FDI ในกัมพูชาขยายตัวเฉลี่ยกว่า 8.1% ในช่วงปี 2017-2021

การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ภายในกัมพูชาขยายตัวเฉลี่ยที่ร้อยละ 8.1 ต่อปี ในช่วงปี 2017-2021 ตามรายงานแนวโน้มด้านการค้าและการลงทุนเอเชียแปซิฟิกปี 2022-2023 โดยในปี 2021 ปริมาณ FDI ที่ไหลเข้ามายังกัมพูชาปรับตัวลดลงเล็กน้อยที่ร้อยละ 3.9 แต่ถึงอย่างไรต้นทุนการดำเนินธุรกิจภายในกัมพูชาก็ยังต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออก-3 อย่างจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ซึ่งในปี 2020 ต้นทุนการดำเนินธุรกิจของกัมพูชาอยู่ที่ร้อยละ 96.4 ของมูลค่าสินค้า เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศต่างๆ เช่น กลุ่มเศรษฐกิจยุโรป-3 (เยอรมนี ฝรั่งเศส และสหราชอาณาจักร) และเศรษฐกิจขนาดใหญ่ในเอเชียแปซิฟิก-4 (จีน อินเดีย อินโดนีเซีย และสหพันธรัฐรัสเซีย) ที่มีต้นทุนการดำเนินธุรกิจคิดเป็นร้อยละ 104.2 และ 145.4 ของมูลค่าสินค้า ตามลำดับ โดยในปี 2021 คู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของกัมพูชายังคงเป็นจีน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 8.6 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของกัมพูชา ขณะที่การนำเข้าจากจีนของกัมพูชามีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 33.8 ของการนำเข้าทั้งหมด

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501224868/average-annual-fdi-inflow-growth-of-8-1-in-cambodia-from-2017-to-2021/

จีนเปิดประเทศ! ดันท่องเที่ยว ส่งออกและลงทุนของเวียดนาม

ตามรายงาน “2023 outlook: Three ripples from China’s re-opening” ของธนาคารเอชเอสบีซี (HSBC) ระบุว่ากลุ่มประเทศในอาเซียนได้รับผลประโยชน์อย่างมากจากการกลับมาเปิดประเทศของจีน โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวที่ได้รับปัจจัยบวกจากเหตุการณ์ครั้งนี้ แม้ว่าจะมีความหวังในการสนับสนุนการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) และการค้า ทั้งนี้ เวียดนามและไทยจะเป็นประเทศที่ได้รับผลประโยชน์สูงสุด เนื่องจากนักท่องเที่ยวชาวจีนมีสัดส่วนราว 30% ของจำนวนนักท่องเที่ยวที่อยู่ในช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาด อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจของเวียดนามไม่ได้พึ่งพาภาคการท่องเที่ยวมากเท่าไรนักหากเทียบกับประเทศไทย

ที่มา : https://vir.com.vn/chinas-re-opening-to-impact-vietnam-99304.html

FDI ไหลเข้ากัมพูชาเพิ่มขึ้น 7% ในช่วงปี 2022

ปี 2022 กัมพูชาดึงดูดเม็ดเงินลงทุนในสินทรัพย์ถาวรมูลค่าแตะ 4.68 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 จากมูลค่า 4.35 พันล้านดอลลาร์ ในปีก่อนหน้า (2021) ข้อมูลดังกล่าวรายงานโดยสภาเพื่อการพัฒนาแห่งกัมพูชา (CDC) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนจากจีน ญี่ปุ่น ไทย และสิงคโปร์ มุ่งเน้นไปที่ภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร การผลิต การท่องเที่ยว รวมถึงโครงสร้างพื้นฐาน และในอุตสาหกรรมอื่นๆ ด้านปลัดกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชาและโฆษก Penn Sovicheat กล่าวว่า ข้อตกลงการค้าหุ้นส่วนเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP), ข้อตกลงการค้าเสรีกัมพูชา-จีน (CCFTA) และกฎหมายการลงทุนฉบับใหม่ เป็นส่วนสำคัญในการดึงดูดนักลงทุนต่างชาติเข้ามาในกัมพูชามากขึ้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501215425/fdi-inflow-to-cambodia-increases-by-7-7-percent-in-2022-despite-global-uncertainty/

