กระทรวงพาณิชย์เมียนมาเผยการส่งออกข้าวโพดมีแนวโน้มดีขึ้น

ในขณะที่ความต้องการของต่างประเทศในนำสินค้าอุปโภคของเมียนมาบางส่วนในปีนี้ลดลงต่ำกว่าที่คาดไว้ในปีนี้เนื่องจากการระบาดของ COVID-19 แต่การส่งออกพืชผลหลายชนิดยังคงเพิ่มขึ้นและบางส่วนก็ดูมีแนวโน้มดี กระทรวงพาณิชย์ระบุว่า การส่งออกข้าวโพดเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 50 เมื่อเทียบเป็นรายปีในปีงบประมาณปัจจุบันและแนวโน้มการเติบโตดูสดใส การส่งออกในปีนี้อยู่ที่ 2.5 ล้านตันเทียบกับ 1.5 ล้านตันในปีที่แล้ว โดยปกติแล้วข้าวโพดจะส่งออกไปยังจีน แต่ความต้องการจากไทยเพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่เริ่มปีงบประมาณ 2562-2563 กว่าร้อยละ 60 ของการส่งออกข้าวโพดในปีนี้ผ่านชายแดนท่าขี้เหล็กและเมียวดี ความต้องการจากประเทศอื่น ๆ เช่น เวียดนามและฟิลิปปินส์ก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน  ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมากำลังเชื่อมโยงเกษตรกรกับธนาคารเพื่อหาทุนในการปลูก ส่วนพืชอื่น ๆ ของที่มีความต้องการในต่างประเทศมากคืออะโวคาโด ซึ่งกำลังได้รับความสนใจจากสิงคโปร์และจีน โดยอะโวคาโดพันธุ์แฮส (Hass) เป็นอะโวคาโดที่ปลูกกันมากที่สุดในโลก ซึ่งมักจะพบทางตอนใต้ของรัฐฉาน และถือว่าอะโวคาโดพันธุ์แฮส (Hass) มีสัดส่วนร้อยละ 80 ของอะโวคาโดที่บริโภคกันทั่วโลก การปลูกอะโวคาโดในปีนี้ประสบความสำเร็จและล่าสุดจีนเสนอให้นำเข้า 500 ตันต่อปี และสิงคโปร์ 15 ตันต่อสัปดาห์เช่นกัน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/commerce-ministry-myanmar-says-corn-exports-very-promising.html

เร่งจัดอีเว้นท์ออนไลน์เพิ่มมูลค่าส่งออก

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศเร่งสนองนโยบายจุรินทร์ สั่งทูตพาณิชย์จัดกิจกรรมออนไลน์ดันส่งออกไทยฝ่าวิกฤติโควิด-19 โดยมอบหมายให้สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ(สคต.) เพิ่มการจัดกิจกรรมทำตลาดส่งออกในต่างประเทศรูปแบบออนไลน์เพิ่มมากขึ้นตามนโยบาย “เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด” ตั้งเป้าให้ไทยเป็นศูนย์กลางสินค้าเกษตรและอาหารคุณภาพของโลก เพื่อช่วยเหลือเอสเอ็มอีไทยและเกษตรกร โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าเกษตร เกษตรแปรรูป อาหารและอื่นๆ ให้มีช่องทางในการขยายตลาดในสถานการณ์ที่ทั่วโลกประสบปัญหาการระบาดของไวรัสโควิด-19  เน้นการจัดงานแสดงสินค้ารูปแบบออนไลน์ และการเจรจาจับคู่ธุรกิจไทยกับผู้นำเข้าจากต่างประเทศ การจัดกิจกรรมโปรโมทสินค้าและภาพลักษณ์สินค้า และการช่วยเหลือผู้ประกอบการไทยในต่างประเทศ เป็นต้น นอกจากนี้ได้เร่งเปลี่ยนบทบาทของทูตพาณิชย์ เป็นเซลล์แมนประเทศมาก เพื่อขยายการค้าและช่วยเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ  พร้อมทั้งยังเร่งดำเนินการให้ไทยให้เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนท์ในภูมิภาค ซึ่งที่ผ่านมาได้พัฒนาผู้ประกอบการไทยในเรื่องธุรกิจดิจิทัลคอนเทนท์ จนสร้างโอกาส และเร่งขยายตลาดไปได้มากในหลายประเทศไม่ว่าจะเป็นเกาหลีใต้ กัมพูชา ญี่ปุ่น เมียนมา สหรัฐอเมริกา เป็นต้น ล่าสุดก็ได้จัดงานแสดงสินค้าออนไลน์ดิจิทัลคอนเทนท์แบบครบวงจรของไทย โดยจัดผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์จนประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี 

