เวิลด์แบงก์ คาด GDP ไทยปี 65 ฟื้นโต 3.9% จาก 1% ในปี 64 ก่อนโตเพิ่ม 4.3% ปี 66

ธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) ประจำประเทศไทย ปรับเพิ่มคาดการณ์อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ (GDP) ของไทยในปี 65 เป็น 3.9% จากเดิมที่คาดไว้ 3.6% ซึ่งเป็นการฟื้นตัวจากปี 64 ที่คาดว่าจะเติบโตได้ราว 1% ก่อนที่ปี 66 จะเติบโตเพิ่มขึ้นเป็น 4.3% ขณะที่คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะยังอยู่ในระดับที่สามารถควบคุมได้

ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยในปี 65 และ 66 ได้แรงขับเคลื่อนจากการฟื้นตัวของกิจกรรมภาคบริการ การบริโภคภาคเอกชน และการท่องเที่ยวที่กลับมาเพิ่มขึ้น โดยคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 7 ล้านคนในปี 65 โดยจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงครึ่งหลังของปีและเพิ่มขึ้นอีกในปี 66 เป็นประมาณ 20 ล้านคนหรือประมาณครึ่งหนึ่งของระดับนักท่องเที่ยวในปี 62 ซึ่งเป็นช่วงก่อนเกิดวิกฤติโควิด

ที่มา : https://www.infoquest.co.th/2021/154784

‘ธนาคารโลก’ ชี้เวียดนามควรเร่งฉีดวัคซีนและดำเนินนโยบายการคลัง เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ

ตามรายงาน “Vietnam Macro Monitoring” ของธนาคารโลก เปิดเผยว่าการใช้ชีวิตอย่างปลอดภัยควบคู่กับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 อย่างรวดเร็ว พร้อมกับการดำเนินนโยบายการคลัง คาดว่าจะช่วยให้เศรษฐกิจในประเทศกลับมาฟื้นตัวได้ สำหรับผลกระทบเชิงลบจากการแพร่ระบาดของเชื้อโรค ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมดีดตัวขึ้นในเดือน พ.ย. หลังจากปรับตัวเพิ่มขึ้น 5.5% แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการกลับมาฟื้นตัว และยังสะท้อนให้เห็นถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจในจังหวัดภาคใต้

ทั้งนี้ ยอดจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่ในเดือน พ.ย. ก็เพิ่มขึ้น 45% ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นสองเดือนติดต่อกัน นับจากเดือน พ.ค. นอกจากนี้ ประเด็นการส่งออก พบว่ายอดส่งออกเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 31.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ ส่งผลให้เกินดุลการค้า 1.3 พันล้านเหรียญสหรัฐในเดือน พ.ย. เป็นผลมาจากการส่งออกที่ขยายตัวเร่งขึ้นจาก 6.1% ในเดือน ต.ค. มาอยู่ที่ 26.5% ในเดือน พ.ย.

อย่างไรก็ตาม ธนาคารโลกได้ให้ความสำคัญอย่างมากต่อแผนการฉีดวัคซีนแบบเร่งด่วน การใช้มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมและการกักกันโรค เพื่อลดความเสี่ยงของการระบาดระลอกใหม่

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/wb-push-for-rapid-vaccination-and-fiscal-policy-support-to-help-reboot-economy-911545.vov

กัมพูชานำเข้าวัตถุดิบในการผลิตเสื้อผ้าแตะ 3.5 พันล้านดอลลาร์

ภาคการผลิตเครื่องนุ่งห่มในกัมพูชา ถือว่ามีผลการดำเนินงานที่ดีทั้งในด้านการผลิต การส่งออก และการเติบโตของคำสั่งซื้อ ในขณะที่การนำเข้าวัตถุดิบสำหรับการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 25 หรือคิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 3.5 พันล้านดอลลาร์ ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ จากข้อมูลล่าสุดของธนาคารโลกด้านเศรษฐกิจสำหรับกัมพูชา โดย Kaing Monica รองเลขาธิการสมาคมผู้ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปแห่งกัมพูชา อ้างจากสื่อท้องถิ่นว่าการนำเข้าวัตถุดิบสำหรับการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่เพิ่มขึ้นในปีนี้ สอดคล้องกับการเติบโตของการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปและผลิตภัณฑ์เพื่อการเดินทาง ซึ่งกล่าวว่าการเติบโตในแต่ละภาคส่วนแตกต่างกันเล็กน้อย โดยเสื้อผ้าเห็นการเติบโตต่ำสุดประมาณร้อยละ 5 ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ แต่สินค้าประเภทรองเท้าปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 15 และสำหรับผลิตภัณฑ์ท่องเที่ยว มีการเติบโตมากที่สุดถึงกว่าร้อยละ 30% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งโดยทั่วไปแล้วเสื้อผ้าถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการเติบโตค่อนข้างต่ำ โดยการเติบโตได้แรงหนุ่นจากการส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 31.9 ที่มูลค่า 3.4 พันล้านดอลลาร์ ณ เดือน ก.ย. ปีนี้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50988017/fabric-imports-for-garment-industry-rises-to-3-5-billion-in-first-nine-months-of-the-year/

