รัฐบาลสปป.ลาวออกมาตรการยกเว้นภาษีเพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการระบาดของ COVID-19

เศรษฐกิจสปป.ลาวคาดการณ์ว่าจะชะลอตัวร้อยละ 6.1 ในปีนี้จากก่อนหน้านี้ที่คาดการณ์ว่าจะเติบโตร้อยละ 6.5 ในปีนี้ ซึ่งมาจากการแพร่ระบาดของ COVID-19ในปัจจุบันถึงแม้สปป.ลาวจะพบผู้ติดเชื้อเพียง 19 คนเท่านั้นในขณะนี้ แต่เศรษฐกิจกลับพบว่ามีผลกระทบเชิงลบอย่างมากโดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว การก่อสร้างและการผลิตทำให้รัฐบาลต้องมีการออกมาตราเพื่อบรรเทาปัญหาดังกล่าว โดยมีการออกมาตราการยกเว้นการจ่ายภาษีเป็นเวลา 3 เดือนตั้งแต่เดือนเมษายน-มิถุนายน ทั้งในส่วนภาษีของธุรกิจและภาษีเงินได้ส่วนบุคคลมาตราการดังกล่าวจะช่วยให้กระแสเงินสดของภาคธุรกิจมีมากขึ้นเพื่อนำไปหมุนเวียนในธุรกิจเพื่อรักษาธุรกิจให้รอดในสถานการณ์ปัจจุบัน เพราะภาคธุรกิจที่อยู่ในกลุ่ม SME มีมากถึงร้อยละ 90ของธุรกิจที่จดทะเบียนในสปป.ลาวหากเกิดปัญหามีการปิดตัวไปหรือล้มละลาย จะทำให้กระทบต่อเศรษฐกิจอย่างรุนแรงรวมถึงแรงงานที่อยู่ในอุตสาหกรรมก็จะได้รับผลกระทบไปด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐบาลตระหนักจึงทำให้มีการยกเว้นภาษีขึ้นมาเพื่อรักษาระบบเศรษฐกิจในขณะนี้

ที่มา : https://www.aseanbriefing.com/news/laos-issues-tax-relief-measures-mitigate-covid-19-impact/

คาดการณ์เศรษฐกิจสปป.ลาวจะหดตัวจากการผลิตการใช้จ่ายในประเทศลดลง

การเติบโตทางเศรษฐกิจในสปป.ลาวจะชะลอตัวลง เนื่องจากการผลิตและการใช้จ่ายของผู้บริโภคลดลงจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยคาดว่าการเติบโตของเศรษฐกิจจะหดตัวประมาณร้อยละ 50 แม้ว่าการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสจะถูกควบคุมได้บางส่วนแล้ว แต่ด้วยความกังวลต่อโรคและมาตราการป้องกันต่างๆ ของรัฐไม่ว่าจะเป็นการให้ประชาชนกักตัวอยู่ที่บ้านร่วมถึงการให้โรงงานต่างๆ ปิดตัวลงชั่วคราวทำให้มีแรงงานบางส่วนตกงานและโรงงานขาดรายได้ไปชั่วคราวในขณะนี้ ซึ่งนักวิชาการสปป.ลาวด้านเศรษฐศาสตร์ได้กล่าวว่า “ การคาดการณ์ว่าการเติบโตของจีดีพีในลาวจะลดลง 50% นั้นสมเหตุสมผล นอกจากการผลิตและการใช้จ่ายที่ลดลงแล้วภาคการท่องเที่ยวจะเป็นภาคที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักร่วมถงธุรกิจที่เกี่ยวข้องอย่างโรงแรม ร้านอาหารก็จะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง” ในขณะเดียวกันโครงการรถไฟที่เชื่อมต่อไปจีนที่มีกำหนดการแล้วเสร็จในปลายปีนี้ก็ต้องหยุดชะงักไปก่อน ดังนั้นจากปัจจัยต่างๆที่ได้กล่าวมาจะทำให้เศรษฐกิจสปป.ลาวหดตัวลงมากที่สุดในประวัติศาสตร์

ที่มา : https://www.rfa.org/english/news/laos/growth-04102020151706.html

รัฐบาลเมียนมาเตรียมสินเชื่อฉุกเฉินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

คณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นโดยรัฐบาลในการจัดการผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการระบาดของ COVID-19 ได้ออกแถลงการณ์ว่าภาคเศรษฐกิจจะให้ความสำคัญอย่างเร่งด่วนด้วยสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำฉุกเฉินซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยจะเน้นไปที่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม โรงแรมและธุรกิจการท่องเที่ยว และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจะได้รับสิทธิพิเศษในการกู้ยืมเงิน สินเชื่อมีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 สำหรับธุรกิจในหมวดหมู่นี้จะถูกเบิกจ่ายจากกองทุนจำนวน 100 พันล้านจัต ที่จัดตั้งขึ้นโดยรัฐบาล แบ่งออกเป็นทุนหมุนเวียน 50 พันล้านจัตและกองทุนสวัสดิการสังคม 50 พันล้านจัต ซึ่งอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 จะให้กู้เป็นระยะเวลาหนึ่งปี ผู้สมัครสินเชื่อต้องแสดงให้เห็นว่ามีการสร้างรายได้ในช่วงสองปีที่ผ่านมาและมีความสามารถในการชำระคืนเงินกู้ หากไม่สามารถชำระคืนเงินกู้จะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย สามารถสมัครได้ระหว่างวันที่ 30 มีนาคมถึง 9 เมษายน สภาหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งสหภาพเมียนมา (UMFCCI) ประกาศว่าบริษัทจะร่วมมือกับรัฐบาลในการตอบสนองต่อผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศและช่วยให้ภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดในการขอสินเชื่อรัฐบาลประกาศอย่างเป็นทางการด้วยว่าจะมีการยกเลิกภาษีล่วงหน้า 2% สำหรับการส่งออกจนถึงสิ้นปีงบประมาณ 2562-2563

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/govt-announces-priority-sectors-emergency-loans-myanmar.html

รัฐบาลมีแผนจะออกมาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อลดผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19

รัฐบาลสปป.ลาวจะมีการออกมาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 เพื่อลดผลกระทบหรือความเสียหายที่เศรษฐกิจได้รับ ถึงแม้สปป.ลาวจะเป็นประเทศในอาเซียนที่การแพร่ระบาดจะยังไม่หนักเหมือนประเทศต่างๆ ในอาเซียน แต่รัฐบาลก็ตระหนักถึงผลกระทบ เนื่องจากประเทศคู่ค้าที่สำคัญหลายๆประเทศไม่ว่าจะเป็น จีน ไทย สิงคโปร์ ฯลฯ  ทำให้การค้าต้องชะลอตัวลงส่งผลต่อเศรษฐกิจสปป.ลาวโดยรัฐบาลสปป.ลาว ได้จัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดูแลเฉพาะด้านเศรษฐกิจในช่วงนี้ขึ้นมาซึ่งจะมีการออกมาตรา 13  อย่างออกมาแก้ปัญหาโดยจะมี การรับรองการจัดการรถไฟลาว – ​​จีน,โครงการก่อสร้างทางด่วน,โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ,การอำนวยความสะดวกในการนำเข้า – ส่งออกสินค้า,การควบคุมค่าครองชีพที่มีแนวโมเพิ่มตัวต่อเนื่องจากราคาสินค้าบริโภคที่มีการปรับตัวสูงขึ้น เป็นต้น อย่างไรก็ตามยังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดเพิ่มเติมมากนักเพราะจะต้องมีการประชุมเพื่อหาข้อสรุปอีกครั้งก่อนที่จะประกาศใช้จริง

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Stimulus_58.php

เมียนมาตั้งทีมงานเยียวยาเศรษฐกิจสำหรับ Covid-19

เมียนมาได้ตั้งคณะทำงานเพื่อร่างแผนการแก้ไขผลกระทบทางเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นจาก Covid-19 โดยร่วมมือระหว่างกระทรวงและองค์กรของรัฐบาลเมื่อวันที่ 13 มีนาคมที่ผ่านมา คณะกรรมการมีหน้าที่หกประการ มีเป้าหมายเพื่อใช้มาตรการฉุกเฉินและร่างแผนระยะสั้นและระยะยาว เพื่อลดปัญหาทั้งจากการค้าและการท่องเที่ยว สร้างงานใหม่สำหรับคนที่ว่างงานทำและฝึกอบรมสายอาชีพให้ หาวิธีการนำเข้าวัตถุดิบจากประเทศอื่น ๆ แทนที่จะพึ่งพาจีน เนื่องจากเหตุการณ์ที่คล้ายกัน เช่น Covid-19 ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ในระยะยาว บริษัทจำเป็นต้องนำระบบซัพพลายเชนมาใช้โดยการจัดตั้งอุตสาหกรรมการทอผ้า การถัก การย้อม และการตัดเย็บ คณะกรรมการจะยื่นข้อเสนอต่อสำนักงานประธานาธิบดีเกี่ยวกับการยกเว้นภาษีและการลดหย่อนภาษีหาก Covid-19 มีผลกระทบต่อธุรกิจขนาดเล็กและขนาดย่อมในท้องถิ่น เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่กระจายของ Covid-19 รัฐบาลได้สั่งห้ามให้มีการชุมนุมตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคมถึง 30 เมษายน 2563

