กัมพูชาฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 แตะร้อยละ 90 ของประชากร

ทางการกัมพูชา รายงานถึงปัจจุบันได้ทำการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนภายในประเทศแล้วกว่าร้อยละ 90.01 จากเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ที่ 14.5 ล้านคน ของประชากรทั้งหมด 16 ล้านคน โดยได้ทำการฉีดวัคซีนเข็มแรกไปแล้วทั้งหมด 14,401,837 คน ใน 5 กลุ่มอายุ ขณะที่ประชาชนผู้ได้รับการฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว มีจำนวนทั้งสิ้น 13,827,084 คน นอกจากนี้ มีผู้ที่ได้รับวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 3 จำนวน 6,476,282 คน ขณะที่อีก 868,739 คน ได้รับวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 4 เป็นที่เรียบร้อย ซึ่งการฉีดวัคซีนถือเป็นวาระเร่งด่วนและสำคัญ เนื่องจากส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของภาคประชาชน โดยประมาณร้อยละ 25 ของผู้ที่ติดเชื้อ Omicron เป็นเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี ซึ่งปัจจุบันมีการติดเชื้อ Omicron แล้วกว่า 5,806 ราย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/1030278/cambodias-vaccination-percentage-crosses-90-percent-as-14401837-vaccinated-since-february-10-2021/

อัตราเงินเฟ้อสปป.ลาวพุ่งสูงสุดรอบ 2 ปี

อัตราเงินเฟ้อเมื่อเทียบปีต่อปีเพิ่มขึ้นเป็น 6.25% ในเดือนมกราคม ซึ่งเป็นตัวเลขสูงสุดนับตั้งแต่มกราคม 2563 ส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชนสปป.ลาว ทำให้ต้นทุนสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมีนาคมปีที่แล้ว และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 5.04 ในเดือนพฤศจิกายน ก่อนจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 5.27 ในเดือนธันวาคม ตามรายงานล่าสุดจากสำนักสถิติลาว ต้นทุนเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นเป็นหนึ่งในปัจจัยขับเคลื่อนหลักของเงินเฟ้อในสปป.ลาวรวมถึงการระบาดใหญ่ของโควิด-19  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกลายพันธุ์ของไวรัสโควิด Omicron กระทบต่อห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนและทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้นเนื่องจากอุปสงค์และอุปทานไม่สมดุลกัน ทั้งนี้รัฐบาลสปป.ลาวกำลังดำเนินการเพื่อเพิ่มผลผลิตเพื่อลดการนำเข้าเพื่อควบคุมราคาเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อเศรษฐกิจและประชาชนทั่วไป

อีกทั้งรัฐบาลได้ตัดสินใจลดภาษีมูลค่าเพิ่มจากร้อยละ 10 เหลือร้อยละ 7 ในปีนี้ และลดปริมาณสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงทั้งหมด ซึ่งหมายความว่าราคาน้ำมันสำรองในปัจจุบันอยู่ที่ 0 กีบ/ลิตร เพื่อกั้ญหาอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Inflation_37_22.php

ผู้เชี่ยวชาญ ชี้ปี 64 ‘ศก.เวียดนาม’ ส่งสัญญาเป็นบวกจากการลงทุนจากต่างประเทศ

ข้อมูลจากบริษัทที่ปรึกษาทางธุรกิจ “Dezan Shira & Associates” เปิดเผยว่าถึงแม้เวียดนามจะเผชิญกับความท้าทายของการระบาดโควิด-19 แต่เวียดนามกลับมองเห็นสัญญาเชิงบวกจากการลงทุนจากต่างประเทศในปี 2564 โดยอ้างข้อมูลทางสถิติจากกระทรวงวางแผนและการลงทุน (MPI) ระบุว่าในปีที่แล้ว เวียดนามมีโครงการที่ได้รับใบอนุญาตใหม่ จำนวน 1,738 โครงการ ลดลง 31.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม เงินทุนที่จดทะเบียนรวม มีมูลค่า 15.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 4.1%YoY ทั้งนี้ เขตเศรษฐกิจและสวนอุตสาหกรรม (IPs) ดึงดูดโครงการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) จำนวน 539 โครงการ และโครงการในประเทศ จำนวน 615 โครงการ ด้วยเงินทุนจดทะเบียนรวม 12.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ บริษัท “Amkor Technology” ผู้ให้บริการบรรจุภัณฑ์และทดสอบผลิตภัณฑ์เซมิคอนดักเตอร์ ตั้งเป้าว่าจะลงทุนก่อตั้งโรงงานในจังหวัดบั๊กนิญ ด้วยมูลค่า 1.6 พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2035 อย่างไรก็ดี ในมุมมองของบทความชี้ว่าปัจจัยทางด้านต้นทุนแรงงานที่มีความสามารถการแข่งขัน ประกอบกับการยกเว้นภาษีและนโยบายการลงทุนที่เอื้อต่อการลงทุน ทำให้เวียดนามเป็นจุดหมายปลายทางด้านการผลิตของบริษัทข้ามชาติ

