เมียนมาปล่อยสินเชื่อ 100 พันล้านจัต เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจจากพิษ COVID-19

ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา คณะกรรมการแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ COVID-19 (CERP) ได้ประกาศกองทุนสินเชื่อใหม่ 100 พันล้านจัต เป้าหมายเพื่อช่วยเหลือธุรกิจในภาคเกษตรปศุสัตว์ การส่งออก / นำเข้า การผลิต ห่วงโซ่อุปทาน อาหารและเครื่องดื่ม (F&B) หน่วยงานต่างประเทศ และโรงเรียนอาชีวศึกษาที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 อย่างไรก็ตามความล้มเหลวในการชำระคืนเงินกู้จะส่งผลให้ถูกเรียกเก็บเงินตามกฎหมายและธุรกิจจะส่งผลลบต่อเครดิตบูโรและเพื่อป้องกันไม่ให้ได้รับเงินกู้จาก MFI ตามประกาศของคณะกรรมการ CERP เงินกู้ยืมจากกองทุนสามารถสมัครได้ที่สหพันธ์หอการค้าและอุตสาหกรรมสหภาพเมียมา สำนักงานใหญ่ ภูมิภาค และสำนักงานของรัฐ ตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคมถึง 10 สิงหาคม 2563 เงินกู้นี้จะใช้สำหรับการจ่ายค่าแรงและการดำเนินธุรกิจเท่านั้น

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/covid-19-relief-plan-committee-myanmar-announces-new-k100b-loan-programme.html

สื่อนอกชี้ความท้าทาย ครม.ใหม่ เศรษฐกิจไทยตกต่ำสุดในอาเซียน

เดอะ นิคเคอิ เอเชียน รีวิว สื่อใหญ่ของญี่ปุ่น รายงานนำเสนอมุมมองที่มีต่อเศรษฐกิจไทยท่ามกลางสภาวะ “เปลี่ยนม้ากลางศึก เปลี่ยนขุนพลกลางสนามรบ” ผ่านบทความ Thailand’s rulers must act fast to reverse COVID-19 economic damage ที่เขียนโดยวิลเลียม พีเซค (William Pesek) สื่อมวลชนที่คร่ำหวอด ว่า ไทยกำลังเผชิญกับความท้าทายสุดโหดและเศรษฐกิจที่ตกต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา ใครจะเข้ามาเป็น หัวหน้าทีมเศรษฐกิจไทย หรือ โผคณะรัฐมนตรีใหม่ (ครม.) จะมีใครบ้าง จะไม่สำคัญเท่ากับการที่ไทยจะต้องปรับตัวเองให้ไว ปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจอย่างจริงจัง และขับเคลื่อนโครงการต่าง ๆ ภายใต้ยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจที่ริเริ่มไว้ให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมโดยเร็วที่สุด การไหลออกของรัฐมนตรีกระทรวงสำคัญ ๆ รวมทั้งหัวหน้าทีมเศรษฐกิจอย่าง ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ดูเหมือนว่าเหตุผลส่วนหนึ่งจะมาจากผลการทำงาน เนื่องจากคาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2563 นี้ ซึ่งเป็นปีที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรี ขับเคลื่อนรัฐนาวามาครบ 1 ปี จะหดตัวที่ร้อยละ -8.1 ทำให้เป็นไปได้ที่ไทยจะกลายเป็นประเทศที่เศรษฐกิจย่ำแย่ที่สุดในอาเซียน แต่นักวิเคราะห์ก็มองว่า ในอีกแง่หนึ่งการปรับคณะรัฐมนตรีครั้งนี้ น่าจะเป็นความพยายามสร้างความมั่นคงทางการเมือง มากกว่าจะด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ

ที่มา : https://www.thansettakij.com/content/world/442806

การเติบโตของเมียนมาที่ลดลงกว่าที่คาดไว้ในในปีนี้

เศรษฐกิจเมียนมามีแนวโน้มขยายตัวเพียง 4.3% ในปีงบประมาณ 2562-2563 เมื่อเทียบกับการคาดการณ์ของรัฐบาลที่ 7 ผลมาจากการระบาดของ COVID-19 การขยายตัวทางเศรษฐกิจชดเชยการเติบโตของจีดีพีที่ 6% ในช่วงหกเดือนแรกของปีงบประมาณซึ่งส่งผลให้ผลผลิตรวมมีเพียง 74.5 ล้านล้านจัตระหว่างตุลาคม 2562 ถึงมีนาคม 2563 ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 63% จากเดิมที่ 119 ล้านล้านจัตในช่วงเวลาดังกล่าว ในระหว่างการประชุมสภาผู้แทนราษฎร นาย U Set Aung รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการวางแผนกระทรวงการคลังและอุตสาหกรรมรายงานจากกองทุนของรัฐและเงินกู้ระหว่างประเทศจำนวน 2.8 ล้านล้านจัตถูกนำไปใช้ในการดำเนินการตามแผนบรรเทาเศรษฐกิจ COVID-19 ในปีงบประมาณ 2562-2563 เงินทุนดังกล่าวถูกนำไปใช้ในการให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสำหรับธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ ปรับปรุงระบบการดูแลสุขภาพ เงินสดและอาหารให้กับครัวเรือนที่ยากจนและสนับสนุนภาคเกษตรและปศุสัตว์

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/steeper-growth-decline-expected-myanmar-year-govt.html

เศรษฐกิจภาพรวมของกัมพูชาซบเซาในช่วงครึ่งปีแรก

ธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) กล่าวว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชาซบเซาในช่วงครึ่งแรกของปี 2020 เนื่องจากผลกระทบของการระบาด COVID-19 โดยคาดการณ์ว่า GDP ของประเทศจะหดตัวมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.9 ในปีนี้ ซึ่งผู้ว่าการ NBC กล่าวว่าเสาหลักของเศรษฐกิจกัมพูชา ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยว หรือภาคการผลิตภายในประเทศได้รับผลกระทบอยู่บ้างบางส่วน อย่างไรก็ตามภาคเกษตรกลับเติบโตเล็กน้อยใน ขณะที่ภาคการเงินก็ยังคงดำเนินธุรกิจอยู่ในทิศทางที่มีกำไร ซึ่งในรายงานครึ่งปีแรกของปี 2020 ที่เผยแพร่โดย NBC กล่าวว่าภาคการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบมากที่สุด โดยภาคการผลิตหดตัวร้อยละ 11 เมื่อเทียบปีต่อปีเนื่องจากการหยุดชะงักของอุปทานด้านวัตถุดิบขั้นพื้นฐานที่เข้มงวดขึ้น อุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการส่งออกลดลงร้อยละ 12.5 ​​และเสื้อผ้าสำเร็จรูปลดลงร้อยละ 10 แต่การผลิตสำหรับตลาดในประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.2 ซึ่งเป็นผลมาจากการบริโภคในประเทศที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผลผลิตภาคการเกษตรเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 21.7 เมื่อเทียบเป็นรายปีเนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกที่ขยายตัวและภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ลดลง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50744787/cambodias-economy-stagnant-in-first-half/

สมัชชาแห่งชาติปรับลดเป้าหมายการเติบโตเศรษฐกิจหลังการระบาด Covid-19

รัฐบาลสปป.ลาวคาดการณ์การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) อีกครั้งหลังจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจเนื่องจากการระบาดใหญ่ของ Covid-19 คณะรัฐมนตรีกำลังสรุปรายงานและคาดว่าจะลดเป้าหมายการเติบโตของ GDP ของประเทศจากร้อยละ 6.4 เหลือร้อยละ 3.3 ในปี 2563 ตามสรุปรายงานของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจแห่งชาติได้ส่งรายงานของเดือนเมษายนที่ระบุว่าจากการระบาดใหญ่ของ Covid-19 ส่งผลในทุกภาคส่วนของประเทศทั้ง แรงงานที่ตกงานจนอัตราการว่างงานเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 23 ภาคธุรกิจประสบปัญหาจนต้องปิดตัวรวมถึงภาคการท่องเที่ยวสูญเสียเงินมากกว่า 450,000 ดอลลาร์สหรัฐในช่วงสองเดือนแรกของปี 2563 ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้ GDP ของสปป.ลาวคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 3.3 ในปี 2563 ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำที่สุดในรอบ 30 ปี

