‘กรมเจรจาฯ’ ลงใต้หนุนสินค้าช้างเผือกปัตตานี ใช้ประโยชน์จาก FTA เจาะตลาดอาเซียน

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ลงพื้นที่จังหวัดปัตตานี พบผู้ประกอบการสินค้าศักยภาพ ทั้งประมงพื้นบ้าน ทอผ้า และเลี้ยงปลาสลิด แนะพัฒนาผลิตภัณฑ์ ยกระดับสินค้าเฉพาะถิ่น ชี้! โอกาสเจาะตลาดอาเซียนสูง โดยเฉพาะประเทศแถบชายแดนใต้ อย่างมาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย พร้อมชี้ช่องใช้ประโยชน์จาก FTA ขยายส่งออกเพิ่มเพื่อเพิ่มแต้มต่อทางการค้าและยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับสินค้าไทย การลงพื้นที่ครั้งนี้ ได้ทราบถึงความสามารถในการผลิตสินค้าท้องถิ่นที่มีศักยภาพ โดยกรมฯ ได้ให้ข้อมูลและองค์ความรู้ด้านต่างๆ ที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ประกอบการ ทั้งเรื่องกฎระเบียบทางการค้าระหว่างประเทศ การจัดทำแผนธุรกิจ การตลาด และด้านบุคลากร พร้อมทั้งเน้นให้ความสำคัญกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องเพื่อการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการท้องถิ่นให้มีมาตรฐานเทียบเคียงต่างประเทศ

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/beco/3208192

5สัญญาณรัฐประหารทุบเศรษฐกิจเมียนมา

การรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือนของกองทัพเมียนมาเมื่อวันที่ 1ก.พ.ที่ทำให้ดินแดนนี้ตกอยู่ในสภาพวุ่นวาย มีการชุมนุมประท้วงทุกวันและมีการปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมและทหาร-ตำรวจแทบทุกวัน ส่งผลให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก ที่สำคัญกว่านั้น การรัฐประหารที่เกิดขึ้นกำลังสร้างความเสียหายแก่เศรษฐกิจของเมียนมา จากข้อมูลของสหประชาชาติ(ยูเอ็น)บ่งชี้่ว่าเมียนมา ยังคงเป็นหนึ่งในประเทศพัฒนาน้อยที่สุดของโลกแต่การที่เมียนมาค่อยๆปรับเปลี่ยนไปสู่ระบอบประชาธิปไตยก็สร้างความหวังแก่โลกว่าในไม่ช้าเศรษฐกิจของเมียนมาจะเติบโตเหมือนเพื่อนบ้านในอาเซียน ขณะที่ ตั้งแต่สิงคโปร์ ประเทศที่เข้าไปลงทุนโดยตรงในเมียนมารายใหญ่สุด จนถึงญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่ายังมองไม่เห็นอนาคตของเมียนมา เนื่องจากคนงานจำนวนมากในเมียนมา ถ้าไม่ผละงานออกไปร่วมชุมนุมประท้วงเพื่อต่อต้านรัฐประหารก็หนีกลับบ้านเกิดในช่วงที่ทางการใช้กำลังเข้าปราบปราม สิ่งเหล่านี้ทำให้กิจกรรมทางธุรกิจสะดุ ทั้งนี้ 5 สัญญาณที่บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจของเมียนมาได้รับผลกระทบจากการทำรัฐประหารยึดอำนาจของกองทัพ 1) ดัชนีพีเอ็มไอร่วงต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ 2) การจดทะเบียนธุรกิจใหม่ลดลง86% 3) การลงทุนหดหาย 4) ปริมาณการค้าหุ้นดิ่ง60% 5) ความสามารถในการตรวจโควิดลด90%