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnam-enjoys-positive-signals-in-foreign-investment-in-2021-experts-post924721.vov

อาเซียน FMs หารือการรับมือโควิดและความพยายามฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังการระบาด

การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนเริ่มต้นขึ้นที่กรุงพนมเปญเมื่อวันพฤหัสบดี ในรูปแบบไฮบริดเพื่อหารือเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ตั้งแต่การตอบสนองของโควิด-19 ต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และความสัมพันธ์ระหว่าง 10 ประเทศกับคู่เจรจาในอาเซียน ผู้นำอาเซียนหารือถึงความจำเป็นในการรักษาความเป็นศูนย์กลางของอาเซียนเพื่อประกันสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค ตลอดจนประเด็นที่เกี่ยวข้องกับวิสัยทัศน์หลังปี 2568 ของประชาคมอาเซียน การพัฒนาที่ยั่งยืน และความสัมพันธ์ของอาเซียนกับพันธมิตรภายนอก นอกจากนี้บรรดาผู้นำยังได้หารือถึงแนวทางในการเร่งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจากการระบาดใหญ่ของโควิด-19 และส่งเสริมความสามารถในการแข่งขัน การบูรณาการระดับภูมิภาค และความเจริญรุ่งเรืองในระยะยาวในภูมิภาค นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้หารือเกี่ยวกับการส่งเสริมคุณค่า ความรู้ และอัตลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับอาเซียน ตลอดจนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การสร้างขีดความสามารถสำหรับสตรี ประเด็นด้านสุขภาพ และการปกป้องสังคมอาเซียน

 

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Asean34.php

‘เวียดนาม’ เผยธนาคาร 16 แห่ง ปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ 21.2 ล้านล้านดอง เหตุบรรเทาผู้ที่ได้รับผลกระทบโควิด-19

ตามรายงานของธนาคารกลางเวียดนาม (SBV) ณ วันที่ 9 ก.พ. เปิดเผยว่าธนาคารพาณิชย์จำนวน 16 แห่ง ได้ปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้เป็นมูลค่ากว่า 21.24 ล้านล้านดอง (936 ล้านเหรียญสหรัฐ) เพื่อบรรเทาลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ตั้งแต่วันที่ 15 ก.ค. – 31 ธ.ค.64 โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและการพัฒนาชนบทเวียดนาม (Agribank) ปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้อย่างมาก ด้วยมูลค่า 5.51 ล้านล้านดอง สำหรับลูกค้ามากกว่า 3.5 ล้านคน รองลงมาธนาคาร “Vietcombank” มีมูลค่า 4.63 ล้านล้านดอง และธนาคาร “BIDV” มีมูลค่า 4.12 ล้านล้านดอง นอกจากนี้ นายด่าวมีงตือ รองผู้ว่าการธนาคารชาติเวียดนาม กล่าวในปีที่แล้วว่าทางธนาคารยังคงอัตราดอกเบี้ย เพื่อให้สถาบันการเงินสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนด้วยต้นทุนที่ต่ำ

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/sixteen-banks-cut-over-vnd212-trillion-for-pandemic-hit-customers-post923266.vov

 

กัมพูชาเร่งฉีดวัคซีนให้กับประชนชนครอบคลุมแล้วกว่าร้อยละ 90 ของประชากร

สถิติใหม่จากกระทรวงสาธารณสุขกัมพูชาแสดงให้เห็นว่ากว่าร้อยละ 89.78 ของประชากร 16 ล้านคนของกัมพูชาได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 อย่างน้อยหนึ่งโดส ซึ่งยังคงสูงที่สุดในโลก โดยในจำนวนนี้รัฐบาลได้บรรลุเป้าหมายในการฉีดวัคซีนให้กับประชากรกลุ่มผู้ใหญ่จำนวน 10 ล้านคน แล้วร้อยละ 102.08 ของเป้าหมาย ส่วนในกลุ่มผู้เยาว์อายุระหว่าง 12-17 ปี จำนวนเกือบ 2 ล้านคน ได้รับวัคซีนเกือบครบเต็มจำนวน ในขณะที่กลุ่มอายุระหว่าง 6-12 ปี และ 3-5 ปี รัฐบาลกัมพูชาได้ฉีดวัคซีนบรรลุเป้าหมายไปแล้วกว่าร้อยละ 106.05 และร้อยละ 106.88 ตามลำดับ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501021130/almost-90-percent-of-cambodian-received-covid-jabs/

‘ศก.เวียดนาม’ กลับมาฟื้นตัว

การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ในปีที่แล้ว ส่งผลชะลอตัวการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก รวมถึงสร้างผลกระทบต่อการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานโลก ทำให้ราคาวัตถุดิบเพิ่มสูงขึ้น นับว่าเป็นความท้าทายครั้งสำคัญของการผลิตและการดำเนินธุรกิจในหลายๆ ประเทศทั่วโลก

คุณ เหงียน ถิ เฮือง ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม กล่าวว่า GDP ของเวียดนามในปี 2564 ขยายตัว 2.58% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว เป็นผลมาจากผลกระทบทางลบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยเฉพาะมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมในไตรมาสที่ 3/64