กำลังคนคุณภาพสูง หนุนให้เวียดนามดึงดูด FDI

สภาหอการค้าสหภาพยุโรป (EuroCham) รายงานว่าเพื่อการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) เพิ่มขึ้น เวียดนามจำเป็นต้องส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นบุคลากรที่มีศักยภาพสูง และชี้ว่าผู้ประกอบการในยุโรปเล็งเห็นศักยภาพที่จะขยายการลงทุนในพลังงานหมุนเวียน อุตสาหกรรมไฮเทค การสร้างศูนย์วิจัยและพัฒนา (R&D) ในปีหน้า อีกทั้ง ตามรายงานของบริษัทซาวิลาส์ ประเทศเวียดนาม ได้เน้นย้ำถึงความน่าลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิตขั้นสูงในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเวียดนาม ซึ่งหากเทียบกับประเทศจีน อินเดียและประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยแล้ว เวียดนามยังเป็นตลาดที่น่าลงทุนและมีความเสี่ยงอยู่ในระดับต่ำ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นแรงดึงดูดให้เม็ดเงินทุนไหลเข้าไปยังบริษัทเทคฯ หลายแห่ง และกิจการสหรัฐฯ ที่ทำธุรกิจในเวียดนาม

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/highquality-human-resources-to-help-vietnam-draw-more-fdi/246578.vnp

‘เวียดนาม’ ดึงดูดเม็ดเงินลงทุน FDI ทะลุ 25 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

สำนักงานส่งเสริมการลงทุนต่างประเทศ (FIA) เปิดเผยว่าในช่วง 11 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามดึงดูดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) สูงถึง 25.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 0.5% เมื่อเทียบกับเดือนก่อน แต่หดตัว 5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ด้วยเงินทุนจดทะเบียนใหม่ 11.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีการซื้อหุ้นในธุรกิจเวียดนามด้วยมูลค่า 4.08 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัว 18% และ 7% เมื่อเทียบเป็นรายปี ตามลำดับ โดยปัจจัยหลักที่ทำให้ทุนจดทะเบียนปรับตัวลดลง เนื่องจากมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างเข็มงวดในช่วงต้นปีนี้ และสถานการณ์ทั่วโลกที่มีความไม่แน่นอน

อย่างไรก็ตาม โครงการขนาดใหญ่หลายโครงการได้มีการเพิ่มเงินลงทุนสูงขึ้นในช่วง 10 เดือนแรก อาทิเช่น บริษัท ซัมซุง อิเลคทรอ-เมคานิคส์ มีการเพิ่มเงินทุนจำนวน 2 ครั้ง ครั้งละ 920 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ 267 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1399796/viet-nam-lures-over-25-billion-in-foreign-investment-in-11-months.html

7 เดือนของปี 65 สิงคโปร์รั้งอันดับหนึ่ง FDI ในเมียนมา

หน่วยงานส่งเสริมการลงทุนของเมียนมา  (DICA) เผย ใน 7 เดือนที่ผ่านมา (เดือนเม.ย.-เดือนต.ค. 2565)  บริษัทจดทะเบียนในสิงคโปร์ 14 บริษัทได้เร่งอัดฉีดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในเมียนมาเป็นมูลค่า 1.154 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในการพัฒนาเมือง อสังหาริมทรัพย์ พลังงาน และภาคการผลิตรองลงมาเป็นบริษัทจากฮ่องกง 163 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  จำนวน11 บริษัท และจีน 90 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จำนวน 22 บริษัทที่เข้ามาลงทุน ซึ่งในช่วงงบประมาณย่อยที่ผ่านมา (เดือนตุลาคม 2564-เดือนมีนาคม 2565) สิงคโปร์เป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุดในเมียนมา จากข้อมูลที่ผ่านมาพบว่าในปีงบประมาณ 2562-2563 มีเม็ดเงินลงทุน .85 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  และ 2.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณ 2561-2562 นอกจากนี้ สิงคโปร์ยังกลายเป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่อันดับ 2 ในเขตเศรษฐกิจพิเศษติลาวา รองจากญี่ปุ่น

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/singapore-tops-fdi-ranking-in-myanmar-in-past-seven-months/#article-title

 

“เวียดนาม” ได้รับโอกาสทอง เปิดรับเม็ดเงินทุนจากต่างชาติระลอกใหม่

นาย Tran Quoc Phuong รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวางแผนและการลงทุน กล่าวว่าเวียดนามมี “โอกาสทอง” ที่จะดึงดูดคลื่นระลอกใหม่ของการลงทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะในเขตเศรษฐกิจ (EZs) และนิคมอุตสาหกรรม (IPs) โดยเมื่อพิจารณาจากข้อมูลจะพบว่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ประจำปี จะไหลเข้าไปยังเขตเศรษฐกิจและนิคมอุตสาหกรรม มีสัดส่วนราว 35%-40% ของเงินทุนจากต่างประเทศทั้งหมด ทั้งนี้ กระทรวงฯ เปิดเผยว่าในปัจจุบันเวียดนามมีโครงการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรม 403 โครงการ และเขตเศรษฐกิจตามชายแดน 18 โครงการ และเขตเศรษฐกิจตามชายแดน 26 โครงการ ซึ่งทำให้เวียดนามกลายเป็นแม่เหล็กดึงดูดการลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงสามารถรองรับกับองค์กรต่างชาติขนาดใหญ่ เช่น Samsung, Canon, LG, Sumitomo และ Foxconn  เป็นต้น

