-be-exported-to-china-under-ccfta/