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/myanmar-president-office-forms-economic-remedy-committee-for-covid-19

รัฐบาลกัมพูชาจัดตั้งกองทุนมูลค่า 2 พันล้านเหรียญสหรัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

รัฐบาลกัมพูชาประกาศเตรียมกองทุนสำรองฉุกเฉิน 800-2,000 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อช่วยเหลือการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจของกัมพูชาหลังจากการระบาดของ COVID-19 โดยในสถานการณ์แรกได้รับงบประมาณอยู่ที่ 800 ล้านเหรียญสหรัฐ หากการระบาดดำเนินการต่อเป็นระยะเวลาหกเดือน สำหรับสถานการณ์ที่สองหากการระบาดยังคงอยู่นานกว่าหนึ่งปีจะใช้เงินจากกองทุนช่วยเหลือ 2,000 เหรียญสหรัฐ ซึ่งรัฐบาลยังคงพยายามอย่างต่อเนื่องในการเปลี่ยนแปลงการชะลอตัวที่เกิดขึ้นในภาคส่วนต่างๆของประเทศอันเป็นผลมาจากไวรัส โดยกองทุนช่วยเหลือจะได้รับการอำนวยความสะดวกจาก รัฐบาล องค์กรระหว่างประเทศ รวมถึงธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) และ IMF ประกาศว่าพวกเขาพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือทางการเงิน ซึ่ง ADB กล่าวว่า COVID-19 จะมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อเศรษฐกิจกับประเทศกำลังพัฒนาในเอเชีย โดยในกรณีที่เลวร้ายที่สุดสำหรับกัมพูชา ABD ประมาณการว่ารายได้จากการท่องเที่ยวจะลดลงถึง 856.5 ล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 3.5%  ของ GDP

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50700267/government-pledges-2billion-fund-for-economy

ลุ้นรัฐกระทุ้งงบ-ออกมาตรการฟื้นเศรษฐกิจ

วิจัยกรุงศรีฯ ลุ้นรัฐกระทุ้งงบ-ออกมาตรการฟื้นเศรษฐกิจ คาดไวรัสโควิดจบมี.ค.นี้หนุนนักท่องเที่ยวดีครึ่งปีหลัง ได้ประเมินเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกจะขยายตัวติดลบ 0.7% แต่เชื่อว่าจะกลับมาขยายตัวเป็นบวกได้ในครึ่งปีหลัง โดยคาดหวังว่าจะมีนโยบายการเงินและนโยบายการคลังเข้ามาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง ซึ่งคาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) จะลดดอกเบี้ยอีก 1 ครั้งในเดือนมี.ค.นี้เหลือ 0.75% จากปัจจุบัน 1% และรอภาครัฐออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มหลังจากงบประมาณ 63 มีผลบังคับใช้คาดกลางเดือนมี.ค.นี้ ทั้งนี้จากที่ประมาณการเศรษฐกิจไทยปีนี้จะขยายตัว 1.5% เนื่องจากภาคการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ค่อนข้างมากจนอาจกระทบต่อเนื่องถึงภาคการผลิต การจ้างงาน และการจับจ่ายใช้สอยในประเทศ ขณะเดียวกันงบประมาณ 63 ที่ล่าช้ายังส่งผลให้งบเบิกจ่ายสูญเสียไปแล้ว 1.5 แสนล้านบาท คาดหลังจากเดือนมี.ค.นี้เมื่องบประมาณ 63 มีผลบังคับใช้ โดยรัฐบาลจะต้องเร่งเบิกจ่ายให้เร็วที่สุดอาจมีเหลือ 2.8 แสนล้านบาท ซึ่งที่ผ่านมางบประมาณล่าช้ากระทบต่องบลงทุนภาครัฐและลงทุนเอกชนเพราะโครงการลงทุนภาครัฐไม่ชัดเจน มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจควรเริ่มจากช่วยกระตุ้นจับจ่ายใช้สอยในประเทศ เช่นที่ผ่านมาแจกเงินเช็คช่วยชาติ ยังทำให้ห้างร้านได้ลดราคา ให้คนที่ไม่ได้เช็คช่วยชาติได้เข้าถึงสินค้าที่ลดราคานั้นด้วย ยิ่งทำให้เกิดกำลังซื้อเพิ่มได้อีก อย่างไรก็ตามไวรัสโควิด-19 คาดจะไม่ยืดเยื้อ เชื่อว่าจะกระทบเศรษฐกิจสูงสุดเดือนก.พ.-มี.ค.นี้ และจะค่อย ๆ ลดลง หลังเดือนพ.ค.จากอัตราการแพร่กระจายจะลดลง โดยครึ่งปีหลังเมื่อไวรัสฯ กลับมาดีขึ้น จะทำให้การท่องเที่ยวจะเริ่มกลับมาดีขึ้นตามไปด้วย

