กัมพูชา สปป.ลาว ให้คำมั่นหนุนภาคพลังงาน

กัมพูชาและสปป.ลาวตกลงที่จะกระชับความร่วมมือในภาคพลังงาน เนื่องจากกัมพูชานำเข้าพลังงานหมุนเวียนจากลาวในปัจจุบัน ข้อตกลงดังกล่าวมีขึ้นในการประชุมระหว่างรัฐมนตรีกระทรวงเหมืองแร่ Suy Sem และ Daovong Phonekeo ถ้อยแถลงของกระทรวงกล่าวว่าในการประชุม ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะเสริมสร้างความเข้มแข็งและขยายความร่วมมือในภาคพลังงาน ทั้งกรอบทางเทคนิคและเชิงพาณิชย์ และแลกเปลี่ยนการศึกษาสำหรับโครงการไฟฟ้าพลังน้ำของทั้งสองประเทศ ได้แก่ โรงไฟฟ้าพลังน้ำดอนสะโฮงและภาคกลางตอนล่าง 2 ในอนาคต แก้ว รัตนนัค อธิบดีการไฟฟ้าของกัมพูชา (EDC) ระบุว่า ไฟฟ้าที่นำเข้าจากเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำของลาวมีส่วนทำให้พลังงานหมุนเวียนในกัมพูชาเพิ่มขึ้น ภายใต้ข้อตกลงที่ลงนามในปี 2562 กัมพูชาซื้อไฟฟ้า 2,400 mW จากสปป.ลาว โดยระยะแรกเริ่มในปี 2567 ตามด้วยระยะที่สอง ระยะที่สาม และระยะที่สี่ในปี 2568, 2569 และ 2570 ตามลำดับ ข้อตกลงดังกล่าวจะเป็นส่วนช่วยผลักดันภาคพลังงานของสองประเทศให้เป็นภาคอุตสาหกรรมที่ใหญ่ขึ้นและมีผลต่อค่าครองชีพของประชาชนและภาคเศรษฐกิจโดยรวม

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50980061/cambodia-laos-pledge-to-boost-energy-sector/

กัมพูชามองรถยนต์ไฟฟ้าหนทางประหยัดการใช้พลังงานในประเทศ

แม้ว่าปัจจุบันจะไม่มีการบันทึกจำนวนรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่จดทะเบียนในกัมพูชา แต่ทางการกัมพูชากลับสนใจและกระตือรือร้นที่จะใช้เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายประหยัดพลังงานภายในประเทศ โดยกระทรวงเหมืองแร่และพลังงานของกัมพูชา กำลังร่างนโยบายอนุรักษ์พลังงานแห่งชาติฉบับใหม่ ซึ่งได้กล่าวถึงรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ว่าเป็นทางเลือกที่น่าสนใจและคาดว่าจะทำการสนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้าเพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านน้ำมันและมีส่วนร่วมในการปกป้องสิ่งแวดล้อมด้วยการลดการปล่อยก๊าซ แต่ถึงอย่างไรสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น ที่ชาร์จรถ EV ในสถานที่สาธารณะก็ถือเป็นปัจจัยที่ต้องพัฒนาหากต้องการที่จะผู้คนหันมาใช้รถพลังงานไฟฟ้า โดยในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา รัฐบาลได้ออกคำสั่งเกี่ยวกับการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มพิเศษ สำหรับการนำเข้ารถยนต์ EV จากอัตราภาษีนำเข้าเดิมที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 30 ลดลงเหลือร้อยละ 10 เป็นการสนับสนุนภาคประชาชน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50950405/cambodia-looks-to-electric-vehicles-for-energy-efficiency/