ทั้งนี้ คุณ Jacques Morisset หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์และหัวหน้ากลุ่มโครงการของธนาคารโลกประจำเวียดนาม กล่าวว่าเวียดนามกำลังเผชิญกับอุปสรรคหลายประการในการกลับมาเริ่มต้นฟื้นฟูเศรษฐกิจอีกครั้ง หลังจากเว้นระยะห่างทางสังคมเป็นเวลานาน อย่างไรก็ตาม มีสัญญาเชิงบวกจากเดือนสุดท้ายของปี 2564 ที่บ่งชี้ว่าสถานการณ์ทางเศรษฐกิจจะดีขึ้นอย่างต่อเนื่องและจะกลับมาเติบโตอย่างแข็งแกร่ง

ที่มา : https://en.nhandan.vn/business/item/11135102-vietnamese-economy-on-the-rebound.html

มูลค่าการส่งออกข้าวของสปป.ลาวครึ่งปี 2564 ชะลอตัว

เวียงจันทน์ไทมส์รายงาน มูลค่าการส่งออกข้าวของสปป.ลาวในปี 2564 ลดลงเกือบครึ่งหนึ่งเนื่องจากมาตรการจำกัดโควิด-19 รายงานอ้างคำพูดของกระทรวงอุตสาหกรรมและการพาณิชย์ของสปป.ลาวว่า ข้าวสร้างรายได้กลับสู่ประเทศมากถึง 52.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมูลค่ากว่า 35 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มาจากตลาดที่ใหญ่ๆที่สำคัญได้แก่ จีน เวียดนามและสหภาพยุโรป อย่างไรก็ตามแม้ว่าจีนจะเปิดพรมแดนบ่อเต็นกับสปป.ลาวอีกครั้งแล้วในเดือนพฤศจิกายน 64 แต่การค้าแบบสองทางยังคงชะลอตัวเนื่องจากมาตรการป้องกันและควบคุมการระบาดของไวรัสโควิด-19 ปัจจุบันจีนซื้อผลิตผลทางการเกษตรที่ส่งออกของลาวมากกว่าร้ยละ 80 ซึ่งสินค้าส่วนใหญ่เป็นมันสำปะหลัง กล้วย แตงโม อ้อย และยาง

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/laos-rice-export-value-nearly-halves-in-2021/221665.vnp

‘เงินเฟ้อพุ่ง’ปัญหาเร่งด่วนของอาเซียน

ตอนนี้้ นอกจากจะรับมือกับการระบาดของโรคโควิด-19แล้ว ชาติสมาชิกสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) กำลังออกมาตรการต่างๆเพื่อแก้ปัญหาเงินเฟ้อพุ่ง ซึ่งเป็นผลพวงจากอัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นทั่วโลกดัชนีซีพีไอเดือนม.ค.ของอินโดนีเซีย ทะยานสูงสุดในรอบ 20 เดือน  ส่วนสิงคโปร์อัตราเงินเฟ้อเดือนธ.ค.เพิ่มเป็น4% และมาเลเซีย เร่งควบคุมราคาอาหารและเชื้อเพลิงที่ทะยานขึ้นมากจนทำให้อัตราเงินเฟ้อโดยเฉลี่ยในเดือนธ.ค.ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 3.2%

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/world/986461

ราคาแตงโมเมียนมาในตลาดจีน ร่วงหนัก!

ก่อนวันที่ 8 ม.ค.65 ราคาแตงโมคุณภาพคุณภาพดี อยู่ที่ 7 หยวนต่อกิโลกรัม แต่ปัจจุบันลดฮวบต่ำกว่า 5 หยวนต่อกิโลกรัม  ศูนย์การค้าผลไม้ชายแดนมูเซได้ขอให้เกษตรกรรอการจัดส่งในวันที่ 10 ม.ค.65 อย่างไรก็ตาม ราคายังคงทรงตัวที่ 5 ถึง 7 หยวนต่อกิโลกรัม ความล่าช้าของรถบรรทุกทำให้เกิดผลเสียต่อคุณภาพของแตงโม ปัจจุบันใช้เวลาประมาณ 20 วัน จากสวนสู่ตลาดจี นอกจากมาตรการจัดการการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 แล้ว กฎระเบียบศุลกากรของจีนยังส่งผลให้เกิดความล่าช้าและด่านชายแดนจีนจะเก็บภาษีนำเข้าที่สูงขึ้น ซึ่งการค้าจะกลับสู่ภาวะปกติหลังจากที่จีนผ่อนคลายกฎเกณฑ์และมาตรการจำกัดการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ทำให้จีนจำเป็นต้องปิดด่านชายแดนมูแซเพื่อสกัดกั้นการแพร่ระบาด นอกจากนี้ ด่านชายแดน Kyinsankyawt ระหว่างเมียนมาและจีน ได้ปิดตัวลงไปแล้วตั้งแต่ 8 ก.ค.64 และได้เปิดทำการค้าขายชั่วคราวอีกครั้งในวันที่ 26 พ.ย.64 ที่ผ่านมา

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/watermelon-prices-fall-again-in-chinese-market/