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/759323

คาดว่าเศรษฐกิจสปป.ลาวจะเติบโตที่ร้อยละ 6.3 ในปี 2020

ศูนย์วิจัยนโยบายเศรษฐกิจมหภาคและการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจภายใต้สถาบันวิจัยเศรษฐกิจแห่งชาติ คาดการณ์เศรษฐกิจสปป.ลาวจะขยายตัวร้อยละ6.3-6.4 ในปีนี้โดยปัจจัยขับเคลื่อนการเติบโตที่สำคัญหลายประการ ทั้งการผลิตกระแสไฟฟ้าโดยโรงไฟฟ้าพลังน้ำ Xayaboury ซึ่งเริ่มดำเนินการในเดือนธันวาคม การพัฒนาของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและเกษตรกรรมรวมถึงภาคการท่องเที่ยวมีอัตราการเติบโต 14% ในปี 2562 โดยมีผู้มาเที่ยวลาวประมาณ 4.7 ล้านคน โดยปี 63 ต้องดูสถานการณ์ของไวรัสโคโรน่าว่ามีท่าทีจะส่งผลต่อการท่องเที่ยวสปป.ลาวหรือไม่   

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Macroeconomic.php

IMF ชี้ แม้เมียนมาแม้จะเติบโตแต่ยังเต็มไปด้วยความเสี่ยง

เศรษฐกิจเมียนมามีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่สะดุดด้วยความไม่แน่นอนก่อนการเลือกตั้งทั่วไปในปีหน้าและความต้องการภาคเอกชนที่ลดลงตามรายงานของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) นักเศรษฐศาสตร์อ้างถึงความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากวิกฤติยะไข่และจุดอ่อนในภาคธนาคาร ความตึงเครียดทางการค้าที่เพิ่มขึ้น ความผันผวนของตลาดโลกราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้น และการรั่วไหลจากการชะลอตัวของจีนยังคงมีความเสี่ยงจากต่างประเทศ IMF คาดจะเติบโต 6.5% ในปี 61-62 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 6.4% ในปี 60-61 จากการส่งออกอย่างต่อเนื่อง เช่น เสื้อผ้าก๊าซ ด้าน FDI น้อยกว่าปีที่ผ่านมาเพราะโครงการต่างๆ ล้วนเสร็จสิ้นแล้ว ส่วนเงินเฟ้อจะลดลงสู่ระดับ 6-7% ในระยะปานกลางเนื่องจากราคาอาหาร ค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้น สินเชื่อที่ชะลอตัว และการลงทุนที่ลดลง ไอเอ็มเอฟเรียกร้องให้การปรับโครงสร้างธนาคารควรปฏิบัติตามกฎระเบียบให้รอบคอบ จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการทำความสะอาดในที่สุด และควรใช้ความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับเอกชนหรือ PPP เพื่อปรับปรุงกรอบการเลือกโครงการและสร้างความมั่นใจในความคุ้มค่าผ่านการเสนอราคาที่แข่งขันได้ซึ่งเป็นไปตามกฎระเบียบของโครงการธนาคารปี 61

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/imf-sees-stable-growth-risks-lie-ahead-myanmar.html