อีกทั้ง ผู้เชี่ยวชาญได้ให้อธิบายไว้ว่าทำไมเวียดนามจึงมองว่าโอกาสในครั้งนี้ถือเป็นการดึงดูดการลงทุนครั้งใหม่ นอกเหนือจากสามารถรักษาเสถียรภาพทางการเมืองแล้ว ประกอบกับเศรษฐกิจอยู่ในช่วงกำลังฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว หลังจากการระบาดของโควิด-19 โดยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการเติบโตเร็วที่สุดในภูมิภาคและการควบคุมเงินเฟ้อ

ที่มา : https://en.nhandan.vn/vietnam-has-golden-chance-to-welcome-new-fdi-wave-post118468.html

“เวียดนาม” กวาด FDI 16.8 พันล้านดอลลาร์ ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้

กรมส่งเสริมการลงทุนต่างประเทศ (FIA) กระทรวงวางแผนและการลงทุนเวียดนาม (MPI) เปิดเผยข้อมูล ณ วันที่ 20 ส.ค. พบว่าเวียดนามมีการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ประมาณ 16.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 12.3% เมื่อเทียบเป็นรายปี และมูลค่าของทุนจดทะเบียนใหม่ปรับตัวลดลงอย่างมีข้อน่าสังเกต 43.9% คิดเป็นมูลค่า 6.35 พันล้านดอลลาร์ ในขณะเดียวกัน มูลค่าการปรับเพิ่มเงินทุนในโครงการที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน อยู่ที่ 7.5 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 50.7% และการเข้าซื้อหุ้นกิจการ 2.9 พันล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญมองว่าเวียดนามยังคงเป็นจุดหมายปลายทางด้านการลงทุนที่น่าสนใจ แต่สถานการณ์ทั่วโลกในปัจจุบัน อาทิ ความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานและภาวะเงินเฟ้อ ได้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อการไหลเข้าของเม็ดเงินทุนจากต่างประเทศในเวียดนาม และประเทศอื่นๆ ในเอเชีย

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/vietnam-attracts-nearly-16-8-bln-usd-in-fdi-in-eight-months-2053966.html

“เวียดนาม” เผยภาคเครื่องนุ่งห่ม จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุน FDI เหตุบรรลุเป้าส่งออก

ภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในชุมชน มีความต้องการเม็ดเงินทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ที่ไหลเข้าสู่กระบวนการผลิตผ้า เส้นด้ายและวัตถุดิบอื่นๆ เนื่องจากธุรกิจต้องการได้รับสิทธิประโยชน์ทางด้านการส่งออกจากข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) โดยจากข้อมูลของกระทรวงวางแผนและการลงทุน เปิดเผยว่าอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม มีจำนวนโครงการ FDI ทั้งสิ้น 2,787 โครงการ คิดเป็นมูลค่า 31.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ณ 18 พ.ค.) ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจเครื่องนุ่งห่ม กล่าวว่าโครงการ FDI มีส่วนร่วมในการเพิ่มกำลังการผลิตและขนาดการส่งออกของอุตสาหกรรมนี้ หากพิจารณามูลค่าการส่งออก จะพบว่าเพิ่มขึ้นจาก 36 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2561 มาอยู่ที่ 40.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2564 คิดเป็นสัดส่วนราว 60% ของมูลค่าการส่งออกรวม

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/garment-sector-requires-greater-fdi-for-export-target-fulfilment-post965641.vov

“เวียดนาม” คาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจสูงที่สุดในเอเชียแปซิฟิก ปี 65

มูดี้ส์ อนาไลติคส์ (Moody’s Analytics) ได้คาดการณ์ว่าตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในปี 2565 ขยายตัว 8.5% ซึ่งสูงที่สุดในบรรดาประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและมีแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ มุมมองของฝ่ายนักวิเคราะห์ชี้ให้เห็นถึงการกลับมาฟื้นตัวอย่างช้าๆ ของเศรษฐกิจเวียดนามในช่วงต้นปี ส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมและการส่งออกดีขึ้น จากการเข้ามาลงทุนโดยจากต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง (FDI) ในขณะที่นักเศรษฐศาสตร์ได้เตือนถึงอุปสรรคของกลุ่มประเทศในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถึงการเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อที่คาดไม่ถึง ทำให้ความต้องการซื้อสินค้าและบริการชะลอตัว รวมถึงที่อยู่อาศัย

ที่มา : https://en.nhandan.vn/business/item/11793402-vietnam-forecast-to-reach-highest-gdp-growth-in-asia-pacific-in-2022.html