ธนาคารโลกคาดเศรษฐกิจกัมพูชาเติบโตร้อยละ 2.2 ในปี 2021

ธนาคารโลกคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชาที่ร้อยละ 2.2 ในปีนี้ ซึ่งภาคบริการ โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบมากที่สุด รองลงมาคือภาคการก่อสร้าง และอสังหาริมทรัพย์ ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งส่งผลทำให้เศรษฐกิจกัมพูชาเติบโตอย่างชะลอตัว โดยปัจจัยในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชา คือ ภาคอุตสาหกรรมการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป สินค้าสำหรับเดินทาง รองเท้า และจักรยาน ตลอดจนภาคการเกษตร ที่มีส่วนช่วยในการหนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ตามรายงาน “Living with Covid-19” ซึ่งเป็นข้อมูลล่าสุดของธนาคารโลกที่รายงานเกี่ยวกับเศรษฐกิจของกัมพูชา แต่อย่างไรก็ตามธนาคารโลกได้ทำการคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชาไว้ที่ร้อยละ 4.5 ในปี 2022 โดยยังคงต้องติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงสำคัญในการฉุดรั้งการเติบโตทางเศรษฐกิจ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50986115/world-bank-projects-slow-growth-for-cambodias-economy-in-2021/

‘ธนาคารโลก’ หั่น GDP เวียดนามปีนี้ 2-2.5%

ธนาคารโลกปรับลดตัวเลขคาดการณ์ GDP เวียดนามในปีนี้ลงเหลือ 2-2.5% เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 หดตัวลงอย่างมากและคาดว่าเศรษฐกิจจะกลับมาฟื้นตัวในไตรมาสที่ 4 สำหรับสภาวะตลาดแรงงานแย่ลงอย่างเห็นได้ชัด ชี้ให้เห็นถึงผลกระทบจากการล็อกดาวน์ที่ยืดเยื้อ ในขณะที่จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่เริ่มลดลง ทำให้เมืองฮานอยและหลายๆจังหวัดได้ผ่อนคลายข้อจำกัดที่เข็มงวด ทั้งนี้ เงินเฟ้อยังคงอ่อนตัว ท่ามกลางอุปสงค์ในประเทศที่อ่อนแอ ขณะที่เงินดองเวียดนามแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย การเติบโตของสินเชื่อชะลอตัว เนื่องจากความต้องการสินเชื่อลดลง ซึ่งเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัว นอกจากนี้ ธนาคารโลกแนะนำให้รัฐบาลเวียดนามระดมตรวจเชื้อและเร่งฉีดวัตซีนในวงกว้าง ตลอดจนควรใช้นโยบายการคลังเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/wb-lowers-vietnams-gdp-growth-forecast-to-225-percent-this-year/209673.vnp

ธนาคารโลกชี้การเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามชะลอตัว ตามอายุของประชากร

ตามรายงานภายใต้ชื่อ “เวียดนาม: การปรับตัวเข้าสู่สังคมสูงวัย” ร่วมจัดจัดทำโดยธนาคารโลก (WB) และองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) เวียดนามกำลังก้าวเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงทางประชากรของสังคมผู้สูงวัยไปก่อนหน้าของการยกระดับเศรษฐกิจและรายได้ต่อหัวที่อยู่ในระดับต่ำกว่าประเทศอื่นๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะเดียวกัน ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาอัตราการเกิดที่ลดลงและอายุเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น ผู้สูงอายุอาจมีสัดส่วนของประชากร 10-20% ของประชากรทั้งประเทศในปี 2578 ในขณะที่ด้านการใช้จ่ายของสังคมสูงวัย จะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 1.4-4.6% ของ GDP นอกจากนี้ เวียดนามจำเป็นต้องหาแนวทางจัดการกับสังคมผู้สูงวัย โดยอิงจากบทเรียนของประเทศอื่นที่เคยประสบปัญหากับการเปลี่ยนแปลงของประชากร โดยเฉพาะญี่ปุ่น ตลอดจนปรับปรุงกำลังแรงงานและดำเนินตามนโยบาย 4 ด้านที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการเติบโตของผู้สูงอายุ ได้แก่ ตลาดแรงงาน เงินบำนาญ สุขภาพและการดูแลผู้สูงอายุ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1052936/viet-nams-economy-to-slow-as-population-ages-wb-report.html