EDF พักโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำในเมียนมา

Electricite de France SA (EDF) หนึ่งในบริษัทพลังงานที่ใหญ่ที่สุดของยุโรปสั่งเบรคโครงการไฟฟ้าพลังน้ำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเมียนมาที่มีความเกี่ยวข้องกับบริษัทค้าขายสินค้าอุปโภค-บริโภคจากญี่ปุ่นอย่าง Marubeni ซึ่งการเบรคโครงการมีผลจากการรัฐประหารเมื่อเดือนที่แล้ว Marubeni เป็นกลุ่มที่ผลักดันให้สร้างสถานีไฟฟ้าพลังน้ำขนาดใหญ่บนแม่น้ำเชวลี (Shweli) ในรัฐฉาน รัฐบาลฝรั่งเศสเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ใน EDF บริษัทได้วางแผนที่จะสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาด 671 เมกะวัตต์ภายในปี 2569 ด้วยต้นทุนประมาณ 1.5 พันล้านดอลลาร์ทำให้เป็นโครงการที่ใหญ่ที่สุดโครงการหนึ่งในเมียนมา EDF ได้แจ้งว่าเพื่อเป็นการเคารพสิทธิมนุษยชนในเมียนมาจึงได้ระงับโครงการไว้ก่อน นอกจากนี้ยังปรึกษากับรัฐบาลฝรั่งเศสและสหภาพยุโรปเพื่อเผ้าดูสถานการณ์อย่างใกล้ชิด Marubeni ไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในโครงการรวมถึงขนาดของการลงทุน ซึ่งในการแถลงการล่าสุดบริษัทจะจัดการกับสถานการณ์นี้อย่างเหมาะสม แต่ทั้งนี้ยังไม่ได้ประเมินทิศทางในอนาคตว่าจะเป็นอย่างไร

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/marubeni-involved-hydropower-project-in-myanmar-to-be-frozen

สปป.ลาวมอบสัมปทาน 25 ปีให้ บริษัท จีนจัดการ Power Grid

Électricité du Laos Transmission Company Ltd.  ในนามตัวแทนรัฐบาลสปป.ลาวและ China Southern Power Grid Company ได้ลงนามในข้อตกลงสัมปทาน 25 ปีซึ่งอนุญาตให้ บริษัท สร้างและจัดการโครงข่ายไฟฟ้ารวมถึงการส่งออกไฟฟ้าไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งนี้เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในปัจจุบันและหนี้สินจำนวนมหาศาลทำให้รัฐบาลลาวไม่มีความสามารถในการจัดการและดำเนินการเครือข่ายสายไฟฟ้า ดังนั้นรัฐบาลจึงตัดสินใจอนุญาตให้ชาวจีนซึ่งมีคามแข็งแกร่งด้านการเงิน ความสามารถทางเทคโนโลยีและกำลังคนเข้ามารับช่วงต่อเพื่อทำให้เกิดการบริหารจัดพลังงานไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ

ที่มา : https://www.voanews.com/east-asia-pacific/laos-grants-25-year-concession-chinese-company-manage-power-grid

ธนาคารโลกให้เงินทุน 86.3 ล้านเหรียญ เพื่อส่งเสริมโครงการประหยัดพลังงานในเวียดนาม

เมื่อวันที่ 8 มีนาคม ตามข้อมูลของธนาคารโลก (World Bank) ระบุว่าเงินทุน 8.3 ล้านเหรียญสหรัฐจากทั้งหมด 11.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ถูกนำไปใช้ในโครงการภาคเอกชน เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการดำเนินโครงการประหยัดพลังงาน ซึ่งธนาคารโลกในนามกองทุนภูมิอากาศสีเขียว (GCF) ได้ร่วมลงนามกับธนาคารกลางเวียดนาม ด้วยมูลค่า 11.3 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อมุ่งส่งเสริมตลาดทางการเงินเชิงพาณิชย์และโครงการประหยัดพลังงานในเวียดนาม ทั้งนี้ โครงการในครั้งนี้ ยังให้การสนับสนุนทางเทคนิคแก่กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า เพื่อหาแนวทางกำหนดนโยบายและควบคุมกฎระเบียบที่เข็มงวดในการส่งเสริมตลาดพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในเวียดนาม

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/wb-funded-us-863-million-to-support-energy-efficiency-projects-in-vietnam-29000.html