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/927525

ค้าชายแดน-ผ่านแดน ฟื้น ม.ค.เพิ่ม 21.90% คาดแนวโน้มโตต่อ

นายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า การค้าชายแดนและผ่านแดนของไทย เดือนม.ค.2564 มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 128,849 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21.90% แบ่งเป็นการส่งออก 74,325 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 24.91% และการนำเข้า 54,524 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18.02% ได้ดุลการค้า 19,801 ล้านบาท และหากแยกเฉพาะการค้าชายแดนชายแดน มีมูลค่า 72,224 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.81% และการค้าผ่านแดน มูลค่ารวม 56,625 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 48.69% ซึ่งเป็นการขยายตัวเป็นบวก 2 เดือดติดต่อกันนับจากธ.ค.2563 และยังสอดคล้องกับทิศทางการส่งออกที่ขยายตัวเป็นบวก 2 เดือนเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ หากดูรายละเอียดการค้าชายแดนของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน (มาเลเซีย เมียนมา สปป.ลาว และกัมพูชา) ที่มีมูลค่า 72,224 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.81% พบว่ามาเลเซียยังคงเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่ง มีมูลค่าการค้า 26,736 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 32.65%, สปป.ลาว มูลค่า 16,771 ล้านบาท ลดลง 8.13%, เมียนมา มูลค่า 13,655 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.90% และกัมพูชา มูลค่า 15,063 ล้านบาท ลดลง 3.90%

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/927263

“พาณิชย์”เร่งหาตลาดผลไม้ล่วงหน้า ตั้งเป้าขาย 1,840 ล้านบาท

นายสมเด็จ สุสมบูรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) เปิดเผยว่า กรมฯ ได้กำหนดจัดกิจกรรมจับคู่ธุรกิจสินค้าผลไม้สดและแปรรูปออนไลน์ ในวันพฤหัสบดีที่ 25 มี.ค.2564 ซึ่งเป็น 1 ใน 14 แผนงานเร่งด่วน ของกระทรวงพาณิชย์ ด้านการส่งเสริมสินค้าเกษตรคุณภาพ ภายใต้วิสัยทัศน์ เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด โดยใช้ยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิต ในการเร่งหาตลาดล่วงหน้าในการรองรับฤดูผลผลิตผลไม้ที่กำลังออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก เช่น ทุเรียน มังคุด มะม่วง ลำไย มะพร้าว เป็นต้น และผลักดันให้ราคาผลไม้ปรับตัวสูงขึ้น พร้อมสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าผลไม้ไทย และบรรเทาความเดือดร้อนให้กับผู้ประกอบการและเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 นอกจากนี้ ในการจัดกิจกรรม จะได้นำผลการเจรจาไปต่อยอดการเซ็นสัญญาข้อตกลงการซื้อขาย (Memorandum of Purchasing : MOP) หรือข้อตกลงการส่งมอบสินค้า (Memorandum of Delivery : MOD) ในงานมหกรรมผลไม้ภาคตะวันออก ประจำปี 2564 ณ จังหวัดจันทบุรี ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 8-12 เม.ย.2564 ซึ่งกรมฯ ได้ร่วมกับกรมการค้าภายใน องค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรี และสมาคมการค้าผลไม้ยุคใหม่ จัดกิจกรรมต่างๆ ประกอบด้วย การประชุมติดตามมาตรการด้านสุขอนามัยในการเก็บ บรรจุ และขนส่งสินค้าผลไม้ในสถานการณ์โควิด-19 การเตรียมพร้อมทางด้านโลจิสติกส์เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการในฤดูผลไม้ออกสู่ตลาด การปล่อยคาราวานรถบรรทุกผลไม้ส่งออกที่ผ่านการฆ่าเชื้อโควิด-19 และพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงซื้อขายผลไม้ส่งออก โดยมีนายจุรินทร์ เป็นประธาน และยังมีกิจกรรมการออกคูหาขายสินค้าผลไม้และผลิตภัณฑ์ประจำจังหวัด การจับคู่เจรจาเสนอซื้อขายผลไม้ในฤดูระหว่างเกษตรกรชาวสวนภาคตะวันออก และล้ง โรงแพ็กด้วย