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/789001

กิจกรรมเสวนา AiTi ในรูปแบบ Private Mentoring และ Business Matching หัวข้อ การค้าการลงทุน และโอกาสใหม่ๆ ช่วงโควิด..วิกฤตรอบ 100 ปี ในประเทศกลุ่ม CLMV

📌วันที่ 7 กรกฎาคม ตั้งแต่เวลา 15.00 น. อาคาร 10 ชั้น 3 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย📌

Vietnam Motor Show ประกาศยกเลิกเนื่องจากพิษไวรัส COVID-19

งาน Vietnam Motor Show (VMS) ปี 2563 เป็นงานแสดงรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ระหว่างวันที่ 29 ต.ค. – 1 พ.ค. ประกาศยกเลิกอย่างเป็นทางการ เนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 โดยจำนวนผู้ผลิตรถยนต์อย่างน้อย 15 ราย ได้แก่ Audi, Ford, Jaguar, Honda, Land Rover, Lexus และ Mercedes-Benz ได้เข้าร่วมลงทะเบียนงานนี้ อย่างไรก็ตาม งานดังกล่าวจะเริ่มกลับมาในปี 2564 ที่ศูนย์การประชุมและนิทรรศการไซ่ง่อน (Saigon Exhibition & Convention Center) ทั้งนี้ ในปีที่แล้ว ตัวเลขทางสถิติชี้ให้เห็นว่ามูลค่าเงินทุนกว่า 2.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อนำเข้ารถยนต์จากต่างประเทศและส่วนประกอบในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ ลดลงร้อยละ 32.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/vietnams-biggest-auto-show-canceled-due-to-covid-19-23141.html

แหล่งท่องเที่ยวเมียนมาพร้อมเปิดอีกครั้งขึ้นอยู่กับสถานการณ์ COVID-19

การเปิดแหล่งท่องเที่ยวในประเทศอีกครั้งอาจเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับการจัดการปัญหา COVID-19 ในประเทศและต่างประเทศ กระทรวงโรงแรมและการท่องเที่ยวชี้ว่าแผนฟื้นฟูการท่องเที่ยวของกระทรวงซึ่งรวมถึงข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการเปิดสถานที่ท่องเที่ยวบางแห่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ง่ายขึ้นอยู่กับการประเมินเกี่ยวกับภัยคุกคาม COVID-19 ซึ่งไม่รู้ว่าจะสิ้นสุดเมื่อใดและสิ่งต่างๆ เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว หลังจากการกลับมาของการติดเชื้อในเมืองดานังของเวียดนามเมื่อเร็ว ๆ นี้ เมียนมาตัดสินใจที่ปิดชายหาดในอิระวดีอีกครั้ง เมื่อสัปดาห์ที่แล้วเมืองโบราณพุกามซึ่งเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงที่สุดในประเทศได้ปิดเจดีย์ 17 แห่งไม่ให้เข้าชมจนกว่าจะมีประกาศให้ทราบอีกครั้ง

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-tourist-spots-reopening-changes-depend-covid-19-situations.html