ประสิทธิภาพด้านพลังงานถือเป็นส่วนสำคัญต่อเศรษฐกิจกัมพูชาในอนาคต

เนื่องจากความต้องการพลังงานของกัมพูชาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปีผู้เชี่ยวชาญจึงเรียกร้องให้มีการพัฒนาและดำเนินนโยบายที่ชัดเจน ซึ่งสนับสนุนให้ทั้งภาครัฐและภาคอุตสาหกรรมมีส่วนร่วมในการฝึกฝนการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพควบคู่ไปกับการอนุรักษ์สภาพแวดล้อม โดยคาดว่าจะมีบทบาทสำคัญในการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนของกัมพูชาในระหว่างปี 2019-2040 ซึ่งคาดว่าการใช้พลังงานหลักทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 25 จากการคาดการณ์ความต้องการไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกัมพูชาสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศระบุว่าการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในการนำกัมพูชาไปสู่สังคมสถานะพลังงานสะอาด

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50783204/achieving-energy-efficiency-crucial-to-kingdoms-economy/

กัมพูชาเร่งศึกษาด้านพลังงานรองรับนโยบาย “Kingdom’s industry 4.0”

ในขณะที่กัมพูชากำลังก้าวเข้าสู่โลกของอุตสาหกรรม 4.0 ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่ากุญแจสำคัญสำหรับการพัฒนาประเทศคือพลังงานและทรัพยากรมนุษย์ที่ถือเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศในอนาคต โดยสังเกตว่าความต้องการพลังงานสะอาดกำลังเพิ่มขึ้นและด้วยความต้องการดังกล่าวจะทำให้ความต้องการพนักงานที่มีทักษะพร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน ซึ่งในปัจจุบันกัมพูชาค่อนข้างล้าหลังในเรื่องพลังงานหมุนเวียน เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างไทยและเวียดนาม ทั้งกัมพูชายังไม่มีแผนงานหรือนโยบายที่แท้จริงในการพัฒนาศักยภาพทางด้านนี้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/782455/education-on-energy-is-key-to-kingdoms-industry-4-0-future/

บริษัทจัดการด้านพลังงานระดับโลกลงสนามอุสาหกรรมพลังงานภายในกัมพูชา

บริษัทจัดการพลังงานระดับโลก Eaton ประกาศว่าได้ร่วมมือกับ One Stop Solution Electric (OSS) ในฐานะตัวแทนจำหน่ายที่ได้รับอนุญาตสำหรับผลิตภัณฑ์จัดการด้านพลังงานไฟฟ้าแรงต่ำที่จะจำหน่ายในตลาดกัมพูชา โดยความร่วมมือนี้จะเริ่มต้นในเดือนนี้และจะช่วยในการจัดการพลังงานที่มีประสิทธิภาพ และสร้างความน่าเชื่อถือสำหรับภาคการก่อสร้างที่เติบโตอย่างรวดเร็ว รวมทั้งรัฐบาลกัมพูชามีเป้าหมายที่จะขยายและนำส่งกระแสไฟฟ้าไปยังทั่วทั้งประเทศในอนาคต ซึ่ง OSS จะเป็นช่องทางการจัดจำหน่ายอย่างเป็นทางการของซีรี่ส์ Moeller ของ Eaton ในช่วงแรงดันไฟฟ้าต่ำ เช่น เบรกเกอร์ขนาดเล็กและอุปกรณ์ป้องกันไฟกระชาก โดยถือเป็นส่วนประกอบสำคัญของโครงสร้างพื้นฐานการจัดการพลังงานของอาคาร ซึ่งผลิตภัณฑ์สำหรับตลาดไฟฟ้าในท้องถิ่นมีการเติบโตอย่างรวดเร็วตั้งแต่ปี 2010 เนื่องจากรายงานความก้าวหน้าด้านพลังงานของธนาคารโลกที่เผยแพร่เมื่อปีที่แล้ว แสดงให้เห็นว่ากัมพูชาใช้พลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 8 ต่อปีตั้งแต่ปี 2010