ที่มา : https://www.thansettakij.com/content/471725

มณฑลจื้อเจียงรุกจัดงานแสดงสินค้าออนไลน์ เร่งดันไทยเป็นประตูการค้าบุกอาเซียน

สำนักงานพาณิชย์แห่งมณฑลจื้อเจียงจัดงานแสดงสินค้าออนไลน์ 2021 Zhejiang Export Online Fair (Thailand ? Hardware &Electromachanical) ฝ่าวิกฤติโควิด-19 โดยตั้งเป้าให้ประเทศไทยเป็นประตูการค้าในการขยายตลาดอาเซียน ภายหลังความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรือ RCEP มีผลบังคับใช้งาน 2021 Zhejiang Export Online Fair (Thailand – Hardware&Electromachanical Products) ได้รับความสนใจจากบริษัทผู้ผลิตชั้นนำด้านเครื่องจักร เครื่องมือกล และอุปกรณ์ จากมณฑลจื้อเจียงกว่า 40 บริษัท ที่มองหาพันธมิตรและคู่ค้าในประเทศไทย นอกจากการนำเสนอผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีในรูปแบบออนไลน์แล้ว ยังมีการเจรจาธุรกิจออนไลน์ผ่านโปรแกรมซูมกับผู้ประกอบการไทยตลอดระยะเวลา 5 วันของการจัดงาน โดยคาดว่าจะมีการประชุมเจรจาธุรกิจออนไลน์ไม่ต่ำกว่า 200 รอบ และนำไปสู่มูลค่าการซื้อขายที่ไม่ต่ำกว่า 5 ล้านดอลลาร์ภายหลังการลงนามความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน ได้นำไปสู่การลดภาษีของสินค้ากว่า 90% เป็นศูนย์ ซึ่งเอื้อประโยชน์ทางการค้าระหว่างจีนและอาเซียนเป็นอย่างมาก โดยปัจจุบันมูลค่าการค้าอาเซียน-จีนมีมูลค่าเกือบ 13 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มีสัดส่วนเป็นเกือบ 60% ของการค้าในภูมิภาคเอเซีย และ 13% ของมูลค่าการค้าโลก ซึ่งถือได้ว่าเป็นเขตการค้าเสรีที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลก รองจากสหภาพยุโรป และ เขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ หรือ NAFTA ดังนั้นประเทศไทยจึงเป็นประเทศยุทธศาสตร์สำหรับการเปิดประตูสู่การค้ากับประเทศสมาชิกอาเซียนได้เป็นอย่างดี

  ที่มา : https://www.ryt9.com/s/iq03/3207095

รมต.อาเซียน เร่งแผนฟื้นศก.หลังโควิด เน้นลดอุปสรรค-ขยายบัญชีสินค้าจำเป็น-เตรียมการค้าดิจิทัล

นายสรรเสริญ สมะลาภา ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้รับมอบหมายจากนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ ให้เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (AEM Retreat) ครั้งที่ 27 ที่ประชุมเห็นชอบแผนดำเนินการสำคัญทางเศรษฐกิจของอาเซียน (Priority Economic Deliverable: PED) ตามข้อเสนอของบรูไนดารุสซาลาม ในฐานะประธานอาเซียนปีนี้ ภายใต้แนวคิด “We share, We prepare, We prosper” ซึ่งมียุทธศาสตร์ 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการฟื้นฟู อาทิ การจัดทำเครื่องมือในการประเมินประสิทธิภาพของมาตรการที่มิใช่ภาษี (NTMs) ของประเทศสมาชิกอาเซียน การจัดทำแผนฟื้นฟูการท่องเที่ยวหลังการระบาดใหญ่ของโควิด-19 และการประกาศเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-แคนาดา 2) ด้านการเป็นดิจิทัล อาทิ การจัดทำแผนงานเพื่อดำเนินการตามความตกลงว่าด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน ปี 2564 – 2568 และ 3) ด้านความยั่งยืน อาทิ การจัดทำกรอบการส่งเสริมผู้ผลิตรายย่อย สหกรณ์ และ MSMEs ของอาเซียน ในด้านอาหาร การเกษตร และป่าไม้ การจัดทำกรอบเศรษฐกิจหมุนเวียนของอาเซียน นอกจากนี้ ยังได้เร่งรัดการดำเนินการตามแผนฟื้นฟูของอาเซียนภายหลังโควิด-19 เน้นการลดอุปสรรคการค้า เชื่อมโยงสินค้าที่สำคัญ โดยเฉพาะตกลงขยายบัญชีสินค้าจำเป็นเพิ่มเติมจากยาและเวชภัณฑ์ เพื่อไม่ให้มีข้อจำกัดด้านการไหลเวียนของสินค้าที่จำเป็นในช่วงโควิด-19 การเร่งเตรียมความพร้อมด้านการค้าดิจิทัล และหาทางให้อาเซียนขยายความสำคัญของการอยู่ในห่วงโซ่มูลค่าโลก (Global Value Chain)