ที่มา : https://laotiantimes.com/2020/06/23/national-assembly-to-address-gdp-target-amid-economic-downturn/

ADB คาดเศรษฐกิจเมียนมาขยายตัว 1.8% ในปีนี้

เศรษฐกิจเมียนมาคาดจะเติบโตเพียง 1.8% ในปี 2563 จากข้อมูลคาดการณ์ล่าสุดของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน เบื้องต้นในเดือนเมษายน ADB คาดว่าการเติบโตของ GDP จะอยู่ที่ 4.2% จากการขยายตัวที่ 6.8% ในปี 2562 ผลจากการระบาดของ COVID-19 ซึ่งรัฐบาลควรดำเนินมาตรการเชิงนโยบายเพื่อลดผลกระทบเชิงลบของ COVID-19 และรับรองว่าจะไม่มีการแพร่ระบาดระลอกใหม่ แต่เมียนมายังเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่มีอัตราการเติบโตของจีดีพีที่เป็นบวกในภูมิภาคในปีนี้หลังการคาดการณ์การเติบโตของจีดีพีของเวียดนามที่ 4.1% และคาดว่าจะฟื้นตัวในปี 2564 จะขยายตัวที่ 6% ADB คาดการณ์เศรษฐกิจปี 2564 จะโต 6.2 % แต่ยังต่ำกว่าแนวโน้มก่อนเกิดวิกฤต COVID-19

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-economy-expand-18-year-adb.html

นายกรัฐมนตรีคาดการณ์เศรษฐกิจหดตัวมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.9 ในปีนี้

นายกรัฐมนตรีฮุนเซนคาดการณ์เศรษฐกิจของประเทศอาจหดตัวมาอยู่ที่ร้อยละ 1.9 ในปีนี้ เนื่องจากการระบาดของ COVID-19 เป็นสำคัญ โดยการเติบโตของของประเทศขึ้นอยู่กับการส่งออกเสื้อผ้า, รองเท้า, การท่องเที่ยว, การก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงการเกษตร ซึ่งการส่งออกเสื้อผ้า, รองเท้าและการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากการระบาดของ Covid-19 โดยนายกรัฐมนตรียังคงมองในแง่ดีว่าเศรษฐกิจของกัมพูชาจะกลับมาอยู่ที่ร้อยละ 3.5 ในปี 2564 เนื่องจากการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปของเศรษฐกิจโลกและอุปสงค์จากต่างประเทศ โดยคาดการณ์เงินเฟ้อจะอยู่ในระดับที่สามารถจัดการได้ที่ร้อยละ 2.8 ในปีนี้และเพิ่มขึ้นเล็กน้อยถึงร้อยละ 3.1 ในปีหน้าเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันระหว่างประเทศ ซึ่งธนาคารโลกกล่าวในรายงานล่าสุดเมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาว่าเศรษฐกิจของประเทศมีแนวโน้มหดตัวระหว่างร้อยละ 1 ถึง 2.9 ในปีนี้ โดยถือเป็นอัตราการเติบโตที่ช้าที่สุดนับตั้งแต่ปี 2537 รวมถึงหน่วยงานจัดอันดับเครดิตของมูดี้ส์เมื่อเดือนที่แล้วคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อาจขยายตัวประมาณ 0.3% ในปี 2020 และ 6% ในปีหน้า

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50733913/pm-forecasts-economic-contraction-of-1-9-percent-this-year/

ธนาคารโลกชี้ปี 63 เศรษฐกิจเมียนจะชะลอ แต่จะเริ่มฟื้นในปีหน้า

รายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลกของธนาคารโลก แม้การเติบโตทางเศรษฐกิจเมียนมาคาดชะลอตัวลงถึง 1.5% ในปี 2563 เนื่องจากการระบาดใหญ่ของ COVID-19 แต่สามารถฟื้นตัวได้ถึง 6% ในปี 2564 หากการระบาดถูกควบคุมและการค้าโลกมาเป็นปกติ ปัจจุบันเมียนมาให้ความสำคัญกับการปรับปรุงการค้าและการลงทุนด้วยนโยบายที่ยืดหยุ่นในการกระตุ้นการเงินแก่ธุรกิจและส่งเสริมแพลตฟอร์มดิจิทัลภายใต้แผนบรรเทาเศรษฐกิจของ COVID – 19 (CERP) นอกจากนี้ยังสร้างความมั่นใจในการไหลเวียนของสินค้าสำคัญ เช่น อาหาร สินค้ายาและเวชภัณฑ์ในระยะสั้น ส่งเสริมการลงทุนและร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อการพัฒนาเพื่อความมั่นคงในระยะยาว การลงทุนและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-growth-slow-2020-rebound-next-year-world-bank-says.html