IFC สนับสนุนธนาคารเวียดนามท่ามกลางวิกฤต COVID-19

บรรษัทการเงินระหว่างประเทศ (The International Finance Corporation: IFC) ซึ่งเป็นสมาชิกของธนาคารโลก (World Bank) ให้เงินสนับสนุน 40 ล้านดอลลาร์สหรัฐแก่ธนาคารพาณิชย์ (OCB) เพื่อช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัส COVID-19 โดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) โดยระยะเวลาการจ่ายเงินกู้ไม่ต่ำกว่า 1 ปี เพื่อเพิ่มสภาพคล่องแก่ธนาคาร OCB ไปถึงภาคธุรกิจ ทั้งนี้ ทางธนาคารฯ ได้จัดความสำคัญของลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตไวรัสโดยตรง ได้แก่ การท่องเที่ยวและการผลิต รวมถึงการทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเชื้อไวรัส ในขณะเดียวกันนั้น ผู้จัดการของ IFC ในเวียดนาม กัมพูชาและสปป.ลาว กล่าวว่าการสนับสนุนของ IFC ไม่เพียงแต่ช่วยให้ธนาคารขยายเวลาการชำระคืนของลูกค้า แต่ยังช่วยให้ธนาคารสนับสนุนสินเชื่อใหม่ให้แก่ธุรกิจ SMEs นอกจากนี้ CEO ของ OCB กล่าวว่าธนาคารกำลังปรับปรุงแพคเกจสินเชื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/ifc-helps-vietnamese-bank-aid-smes-amid-covid19-416940.vov

จำนวนนักท่องเที่ยวที่มาเยือนยังกัมพูชาลดลงอย่างน่าตกใจ

ในช่วงหกเดือนแรกของปีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามากัมพูชาลดลงประมาณร้อยละ 65 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วตามรายงานของกระทรวงการท่องเที่ยว โดยรายงานระบุว่าในเดือนมิถุนายนเพียงเดือนเดียวจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงถึงร้อยละ 97.3 ซึ่งกัมพูชาได้ให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศประมาณ 1.183 ล้านคน ลดลงร้อยละ 64.6 เมื่อเทียบกับช่วงหกเดือนแรกของปีที่แล้ว โดยจำนวนนักท่องเที่ยวจากจีนลดลงร้อยละ 78.7 (275,673 คน) เวียดนามลดลงร้อยละ 55 (161,084 คน) สหรัฐลดลงร้อยละ 60 สาธารณรัฐเกาหลีลดลงร้อยละ 62 สหราชอาณาจักรลดลงร้อยละ 50 เป็นต้น ขณะนี้กระทรวงการท่องเที่ยวกำลังดำเนินการเพื่อฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยวที่เสียหายโดยเตรียมแผน “Travel bubble” ไว้รองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติในระยะถัดไป

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/751716/visitor-numbers-to-kingdom-collapse/

ไทยนำอาเซียนหารือจีน ยกระดับความตกลงทางการค้า เร่งเปิดตลาดเสรีเพิ่มเติม หลังโควิด-19 คลี่คลาย

นางสาวทัศนีย์ เมืองแก้ว รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงการประชุมคณะกรรมการร่วมกำกับการดำเนินงานภายใต้ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน – จีน (ASEAN – China Free Trade Agreement – Joint Committee : ACFTA-JC) ครั้งที่ 13 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-14 กรกฎาคม 2563 ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจากประเทศสมาชิกอาเซียน สำนักงานเลขาธิการอาเซียน และ Ministry of Commerce สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่ง สศก. ได้เข้าร่วมประชุมในฐานะองค์ประกอบผู้แทนไทย ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยการประชุมดังกล่าวที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับแผนการดำเนินการตามประเด็นที่จะเจรจาต่อไปในอนาคต (Future Work Programme) ภายใต้พิธีสารยกระดับความตกลงการค้าเสรีอาเซียน – จีน (ACFTA Upgrading Protocol) ได้แก่ การหารือแนวทางการเปิดตลาดสินค้าเพิ่มเติม การหารือการเปิดเสรีและการคุ้มครองการลงทุน รวมถึงการหารือความร่วมมือในสาขาใหม่ๆ เพื่อยกระดับความร่วมมือ ACFTA อาทิ อุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษี และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/prg/3147253