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/iq03/3205639

เปิดทิศทางความร่วมมือระหว่างจีน-อาเซียน ปี 2021

ความร่วมมือ “จีน-อาเซียน” ในปี 2021 เปิดโอกาสใหม่ในการปรับปรุงรวมทั้งยกระดับความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างกัน และการขยายความร่วมมือเชิงปฏิบัติที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น พล.ต.ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านยุทธศาสตร์และการป้องกันประเทศ และผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ได้ประมวลและนำเสนอข้อมูลวิเคราะห์เกี่ยวกับความร่วมมือจีน – อาเซียนจะดำเนินไปอย่างไรในปี ๒๐๒๑ (พ.ศ.๒๕๖๔) ตอนที่ ๑ เช่น ความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ “ภายใต้สถานการณ์ใหม่จีนถือว่าอาเซียนเป็นทิศทางลำดับความสำคัญของการทูตเพื่อนบ้านและการก่อสร้างร่วมกันที่มีคุณภาพสูงของพื้นที่สำคัญ “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” (ข้อริเริ่ม “สายแถบและเส้นทาง” “Belt and Road Initiative : BRI) สนับสนุนการสร้างประชาคมอาเซียนสนับสนุนตำแหน่งศูนย์กลางของอาเซียนในความร่วมมือเอเชียตะวันออกและ สนับสนุนอาเซียนในการสร้างโครงสร้างภูมิภาคที่เปิดกว้างและครอบคลุมมีบทบาทมากขึ้น” และ “จีนจะขยายการเปิดสู่โลกภายนอกอย่างไม่หยุดยั้ง เพิ่มผลการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจภายในและระหว่างประเทศและขับเคลื่อนการฟื้นตัวร่วมกันของโลกด้วยการฟื้นตัวของตนเองและทุกประเทศในโลกรวมทั้งอาเซียนจะได้รับประโยชน์” เป็นต้น

ที่มา : https://www.thansettakij.com/content/columnist/467241

สภาธุรกิจสหรัฐฯ-อาเซียน พร้อมร่วมมือลงทุนสร้างเศรษฐกิจดิจิทัล ขับเคลื่อนนโยบายอุตฯ 4.0

กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) ร่วมหารือคณะนักธุรกิจจากสภาธุรกิจสหรัฐอเมริกา-อาเซียน (US-ASEAN Business Council: USABC) พร้อมร่วมมือกับรัฐบาลไทยลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อสร้างเศรษฐกิจดิจิทัล มุ่งยกภาคอุตสาหกรรมเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 และสนับสนุนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เพื่อสร้างแรงจูงใจในการลงทุนในไทยต่อไป นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า คณะนักธุรกิจจากสภาธุรกิจสหรัฐอเมริกา-อาเซียน (US-ASEAN Business Council: USABC) นำโดยนายไมเคิล มิคาลัก รองประธานอาวุโสและกรรมการผู้จัดการภูมิภาค สภาธุรกิจ USABC พร้อมด้วยนักธุรกิจชั้นนำของสหรัฐฯ และผู้แทนจากบริษัท รวม 38 บริษัท ได้เข้าหารือกับกระทรวงอุตสาหกรรมแบบกึ่งออนไลน์ โดยพร้อมให้ความร่วมมือและสนับสนุนรัฐบาลไทยเพื่อลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลและยกระดับอุตสาหกรรม 4.0 การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable development) ทั้งนี้การยกระดับภาคอุตสาหกรรมไทยไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 จำเป็นต้องสร้างปัจจัยแวดล้อมเพื่อรับรองการทำธุรกิจยุคดิจิทัล