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50779435/power-management-company-enters-market-promoting-reliability/

รัฐบาลสร้างกองทุนเพื่อส่งเสริมพลังงานหมุนเวียน

รัฐบาลได้จัดตั้งกองทุนเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาพลังงานหมุนเวียนท่ามกลางความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับการใช้ไฟฟ้า ในสปป.ลาว นายกรัฐมนตรี Thongloun Sisoulith ได้รับรองพระราชกฤษฎีกานายกรัฐมนตรีที่ให้การสนับสนุนทางกฎหมายสำหรับการจัดตั้งและการดำเนินงานของกองทุนเพื่อส่งเสริมและพัฒนาพลังงานสปป.ลาว โดยกองทุนนี้บริหารงานโดยกระทรวงพลังงานและการเหมืองซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจาก 5 กระทรวงและธนาคารแห่งสปป. ลาวเป็นผู้กำหนดนโยบายจุดมุ่งหมายของโครงการนี้คือการให้เงินกู้เพื่อการส่งเสริมและพัฒนาพลังงานหมุนเวียนโดยเฉพาะการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม เชื้อเพลิงชีวภาพและก๊าซ ซึ่งโครงการไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กจะได้รับประโยชน์จากการสนับสนุนทางการเงินผ่านกองทุนนี้ นอกจากนี้กองทุนจะจัดหาเงินทุนสำหรับการขยายการจ่ายไฟฟ้าในพื้นที่ชนบทเพื่อการเกษตรและการส่งเสริมการใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ เงินทุนบ้างส่วนยังนำไปใช้ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สร้างความตระหนักรู้ในด้านการใช้พลังงานอย่างยั่งยืนควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อม

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt196.php

เวียดนามจะซื้อไฟฟ้าเพิ่มจากเพื่อนบ้านรวมถึงลาว: รายงาน

เวียดนามคาดว่าจะซื้อไฟฟ้าจากเพื่อนบ้านอย่างสปป.ลาว กัมพูชาและจีนเพิ่มขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการด้านพลังงานที่เพิ่มขึ้นของประเทศ นับจากนี้จนถึงปี 2573 เวียดนามอาจซื้อไฟฟ้าจากสปป.ลาว 14GW (14,000MW) จากจีน 3.8GW และ 4GW จากกัมพูชาตามรายงานของไซง่อนไทม์ส กระทรวงพลังงานและการเหมืองแร่ของสปป.ลาวกล่าวว่ารัฐบาลของทั้งสองประเทศได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) เพื่อที่จะวางแผนเพิ่มการนำเข้าไฟฟ้าจากสปป.ลาว 5,000 เมกะวัตต์ในปี 2569-2573 ไฟฟ้าส่วนใหญ่นำเข้าจากพื้นที่ทางตอนเหนือ – กลางภาคกลางและพื้นที่ที่ราบสูงตอนกลาง โดยคาดว่าภูมิภาคเหล่านี้จะขาดแคลนไฟฟ้าหลังปี 2568 ทำให้รัฐบาลเวียดนามเพิ่มแหล่งจ่ายไฟจากภาคใต้และจากประเทศอื่น ๆ ซึ่งหนึ่งในปัญหาของการขาดแคลนไฟฟ้ามาจากการขาดแคลนน้ำที่ส่งผลกระทบต่อการผลิตไฟฟ้านั้นเอง เวียดนามเป็นหนึ่งในห้าประเทศที่สปป.ลาวขายไฟฟ้าให้เยอะที่สุด ปริมาณไฟฟ้าที่สปป.ลาวส่งออกในช่วง 5 ปีตั้งแต่ปี 2559-2563 สูงถึง 129,605 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงมูลค่า 7,203 ล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 164 เมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้านี้ จุดนี้เองเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้สปป.ลาวหันมามุ่งพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าเพื่อก้าวสู่การเป็น แบตเตอรี่แห่งเอเชี่ยตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Vietnam_195.php