เศรษฐกิจภูมิภาคยังชะลอตัว ด้านสปป.ลาวเศรษฐกิจเริ่มมีฟื้นตัว

ธนาคารโลกระบุ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก ซึ่งรวมถึงในสปป.ลาว ซึ่งสร้างลกระทบให้กับบริษัทและภาคครัวเรือนยาวนานขึ้น ตามข้อมูลอัปเดตเศรษฐกิจเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกในฤดูใบไม้ร่วงปี 2564 ของธนาคารโลกกิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มชะลอตัวลงในไตรมาสที่สองของปี 2564 และการคาดการณ์การเติบโตได้รับการปรับลด ในส่วนสปป.ลาวการเติบโตของ GDP ในสปป.ลาวคาดว่าจะฟื้นตัวเป็น 2.2% ในปี 2564 เพิ่มขึ้นจาก 0.5% ในปี 2563 การคาดการณ์นี้ได้รับการแก้ไขลงจากการเติบโต 4% ที่คาดการณ์ไว้ในเดือนมีนาคม 2564 เนื่องจากการระบาดของโควิดครั้งล่าสุดยังคงรุนแรงและควบคุมไม่ได้ ปัจจัยภาคเกษตรและอุตสาหกรรมคาดว่าจะขับเคลื่อนการเติบโตของสปป.ลาว จากการสนับสนุนจากอุปสงค์จากภายนอก เนื่องจากคู่ค้ารายสำคัญจะค่อยๆ ฟื้นตัว

ที่มา : เศhttps://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Economic_190.php

ธ.โลกหั่นคาดการณ์ศก.เอเชียตะวันออกเหตุโควิดสายพันธุ์เดลตาฉุดการเติบโต

ธนาคารโลกเปิดเผยรายงาน “East Asia and Pacific Fall 2021 Economic Update” โดยระบุว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา และคาดว่าปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลให้การขยายตัวของเศรษฐกิจอ่อนแรงลง และเพิ่มความไม่เท่าเทียมกันในภูมิภาคเหล่านี้ ทั้งนี้ ‘มานูเอลา เฟอร์โร’ ประธานธนาคารโลกฝ่ายกิจการเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกกล่าวว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกกำลังเผชิญกับความพลิกผันในอนาคต ในปี 2563 นั้น ภูมิภาคแห่งนี้สามารถควบคุมการระบาดของโควิด-19 ได้ในขณะที่ภูมิภาคอื่น ๆ ยังไม่สามารถควบคุมได้ แต่ในปี 2564 นี้ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกกำลังเผชิญกับยอดผู้ติดเชื้อที่สูงขึ้น ซึ่งส่งให้การเติบโตของเศรษฐกิจในภูมิภาคอ่อนแอลง

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/962527

กัมพูชาร้องของการสนับสนุนภาคการเกษตรจากธนาคารโลก

กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงได้ขอความช่วยเหลือจากธนาคารโลก ในการพัฒนาภาคเกษตรกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการผลิตพืชผักและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ซึ่งรัฐมนตรี Veng Sakhon ได้ร้องขอในที่ประชุมกับ Maryam Salim ผู้อำนวยการธนาคารโลก ที่เพิ่งได้รับการแต่งตั้งใหม่ประจำประเทศกัมพูชา โดยรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรฯ ขอให้ธนาคารโลกพิจารณาช่วยเหลือการพัฒนาภาคการเกษตรในกัมพูชา ในด้านการสนับสนุนในห่วงโซ่การผลิตผัก ความทันสมัย ​​และการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ด้วยการเพิ่มผลผลิต เพิ่มคุณภาพและความปลอดภัย และเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของห่วงโซ่การผลิตให้เป็นไปตามมาตรฐานที่จำเป็นสำหรับการส่งออกผลิตภัณฑ์ของกัมพูชาไปยังตลาดต่างประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50936038/cambodia-seeking-world-bank-support-for-agriculture/

ธนาคารโลกเน้นย้ำโอกาสและความท้าทายของเศรษฐกิจสปป.ลาว

ตามรายงานของธนาคารโลกฉบับใหม่ ระบุว่าเศรษฐกิจลาวคาดว่าจะเติบโตที่ 3.6% ลดลงจากการตัวเลขคาดการณ์การเติบโตที่ 4% ในเดือนมีนาคม 2564  การฟื้นตัวคาดว่าจะได้รับการสนับสนุนจากการเติบโตของการส่งออกที่แข็งแกร่ง เนื่องจากอุปสงค์ภายนอกฟื้นตัว ด้านภาคบริการก็มีการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปแต่จะกลับมาขยายตัวได้ดีในอนาคตเมื่อมีการเปิดประเทศรับนักท่องที่ยว ด้านการลงทุนคาดว่าหลังจากการสิ้นสุดของการรถไฟลาว-จีนในปีนี้ จะมีส่วนส่งเสริมสปป.ลาวอย่างยิ่งในการเติบโตด้านเศรษฐกิจและความแข็งด้านการเชื่อมต่อกลับพรหมแดนนูมิภาค นอกจากนี้ยังมีแผนการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ เช่น ทางด่วนระหว่างอำเภอวังเวียงในแขวงเวียงจันทน์กับชายแดนลาว-จีน และเส้นทางภาคใต้อื่นๆ ด้านการส่งออกจะได้รับประโยชน์จากช่วยเหลือและการให้โควต้าของจีนและการลงนามในความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค อย่างไรก็ตามสถานการณ์โควิดในปัจจุบันจะเป็นปัจจัยในเชิงลบต่อเศรษฐกิจของสปป.ลาว ดังนั้นรัฐบาลจึงต้องให้ความสำคัญทั้งในด้านสาธารณะสุขที่ต้องมีประสิทธิภาพควบคู่ไปกับแผนการฟื้นฟูและพัฒนาเศรษฐกิจ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_World176.php