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/prg/3184086

กนอ.เปิดยุทธศาสตร์5ปีตั้งตัวเป็นหน่วยงานหนุนการลงทุน

5 ต.ค. 2563 นายอัฐพล จิรวัฒน์จรรยา รองผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.) เปิดเผยในงานสัมมนาทิศทางและแผนยุทธศาสตร์ กนอ. ประจำปีงบประมาณ 2564 ว่า กนอ.จะเดินหน้าแผนยุทธศาสตร์ กนอ. ระยะ 5 ปี(2564-68) วงเงินลงทุนประมาณ 60,000-70,000 ล้านบาท เพื่อขับเคลื่อนกนอ.ให้เป็นหน่วยงานขับเคลื่อนการลงทุนของประเทศให้สอดรับเทคโนโลยี 5 จีเป็นดิจิทัลแพลตฟอร์มที่เป็นเทรนด์ของทั่วโลก ส่งผลให้นิคมอุตสาหกรรมของไทยติดอันดับ 1 ใน 3 ของอาเซียน วงเงินลงทุนของกนอ.ช่วง 5 ปี ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในท่าเรือมาบตาพุดเฟส3 ขณะที่ปีงบประมาณ 2564 อยู่ที่ประมาณ 1,200 ล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนนิคมฯสมาร์ทปาร์คช่วงเริ่มก่อสร้าง 800 ล้านบาท ลงทุนด้านดิจิทัล 200 ล้านบาท และอื่นๆ 200 ล้านบาทสำหรับความร่วมมือกับผู้พัฒนาเทคโนโลยี 5 จีในนิคมอุตสาหกรรม เบื้องต้นตามยุทธศาสตร์นี้กนอ.จะนำ 5 จีมาพัฒนานิคมฯของกนอ.รวม 5 แห่ง ประกอบด้วย นิคมฯมาบตาพุด นิคมฯแหลมฉบัง นิคมฯบางปู นิคมฯลาดกระบัง นิคมฯภาคเหนือ รองรับการลงทุนอในอุตสาหกรรมเป้าหมาย(เอส-เคิร์ฟ) ขณะที่นิคมฯของภาคเอกชนอยู่ระหว่างการพัฒนาเช่นกัน  

ที่มา : https://www.thaipost.net/main/detail/80656

โพลชี้บริษัทยุโรปสนใจลงทุนในอาเซียนน้อยลง

สภาธุรกิจสหภาพยุโรป-อาเซียน (EU-ABC) เปิดเผยผลสำรวจที่แสดงให้เห็นว่า บริษัทจากยุโรปมีความพึงพอใจลดลงเกี่ยวกับโอกาสทางการค้าและการลงทุนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผลสำรวจล่าสุดจาก EU-ABC พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม 73% คาดว่าการค้าและการลงทุนในอาเซียนจะเติบโตขึ้นในช่วง 5 ปีข้างหน้า ซึ่งตัวเลขดังกล่าวลดลงจากปี 2562 ที่ผู้ตอบแบบสำรวจถึง 84% คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะขยายตัว นอกจากนี้ 39% ของบริษัทที่ตอบแบบสำรวจ คาดว่าจะมีกำไรเพิ่มขึ้นในปี 2563 ซึ่งลดลงอย่างมากจากผลสำรวจปีที่แล้วที่ 60% ขณะเดียวกัน มีบริษัทเพียง 53% ที่ยกให้อาเซียนเป็นภูมิภาคที่มอบโอกาสทางเศรษฐกิจที่ดีที่สุด ซึ่งลดลงจาก 63% ในปี2562 ทั้งนี้ ผลการสำรวจดังกล่าวสอบถามบริษัทในภาคผลิตและภาคบริการ 680 แห่งทั่วอาเซียนในระหว่างเดือนเม.ย.-ก.ค.ที่ผ่านมา

ที่มา : https://www.infoquest.co.th/2020/41207