เมียนมาพร้อมอำนวยความสะดวกด้านการค้าภายในอาเซียน

อาเซียนรวมถึงรวมถึงเมียนมาจะร่วมกันเพื่อฟื้นฟูการเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคโดยการเสริมสร้างการค้าและความร่วมมือทางเศรษฐกิจ รวมถึงความพยายามจัดการกับอุปสรรคทางการค้าส่งเสริมการค้าและการลงทุนและขยายสาขาของความร่วมมือเพื่อลดผลกระทบทางเศรษฐกิจของ COVID-19 โดยมีผู้นำอาเซียน ญี่ปุ่น จีน และเกาหลีตกลงที่ประสานงานเพื่อลดผลกระทบทางเศรษฐกิจของการระบาดไปยังประเทศของตนและภูมิภาค ซึ่งเมียนมาจะร่วมมือกันเพื่อลดขั้นตอนการนำเข้าและส่งออกภายในภูมิภาค การอำนวยความสะดวกในการนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์สำหรับการป้องกัน COVID-19 และการยกเว้นอนุญาตให้ใช้สิทธิ์ในการนำเข้าและข้อกำหนดของ FDA (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา) ซึ่งเป็นการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาคเพื่อรักษาการหมุนเวียนของสินค้าและบริการ ยกเว้นจากการใช้มาตรการที่ไม่จำเป็นที่ส่งผลกระทบต่อการไหลเวียนของสินค้าจำเป็น เช่น อาหาร สินค้ายา และเวชภัณฑ์ในภูมิภาค

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-commits-facilitating-trade-within-asean.html

รัฐบาลอนุญาตให้ธุรกิจกลับมาเดินกิจการได้ปกติเปิดใหม่

รัฐบาลอนุญาตให้ธุรกิจกลับมาเดินกิจการได้ปกติเพื่อลดผลกระทบต่อเศรษฐกิจ แต่ผู้จัดการโครงการและธุรกิจจะต้องปฏิบัติตามมาตรการเพื่อลดการแพร่กระจายของ Covid-19 อย่างเคร่งครัด รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการวางแผนและการลงทุนดร. Kikeo Chanthaboury ซึ่งเป็นสมาชิกของคณะทำงานเฉพาะกิจที่รับผิดชอบในการจัดการกับผลกระทบทางเศรษฐกิจของ Covid- กล่าวว่า ” โครงการเหมืองแร่ 20 แห่ง, โครงการไฟฟ้า 13 แห่ง, โครงการรถไฟและทางด่วน, โรงงาน 20 แห่งในเขตพัฒนาที่ครอบคลุม ไชเชษฐาโรงงานเก้าแห่งในเขตเศรษฐกิจพิเศษ สะหวัน-เซโน และโรงงาน 4 แห่งในเขตเศรษฐกิจพิเศษจำปาสักสามารถดำเนินการต่อได้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้กลับมาเติบโต” สถาบันวิจัยเศรษฐกิจแห่งชาติและศูนย์สถิติแห่งชาติสปป.ลาวคาดการณ์ว่าการเติบโตของเศรษฐกิจจะอยู่ในช่วง 3.3-3.6% ในปีนี้ซึ่งการคาดการณ์ใหม่นี้ถือเป็นอัตราที่ลดลงจากเดิมที่คาดการณ์ไว้ถึง 7.2% ในปีนี้ลดลงมา 5.9% ซึ่งหลังจากที่สถานการณ์การแพร่ระบาดดีขึ้นแล้ว รัฐบาลจะเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจและเข้าสู่แผนการฟื้นฟูเศรษฐกิจในแต่ละด้านต่อไป

ที่มา: http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt89.php