เวียดนามเผยการส่งออกรองเท้า 7 เดือนแรก พลาดเป้า 10 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

จากรายงานของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า เปิดเผยว่าในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2563 เวียดนามส่งออกเครื่องหนังและรองเท้าเพียง 9.53 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ดังนั้นสินค้าส่งออก 10 อันดับแรกจะมีมูลค่ามากกว่า 10 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้การส่งออกรองเท้าหดตัวลงร้อยละ 7.9 คิดเป็นมูลค่า 9.53 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ หลังจากตั้งเป้ายอดส่งออกเมื่อปีที่แล้วอยู่ที่ 22 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้าได้ตั้งเป้าที่จะส่งออก 24 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีนี้ แม้ว่าจุดมุ่งหมายดังกล่าวมีความทะเยอทะยานก็ตาม ด้วยเหตุนี้ ทางสมาคมเครื่องหนังและรองเท้าเวียดนามจึงปรับเป้าหมายการส่งออกลดลงร้อยละ 10 จากผลกระทบเชิงลบของการระบาด COVID-19 นอกจากนี้ ข้อตกลงการค้าเสรี EVFTA จะช่วยให้อุตสาหกรรมนี้เติบโตอีกครั้งในช่วงไตรมาสที่ 3-4 ในปีนี้ เพื่อที่ชดเชยความเสียหายในช่วงต้นปีนี้ และในปัจจุบันสหภาพยุโรปยังคงเป็นตลาดดั้งเดิมสำหรับอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้าเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 30 ของยอดส่งออกรวมต่อปี หรือประมาณ 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/footwear-exports-in-seven-months-fails-to-break-us10-billion-mark-416895.vov

เวียดนามเกินดุลการค้า 3 เท่า ช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้

กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (MoIT) เปิดเผยว่าในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามมียอดเกินดุลการค้าอยู่ที่ 6.46 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 328 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งในเดือน ก.ค. ตัวเลขเกินดุลการค้าอยู่ที่ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ถึงแม้ว่าจะได้รับผลกระทบเชิงลบจากการระบาดของไวรัส COVID-19 แต่ว่าในปีนี้ เวียดนามยังคงเกินดุลการค้าพุ่งสูงขึ้น เนื่องมาจากมีการนำเข้าน้อยลง สำหรับภาคการลงทุนจากต่างประเทศนั้น (รวมน้ำมันดิบ) พบว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ยอดเกินดุลการค้าขยายตัวอย่างมาก จากยอดเกินดุล 17.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงเวลาดังกล่าว ทั้งนี้ สินค้าส่งออกหลักที่มีการขยายตัวอย่างมากในช่วงเวลาดังกล่าว ได้แก่ คอมพิวเตอร์และเครื่องจักร คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 24 ของยอดส่งออกรวม เติบโตขึ้นเป็นตัวเลขสองหลัก ในขณะที่ กลุ่มผลิตภัณฑ์อื่นๆ มีมูลค่าลดลง อีกทั้ง สหรัฐฯ ยังเป็นตลาดส่งออกรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ด้วยมูลค่าราว 38 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รองลงมาจีน ยุโรปและอาเซียน ตามลำดับ นอกจากนี้ ทางกระทรวงฯ คาดว่าภาคการส่งออกจะเผชิญกับความลำบากอีกในช่วง 5 เดือนที่เหลือของปีนี้ จากผลกระทบของ COVID-19 แต่ด้วยข้อตกลงการค้าเสรี EVFTA จะช่วยให้ธุรกิจเวียดนามสามารถเข้าถึงตลาดที่มีมูลค่า GDP ถึง 18 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://e.vnexpress.net/news/business/economy/seven-month-trade-surplus-triples-4140917.html